คำโกหกของเอ็นจีโอที่ทำลายประชาชนและทำลายเหมือง

เรื่องการปิดเหมืองทองคำนั้นอาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของรัฐบาลที่ไปฟัง "เสียงนกเสียงกา" กลับไม่นำพาต่อเสียงของประชาชนในพื้นที่ เท่ากับตัดลมหายใจของประชาชนโดยตรง
    เมื่อวานนี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ในฐานะประธานเครือข่ายรักษ์สิ่งแวดล้อมและประชาชนอย่างยั่งยืน ขออนุญาตนำข้อมูลที่แท้จริงมาหักล้างกับคำโกหกของเอ็นจีโอที่ทำลายชาติ

ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเหมือง
    ในการดำเนินการใด ๆ เราต้องฟังเสียงของประชาชนส่วนใหญ่  แต่กรณีนี้เราไม่ได้ฟังเสียงประชาชนเลย  ดร.โสภณ ได้ไปสำรวจความเห็นของประชาชนในเขตตำบลเขาเจ็ดลูก (พิจิคร) และตำบลดงหลง (เพชรบูรณ์) เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2559 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา (วันหยุดราชการ) โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาและคณาจารย์ในพื้นที่เกือบ 20 คน  ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึง 78% หรือสี่ในห้า ไม่ต้องการให้ปิดเหมืองทองคำ  ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มีมลพิษ เหมืองมีคุณูปการสูง และไม่มีใครเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากการทำเหมือง (http://bit.ly/1slFPir)
    ยิ่งกว่านั้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 นายอำนวย พานทอง นายอำเภอทับคล้อ และนายกฤษณะ ก้อนแก้ว นายก อบต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ได้จัดให้มีการลงประชามติเห็นด้วยกับการที่จะอนุญาตให้ บ.อัคราไมนิ่ง ขยายกิจการสร้างบ่อทิ้งกากแร่ได้ โดยเห็นด้วยเป็นจำนวน 560 คะแนน และไม่เห็นด้วยเป็นจำนวน 269 คะแนน จึงเป็นอันสรุปว่ามติในครั้งนี้ บ.อัครา ไมนิ่ง ได้รับคะแนนเห็นชอบจากชาวบ้านอย่างท่วมท้น  ตามข่าวกล่าวว่า "แต่ข้อมูลที่แท้จริงจึงทำให้ชาวบ้านตาสว่างว่าที่ผ่านมาถูกกลุ่มบุคคลบางกลุ่มหลอกและถูกยุยงให้ต่อต้านโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์มาโดยตลอดเพียงเพราะมีประโยชน์แอบแฝงกับการค้าที่ดินที่จะบีบบังคับขายเหมืองทองอัครา ถ้าไม่ซื้อก็ปลุกปั่นให้ประท้วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา" (http://bit.ly/1WvASQF)
ไม่มีใครป่วยหรือตายเพราะเหมือง
    ที่ผ่านมามักมีข่าวว่าประชาชนโดยรอบเหมืองป่วยหรือเสียชีวิต ซึ่งไม่เป็นความจริง ดังตัวอย่างต่อไปนี้:
    1. กรณีนายสมคิด หรือลุงสมคดิ ธรรมพเวช อดีตพนักงานเหมืองแร่ทองคำชาตรีที่เสียชีวิต ภริยาของผู้ตายก็แจ้งว่า “จากผลการชันสูตรศพสามี ระบุว่า เสียชีวิตจากสาเหตุปอดอักเสบบวม และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเนื้อปอด ไม่มีสาเหตุมาจากการทำงานในเหมืองแร่ทองคำชาตรี แต่ยังมีผู้ไม่หวังดีแอบอ้างการเสียชีวิตของสามีตน นำไปเป็นข้ออ้างในการต่อต้านเหมืองแร่ทองคำชาตรีอยู่อีก นอกจากนี้ ยังมีการไปแอบอ้างรับบริจาคเงินด้วย โดยที่ตนเองและครอบครัวไม่ได้อนุญาต และไม่ได้รับเงินที่รับบริจาค” (http://bit.ly/1Zc11St)
    2. กรณีนายเฉื่อย บุญส่ง ก็เป็นอีกรายที่สุดลวงโลก พวกเอ็นจีโอเอามาบอกว่านายเฉื่อยตายเพราะมลพิษของเหมือง แต่ฟังข่าวดี ๆ ท่านตายเพราะเป็นโรตตับแข็ง  บางคนตกกระไดตาย แก่ตาย ก็เอามาใส่ร้ายว่าเป็นเพราะเหมือง (http://bit.ly/1VuKzxN)
