นายวาทิตร รักษ์ธรรม อาจารย์ประจำศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
เดือน พ.ค.59 ที่สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2,248 คนทั่วประเทศ ว่า ดัชนี
ความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ใน
ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือน ต.ค.58 เพราะผู้บริโภครู้สึกว่า
เศรษฐกิจไทยปัจจุบันค่อนข้างฟื้นตัวช้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นเดือน พ.ค.59
อยู่ที่ระดับ 72.6 ลดลงจากเดือน เม.ย.59 อยู่ที่ระดับ 72.7 ดัชนีความเชื่อมั่น
ของผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 51.9 ลดลงจาก 53.1
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน พ.ค.อยู่ที่ 61.1
ลดลงจาก 61.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 67.7
ลดลงจาก 68.0 ยกเว้นดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ที่เพิ่มขึ้น
จาก 88.5 ในเดือน เม.ย.59 มาอยู่ที่ 89.0 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคต
เพิ่มขึ้นจาก 80.5 มาอยู่ที่ 80.9 เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นในอนาคต
สำหรับปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ได้แก่ การส่งออก
ของไทยเดือน เม.ย. ติดลบ 8% ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น
ความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบในเชิง
ลบต่อทิศทางการฟื้นตัวของการส่งออกและเศรษฐกิจไทย ความกังวลเกี่ยวกับ
ภัยแล้ง ส่วนปัจจัยบวกเช่น ความคาดหวังว่ารัฐบาลจะลงทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจ
มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
“ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะเป็นตัวสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหรือไม่ เพราะการ
ใช้จ่ายของประชาชนจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนยังไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจ
จะฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวจะค่อยๆดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 โดยคาดการณ์เศรษฐกิจว่า
ปี 59 จะขยายตัว 2.5-3.5%”.
ดัชนีเชื่อมั่นพ.ค.ทรุด .... ไทยรัฐออนไลน์ .../sao..เหลือ..noi
นายวาทิตร รักษ์ธรรม อาจารย์ประจำศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
เดือน พ.ค.59 ที่สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2,248 คนทั่วประเทศ ว่า ดัชนี
ความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ใน
ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือน ต.ค.58 เพราะผู้บริโภครู้สึกว่า
เศรษฐกิจไทยปัจจุบันค่อนข้างฟื้นตัวช้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นเดือน พ.ค.59
อยู่ที่ระดับ 72.6 ลดลงจากเดือน เม.ย.59 อยู่ที่ระดับ 72.7 ดัชนีความเชื่อมั่น
ของผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 51.9 ลดลงจาก 53.1
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน พ.ค.อยู่ที่ 61.1
ลดลงจาก 61.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 67.7
ลดลงจาก 68.0 ยกเว้นดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ที่เพิ่มขึ้น
จาก 88.5 ในเดือน เม.ย.59 มาอยู่ที่ 89.0 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคต
เพิ่มขึ้นจาก 80.5 มาอยู่ที่ 80.9 เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นในอนาคต
สำหรับปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ได้แก่ การส่งออก
ของไทยเดือน เม.ย. ติดลบ 8% ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น
ความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบในเชิง
ลบต่อทิศทางการฟื้นตัวของการส่งออกและเศรษฐกิจไทย ความกังวลเกี่ยวกับ
ภัยแล้ง ส่วนปัจจัยบวกเช่น ความคาดหวังว่ารัฐบาลจะลงทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจ
มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
“ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะเป็นตัวสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหรือไม่ เพราะการ
ใช้จ่ายของประชาชนจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนยังไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจ
จะฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวจะค่อยๆดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 โดยคาดการณ์เศรษฐกิจว่า
ปี 59 จะขยายตัว 2.5-3.5%”.