วัณโรค หรือ ทีบี เกิดจากเชื้อมัยโคแบคทีเรียม ทิวเบอร์คิวโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) วัณโรคจะมีทั้งวัณโรคปอด และวัณโรคนอกปอด ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นวัณโรคปอด ส่วนวัณโรคนอกปอดที่พบก็คือจะไม่มีอาการไอ เช่น ที่ต่อมน้ำเหลือง ลำไส้ เยื่อหุ้มหัวใจ สมอง ตับ ม้าม เป็นต้น วัณโรคสามารถติดต่อกันได้โดยการสูดหายใจเอาละอองที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไปเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การอยู่ร่วมในห้องเดียวกันกับคนที่เป็นวัณโรคปอดอยู่ โดยเฉพาะในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่ดี หรือการดูแลคนที่เป็นวัณโรคปอดอย่างใกล้ชิดอยู่เป็นประจำ
อาการ
- ไอเรื้อรังนานเกินกว่า 2 อาทิตย์ มักจะมีเสมหะ(เสลด)สีขาว ๆ
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด (5-10 กิโลกรัมต่อเดือน)
- อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้าโต
- มีเหงื่อออกตอนกลางคืน และอาจมีไข้ต่ำๆ (หรือมีไข้จับเป็นเวลา เช่นพอตกยามบ่ายไข้ก็จะขึ้น พอตกกลางคืนไข้ก็หายไป เป็นอยู่อย่างนี้ประจำ)
วัณโรคเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอ วี ไม่ว่ามี CD4 สูงหรือต่ำ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการกำเริบของเชื้อวัณโรคที่เคยได้รับมาก่อนและแฝงตัวอยู่ และส่วนน้อยจะเป็นการได้รับเชื้อวัณโรคเข้าไปใหม่
การรักษา
- ยาสูตรพื้นฐาน จะประกอบด้วยยา 4 ชนิด คือ isoniazid (ไอโซไนอะซิด)rifampicin (ไรแฟมพิซิน) pyrazinamide (ไพราซินาไมด์) และethambutol (เอ็ทแทมบูทอล) กินต่อเนื่องเป็นเวลา 6-12เดือน แล้วแต่แพทย์พิจารณา
ผลข้างเคียงของยา
- ผื่น
- ตับอักเสบ เกิดได้จากยา isoniazid, pyrazinamide, rifampicin
- ปลายประสาทอักเสบ (peripheral neuropathy) จากยาisoniazidป้องกันได้โดยการให้วิตามินบี 6 ร่วมไปด้วย
- มีพิษต่อตา จากยา ethambutol
- ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำตาเป็นสีแดงน้ำตาล จากยา rifampicin
- ยาrifampicin มีผลทำให้ระดับยาต้านไวรัสเปลี่ยนแปลง ควรเลือกใช้efavirenz เป็นตัวแรกหากต้องให้ร่วมกับ rifampicin
การป้องกัน
- ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ควรได้รับการตรวจหาวัณโรคแฝง ด้วยการทดสอบทางผิวหนัง (Tuberculin Skin Test) หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ โดยยังไม่เป็นวัณโรคระยะมีอาการ ก็สามารถกินยา isoniazid ร่วมกับวิตามินบี 6 เป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งจะทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดเป็นวัณโรคระยะมีอาการขึ้นมาได้
- ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเมื่อมีความจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
- ภาชนะและเครื่องใช้ของผู้ป่วย ควรได้รับการทำความสะอาดอยู่เสมอ
- ควรให้ผู้ป่วยพักอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้มากที่สุด
- ควรรีบพบหมอ เพื่อรับฟังคำแนะนำ พร้อมรับการรักษาที่ถูกต้อง
- เด็กและสมาชิกในครอบครัว ควรได้รับการตรวจวัณโรคด้วย พร้อมควรได้รับการป้องกันอย่างถูกวิธี
หมายเหตุ
