จาก พระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามีดำรัสตรัสต่อเรื่องภูเขา ว่า :-
สมัยนั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
[๒๔๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาเราทั้งหลายนี่ พวก
เธอแลเห็นภูเขาเวภาระนั่นหรือไม่ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภูเขาเวภาระนั่นแล มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่าง
หนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาปัณฑวะนั่นหรือไม่ ฯ
ภิ. เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาปัณฑวะนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็น
อีกอย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาเวปุลละนั่นหรือไม่ ฯ
ภิ. เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาเวปุลละนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีก
อย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาคิชฌกูฏนั่นหรือไม่ ฯ
ภิ. เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาคิชฌกูฏนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีก
อย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาอิสิคิลินี้หรือไม่ ฯ
ภิ. เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้แล มีชื่อก็เช่นนี้ มีบัญญัติก็เช่นนี้ ฯ
องค์ ได้อาศัยอยู่
[๒๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธ ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่
ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น เมื่อกำลังเข้าไปสู่ภูเขานี้ คนแลเห็น แต่ท่าน
เข้าไปแล้ว คนไม่แลเห็น มนุษย์ทั้งหลายเห็นเหตุ ดังนี้นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า ภูเขาลูกนี้
กลืนกินฤาษีเหล่านี้ ชื่อว่า อิสิคิลิ นี้แล จึงได้เกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักบอก จัก
ระบุ จักแสดงชื่อของพระปัจเจกพุทธทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๒๕๐] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระปัจเจกสัมพุทธชื่อ
อริฏฐะ ๑ ชื่ออุปริฏฐะ ๑ ชื่อตครสิขี ๑ ชื่อยสัสสี ๑ ชื่อสุทัสสนะ ๑ชื่อปิยทัสสี ๑ ชื่อ
คันธาระ ๑ ชื่อปิณโฑละ ๑ ชื่ออุปาสภะ ๑ ชื่อนิถะ ๑ชื่อตถะ ๑ ชื่อสุตวา ๑ ชื่อภาวิตัตตะ ๑
ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน ฯ
[๒๕๑] เธอทั้งหลาย จงฟังเราระบุชื่อของท่านที่มีธรรมเป็นสาระกว่า
สัตว์ ไม่มีทุกข์ หมดความอยาก ได้บรรลุโพธิญาณอย่างดี
เฉพาะตนผู้เดียว ผู้ปราศจากลูกศร สูงกว่านรชน ต่อไปเถิด
พระปัจเจกพุทธ ผู้มีตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้นแล้ว คือ
อริฏฐพุทธ ๑ อุปริฏฐพุทธ ๑ ตครสิขีพุทธ ๑ ยสัสสีพุทธ ๑
สุทัสสนพุทธ ๑ ปิยทัสสีพุทธ ๑ คันธารพุทธ ๑ ปิณโฑล
พุทธ ๑ อุปาสภพุทธ ๑ นิถพุทธ ๑ ตถพุทธ ๑ สุตวาพุทธ ๑
ภาวิตัตตพุทธ ๑ สุมภพุทธ ๑ สุภพุทธ ๑ เมถุลพุทธ ๑
อัฏฐมพุทธ ๑ อัสสุเมฆพุทธ ๑ อนิฆพุทธ ๑ สุทาฐพุทธ ๑
พระปัจเจกพุทธ ผู้มีอานุภาพมาก คือ หิงคูพุทธ ๑ หิงคพุทธ ๑
อุปปลพุทธ ๑ ปทุมุตตรพุทธ ๑ รักขิตพุทธ ๑ ปัพพตพุทธ ๑
มานัตถัทธพุทธ ๑ โสภิตพุทธ ๑ วีตราคพุทธ ๑ กัณหพุทธ ๑
ผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พระปัจเจกพุทธ ผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้
และอื่นๆ มีตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้นแล้ว เธอทั้งหลายจง
