ความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์มีมากแค่ไหน?

กระทู้คำถาม
ตามหัวข้อเรื่องเลยครับ
ความจริงทางวิทยาศาสตร์น่าเชื่อถือแค่ไหนเพราะเดี๋ยวก็มีการวิจัย/การค้นพบที่อาจแย้งจากที่เข้าใจก่อนหน้าได้เสมอ
เช่นทางแพทย์ หลายคนก็ไปพึ่ง การรักษาแบบต่างๆ ไม่ใช่แค่เชื่อหมอแผนปัจจุบันเท่านั้น
ก็แสดงความคิดเห็นกันได้ครับ ผมหรือใครเข้าใจผิดจะได้แก้ไขให้เข้าใจถูกกัน
++เพิ่มเติม @6/6/16 1735น
กระทู้นี้ที่อยากสื่อคือพวกที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์รวมทั้งแพทย์และนักวิชาการต่างๆอยากให้ระลึกอยู่ว่าสิ่งต่างๆที่ท่านรู้มันอาจเปลี่ยนได้ ความรู้ที่ท่านรู้หลายๆอย่างมันเป็นความจริงแค่ระดับนึงมันเป็นความจริงที่มีข้อจำกัดอยู่ มันอาจจะเปลียนได้เมื่อเวลาเปลี่ยน หรือเมื่อปัจจัยต่างๆเปลี่ยน ทั้งปัจจัยที่รู้แล้วแต่ก็แปรเปลี่ยนไปตามเหตุต่างๆ หรือปัจจัยที่ทางวิทยาศาสตร์ยังค้นไม่พบว่ามันมีความสำพันกันอยู่ ดังนั้นเวลาแย้งอะไรกับใครไม่ควรจะทำเป็นรู้ดีเกินไป เพราะมันก็จะเกิดความไม่น่าเชื่อถือขึ้น ซึ่งก็เกิดอยู่แล้วอย่างทุกวันนี้ที่หลายๆคนก็ไม่ค่อยเชื่อนักวิชาการ หรือ หมอ ก็มีอยู่มาก ซึ่งไม่ค่อยดีเลย

พวกที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์รวมทั้งแพทย์และนักวิชาการต่างๆควรมีความเคารพกับประสบการณ์ตรงซึ่งเกิดขึ้นจริงๆกับพวกเขาให้เยอะๆ
ไม่ใช่ทำเป็นรู้ดีมากเกินไป เขาทำแล้วมันดีคุณก็ไปบอกเขาว่าไม่ดี อย่างนี้มันไม่เหมาะ ที่ควรจะบอกก็น่าจะเป็นลักษณะว่า เท่าที่รู้เท่าที่เรียนเท่าที่ศึกษามา...ไอ้นี่เป็นอย่างนี้...บลาๆๆ... คือก็แค่เป็นข้อมูลนึงให้พวกเขาไปพิจารณา ให้เขาได้เลือก ถ้าเขาต้องการอย่างนั้น

แถมโยงเรื่องมาทางศาสนาหน่อยคือว่าถ้าทางศาสนาพุทธก็จะให้ความสำคัญกับประสบการณ์ตรงมาก ไม่ต้องรอเครื่องมือ,เทคโนโลยี่หรือสมการอะไรมาพิสูจน์ เพราะจะรู้ด้วยตัวเอง ตัวเราเองนี่แหละคือเทคโนโลยี่ขั้นสูงสุดของมวลมนุษยชาติครับ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเรียบร้อยไปเป็นพันๆปีมาแล้ว
+++เพิ่ม@6/6/16 2250น
นึกถึงปรากฏการณ์/เหตุการณ์ที่หนือธรรมชาติบางอย่างที่เกิดขึ้นเป็นข่าว ซึ่งมันก็เกิดหลายๆครั้ง แต่พอมีนักวิทยาศาสตร์ไปจับเท็จได้กับเหตุการณ์นึงเหตุการณ์เดียว ก็สรุปเลยว่าทั้งหมดหลอกลวง นี่ผิดหลักวิทยาศาสตร์ คือมันก็ควรจะสรุปได้แค่เฉพาะเหตุการณ์ครั้งนั้นครั้งเดียวว่ามันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่สิ่งเหนือธรรมชาติที่หลายคนกล่าวอ้างกัน  ส่วนอีกหลายๆครั้งที่เกิดก็ต้องมีวิธีการต่อไปที่จะตรวจสอบ หรือใช้วิธีอื่นเพื่อจะสรุปได้จริงๆว่ามันหลอกลวง ทั้งหมดนั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
วิทยาศาสตร์มักเกิดจากทฤษฎีนำไปสู่ความจริงค่ะ
และการวิจัยส่วนมากจะ เริ่มจากสัตว์ ไปจนถึงมนุษย์ ซึ่งก็เป็นแค่ตัวอย่างทางสถิติ
ตัวอย่าง (สมมติ) เช่น เอาอาสาสมัครมาสูบบุหรี่วันละ 100 มวน ติดต่อกัน 10 ปี จำนวน 1500 คน
กับไม่สูบ 1500 คน คละชายหญิง
แล้วพบว่า 1300 ใน1500 คน ที่สูบ มีปอดแข็งแรงขึ้น สะอาดขึ้น
ลดความเสี่ยงเป็นโรคถุงลมโปร่งพองได้ถึง 78 เปอร์เซ็น กว่าคนที่ไม่สูบ
เขาก็จะตีพิมมาว่าสูบบุหรี่แล้วทำให้ปอดแข็งแรงขึ้น
อาจมีเหตุผลมาอ้างว่านิโคตินจะไปจับกับคราบแล้วหลุดออกมา เลยทำให้ปอดสะอาด อะไรทำนองนี้

แล้วก็มีคณะกรรมการอ่าน ถ้าไม่มีใครแย้งก็ประกาศได้ค่ะ

ซึ่ง 1300 คนที่ได้เนี่ย มันก็ยังไม่ใช่คนทั้งโลกใช่มั้ยคะ
แต่ละคนมีสภาพพยาธิวิทยาต่างกัน และบางอย่างอย่างยาก็ยังมีผลข้างเคียง
ซึ่งสมุนไพรบางอย่างวก็ใช้มานานหลายร้อยปีแล้ว ก็เลยเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
และคนที่ใช้สมุนไพรบางคนก็มีอายุยืนกว่าคนกินบาแผนปัจจุบัน
จริงๆแล้วก็ต้องดูว่าร่างกายเราถูกกับอะไรค่ะ แบบไหนดีกว่ากันค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่