เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินชดเชยมั้ย ขอความเห็นหน่อยครับ

เรื่องคือสัญญาจ้างงานของผมเป็นแบบปีต่อปี ตอนนี้ทำงานมาสองปีกว่าแล้ว
แล้วคิดว่าสิ้นปีนี้ผู้ว่าจ้างจะไม่ต่อสํญญาให้ ในกรณีนี้เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ผมจะได้รับเงินชดเชยตามกฏหมายหรือไม่ครับ ขอบคุนล่วงหน้าครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
มันเป็นหนึ่งเรื่องที่ฝ่ายบุคคล นายจ้าง และลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่ทราบกันว่าถึงแม้เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้าง หากสิ้นสุดสัญญาจ้าง ก็มีสิทธิได้รับเงินชดเชยเช่นเดียวกับพนักงานประจำทั้งหลาย

ผมเคยสรุปเป็นบทความเอาไว้ในเพจของผม ลองศึกษาดูตามเนื้อหาด้านล่างครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ในมาตรา 118 วรรค 3 และ 4  ซึ่งมีบทบัญญัติ ดังต่อไปนี้

“ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง”

1)    กฎหมายกำหนดให้สามารถทำสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา เพียงไม่กี่งานเท่านั้น
-    ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นสำหรับการจ้างงาน คือ นายจ้างมักเข้าในว่า นายจ้างเองสามารถทำสัญญาจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน กับลูกจ้างได้ทุกคน ทุกตำแหน่ง ทุกหน้าที่ เช่น ทำสัญญาจ้างชั่วคราว มีอายุ 1 ปี หลังจากครบกำหนดแล้ว จะสามารถเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราวนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยแทนการเลิกจ้าง

แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น กฎหมายในมาตรา 118 วรรค 3 ได้กำหนดให้ลักษณะงานตามกฎหมาย ที่หากทำสัญญาจ้างงานอันมีกำหนดระยะเวลาแล้วนั้น ต่อมาเกิดการเลิกจ้าง แล้วไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย กฎหมายระบุเอาไว้เพียง 3 ลักษณะงาน คือ
1.1)    งานโครงการพิเศษที่ไม่ใช่ธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง
1.2)    งานที่มีลักษณะงานเป็นครั้งคราวที่กำหนดจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของงาน
1.3)    งานตามฤดูกาลและจ้างงานตามฤดูกาลนั้นๆ

ดังนั้นแล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้ปิดช่องโหว่มิให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้างด้วยการทำสัญญาจ้างชั่วคราวเอาไว้ในท้ายมาตรา 118 นี้ ดังนั้นแล้ว การที่นายจ้างทำการจ้างลูกจ้าง โดยมีลักษณะงานไม่เข้าข้อกฎหมาย เช่น จ้างลูกจ้างทั่วไป หรือเจ้าหน้าที่ทั่วไป ที่ทำงานเหมือนพนักงานหลักของนายจ้าง แต่ทำสัญญาจ้างชั่วคราว พอจบสัญญากันแล้ว จะต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างนั้นๆด้วยนะครับ เนื่องจากลักษณะงานไม่เข้ามาตรา 118 วรรค 3-4
(ตัวอย่างคำตัดสินศาลฎีกา แผนกคดีแรงงานเลขที่ 3896/2545)

2)    สัญญาจ้างชั่วคราวนั้น ต้องระบุวันเริ่มต้น และสิ้นสุดอย่างชัดเจน
ประเด็นปัญหาต่อมาคือ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนนั้น นายจ้างมักเขียนสัญญาหรือปฎิบัติกับลูกจ้างอย่างผิดๆ เช่น เขียนให้มีช่วงทดลองงาน หรือเขียนเปิดให้มีการเลิกจ้างหรือลาออกกันได้ก่อนกำหนด ฟังๆดูแล้วหัวข้อเหล่านี้ไม่น่าจะมีอะไรผิดปรกติใช่ไหมครับ แต่กฎหมายท่านกล่าวว่า หากสัญญาจ้างอันมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนนั้น มีข้อความให้ทดลองงานแล้วมีการประเมิน หรือมีข้อความให้สามารถยกเลิกสัญญาจ้างกันได้ก่อนกำหนด สัญญานั้น ถือเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาทันที พูดง่ายๆคือ กลายเป็นสัญญาจ้างงานปรกติทันที สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลานั้น ต้องมีระยะเวลาเปิดปิดที่ชัดเจนครับ ต่อสัญญากันต่อไปไม่ได้ จบแล้วคือจบสัญญาเลย และจะต้องมีกำหนดระยะเวลาของสัญญาไม่เกิน 2 ปีด้วยครับ

    ดังนั้น สรุปแล้ว การที่นายจ้างทำสัญญาจ้างชั่วคราว โดยนำมาปรับใช้ในธุรกิจหลักของนายจ้างนั้น จะมีประโยชน์เพียง 2 ประการครับคือ ไม่ต้องจ่ายเงินแทนการบอกกล่าวล่วงหรือ และสองคือ ปิดประเด็นค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเท่านั้น ส่วนประเด็นเงินชดเชยการเลิกจ้างตามมาตรา 118 นั้น ยังคงไม่เข้าข้อยกเว้น จำเป็นต้องจ่ายไปตามอายุงานครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่