ไหว้พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น ผู้ล่วงเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว
ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้มีคุณนับไม่ถ้วน ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด ฯ
จบ อิสิคิลิสูตรที่ ๖
__________
มีบรรยายในที่อื่นอีก ถึงภูเขาบรรดานี้ต่อไปว่า คือ ๑. เวภาระ ๒. เวปุลละ ๓. ปัณฑวะ ๔. อิสิคิลิ ๕. คิชฌกูฎ เป็นภูเขาสำคัญมาแต่ครั้งพุทธกาล เพราะเป็นภูเขาที่ห้อมล้อมเมืองหลวงของแคว้นมคธ คือกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพุทธศาสนิกชน เพราะมีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่มากมาย
กรุงราชคฤห์นี้ตามพระบาลีเรียกชื่อว่า “ราชคห์” เป็นเมืองที่เคยมีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า มันธาตุราช และพระมหาโกวินทะปุโรหิตาจารย์ สถาปนิกใหญ่ เป็นต้น ปกครองสืบต่อกันมา ปัจจุบันชาวมหาภารต (อินเดีย) เรียกชื่อเพี้ยนไปว่า “ราชคีย์” แต่คนไทยสมัยนี้นิยมเรียกชื่อเป็นสำเนียงภาษาสันสกฤตว่า “ราชคฤห์” แปลตามตัวได้ว่า "พระราชสถานที่ประทับของพระราชา" ขณะที่ในอรรถกถาวิมานวัตถุ เรียกชื่อพระนครแห่งนี้ว่า “คิริพชะนคร” ตามชัยภูมิที่ตั้ง คือ ตั้งอยู่ในท่ามกลางภูเขาทั้ง ๕ ลูก ที่กล่าวนามมาแล้วข้างต้น คือ เวภาระ เวปุลละ ปัณฑวะ อิสิคิลิ และคิชฌกูฏ
ต่อมา จินตกวีผู้ประพันธ์วรรณคดีเรื่อง กามนิตวาสิฏฐี ได้ขนานนามพระนครแห่งนี้เสียใหม่ว่า “เมืองเบญจคีรีนคร” หรือ พระนครที่มีภูเขาทั้ง ๕ ตั้งเป็นกำแพงล้อมรอบ
ปัจจุบันภูเขาทั้ง ๕ ลูก นี้ บางลูกได้ถูกเปลี่ยนชื่อไป เช่น ภูเขาอิสิคิลิ และปัณฑวะ ซึ่งอยู่ทางประตูด้านใต้ของตัวเมือง คือ อิสิคิลิ ซึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือเปลี่ยนไปเป็น โสนา ส่วนภูเขาปัณฑวะ ซึ่งอยู่ทางด้านขวา ปัจจุบันเรียกชื่อว่า อุทัย ขณะที่ภูเขาคิชฌกูฏ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่กลายไปเป็นภูเขา ๓ ยอดคือยอดแรก ชื่อภูเขา รัตนคิรี ถัดไปภูเขา ฉัฏฐา และยอดสุดท้ายที่อยู่ถัดไป ชื่อว่า ภูเขา เศละ สำหรับภูเขาที่เหลืออยู่อีก ๒ ลูกคือ ภูเขาเวภาระ และภูเขาเวปุละ ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ตรงกันข้ามกัน ทางประตูด้านเหนือของเมืองราชคฤห์ นั้นยังคงรักษาชื่อเดิมไว้ได้จนถึงปัจจุบันนี้
ดังนั้น ขณะนี้ ประชาชนชาวภารตทั่วไป จึงพากันเรียกชื่อภูเขาเหล่านี้ตามที่รู้จักกันใหม่ว่า เวภาระ วิปุละ รัตนะ ฉัฏฐา เสละ อุทัย และโสนา รวมเป็นชื่อภูเขา ๗ ยอด ผู้รู้หลายท่านจึงตั้งชื่อเมืองราชคฤห์ใหม่ว่า “สัตตคิรีนคร” เพราะเป็นพระนครที่มีภูเขา ๓ ยอดแวดล้อม
เป็นดังนั้นมา ดังจะเป็นข้อจบต่อนี้ ว่า :-
จากนี้ ก็ขอจบข้อคุยคำถาม พร้อมถือว่า เรื่องภูเขาอิสิคิลิ (โสนา) เป็นบัญญัติธรรมานุสรณ์ เพราะเป็นพุทธดำรัสตรัสต่ออธิบาย เพียงประหนึ่งว่า พระปัจเจกพุทธะ ก็คือ พระพุทธะ (ในรายการชื่อ เรียกพระปัจเจกพุทธ ว่า พุทธะ) ฉะนั้น. ก็เป็นสำคัญด้วยแล้วกว่านี้ต่อไป
แต่ที่แท้แล้วที่อยากได้ถาม... ก็คือ? เรื่องภูเขาปัณฑวะ (คงแน่นอนว่าอาจจะเกี่ยวทางกับวงศ์ว่านปาณฑพ กษัตริย์ที่ปรากฏความอยู่ในภรตยุทธ) นัยบัญญัติว่าจะมีตำนานเป็นอย่างไร? และคำว่า ปัณฑวะ ฉะนี้นั้น จะเขียนเรียก เป็น คำไทย ว่า ภูเขาบรรณทัพ พอเป็นทางจะเรียกหรือไม่ หรือในทำนองหนึ่งว่า เป็นเทือกเขาบรรทัด ที่เรียกกันเป็นชื่อภูเขาในไทยเราต่อมาถึงปัจจุบัน