- กินยาทั้งหมดแล้วเกิน 2 อาทิตย์ ก็จะไม่แพร่เชื้อวัณโรคอีก แต่ถ้าเป็นวัณโรคนอกปอด จะไม่มีการแพร่เชื้ออยู่แล้ว
- ควรกินยาติดต่อกันให้ครบตามเวลาที่กำหนด ถึงแม้ตรวจพบว่าไม่มีอาการของวัณโรคแล้วก็ตาม เพื่อให้หายขาดและป้องกันการดื้อยา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก icare.kapook.com และ ASTV Infographic
Report by LIV Capsule
วัณโรค - โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
อาการ
- ไอเรื้อรังนานเกินกว่า 2 อาทิตย์ มักจะมีเสมหะ(เสลด)สีขาว ๆ
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด (5-10 กิโลกรัมต่อเดือน)
- อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้าโต
- มีเหงื่อออกตอนกลางคืน และอาจมีไข้ต่ำๆ (หรือมีไข้จับเป็นเวลา เช่นพอตกยามบ่ายไข้ก็จะขึ้น พอตกกลางคืนไข้ก็หายไป เป็นอยู่อย่างนี้ประจำ)
วัณโรคเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอ วี ไม่ว่ามี CD4 สูงหรือต่ำ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการกำเริบของเชื้อวัณโรคที่เคยได้รับมาก่อนและแฝงตัวอยู่ และส่วนน้อยจะเป็นการได้รับเชื้อวัณโรคเข้าไปใหม่
การรักษา
- ยาสูตรพื้นฐาน จะประกอบด้วยยา 4 ชนิด คือ isoniazid (ไอโซไนอะซิด)rifampicin (ไรแฟมพิซิน) pyrazinamide (ไพราซินาไมด์) และethambutol (เอ็ทแทมบูทอล) กินต่อเนื่องเป็นเวลา 6-12เดือน แล้วแต่แพทย์พิจารณา
ผลข้างเคียงของยา
- ผื่น
- ตับอักเสบ เกิดได้จากยา isoniazid, pyrazinamide, rifampicin
- ปลายประสาทอักเสบ (peripheral neuropathy) จากยาisoniazidป้องกันได้โดยการให้วิตามินบี 6 ร่วมไปด้วย
- มีพิษต่อตา จากยา ethambutol
- ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำตาเป็นสีแดงน้ำตาล จากยา rifampicin
- ยาrifampicin มีผลทำให้ระดับยาต้านไวรัสเปลี่ยนแปลง ควรเลือกใช้efavirenz เป็นตัวแรกหากต้องให้ร่วมกับ rifampicin
การป้องกัน
- ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ควรได้รับการตรวจหาวัณโรคแฝง ด้วยการทดสอบทางผิวหนัง (Tuberculin Skin Test) หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ โดยยังไม่เป็นวัณโรคระยะมีอาการ ก็สามารถกินยา isoniazid ร่วมกับวิตามินบี 6 เป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งจะทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดเป็นวัณโรคระยะมีอาการขึ้นมาได้
- ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเมื่อมีความจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
- ภาชนะและเครื่องใช้ของผู้ป่วย ควรได้รับการทำความสะอาดอยู่เสมอ
- ควรให้ผู้ป่วยพักอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้มากที่สุด
- ควรรีบพบหมอ เพื่อรับฟังคำแนะนำ พร้อมรับการรักษาที่ถูกต้อง
- เด็กและสมาชิกในครอบครัว ควรได้รับการตรวจวัณโรคด้วย พร้อมควรได้รับการป้องกันอย่างถูกวิธี
หมายเหตุ
- กินยาทั้งหมดแล้วเกิน 2 อาทิตย์ ก็จะไม่แพร่เชื้อวัณโรคอีก แต่ถ้าเป็นวัณโรคนอกปอด จะไม่มีการแพร่เชื้ออยู่แล้ว
- ควรกินยาติดต่อกันให้ครบตามเวลาที่กำหนด ถึงแม้ตรวจพบว่าไม่มีอาการของวัณโรคแล้วก็ตาม เพื่อให้หายขาดและป้องกันการดื้อยา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก icare.kapook.com และ ASTV Infographic
Report by LIV Capsule