พนักงานละหมาดในที่ทำงาน เป็นเรื่องซีเรียสมากมั้ยคะ

พอดีลูกน้องในแผนกของเรา 2 คนเพิ่งเปลี่ยนไปเข้าศาสนาอิสลามราวๆ ครึ่งปีก่อนค่ะ ก่อนจะเริ่มคลุมผ้ามาทำงานน้องขออนุญาตเรากับเจ้านาย ซึ่งทางนี้ไม่มีปัญหาเพียงแต่ขอว่าอย่าคลุมสีดำให้มันดูลึกลับหรือสะดุดตาคนนัก น้องๆ ก็คลุมผ้ามีสีสันน่ารักดีค่ะ ไม่ไติดอะไร ทีนี้เมื่อสักเดือนก่อน น้องๆ เริ่มละหมดที่ออฟฟิศ โดยอาศัยห้องประชุมว่างๆ ละหมาด 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน (เราไม่แน่ใจเพราะไม่ได้นั่งจ้องตลอด) แต่มันเริ่มสะดุดใจเราตรงที่เจ้านายเรียกประชุมด่วนๆ แล้วน้องติดละหมาด เราจะไม่เรียกก็ไม่ได้ ถ้าเราบอกเจ้านายว่าเราจะพาลโดนด่าไปด้วยแน่นอน เพราะเจ้านายเป็นชาวต่างชาติและเรื่องงานคือสำคัญอันดับ 1 ของเค้าเลย และอีกไม่นานออฟฟิศจะจัดที่นั่งใหม่ค่ะ จากที่แผนกเราเคยนั่งเดี่ยวๆ ไม่ต้องยุ่งกะใครและไม่มีใครคอยคุม เป็นนั่งรวมกับอีกแผนกนึงและมีเจ้านายนั่งคุม 1 คน  เราแอบคิดว่าเจ้านายจะรู้สึกแย่รึเปล่าคะที่น้องๆ หายไปละหมาดวันละหลายครั้งแบบนี้ จริงๆ เราเองไม่ได้มีปัญหานะ แต่ถ้าเจ้านายโวยเรานี่โดนด้วยแน่นอน ในฐานะที่ยอมให้เค้าใช้เวลางานแบบนี้มาตลอด ควรทำไงดีคะ

- น้องๆ ที่รับอิสลามคือรับตามแฟนค่ะ และไฟแรงมากด้วย เคร่งสุดๆ ยิ่งกว่ามุสลิมโดยกำเนิดอีก เพราะมีน้องอีกแผนกที่เป็นมุสลิมโดยกำเนิด คนนั้นไม่คลุมผ้า+ไม่ละหมาดใดๆ ทั้งสิ้น น้องบอกทำที่บ้านเมื่อไรก็ได้ค่ะ
- น้องทำงานมาราวๆ 2 ปีแล้วค่ะ ตอนที่รับเข้ามาไม่มีใครทราบว่าน้องจะเปลี่ยนเป็นอิสลาม
- ไม่เอาดราม่า ไม่ด่ากันในกระทู้เราได้มั้ยคะ อันนี้คืออยากแก้ปัญหาให้อยู่ร่วมกันได้โดยสวัสดิภาพทั้งสองฝ่าย
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 19
ผมเห็นใจ จขกท., ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ "ไปทำอะไร" แต่มันอยู่ที่ว่า นี่คือ "เวลาอะไร"
ความคิดเห็นที่ 15
ที่ทำงานเราเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับต่างประเทศนะคะ มีผู้คนหลายชาติหลายศาสนาทำงานร่วมกัน บริษัทมีนโยบายเรื่องศาสนาที่แจ้งให้พนักงานเข้าใหม่ทุกคนทราบว่า ความสำเร็จของกิจการงานบริษัทถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง เพราะความสำเร็จนำไปสู่ผลกำไร ผลกำไรนำไปสู่การปรับขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส การขยายงาน และความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานทุกคน

จะนับถือศาสนาใด ลัทธิใด หรือแม้ไม่มีศาสนาก็ไม่สำคัญค่ะ ขอให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริตก็เพียงพอแล้ว

