*กฟน.เตรียมเสนอบอร์ดพิจารณาผู้ผ่านเทคนิคงานนำสายไฟฟ้าลงดินช่องนนทรีมิ.ย.เคาะราคาก.ค.,ปีหน้าประมูลเพิ่ม
31 พ.ค. 2559 13:29
นายชัยภัทร สุขไพบูลย์วัฒน์ วิศวกรไฟฟ้า 10 ฝ่ายบริหารโครงการ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า กฟน.อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่ผ่านคุณสมบัติทางเทคนิคของโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน สำหรับโครงการช่องนนทรี ระยะทาง 8.3 กิโลเมตร (กม.) มูลค่า 2.5 พันล้านบาท จากที่มีผู้ยื่นเสนอเข้ามาทั้งหมด 6 ราย โดยจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกฟน.ในเดือนมิ.ย.นี้ หลังจากนั้นจะให้ยื่นเสนอราคาและคาดว่าจะสามารถเคาะราคาประมูลได้ในวันที่ 21 ก.ค. และเซ็นสัญญารับงานได้ในเดือนก.ย.นี้ โดยโครงการจะต้องแล้วเสร็จในปี 63
สำหรับในปีหน้า กฟน.มีแผนจะเปิดประมูลโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน สำหรับโครงการพระราม 3 ระยะทาง 17 กม. มูลค่าราว 5 พันล้านบาท และโครงรัชดาภิเษก ระยะทาง 25 กม. มูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท โดยโครงการพระราม 3 จะเปิดประมูลก่อนในช่วงต้นปี 60 แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นเส้นทางที่ไม่ต้องมีอุโมงค์ใต้ดิน มูลค่า 2 พันล้านบาท และระยะที่สองเป็นเส้นทางที่ต้องมีอุโมงค์ใต้ดิน มูลค่า 3 พันล้านบาท โดยจุดที่ต้องมีอุโมงค์ใต้ดินเนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อที่ต้องรับไฟฟ้าแรงดันสูงทำให้ต้องทำเป็นอุโมงสายส่งไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ซึ่งโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 64 หลังจากนั้นจะเปิดประมูลโครงการรัชดาภิเษกต่อไป เพื่อให้แล้วเสร็จในปี 65
ทั้งนี้ กฟน.ได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินมาแล้วหลายพื้นที่ โดยจะมีโครงการที่จะแล้วเสร็จในปีนี้ ได้แก่ ถนนศรีอยุธยา พญาไท พระรามหก แยกประตูน้ำ บรรทัดทอง เป็นต้น ขณะที่มีหลายโครงการที่แล้วเสร็จก่อนหน้านี้ ได้แก่ โครงการสีลม ปทุมวัน สุขุมวิท จิตรลดา พหลโยธิน เป็นต้น
นายชัยภัทร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการในกลุ่มแรก ๆ ที่กฟน.ได้รับอนุมัติและอยู่ระหว่างการดำเนินการต่อเนื่อง ขณะที่ล่าสุดคณะรัรฐมนตรียังได้อนุมัติโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ของกฟน. เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียนระยะ 10 ปี (ปี 59-68) ระยะทาง 127.3 กม. เงินลงทุน 48,717 ล้านบาท โดยในส่วนนี้ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการสามเสน-รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นโครงการแรกก่อน
นอกจากนี้ในวันที่ 29 มิ.ย.นี้จะมีการลงนามความร่วมมือระหว่าง 5 องค์กร ได้แก่ กฟน. ,กรุงเทพมหานคร (กทม.) ,บมจ.ทีโอที , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้มีความร่วมมือและประสานงานกันในระหว่างการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินดังกล่าว ขณะที่ในส่วนของกสทช.ก็จะมีการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดินด้วยเช่นกัน
ด้านนายวีรพันธุ์ รุ่งพันธุ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการกฟน. กล่าวว่า ปัจจุบันกฟน.มีอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน 2 แห่ง ได้แก่ เส้นทางลาดพร้าว-วิภาวดี และบางกะปิ-ชิดลม โดยได้เปิดดำเนินการแล้วทั้ง 2 แห่ง ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นคงระบบส่งไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์ เพราะเป็นการนำสายส่งไฟฟ้าแรงสูงลงใต้ดิน ซึ่งจะมีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ มากกว่าอยู่บนอากาศ ทำให้สามารถนำไฟฟ้าแรงสูงจากระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าสู่พื้นที่เขตเมืองได้อย่างปลอดภัย และระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงมากขึ้น
โดยอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินบางกะปิ-ชิดลม มีขนาดแรงดัน 230 กิโลโวลต์ (kV) ที่เชื่อมต่อระบบจ่ายไฟฟ้าระหว่างสถานีต้นทางบางกะปิถึงสถานีต้นทางชิดลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.62 เมตร ยาว 7 กิโลเมตร อยู่ลึกกว่า 30 เมตร ลอดใต้แนวคลองแสนแสบ อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และอุโมงค์ระบายน้ำของกทม. ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในย่านธุรกิจสำคัญใจกลางเมืองที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้กฟน.ยังมีศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition)/EMS (Energy Management System) เป็นระบบตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบเป็นปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้การบริหารจัดการควบคุมแรงดันและการจ่ายไฟฟ้ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยสามารถสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า พร้อมรองรับทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉินได้เพื่อสามารถเข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุ และแก้ไขปัญหาได้ในระยะเวลาอันสั้น
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเพื่อรองรับและสร้างความมั่นคงในระบบการจ่ายไฟฟ้า เนื่องจากปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าในเขตพื้นที่จำหน่ายไฟฟ้าของกฟน. ในพื้นที่กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีสถิติความต้องการพลังไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยล่าสุดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกฟน. (Max. Demand) อยู่ที่ 9,296.57 เมกะวัตต์ เวลา 13.30-14.00 น. ในวันที่ 26 พ.ค.59 สูงกว่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเมื่อปี 58 คิดเป็นอัตรา 6.17%
กฟน. เตรียมจัดประมูลงานนำสายไฟฟ้า สายโทรคมนาคมลงใต้ดิน มีหุ้นตัวไหนได้ประโยชน์บ้าง
31 พ.ค. 2559 13:29
นายชัยภัทร สุขไพบูลย์วัฒน์ วิศวกรไฟฟ้า 10 ฝ่ายบริหารโครงการ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า กฟน.อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่ผ่านคุณสมบัติทางเทคนิคของโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน สำหรับโครงการช่องนนทรี ระยะทาง 8.3 กิโลเมตร (กม.) มูลค่า 2.5 พันล้านบาท จากที่มีผู้ยื่นเสนอเข้ามาทั้งหมด 6 ราย โดยจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกฟน.ในเดือนมิ.ย.นี้ หลังจากนั้นจะให้ยื่นเสนอราคาและคาดว่าจะสามารถเคาะราคาประมูลได้ในวันที่ 21 ก.ค. และเซ็นสัญญารับงานได้ในเดือนก.ย.นี้ โดยโครงการจะต้องแล้วเสร็จในปี 63
สำหรับในปีหน้า กฟน.มีแผนจะเปิดประมูลโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน สำหรับโครงการพระราม 3 ระยะทาง 17 กม. มูลค่าราว 5 พันล้านบาท และโครงรัชดาภิเษก ระยะทาง 25 กม. มูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท โดยโครงการพระราม 3 จะเปิดประมูลก่อนในช่วงต้นปี 60 แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นเส้นทางที่ไม่ต้องมีอุโมงค์ใต้ดิน มูลค่า 2 พันล้านบาท และระยะที่สองเป็นเส้นทางที่ต้องมีอุโมงค์ใต้ดิน มูลค่า 3 พันล้านบาท โดยจุดที่ต้องมีอุโมงค์ใต้ดินเนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อที่ต้องรับไฟฟ้าแรงดันสูงทำให้ต้องทำเป็นอุโมงสายส่งไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ซึ่งโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 64 หลังจากนั้นจะเปิดประมูลโครงการรัชดาภิเษกต่อไป เพื่อให้แล้วเสร็จในปี 65
ทั้งนี้ กฟน.ได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินมาแล้วหลายพื้นที่ โดยจะมีโครงการที่จะแล้วเสร็จในปีนี้ ได้แก่ ถนนศรีอยุธยา พญาไท พระรามหก แยกประตูน้ำ บรรทัดทอง เป็นต้น ขณะที่มีหลายโครงการที่แล้วเสร็จก่อนหน้านี้ ได้แก่ โครงการสีลม ปทุมวัน สุขุมวิท จิตรลดา พหลโยธิน เป็นต้น