บรรดาภูเขาเหล่านั้น มีชื่ออย่างหนึ่ง แต่กลับมีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง
สมัยนั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
[๒๔๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาเราทั้งหลายนี่ พวก
เธอแลเห็นภูเขาเวภาระนั่นหรือไม่ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภูเขาเวภาระนั่นแล มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่าง
หนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาปัณฑวะนั่นหรือไม่ ฯ
ภิ. เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาปัณฑวะนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็น
อีกอย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาเวปุลละนั่นหรือไม่ ฯ
ภิ. เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาเวปุลละนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีก
อย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาคิชฌกูฏนั่นหรือไม่ ฯ
ภิ. เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาคิชฌกูฏนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีก
อย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาอิสิคิลินี้หรือไม่ ฯ
ภิ. เห็น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้แล มีชื่อก็เช่นนี้ มีบัญญัติก็เช่นนี้ ฯ
องค์ ได้อาศัยอยู่
[๒๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธ ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่
ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น เมื่อกำลังเข้าไปสู่ภูเขานี้ คนแลเห็น แต่ท่าน
เข้าไปแล้ว คนไม่แลเห็น มนุษย์ทั้งหลายเห็นเหตุ ดังนี้นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า ภูเขาลูกนี้
กลืนกินฤาษีเหล่านี้ ชื่อว่า อิสิคิลิ นี้แล จึงได้เกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักบอก จัก
ระบุ จักแสดงชื่อของพระปัจเจกพุทธทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๒๕๐] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระปัจเจกสัมพุทธชื่อ
อริฏฐะ ๑ ชื่ออุปริฏฐะ ๑ ชื่อตครสิขี ๑ ชื่อยสัสสี ๑ ชื่อสุทัสสนะ ๑ชื่อปิยทัสสี ๑ ชื่อ
คันธาระ ๑ ชื่อปิณโฑละ ๑ ชื่ออุปาสภะ ๑ ชื่อนิถะ ๑ชื่อตถะ ๑ ชื่อสุตวา ๑ ชื่อภาวิตัตตะ ๑
ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน ฯ
[๒๕๑] เธอทั้งหลาย จงฟังเราระบุชื่อของท่านที่มีธรรมเป็นสาระกว่า
สัตว์ ไม่มีทุกข์ หมดความอยาก ได้บรรลุโพธิญาณอย่างดี
เฉพาะตนผู้เดียว ผู้ปราศจากลูกศร สูงกว่านรชน ต่อไปเถิด
พระปัจเจกพุทธ ผู้มีตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้นแล้ว คือ
อริฏฐพุทธ ๑ อุปริฏฐพุทธ ๑ ตครสิขีพุทธ ๑ ยสัสสีพุทธ ๑
สุทัสสนพุทธ ๑ ปิยทัสสีพุทธ ๑ คันธารพุทธ ๑ ปิณโฑล
พุทธ ๑ อุปาสภพุทธ ๑ นิถพุทธ ๑ ตถพุทธ ๑ สุตวาพุทธ ๑
ภาวิตัตตพุทธ ๑ สุมภพุทธ ๑ สุภพุทธ ๑ เมถุลพุทธ ๑
อัฏฐมพุทธ ๑ อัสสุเมฆพุทธ ๑ อนิฆพุทธ ๑ สุทาฐพุทธ ๑
พระปัจเจกพุทธ ผู้มีอานุภาพมาก คือ หิงคูพุทธ ๑ หิงคพุทธ ๑
อุปปลพุทธ ๑ ปทุมุตตรพุทธ ๑ รักขิตพุทธ ๑ ปัพพตพุทธ ๑
มานัตถัทธพุทธ ๑ โสภิตพุทธ ๑ วีตราคพุทธ ๑ กัณหพุทธ ๑
ผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พระปัจเจกพุทธ ผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้
และอื่นๆ มีตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้นแล้ว เธอทั้งหลายจง