ก่อนรับเข้าทำงาน พนักงานต้องทำความเข้าใจกับบริษัทให้ชัดเจนแจ่มแจ้งว่า เวลาทำงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน รวมทั้งการจ่ายค่าล่วงเวลา การลาหยุด ลาป่วยและสิทธิอื่น ๆ ที่พนักงานจะพึงมี

ดังนั้น บริษัทจึงห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใด ๆ ระหว่างเวลาปฎิบัติงานค่ะ ไม่มีข้อยกเว้นให้ใครทั้งนั้น เพราะถือความสำเร็จของงานสำคัญอันดับหนึ่งตามที่เขียนข้างต้น

ดังนั้น กรณีคำถามของ จขกท บริษัทเราไม่อนุญาตให้ระหมาดในเวลางาน อาจทำได้เฉพาะเวลาพัก เช่น พักกลางวัน ซึ่งเป็นสิทธิของพนักงานตามกฎหมาย

บริษัทมีเหตุผลนะคะ ในการมีกฎเกณฑ์เช่นนี้ เพราะไม่อาจทราบได้ว่า พนักงานแต่ละคนนับถือศาสนาใด มีบทบัญญัติของแต่ละศาสนาอย่างไรที่ต้องปฎิบัติ หากอนุญาตให้พนักงานคนหนึ่งใช้เวลางานปฎิบัติตามข้อบัญญัติศาสนา เช่น ระหมาด ก็อาจมีอีกคนยกเอาบทบัญญัติของอีกศาสนาขึ้นมาเพื่อยกเว้นการทำงานได้ ซึ่งไม่เป็นธรรมกับพนักงานอื่น รวมทั้งการงานจะชงักไป ต้องรอผู้ที่ใช้เวลากับพิธีทางศาสนาให้เรียบร้อยเสียก่อน

ตอบ จขกท
สมมุติน้องหญิงมุสลิมเป็นเลขา ต้องเข้าประชุม แต่ต้องระหมาดตามที่ จขกท เขียนกระทู้ ที่ประชุมต้องรอหรือคะ  หากเป็นเรา เราแก้ปัญหาด้วยการให้น้องเลือกค่ะ ว่าจะร่วมงานกันต่อไปหรือไม่ หากศาสนาสำคัญมากถึงขนาดที่การประชุมต้องรอน้องให้ระหมาดเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน  ก็จ่ายชดเชยแล้วให้ออกค่ะ

ทั้งนี้เพื่อตัดไฟต้นลม ไม่ให้มากเรื่องแล้วแก้ปัญหายากขึ้น

บริษัทเคยเจอข้อเสนอ
1. เรียกร้องให้จัดอาหารเฉพาะสำหรับพนักงานมุสลิม หรือ ให้ทั้งห้องอาหารพนักงานบริการอาหารที่ทุกคนกินได้ (ตรงที่ "ทุกคนกินได้นี่" เข้าใจไหมคะ)
2. จัดให้มีห้องสำหรับระหมาด  เป็นต้น  

แน่นอน ข้อเรียกร้องทั้งหมดถูกปฎิเสธ บริษัทตอบกลับว่า ยึดถือกฎหมายเป็นหลัก

เรามีสาขาหลายประเทศ เช่นใน มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ซึ่งพนักงานของเราในแต่ละประเทศต้องเคารพและปฎิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้น
เช่น ในบางประเทศ วันสำคัญทางศาสนาพุทธ ไม่ใช่วันหยุด พนักงานทุกคนในประเทศนั้นก็ทำงานตามปรกติค่ะ

จขกท เสนอบริษัทใช้กฎหมายแรงงานให้เคร่งครัดนะคะ

ตาม ท่าน คห 14 ที่ว่าศาสนาสำคัญที่สุดเพราะสอนให้ซื่อสัตย์ เห็นด้วยค่ะ ทุกศาสนามีคำสอนนี้ แต่แปลกที่พนักงานบางคนของเราแจ้งตั้งแต่แรกเข้าว่า ไม่สนใจและไม่มีศาสนา กลับทำงานได้ขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์ไม่แพ้ผู้นับถือศาสนานะคะ เคยถามเขาเรื่องนี้ เขาว่า "หากรู้ผิดชอบชั่วดีในใจ ศาสนาก็ไม่สำคัญ"

แก้ไขพิมพ์ผิดเล็กน้อย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่