ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
โย ปะนะ ภิกขุ คามา วา อะรัญญา วา อะทินนัง......
“อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วน
แห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลาย
จับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง
ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็น
ขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด
ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้.”
พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติให้ภิกษุจะปาราชิกหรือไม่อยู่ในการพิจารณาของศาลฯ แต่ปาราชิกตามกรรมที่ทำไว้
-------------------------------------------------------------------------------------
มติมหาเถรฯอุ้ม"ธัมมชโย" "ไม่ต้องอาบัติ-ไม่ปาราชิก"
http://www.dailynews.co.th/education/378831
คดี"ธัมมชโย"จบตั้งแต่ศาลสงฆ์นานแล้ว สำนักพุทธฯสรุปส่งมหาเถรฯเห็นชอบ คดีร้องเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายปาราชิกกรณีถือครองทรัพย์สิน และกรณีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ยุติลงตั้งแต่ศาลสงฆ์ชั้นต้นไม่รับฟ้อง เพราะผู้ร้องหลักฐานไม่ชัดเจน มหาเถรฯ ในฐานะศาลฎีกาของสงฆ์ไม่สามารถหยิบขึ้นมาพิจารณาต่อได้ เตรียมสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งดีเอสไอต่อไป
http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOVEV4TURJMU9RPT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE5pMHdNaTB4TVE9PQ==
--------------------------------------------------------------------------
เหตุเป็นเครื่องทำให้สงฆ์แตกกัน มี ๑๘ ประการ คือ
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า
“พระพุทธเจ้าข้า ! พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตกกัน”
อุบาลี ! ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดง อธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดง อวินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดง วินัยว่าเป็นอวินัย
๕. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ว่าตรัสไว้
๖. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามิได้ตรัสไว้
๗. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ประพฤติไว้ว่าได้ประพฤติ
๘. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าประพฤติว่ามิได้ประพฤติ
๙. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติว่าบัญญัติ
๑๐. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าบัญญัติว่ามิได้บัญญัติ
๑๑. แสดง สิ่งที่มิใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ
๑๒.
แสดง อาบัติว่ามิใช่อาบัติ
๑๓. แสดง อาบัติเบาว่าหนัก
๑๔. แสดง อาบัติหนักว่าเบา
๑๕. แสดง อาบัติไม่มีส่วนเหลือว่ามีส่วนเหลือ
๑๖. แสดง อาบัติมีส่วนเหลือว่าไม่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดง อาบัติชั่วหยาบว่าไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดง อาบัติไม่ชั่วหยาบว่าชั่วหยาบ
พวกเธอ ย่อมทำให้แตกแยกกัน ด้วยเหตุ ๑๘ ประการนี้
แล้วทำอุโบสถ ทำปวารณา และสังฆกรรม แยกกัน
อุบาลี ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียง
กันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ...
ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ
(ภาษาไทย) จุลฺล. วิ. ๗/๑๓๙/๔๐๖.]
ความนานแห่งกัป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้......
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กัปหนึ่ง นานเพียงไรหนอแล ?
ภิกษุ ! กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า
เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้
๑๐๐,๐๐๐ ปี.
...
ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า !
อาจอุปมาได้ ภิกษุ !
ภิกษุ ! เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาว
โยชนห์ นึ่ง1 กว้างโยชน์หนึ่ง สูโยชน์หนึ่งไม่มีช่อง ไม่มีโพรง
เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้ว ปัดภูเขานั้น
๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป
สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล
ส่วนกัปหนึ่ง ยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดา
กัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป
มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป.
...
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย
ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ
ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็น
ป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น.
...
ภิกษุ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะ
เบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด
พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.
...
นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๕/๔๒๙-๔๓๐.
.... มหาเถรสมาคมและสำนักพุทธฯ รู้ตัวไหมว่ากำลังพาตัวเองไปตั้งอยู่ในนรกตลอดกัป เหตุที่ทำสงฆ์แตกกัน ....
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
โย ปะนะ ภิกขุ คามา วา อะรัญญา วา อะทินนัง......
“อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วน
แห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลาย
จับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง
ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็น
ขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด
ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้.”
พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติให้ภิกษุจะปาราชิกหรือไม่อยู่ในการพิจารณาของศาลฯ แต่ปาราชิกตามกรรมที่ทำไว้
-------------------------------------------------------------------------------------
มติมหาเถรฯอุ้ม"ธัมมชโย" "ไม่ต้องอาบัติ-ไม่ปาราชิก"
http://www.dailynews.co.th/education/378831
คดี"ธัมมชโย"จบตั้งแต่ศาลสงฆ์นานแล้ว สำนักพุทธฯสรุปส่งมหาเถรฯเห็นชอบ คดีร้องเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายปาราชิกกรณีถือครองทรัพย์สิน และกรณีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ยุติลงตั้งแต่ศาลสงฆ์ชั้นต้นไม่รับฟ้อง เพราะผู้ร้องหลักฐานไม่ชัดเจน มหาเถรฯ ในฐานะศาลฎีกาของสงฆ์ไม่สามารถหยิบขึ้นมาพิจารณาต่อได้ เตรียมสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งดีเอสไอต่อไป
http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOVEV4TURJMU9RPT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE5pMHdNaTB4TVE9PQ==
--------------------------------------------------------------------------
เหตุเป็นเครื่องทำให้สงฆ์แตกกัน มี ๑๘ ประการ คือ
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า
“พระพุทธเจ้าข้า ! พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตกกัน”
อุบาลี ! ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดง อธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดง อวินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดง วินัยว่าเป็นอวินัย
๕. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ว่าตรัสไว้
๖. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามิได้ตรัสไว้
๗. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ประพฤติไว้ว่าได้ประพฤติ
๘. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าประพฤติว่ามิได้ประพฤติ
๙. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติว่าบัญญัติ
๑๐. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าบัญญัติว่ามิได้บัญญัติ
๑๑. แสดง สิ่งที่มิใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ
๑๒. แสดง อาบัติว่ามิใช่อาบัติ
๑๓. แสดง อาบัติเบาว่าหนัก
๑๔. แสดง อาบัติหนักว่าเบา
๑๕. แสดง อาบัติไม่มีส่วนเหลือว่ามีส่วนเหลือ
๑๖. แสดง อาบัติมีส่วนเหลือว่าไม่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดง อาบัติชั่วหยาบว่าไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดง อาบัติไม่ชั่วหยาบว่าชั่วหยาบ
พวกเธอ ย่อมทำให้แตกแยกกัน ด้วยเหตุ ๑๘ ประการนี้
แล้วทำอุโบสถ ทำปวารณา และสังฆกรรม แยกกัน
อุบาลี ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียง
กันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ...
ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ
(ภาษาไทย) จุลฺล. วิ. ๗/๑๓๙/๔๐๖.]
ความนานแห่งกัป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้