แปลกใจความย้อนแย้ง ของคดีวาสนา เพิ่มลาภ

กระทู้คำถาม
ท่านทราบกันหรือไม่ว่า คดีธรรมรักษ์จ้างวาน พรรคเล็ก  ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ยกฟ้องธรรมรักษ์

อีกคดีของวาสนา กกต ที่พิพากษาเมื่อวาน บอกว่า กกต. ถ่วงเวลาเอื้อประโยชน์พรรคไทยรักไทย สั่งให้อนุกรรมการสอบซำ้ ถึงจะค่อยส่งฟ้อง นำมาสู่คดีแรกที่ยกฟ้องไป อะไรกัน มีไอ้แปลกเกิดขึ้นบ่อยๆ คดีวิโรจน์ นวลแข ดึงคดีเข้าศาลการเมือง สุดท้ายบอกเอาผิดทักษิณไม่ได้ กลับกลายเป็นข่ราชการประจำ ไปติดคดีการเมือง อุธรณ์ไม่ได้ ฎีกาไม่ได้

คดี กกต.ดำเนินการล่าช้า นี่จำที่ อภิชาติ ส่งเรื่อง พรรค ปขชป ล่าช้า ได้มั๊ย อันนั้นศาลบอกยกฟ้องส่งเกินเวลา ไม่เห็นเป็นไรเลย ไม่เห็นจะละเลยอะไรเลย

ด้วยความเที่ยงธรรม แล้ว ความเอียงของกกต ในยุควาสนา กับยุคที่ไม่ยอมจัดเลือกตั้งนี่ ชัดกว่าเยอะ จนวันนี้ยังไม่รู้ว่าใครผิด กฎหมายผิด ฮ่าๆๆๆ

กรณี กกต.ยุค วาสนา มักจะกล่าวว่า พยายามช่วย พรรคไทยรักไทย ให้ตั้งรัฐบาลให้ได้ ผมว่า ตรงนี้แสดงให้เห็น อคติ อย่างมาก ถ้า กกต ที่มีหน้าที่จัดเลือกตั้งพยายามให้ผู้ที่ชนะการเลือกตั้งมาบริหารประเทศโดยเร็ว มันจะผิดตรงใหน การถ่วงให้เกิดสูญญากาศนี่สิ ต้องผิด แต่พอดีเราเปิดชื่อดูว่า อ้อ ไทยรักไทย เฮ้ยไม่ถูก สมมุติ ปชป ลงแล้วได้คะแนนมา กกต ทำตรงกันข้าม ดึงถ่วงไว้ มีเสียงไม่ถึงครึ่งเหรอ ก็เลือกตั้งซ่อมกันไปสิบรอบ เฮ้ย นี่กลั่นแกล้งนิ ผิดวิสัย ซึ่ง กกต มีหน้าที่จัดเลือกตั้ง และก็อยู่ในอำนาจ กกต ที่จะต้องแก้ไข วินิฉัย เพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้ สรุปว่า ผิด

( ถ้าเราปิดชื่อไว้ บอกช่วยมี สส.ครบ ทั่วประเทศ และพรรคที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดจัดรัฐบาลได้ มันไม่โอเคตรงใหน ส่วนการไปแก้ระเบียบก็ต้องไปดูว่ามันได้เปรียบเสียเปรียบในผู้สมัครมั๊ย อันไหนเป็นอำนาจ กกต ทำได้ก็ว่ากันไป  อันใหนผิด ไม่อยู่ในอำนาจก็ตัดสินกันไป )

และอันนี้สำคัญที่สุด ที่ผมเขียนมาข้างบน จะเห็นว่ากฎหมาย มันคอนฟลิกกัน คำตัดสินไม่ไปด้วยกัน คนที่บอกว่าน่าจะผิดกว่า จับไม่ได้ อีกคนน่าจะผิดน้อยกว่ามีความผิด เรารู้สึกเฉยๆ มั๊ย ก็อยู่กันได้นิ ไม่ต้องไปแก้ไขอะไร เราก็อยู่กันไปแบบไทยต่อไป

*** แก้ไข ประโยคแรก ผมไม่ได้ไปค้นว่าศาลใหนยกฟ้อง คดีธรรมรักษ์ เอาตามความจำ เลยใส่ศาลฎีกา ความจริงคดีนี้ถึงฎีกา แต่เฉพาะธรรมรักษ์จบที่ศาลอุธรณ์ ขออภัย ขอตัดออกคำเดียว คือคำว่าฎีกา สาระครบเหมือนเดิมครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ผมงง ๆ นะครับ

คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวพันเรื่องน่าเชื่อว่า พล.อ.ธรรมรักษ์  เกี่ยวข้องกับการจ้างพรรคเล็ก
แต่คดีนั้นก็สิ้นสุดไปแล้ว  พล.อ.ธรรมรักษ์พ้นข้อกล่าวหาไปแล้ว  นานแล้วด้วย
แล้วศาลฏีกาเอามาเป็นส่วนประกอบในคำพิพากษาได้อย่างไร

งงอีกเรื่อง  ก็คือ นาายทะเบียนพรรคการเมืองที่ชื่ออภิชาติ  สุขัคคานนท์ (ประธาน กกต.ชุดที่แล้ว)
ที่ส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญช้า ในคดียุบพรรค ปชป.  เป็นเหตุให้ศาล รธน.อ้างเป็นเหตุไม่วินิจฉัย
ด้วยการบอกว่านายทะเบียนพรรคการเมืองส่งเรื่องช้าเกินกว่า 15 วัน  ยกคำร้องยุบ ปชป.

