ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ยันมือถือจุดไฟไม่ได้ หลังมีกม.เอาผิดปั๊มน้ำมันละเลย ปรับเป็นแสน!

วันนี้ (30 พ.ค.) ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเฟสบุ๊กกรณีมีข่าวสั่งปั้มคุมเข้มผู้ใช้บริการเติมน้ำมันต้องดับเครื่อง-ห้ามโทร-ห้ามสูบ หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ (29 พ.ค.59) ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องส่งพนักงานเข้าอบรมด้านการให้บริการด้านความปลอดภัยภายใน 2 ปี ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

โดย ดร.เจษฎา ระบุว่า อันนี้ท่าทางจะไปกันใหญ่แล้ว เรื่องจะ “จับปรับผู้ให้บริการ ถ้ามีคนใช้โทรศัพท์มือถือในปั๊มน้ำมัน” คือถ้าเตือนกันเฉยๆ ผมก็กล้อมแกล้มทำตามประกาศไปด้วยได้นะ แต่ถ้าขนาดจะเอามาเป็นความผิด เอามาปรับเงินกันเป็นแสน จำคุกกันเป็นปี นี่ก็บ้าแล้วครับ

ยืนยันอีกครั้งว่า สัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่สามารถจุดไฟน้ำมันเชื้อเพลิงติดได้ มันเป็นความเชื่อที่มีตามๆ กันมาเท่านั้น หน่วยงานตรวจสอบทั้งในประเทศออสเตรเลีย และในอังกฤษ ( ดู http://www.gsma.com/publicpolicy/faq/topic-can-mobile-phones-cause-explosions-at-petrol-stations ) ก็ให้ผลสรุปว่า จริงๆ มันเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นทั้งนั้น เช่น การมีไฟฟ้าสถิตจากมือผู้เติมน้ำมัน ไม่เคยมีกรณีที่เกิดจากสัญญาณโทรศัพท์มือถือเลย เป็นความบังเอิญทั้งสิ้น (ถ้าจะรณรงค์ไม่ให้ใช้ ก็เพราะว่าการโทรศัพท์จะทำให้คนเติมน้ำมันนั้นเสียสมาธิต่างหาก)

ที่มาของเรื่องเล่านี้มันเกิดขึ้นอินโดเมื่อซัก 15 ปีก่อน แล้วแพร่ไปทั่วโลกผ่านทางฟอร์เวิร์ดเมล์ จนพวก บ. น้ำมัน ก็กลัวไปด้วย เลยทำประกาศเป็นทางการกัน ตั้งแต่นั้นมา (ดู http://www.snopes.com/autos/hazards/gasvapor.asp )
คำสรุปเป็นเช่นนี้ Later investigations, however, have always shown in such cases that the press reports were wrong, that something else (usually a discharge of static electricity) touched off the fires, and the presence of cell phones was coincidental rather than causal. มันแค่ความบังเอิญครับ
http://www.matichon.co.th/news/154108

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=797803147016988&set=a.341092282688079.1073741827.100003619303769&type=3&theater
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ให้ดับเครื่องก่อนเติม แล้วเติมเสร็จตอนสตาร์ทรถ มีประกายไฟไหม หรือต้องเข็นไปสตาร์ทนอกปั๊ม
ความคิดเห็นที่ 54
อยากให้ข้อมูลครับ นักวิชาการหรือวิศวกรออกแบบต้องอิงมาตรฐานหรือหลักวิชาช่างที่ควรจะเป็นครับ
ถ้าเป็นพวกโรงกลั่นน้ำมัน มาตรฐานทางอเมริกาจะ NEC 500 หรือ NEC 505 ครับ ส่วนมาตรฐานทางยุโรปจะเป็น IEC 60079 ครับเป็น Series Explosive Atmosphere Standards  ส่วนประเทศไทยรับเอาทั้ง 2 มาตรฐานสากลนี้มาใช้ครับ