นายชัยภัทร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการในกลุ่มแรก ๆ ที่กฟน.ได้รับอนุมัติและอยู่ระหว่างการดำเนินการต่อเนื่อง ขณะที่ล่าสุดคณะรัรฐมนตรียังได้อนุมัติโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ของกฟน. เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียนระยะ 10 ปี (ปี 59-68) ระยะทาง 127.3 กม. เงินลงทุน 48,717 ล้านบาท โดยในส่วนนี้ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการสามเสน-รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นโครงการแรกก่อน
นอกจากนี้ในวันที่ 29 มิ.ย.นี้จะมีการลงนามความร่วมมือระหว่าง 5 องค์กร ได้แก่ กฟน. ,กรุงเทพมหานคร (กทม.) ,บมจ.ทีโอที , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้มีความร่วมมือและประสานงานกันในระหว่างการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินดังกล่าว ขณะที่ในส่วนของกสทช.ก็จะมีการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดินด้วยเช่นกัน
ด้านนายวีรพันธุ์ รุ่งพันธุ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการกฟน. กล่าวว่า ปัจจุบันกฟน.มีอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน 2 แห่ง ได้แก่ เส้นทางลาดพร้าว-วิภาวดี และบางกะปิ-ชิดลม โดยได้เปิดดำเนินการแล้วทั้ง 2 แห่ง ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นคงระบบส่งไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์ เพราะเป็นการนำสายส่งไฟฟ้าแรงสูงลงใต้ดิน ซึ่งจะมีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ มากกว่าอยู่บนอากาศ ทำให้สามารถนำไฟฟ้าแรงสูงจากระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าสู่พื้นที่เขตเมืองได้อย่างปลอดภัย และระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงมากขึ้น
โดยอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินบางกะปิ-ชิดลม มีขนาดแรงดัน 230 กิโลโวลต์ (kV) ที่เชื่อมต่อระบบจ่ายไฟฟ้าระหว่างสถานีต้นทางบางกะปิถึงสถานีต้นทางชิดลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.62 เมตร ยาว 7 กิโลเมตร อยู่ลึกกว่า 30 เมตร ลอดใต้แนวคลองแสนแสบ อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และอุโมงค์ระบายน้ำของกทม. ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในย่านธุรกิจสำคัญใจกลางเมืองที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้กฟน.ยังมีศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition)/EMS (Energy Management System) เป็นระบบตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบเป็นปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้การบริหารจัดการควบคุมแรงดันและการจ่ายไฟฟ้ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยสามารถสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า พร้อมรองรับทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉินได้เพื่อสามารถเข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุ และแก้ไขปัญหาได้ในระยะเวลาอันสั้น
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเพื่อรองรับและสร้างความมั่นคงในระบบการจ่ายไฟฟ้า เนื่องจากปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าในเขตพื้นที่จำหน่ายไฟฟ้าของกฟน. ในพื้นที่กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีสถิติความต้องการพลังไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยล่าสุดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกฟน. (Max. Demand) อยู่ที่ 9,296.57 เมกะวัตต์ เวลา 13.30-14.00 น. ในวันที่ 26 พ.ค.59 สูงกว่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเมื่อปี 58 คิดเป็นอัตรา 6.17%