Pictures must always tell the truth?
ภาพต้องบอกเล่าเรื่องราวแห่งความจริง (เหรอ?)
.
.
ออกตัวไว้ก่อนว่าผมเป็นคนนึงที่ทำงานรีทัชเลี้ยงชีพเป็นหลักนะครับ พอได้เห็นข่าวของช่างภาพระดับโลกแบบนี้แล้วก็อดจะแชร์ไม่ได้
จริงๆแล้วประเด็นร้อนของช่างภาพ Steve McCurry (ที่ถ่ายภาพเด็กหญิงชาวอัฟกันใน National Geographic) เนี่ย เป็นเรื่องของความเข้าใจและจรรยาบรรณในฐานะ “คนสร้างภาพ” ของวงการสื่อระดับโลก ทั้งนี้เพราะขอบเขตงานของช่างภาพนั้น กว้างสุดลูกหูลูกตา ไม่ว่าจะในฐานะ
ช่างภาพข่าว
ช่างภาพสารคดี
ช่างภาพแฟชั่น
ช่างภาพสถาปัตยกรรม
ช่างภาพโฆษณา
และอีกมากมาย
.
.
.
การที่ Steve ถูกสื่อรวมถึงช่างภาพและนักวิจารณ์ออกมาสับเละในการตัดต่อและแก้ไขเปลี่ยนแปลงวัตถุในภาพ จนกลายเป็นการบิดเบือนความจริงในการนำเสนอนั้น เป็นเพราะภาพของ Steve นั้น ถูกนำไปใช้ในสื่อเชิงข่าวและสารคดีที่โดยเนื้อหาแล้วควรจะถูกนำเสนอ “ความจริง” ในแบบที่ไม่มีการบิดเบือน!
งั้นใครผิด
โดยส่วนตัวเราคิดว่า ควรเป็นความผิดร่วมของทั้งสื่อที่นำภาพของ Steve ไปใช้โดยที่ไม่สืบหรือกำหนดข้อตกลงกับช่างภาพเองก่อน ว่าภาพนั้นๆ มีการแก้ไขในระดับไหน รวมทั้ง Steve เองที่ควรจะนำเสนอภาพต้นฉบับ รวมถึงระดับของการแก้ไข ปรับปรุงภาพต่อสื่อหรือสำนักพิมพ์ เพื่อไม่ให้เกิดความบิดเบือนในการสำเสนอความจริงในภาพนั้นๆ
แต่ในอีกด้านหนึ่ง
"visual storyteller" หรือนักเล่าเรื่องด้วยภาพ คือส่ิงที่ Steve ได้ออกมาแถลงต่อสื่อ ในขณะที่ตัวเค้าโด่งดังจากภาพในเชิงสารดีข่าว หลายๆคนก็ได้เหมารวมไปแล้วว่าเค้าเป็นช่างภาพเชิงสารคดี แต่จริงๆแล้ว เค้าเป็นเพียง “ผู้เล่าเรื่องจากภาพ” เท่านั้นเอง
ทีนี้.. เกี่ยวอะไรกับคนธรรมดาอย่างเราหล่ะ
เกี่ยวสิ เกี่ยวกับทุกภาพนิ่งที่เห็นในชีวิตประจำวันรอบตัวเราเลยหล่ะ เคยสังเกตมั้ยว่าภาพโฆษณาทั้งหลายแหล่รอบตัวเรา ตั้งแต่ในบิลค่าโทรศัพท์ จนถึงบนรถไฟฟ้า และยอดตึกใบหยก ล้วนเป็นภาพโฆษณาที่ผ่านการตัดแต่ง ตัดต่อ ปรับปรุงมาแล้วทั้งสิ้น
เคยแกะถุงขนมแล้วพบว่าภาพบนซองกับของจริงนั้น ช่างต่างกันฟ้ากับเหวมั้ย
นั่นแหละ พลังของการทำภาพเพื่อการโฆษณา เหล่านี้เป็นเรื่องของจรรยาบรรณในการนำเสนอ ไม่ว่าจะในด้านของเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือสื่อในการนำเสนอ
เราในฐานะคนทำรีทัชเองก็บอกไม่ได้หรอกว่า ไม้บรรทัดในการวัดจรรยาบรรณของแต่ละคนแต่ละฝ่าย มีความกว้างยาวกันแค่ไหน เราก็ทำงานของเรา นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าเราต้องการ ก็แค่นั้น
แต่ในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่งทั้งในแง่ของการบริโภคสื่อและผลิตภัณฑ์ การตระหนักถึงคำว่า “เพื่อการโฆษณา” นั้นจะทำให้เราๆท่านๆไม่ตกเป็นหยื่อของผลิตภัณฑ์ไม้บรรทัดสั้นนั่นเอง
สุดท้ายนี้ บทความไม่ได้คิดจะโจมตีใครหรือกล่าวหาว่าใครผิดนะครับ เป็นแค่การแสดงความคิดเห็นในฐานะคนทำภาพและผู้บริโภคคนนึงเท่านั้น
ติดตามอ่านข่าวคราวและชีวิตมนุษย์รีทัชคนนึงได้ที่เพจผมนะครับ
ฝากด้วยละกัน
https://www.facebook.com/RetouchMan/
ภาพจริงหรือตัดต่อ? Steve McCurry กับประเด็นฉาวระดับโลก
ภาพต้องบอกเล่าเรื่องราวแห่งความจริง (เหรอ?)