ไหว้พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น ผู้ล่วงเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว
ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้มีคุณนับไม่ถ้วน ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด ฯ
จบ อิสิคิลิสูตรที่ ๖
__________
มีบรรยายในที่อื่นอีก ถึงภูเขาบรรดานี้ต่อไปว่า คือ ๑. เวภาระ ๒. เวปุลละ ๓. ปัณฑวะ ๔. อิสิคิลิ ๕. คิชฌกูฎ เป็นภูเขาสำคัญมาแต่ครั้งพุทธกาล เพราะเป็นภูเขาที่ห้อมล้อมเมืองหลวงของแคว้นมคธ คือกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพุทธศาสนิกชน เพราะมีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่มากมาย
กรุงราชคฤห์นี้ตามพระบาลีเรียกชื่อว่า “ราชคห์” เป็นเมืองที่เคยมีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า มันธาตุราช และพระมหาโกวินทะปุโรหิตาจารย์ สถาปนิกใหญ่ เป็นต้น ปกครองสืบต่อกันมา ปัจจุบันชาวมหาภารต (อินเดีย) เรียกชื่อเพี้ยนไปว่า “ราชคีย์” แต่คนไทยสมัยนี้นิยมเรียกชื่อเป็นสำเนียงภาษาสันสกฤตว่า “ราชคฤห์” แปลตามตัวได้ว่า "พระราชสถานที่ประทับของพระราชา" ขณะที่ในอรรถกถาวิมานวัตถุ เรียกชื่อพระนครแห่งนี้ว่า “คิริพชะนคร” ตามชัยภูมิที่ตั้ง คือ ตั้งอยู่ในท่ามกลางภูเขาทั้ง ๕ ลูก ที่กล่าวนามมาแล้วข้างต้น คือ เวภาระ เวปุลละ ปัณฑวะ อิสิคิลิ และคิชฌกูฏ
ต่อมา จินตกวีผู้ประพันธ์วรรณคดีเรื่อง กามนิตวาสิฏฐี ได้ขนานนามพระนครแห่งนี้เสียใหม่ว่า “เมืองเบญจคีรีนคร” หรือ พระนครที่มีภูเขาทั้ง ๕ ตั้งเป็นกำแพงล้อมรอบ
ปัจจุบันภูเขาทั้ง ๕ ลูก นี้ บางลูกได้ถูกเปลี่ยนชื่อไป เช่น ภูเขาอิสิคิลิ และปัณฑวะ ซึ่งอยู่ทางประตูด้านใต้ของตัวเมือง คือ อิสิคิลิ ซึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือเปลี่ยนไปเป็น โสนา ส่วนภูเขาปัณฑวะ ซึ่งอยู่ทางด้านขวา ปัจจุบันเรียกชื่อว่า อุทัย ขณะที่ภูเขาคิชฌกูฏ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่กลายไปเป็นภูเขา ๓ ยอดคือยอดแรก ชื่อภูเขา รัตนคิรี ถัดไปภูเขา ฉัฏฐา และยอดสุดท้ายที่อยู่ถัดไป ชื่อว่า ภูเขา เศละ สำหรับภูเขาที่เหลืออยู่อีก ๒ ลูกคือ ภูเขาเวภาระ และภูเขาเวปุละ ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ตรงกันข้ามกัน ทางประตูด้านเหนือของเมืองราชคฤห์ นั้นยังคงรักษาชื่อเดิมไว้ได้จนถึงปัจจุบันนี้
ดังนั้น ขณะนี้ ประชาชนชาวภารตทั่วไป จึงพากันเรียกชื่อภูเขาเหล่านี้ตามที่รู้จักกันใหม่ว่า เวภาระ วิปุละ รัตนะ ฉัฏฐา เสละ อุทัย และโสนา รวมเป็นชื่อภูเขา ๗ ยอด ผู้รู้หลายท่านจึงตั้งชื่อเมืองราชคฤห์ใหม่ว่า “สัตตคิรีนคร” เพราะเป็นพระนครที่มีภูเขา ๓ ยอดแวดล้อม
เป็นดังนั้นมา ดังจะเป็นข้อจบต่อนี้ ว่า :-
จากนี้ ก็ขอจบข้อคุยคำถาม พร้อมถือว่า เรื่องภูเขาอิสิคิลิ (โสนา) เป็นบัญญัติธรรมานุสรณ์ เพราะเป็นพุทธดำรัสตรัสต่ออธิบาย เพียงประหนึ่งว่า พระปัจเจกพุทธะ ก็คือ พระพุทธะ (ในรายการชื่อ เรียกพระปัจเจกพุทธ ว่า พุทธะ) ฉะนั้น. ก็เป็นสำคัญด้วยแล้วกว่านี้ต่อไป
แต่ที่แท้แล้วที่อยากได้ถาม... ก็คือ? เรื่องภูเขาปัณฑวะ (คงแน่นอนว่าอาจจะเกี่ยวทางกับวงศ์ว่านปาณฑพ กษัตริย์ที่ปรากฏความอยู่ในภรตยุทธ) นัยบัญญัติว่าจะมีตำนานเป็นอย่างไร? และคำว่า ปัณฑวะ ฉะนี้นั้น จะเขียนเรียก เป็น คำไทย ว่า ภูเขาบรรณทัพ พอเป็นทางจะเรียกหรือไม่ หรือในทำนองหนึ่งว่า เป็นเทือกเขาบรรทัด ที่เรียกกันเป็นชื่อภูเขาในไทยเราต่อมาถึงปัจจุบัน