    โดยสรุปแล้ว ไม่มีใครเสียชีวิตเพราะเหมือง  ถ้ามีมลพิษ คนงานเหมืองคงตายก่อน หรือรีบลาออกไป  แต่ในความเป็นจริงคนงานก็อยู่ในบริเวณรอบเหมือง  ที่ผ่านมามีแต่คนพยายามสร้างเรื่องเท็จ  ถ้ามีการเสียชีวิตจริง  คงถูกแห่ประจานไปแล้ว  คนงานเหมืองก็แข็งแรงดี ยังสามารถบริจาคโลหิตได้ ถ้ามีโลหะหนักจริงๆ ก็คงไม่มีใครรับบริจาค  แม้แต่คนขับรถลำเลียงสินแร่ ส่วนใหญ่ ก็เป็นผู้หญิงขับ  ส่วนที่เป็นผื่นคัน บางท่านคงไปฉีดยาฆ่าแมลงมาแล้วไมได้ล้างตัวให้สะอาด เป็นต้น  
พืชผักก็ไม่มีสารพิษแต่ถูกเอ็นจีโอหลอก
    พวกเอ็นจีโอมักใส่ไคล้ว่า พืชผักต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงเหมือง ไม่สามารถรับประทานได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง  พืชผักยังทานได้ตามปกติ  เมื่อเดือนมีนาคม 2559 ชาวตำบลเขาเจ็ดลูก จ.พิจิตร เข้าแจ้งความกรณีถูกหลอกลงชื่อรับผักปลอดสารพิษ ก่อนนำไปแอบอ้างเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ (http://bit.ly/1P3rjAQ)  การแจกผักปลอดสารพิษของเอ็นจีโอ จึงเป็นเพียง “ดรามา” ที่ใส่ไคล้ว่าสิ่งแวดล้อมไม่ดี
    อีกกรณีหนึ่งก็คือเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ชาวนาข้างเหมืองทองอัคราพิจิตรได้แจ้งความเอาผิดนักวิชาการพูดเท็จ โดย “ชาวบ้านรอบเหมืองทองเดือดนักวิชาการ NGO มั่วนิ่ม นำรูปนาข้าวไปเผยแพร่ว่ามีสารพิษจากเหมืองทอง กังวลผลผลิตจะขายไม่ได้แห่แจ้งความ เหมืองทองอัครา รวบรวม หลักฐานพยานบุคคลและพยานเอกสารจ่อส่งทนายฟ้อง” (http://bit.ly/1PijwVh)  จะเห็นได้ว่ากระบวนการใส่ร้ายป้ายสีเหมืองมีการสร้างกระแสกันอย่างต่อเนื่อง
สารพิษล้วนเป็นเรื่องเท็จ
    สารพิษที่กล่าวถึงได้แก่: (http://bit.ly/1P7FBQN)
    1. กรณีสารหนูนั้น ร่างกายเราสามารถขับออกได้เองภายใน 2-3 วัน ในอาหารทะเลก็มีสารหนู แม้พิจิตรจะไกลจากทะเล แต่ก็ได้รับสารหนูได้จากกุ้งแห้ง กะปิ ฯลฯ  ถ้าทานมากๆ และต่อเนื่องก็จะตรวจพบได้ในปัสสาวะ
    2. แมงกานีส ในร่างกายขาดไม่ได้ มีมากในผักสีเขียว พบในชาวมังสะวิรัติมาก  แต่ไม่มีการตั้งเกณฑ์ว่าควรมีในเลือดเป็นปริมาณเท่าไหร่  กรมอนามัยเคยตรวจแล้วแต่ไม่เกี่ยวกับการทำเหมือง  จึงถือเป็นการป้ายสีโดยไร้เหตุผล
    3. ไซยาไนด์ เป็นสารที่คนกลัวเพราะเคยใช้รมฆ่ายิว  แต่จริงๆ เราใช้ใกล้ตัว เช่น ในบลูยีนส์ออร์จินัล  ในหน่อไม้ มันสำปะหลังก็มีสูง เด็กในอีสานทานดิบๆ ก็เคยตายมาแล้ว (วัวควายยังตายเลย) (http://bit.ly/20UAREo http://bit.ly/1Y3Ji1t) แต่ไซยาไนด์จะถูกทำลายด้วยความร้อน หรือไม่ก็ถูกขับออกภายใน 2-3 วัน  ในเมล็ดแอปเปิ้ลก็มีไซยาไนด์ซึ่งแม้แต่นกก็ไม่กิน  ในสาหร่าย แบคทีเรีย บุหรี่ ฯลฯ ก็มี  ดังนั้นหากพบในร่างกายบ้างจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่สำคัญพิษของไซยาไนด์คือความเฉียบพลัน ถ้าเป็นประเภทป่วยเรื้อรังเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ที่มีการรณรงค์กันทั่วโลกในกรณี Ice Bucket Challenge) จึงไม่ใช่เพราะไซยาไนด์  ความเข้มข้นของไซยาไนด์ในบ่อกากแร่ของเหมืองยังน้อยกว่าในกาแฟ  นกจึงยังสามารถมาดื่มน้ำ-วางไข่ได้  แสดงว่าไม่มีสารพิษ
    โดยสรุปแล้ว การมีปริมาณสารโลหะหนักมากเกินค่ามาตรฐาน ไม่ใช่หมายความว่าป่วยเสมอไป  เกิดขึ้นได้ครั้งคราว  ที่สำคัญโลหะหนักในบริเวณนี้มีมาก่อนทำเหมืองเพราะบริเวณนี้มีแหล่งแร่  เหมืองไม่ได้ทำให้เกิดสารพิษ
เหมืองไร้มาตรฐาน หมิ่นวิชาชีพ?
    มีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่ากระบวนการจัดการเหมืองอาจไม่ได้มาตรฐาน ในขณะที่ทางเหมืองก็ชี้แจงว่าได้มาตรฐานระดับโลก  กรณีนี้ถ้ามีผู้ใดไม่แน่ใจ ก็ต้องไปพิสูจน์ จะมากล่าวหาส่งเดชไม่ได้  ผมได้เห็นคุณภักดีพงษ์ วีระภาสพงษ์ ที่เป็นผู้มีวิชาชีพเป็นนักธรณีวิทยาเกี่ยวกับเหมืองแร่ แสดงความเห็นที่น่าสนใจในกระทู้ของผมว่า "การทำเหมืองทองไม่ได้เป็นต้นเหตุให้ชาวบ้านได้รับสารโลหะหนัก แต่เกิดมาจากกระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นมาหลายสิบล้านหรือเป็นร้อยล้านปีแล้ว  ถึงไม่มีเหมืองทอง ชาวบ้านก็ได้รับสารโลหะหนักเหมือนเดิม เพียงแต่ก่อนหน้านี้ไม่มีการตรวจหาเท่านั้นเอง"
    ท่านยังว่า "ถ้ามองว่าการทำเหมืองเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว การสร้างหมู่บ้านจัดสรร ตึก โรงงาน โรงแรม ถากถางป่าเพื่อทำไร่ ตัดถนน-ทางรถไฟ ฯลฯ ก็เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน  อย่างการเผาไร่เผาป่าในภาคเหนือเมื่อเร็วๆ ได้สร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้กับคนในภาคเหนืออย่างรุนแรง  การกล่าวหาว่าเหมืองทองเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านได้รับสารโลหะหนัก ถือว่าไม่เป็นธรรมกับคนในวิชาชีพของผม (ผมไม่ได้ทำงานที่เหมืองนี้) และคนที่ร่ำเรียนสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่  ก่อนจะกล่าวหาอะไรกับใครควรได้รับการพิสูจน์ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายด้วยครับ"
นักลงทุนต่างชาติมาช่วย ไม่ได้มาปล้น
    การลงทุนต่างชาติทำให้เศรษฐกิจเติบโต รัฐบาลจึงส่งเสริม  แต่พวกค้านเหมืองกลับบอกไทยได้ผลตอบแทนน้อย  เมื่อเร็วๆ นี้ หอการค้าจังหวัดพิจิตรและคู่ค้าอัคราฯ ที่ยื่นหนังสือถึงทางราชการโดยระบุว่าการปิดเหมืองทอง ทำให้เศรษฐกิจ 4,000 ล้านบาทต่อปี  การมีเหมืองทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) จังหวัดพิจิตรในปี 2541 ที่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 6 หมื่นล้านบาทในปี 2556 . . . เฉพาะรายได้ค่าภาคหลวงแร่ในช่วงปี 2541 ถึงปี 2556 ยังคิดเป็น 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) ทั้งหมดของจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์อีกด้วย . . . พิจิตรมี GDP เป็นอันดับ 4 ของภาคเหนือ" (http://bit.ly/1X6tFr2)
    ราคาที่ดินที่เหมืองซื้อก็เพิ่มจากไร่ละ 1,000 บาท เป็นไร่ละ 500,000 บาท ก็มี  การที่ต้องย้ายชุมชนไป ก็เป็นการขายไปโดยความสมัครใจ ไม่มีใครใช้ปืนจี้หัว  การโยกย้ายก็เพื่อให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น  ไม่เป็นการทำลายรากเหง้าทางวัฒนธรรม  ดูอย่างกรณีวัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี (http://bit.ly/1Pm4Ynq) หรือที่เขื่อนสิริกิติ์ เหมืองแม่เมาะก็ย้ายทั้งอำเภอ  รากเหง้าทางวัฒนธรรมก็ไม่สูญหาย  อย่าได้เชื่อวาทกรรมไร้เหตุผลเช่นนี้ ดูอย่างคนจีน อินเดีย หรือแม้แต่ไทย ย้ายไปทั่วโลก วัฒนธรรมก็ตามไปด้วย  อย่าสักแต่อ้างเพื่อไม่ให้เกิดการโยกย้าย
    การปิดเหมืองโดยมีข้อมูลไม่เพียงพอจึงเท่ากับเราทำลายชาติ ทำเกียรติภูมิชาติเสียหาย ขาดความน่าเชื่อถือในการลงทุน  เรายังทำลายประชาชน ชุมชนที่อยู่กันอย่างสงบสุข  ต้องระเห็จไปหางานทำที่อื่นที่ได้รายได้น้อยกว่ามาก  นี่เป็นการรังแกคนส่วนใหญ่โดยอาศัยข้อมูลเท็จ  ผมเกรงว่าจะเกิดกลียุคเพราะขาดความยุติธรรม