.
.
ออกตัวไว้ก่อนว่าผมเป็นคนนึงที่ทำงานรีทัชเลี้ยงชีพเป็นหลักนะครับ พอได้เห็นข่าวของช่างภาพระดับโลกแบบนี้แล้วก็อดจะแชร์ไม่ได้
จริงๆแล้วประเด็นร้อนของช่างภาพ Steve McCurry (ที่ถ่ายภาพเด็กหญิงชาวอัฟกันใน National Geographic) เนี่ย เป็นเรื่องของความเข้าใจและจรรยาบรรณในฐานะ “คนสร้างภาพ” ของวงการสื่อระดับโลก ทั้งนี้เพราะขอบเขตงานของช่างภาพนั้น กว้างสุดลูกหูลูกตา ไม่ว่าจะในฐานะ
ช่างภาพข่าว
ช่างภาพสารคดี
ช่างภาพแฟชั่น
ช่างภาพสถาปัตยกรรม
ช่างภาพโฆษณา
และอีกมากมาย
.
.
.
การที่ Steve ถูกสื่อรวมถึงช่างภาพและนักวิจารณ์ออกมาสับเละในการตัดต่อและแก้ไขเปลี่ยนแปลงวัตถุในภาพ จนกลายเป็นการบิดเบือนความจริงในการนำเสนอนั้น เป็นเพราะภาพของ Steve นั้น ถูกนำไปใช้ในสื่อเชิงข่าวและสารคดีที่โดยเนื้อหาแล้วควรจะถูกนำเสนอ “ความจริง” ในแบบที่ไม่มีการบิดเบือน!
งั้นใครผิด
โดยส่วนตัวเราคิดว่า ควรเป็นความผิดร่วมของทั้งสื่อที่นำภาพของ Steve ไปใช้โดยที่ไม่สืบหรือกำหนดข้อตกลงกับช่างภาพเองก่อน ว่าภาพนั้นๆ มีการแก้ไขในระดับไหน รวมทั้ง Steve เองที่ควรจะนำเสนอภาพต้นฉบับ รวมถึงระดับของการแก้ไข ปรับปรุงภาพต่อสื่อหรือสำนักพิมพ์ เพื่อไม่ให้เกิดความบิดเบือนในการสำเสนอความจริงในภาพนั้นๆ
แต่ในอีกด้านหนึ่ง
"visual storyteller" หรือนักเล่าเรื่องด้วยภาพ คือส่ิงที่ Steve ได้ออกมาแถลงต่อสื่อ ในขณะที่ตัวเค้าโด่งดังจากภาพในเชิงสารดีข่าว หลายๆคนก็ได้เหมารวมไปแล้วว่าเค้าเป็นช่างภาพเชิงสารคดี แต่จริงๆแล้ว เค้าเป็นเพียง “ผู้เล่าเรื่องจากภาพ” เท่านั้นเอง
ทีนี้.. เกี่ยวอะไรกับคนธรรมดาอย่างเราหล่ะ
เกี่ยวสิ เกี่ยวกับทุกภาพนิ่งที่เห็นในชีวิตประจำวันรอบตัวเราเลยหล่ะ เคยสังเกตมั้ยว่าภาพโฆษณาทั้งหลายแหล่รอบตัวเรา ตั้งแต่ในบิลค่าโทรศัพท์ จนถึงบนรถไฟฟ้า และยอดตึกใบหยก ล้วนเป็นภาพโฆษณาที่ผ่านการตัดแต่ง ตัดต่อ ปรับปรุงมาแล้วทั้งสิ้น
เคยแกะถุงขนมแล้วพบว่าภาพบนซองกับของจริงนั้น ช่างต่างกันฟ้ากับเหวมั้ย
นั่นแหละ พลังของการทำภาพเพื่อการโฆษณา เหล่านี้เป็นเรื่องของจรรยาบรรณในการนำเสนอ ไม่ว่าจะในด้านของเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือสื่อในการนำเสนอ
เราในฐานะคนทำรีทัชเองก็บอกไม่ได้หรอกว่า ไม้บรรทัดในการวัดจรรยาบรรณของแต่ละคนแต่ละฝ่าย มีความกว้างยาวกันแค่ไหน เราก็ทำงานของเรา นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าเราต้องการ ก็แค่นั้น
แต่ในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่งทั้งในแง่ของการบริโภคสื่อและผลิตภัณฑ์ การตระหนักถึงคำว่า “เพื่อการโฆษณา” นั้นจะทำให้เราๆท่านๆไม่ตกเป็นหยื่อของผลิตภัณฑ์ไม้บรรทัดสั้นนั่นเอง
สุดท้ายนี้ บทความไม่ได้คิดจะโจมตีใครหรือกล่าวหาว่าใครผิดนะครับ เป็นแค่การแสดงความคิดเห็นในฐานะคนทำภาพและผู้บริโภคคนนึงเท่านั้น
ติดตามอ่านข่าวคราวและชีวิตมนุษย์รีทัชคนนึงได้ที่เพจผมนะครับ
ฝากด้วยละกัน
https://www.facebook.com/RetouchMan/