พื้นที่อันตรายที่มีโอกาสเกิดระเบิดจากไอระเหยของกาซ มาตรฐานเขากำหนดครับคือ IEC 60079-10-1 Classification of areas - Explosive gas atmospheres มาตรฐานเขาจะบอกว่าระยะห่างจากวัตถุไอระเหยไวไฟไกลแค่ไหน จึงจะอันตรายหรือไม่อันตราย ซึ่งน่าจะเอามาประยุกต์ใช้กับปั้มน้ำมันได้

์NEC 505 และ IEC 60079-10-1 จะกำหนดเป็นโซนอันตรายครับคือ Zone 0 (อันตรายสูงสุด), Zone 1 และ Zone 2(อันตรายน้อย)  ถ้าอยู่ภานอก Zone 2 ออกไปแล้ว ถือว่าไม่อยู่ในโซนอันตรายจากการเกิดระเบิดจากไอระเหยของกาซครับ

บริเวณใกล้หัวจ่ายน้ำมันในปั้มน้ำมันมีโอกาสเกิดระเบิดจากไอระเหยของกาซ หากมีประกายไฟครับ
ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสื่อสารใดๆที่อยู่ในโซนอันตราย (Zone 0, Zone 1 และ Zone 2) ต้องเป็นอุปกรณ์แบบกันระเบิดครับ