ชาวเขาเจ็ดลูกแจ้งความโดนอ้างชื่อไล่เหมืองแร่ พืชผักก็ไม่มีสารพิษแต่ถูกเอ็นจีโอหลอก
http://bit.ly/1P3rjAQ

ชาวบ้านรอบเหมืองทองเดือดนักวิชาการ NGO มั่วนิ่ม นำรูปนาข้าวไปเผยแพร่ว่ามีสารพิษจากเหมืองทอง กังวลผลผลิตจะขายไม่ได้แห่แจ้งความ”
http://bit.ly/1PijwVh

เกือบ 80% ของประชาชนรอบเหมืองทองคำพิจิตรยังต้องการเหมือง
AREA แถลง ฉบับที่ 192/2559: วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2559
http://bit.ly/1slFPir

ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล - ดร.โสภณ พรโชคชัย กับเหมืองทองพิจิตร  https://www.youtube.com/watch?v=zTA5J3Q0rKk&feature=youtu.be

เถียงให้รู้เรื่อง "เหมืองทองคำ" (ฉบับย่อ) คลิกดูวิดิโอ: youtu.be/XLin878I5vs

เถียงให้รู้เรื่อง "เหมืองทองคำ" (ฉบับเต็ม) คลิกดูวิดิโอ: youtu.be/L9ibywJ1rW4

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1432.htm
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่