แต่นายอภิชาติไม่มีความผิดใด ๆ    เรื่องจบไปเฉย ๆ
และวันนี้  นายอภิชาติก็มาเป็น กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญสบาย ๆ



มองๆ ดูแล้วก็แปลกใจครับ

เรื่องคดีความนี่  ไม่ว่าเรื่องอะไร
หากดูเหมือนเป็นเรื่องเกี่ยวกับขั้วทักษิณ  โดนเรียบ  หนักเบาแล้วแต่กรณี

แต่ถ้าหากเป็นอีกฝ่าย  
ไม่ว่าจะฟ้อง ปชป.  ร้องการปฏบัติหน้าที่มิชอบขององค์กรอย่าง ป.ป.ช.  หรือคดีของพันธมิตร  กปปส.  ฯลฯ
หากเข้าสู่กระบวนการ  ไม่ยกคำร้อง  ยกฟ้อง  ก็เงียบสนิท

มันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำซาก  จนชักสงสัยครับ




ยิ่งย้อนไปถึงความหลังครั้งนั้น  ก็ยิ่งคลุมเครือ

ที่ พล.ต.จำลอง  ศรีเมือง  เคยออกมาพูดเรื่อง กกต. ปี 49  ว่า
ได้บอกให้ กกต. ลาออก  เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้
ก็มีคนยอมลาออกไปหนึ่งคน  

ต่อมาก็มีคดีฟ้อง กกต. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49  ที่หันตูดออก
ศาลชั้นต้น  ศาลอุทธรณ์  ให้จำคุก   แต่พอถึงศาลฎีกา บอกว่ายกฟ้อง เพราะผู้ฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหาย

งง ๆ นะครับ   ศาลชั้นต้น  ศาลอุทธรณ์  ทำไมไม่รู้เรื่องอย่างนี้ว่าผู้ฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหาย

ส่วน กกต. คนที่ลาออกตามจำลองบอก  ไม่โดนฟ้องด้วย  ทั้งที่เป็น กกต. ชุดเดียวกัน



ผมมองว่า  เป็น "เทคนิค" ล้วน ๆ
คือใช้เทคนิคทางข้อกฎหมาย  จะเอาใครผิด จะให้ใครถูก   ใช้เทคนิตนิดเดียวก็ฉลุย
เช่น  คดีนี้  จะให้ผิด  ก็อ้างเทคนิตอย่างนั้น ๆ   แล้วบอกว่าผิด
คดีนั้นจะให้ไม่ผิด  ก็ใช้เทคนิคอ้างนั่นอ้างนี่นิดหน่อยแล้วบอกว่าไม่ผิด

อย่างสนธิหมิ่นป่าไม้เชียงราย
ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ บอกว่าผิด  จำคุกไม่รอลงอาญา
แต่พอถึงศาลฎีกา  ยกฟ้อง  บอกว่าสนธิติชมด้วยความสุจริต  วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐตามสิทธิของประชาชน
ทั้งที่คำที่สนธิพูดนั้น  คือการใส่ร้ายว่าป่าไม้เชียงรายพาพวกไปปาประทัดยักษ์ใส่เวทีสนธิที่สวนลุมฯ
การพูดแบบนี้  เป็นการติชม เป็นการวิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ไปได้อย่างไร ?





จำคดี ปรส. ได้ไหม  ที่ศาลพิพากษาว่านายอมเรศ  ศิลาอ่อน  นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ  ผิดจริง
พิพากษาจำคุกคนละ 2 ปี

แต่ศาลบอกว่า

จำเลยที่ 1 มีอายุ 79 ปี   จำเลยที่ 2 มีอายุ 65 ปี   เคยทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ
เห็นสมควรให้โอกาสจำเลยทั้งสองกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี

ตีความได้ว่า  ศาลเห็นว่าแก่แล้ว  คงไม่ไปทำตัวเหลวไหลที่ไหนอีก  เคยทำดีให้บ้านเมือง  ให้โอกาส   รอลงอาญา



คดีนี้  พล.ต.อ.วาสนา   นายปริญญา   อายุ 75  ทั้งคู่
แต่ศาลท่านไม่เห็นว่าแก่  ไม่ให้โอกาสกลับตัว  
ศาลเห็นว่า  แม้จะเคยทำคุณให้บ้านเมือง  ดำรงตำแหน่งสำคัญ
แทนที่จะทำตัวเป็นแบบอย่าง  กลับทำผิดซะเอง   จึงไม่สมควรรอลงอาญา   ไปอยู่เรือนจำ

(เหมือนคดีที่ดินรัชดาที่ทักษิณโดน  ก็ไม่มีเหตุรอลงอาญาแบบนี้แหละ
แต่โปรดสังเกต  หากเป็นอีกขั้ว  ยกฟ้องไม่ได้  ดองคดีไม่ไหว  ก็รอลงอาญาเพราะคุณความดีซะทุกที
แถมมีหลายคดี  ที่บอกว่า  ทำเพื่อปกป้องสถาบัน  ยกฟ้อง หรือ เห็นสมควรรอลงอาญา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่