ผมจึงขอตอบคำถามว่าบริเวณใกล้หัวจ่ายน้ำมันในปั้มน้ำมันมีโอกาสเกิดระเบิดจากไอระเหยของกาซดังนี้
1.เหตุใด จึงต้องดับเครื่องเพราะเป็นการหลีกเลี่ยงประกายไฟที่มาจากเครื่องยนต์
2.เหตุใด จึงห้ามใช้มือถือเพราะเป็นการหลีกเลี่ยงประกายไฟจากมือถือ(ขณะพูด กำลังรับ-ส่งจะสูง กินไฟเยอะ)  ถ้าในโรงกลั่นน้ำมัน เขาจะใช้ วิทยุสื่อสารหรือ ว.แบบกันระเบิดครับ  ผมอยากใช้ข้อมูลครับว่ามือถือที่เราใช้กันทั่วไป ไม่ใช่มือถือแบบกันระเบิดครับ  ส่วนเรื่องคลื่นมือถือทำให้จุดไฟในติดในปั้ม ผมยังไม่เห็นมาตรฐานบังคับครับ
3.ไฟฟ้าสถิตย์ที่ติดตัวเรามา หรือรถเรามา จะมีโอกาสทำให้เกิดประกายไฟเมื่อมีการถ่ายเทประจุ (Discharge) ได้ครับ
ด้วยเหตุนี้ในโรงกลั่นน้ำมันจึงมีการต่อลงดินรถทุกคันที่เข้าขนถ่ายน้ำมัน เพื่อถ่ายไฟฟ้าสถิตย์ลงดินครับ
ความคิดเห็นที่ 14
โทรศัพท์ไม่สามารถทำให้เกิดประกายไฟได้ครับ แต่ในทางทฤษฎี การทำโทรศัพท์ตก อาจก่อให้เกิดประกายไฟได้ แต่สิ่งที่เป็นอันตรายจริงๆ จะเป็นพวกผ้าไนลอน ถุงน่อง ที่เวลามีการถู แล้วก่อให้เกิดไฟฟ้าได้ ในรายการ mega clever เคยทดลองไว้คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ความคิดเห็นที่ 48
คนวิทยาศาสตร์ก็คิดแบบวิทยาศาสตร์  แต่ไม่เคยคิดแบบคนเดินดิน   ไม่ใช่ทุกคนพกไอโฟนเติมน้ำมัน   บางคนพกมือถือจีน  เครื่องร้อนเป็นฮีตเตอร์หน้าหนาวได้  พร้อมระเบิดได้ทุกเวลา   ความจริงคือใช่  แต่ไม่ใช่ทุกจริง    แจ็คพ๊อตแตกช่วงอาจารย์เติมน้ำมันพอดี  หาซากไม่เจอ(ว่ามือถือยี่ห้อไหน)   เดี๋ยวว่าหล่อ(รัฐบาล)ไม่บอกนะครับ
ความคิดเห็นที่ 39
จากประโยคที่ว่า สัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่สามารถจุดไฟน้ำมันเชื้อเพลิงติดได้ มันเป็นความเชื่อที่มีตามๆ กันมาเท่านั้น ผมก็คิดเหมือนกับอาจารย์นะครับ
Q:ที่นี้คงต้องมาดูกันว่าทำไมในปั้มเขาจึง ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามก่อประกายไฟ ให้ดับเครื่อง ให้ปิดโทรศัพท์มือถือ
-เพราะที่ว่ามาข้างบนนั้นเป็นตัวก่อให้เกิดประกายไฟครับ
*ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามก่อประกายไฟ>>>ก็ตรงๆอยู่แล้ว
*ให้ดับเครื่อง >>> อันนี้น่าจะกลัวว่าจะมีประกายไฟมาจากเครื่องยนต์ เช่นขั้วแบตเตอรี่ หรือท่อไอเสีย(เขม่าที่จับตัวกันแล้วร้อนจนหลุดออกมา คล้ายๆสะเก็ดจากงานเชื่อม ประมาณนั้น) พวกนี้อาจจะออกมาขณะเติมน้ำมัน ซึ่งขณะนั้นจะมีไอน้ำมันอยู่จากจุดเติมน้ำมัน ส่วนโอกาสจะเกิดประกายไฟนั้นมันก็แล้วแต่สภาพรถอีกที
*ให้ปิดโทรศัพท์มือถือ>>>เนื่องจากเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แน่นอนว่าอาจเกิดประกายไฟได้จากจุดที่เป็นหน้าสัมผัสต่างๆเช่น จุดเชือมต่อจากแบตกับตัวโทรศัพท์ แน่นอนอีกว่ามันไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะมาจากตรงไหนของโทรศัพท์ เค้าก็เลยป้องกันไว้ก่อน
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มันอาจจะเกิดระหว่างเติมน้ำมัน ซึ่งมีไอของน้ำมันออกมาอยู่
ที่นี้ก็ต้องมาดูเรื่องของการเกิดไฟ มันมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ออกซิเจนที่พอเหมาะ เชื้อเพลิงที่พอเหมาะ และประกายไฟ ทั้งสามนี้ ในปั้มมันมีออกซิเจนตามบรรยากาศทั่วไปอยู่แล้ว เชื้อเพลิง(ไอที่ออกจากการเติมน้ำมัน)มันก็ต้องพอเหมาะเหมือนกัน ทั้งสองอย่างถ้ามันพอเหมาะรออยู่แล้ว ก็เหลือแต่ประกายไฟละครับ เพราะฉนั้นตัวไหนเสี่ยงที่จะเกิด มันก็เลยต้องห้าม ต้องป้องกันไว้ก่อน
คหสต. โอกาสเกิดมันอาจจะมีครับ แต่น้อย  เพราะว่า กิจกรรมที่ว่ามาถ้าไม่ได้ไปทำใกล้จุดที่เป็นไอน้ำมันนั้น มันก็เกิดขึ้นยาก เพราะไอน้ำมันมันออกมาแล้วลอยขึ้น และปั้มน้ำมันส่วนมากเป็นสถานที่โล่งมีลมถ่ายเทตลอด ทำให้โอกาสที่เชื้อเพลิงจะสะสมอยู่แถวๆรถนั้นยาก
แต่มองในมุมความปลอดภัย เลยต้องห้ามไว้ก่อนครับ ไม่มีใครมาเสี่ยงหรอกครับ ถ้ามันไหม้แล้วไม่สามารถควบคุมได้นี่ ใครจะรับผิดชอบครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่