ตำนานผีปอบ! ความเชื่อจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเรื่องราวลี้ลับของผีปอบในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ยังไม่เคยมีบันทึกหลักฐาน ไม่เคยมีใครถ่ายรูปลักษณะของผีปอบว่าเป็นอย่างไร โดยตามหลักวิทยาศาสตร์ การจะเชื่อว่ามีจริงต้องเกิดจากการพิสูจน์เมื่อไม่มีหลักฐานให้พิสูจน์ ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ผีปอบจึงไม่มีอยู่จริงเลยในเชิงวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ว่าเรื่องราวของผีปอบเป็นสิ่งที่ถูกแต่งขึ้นมาจากคนสมัยโบราณ ต่อมามีการสร้างเป็นภาพยนตร์ จึงทำให้คนกลัวและจดจำ
"ตามความเชื่อทางด้านภาคอีสาน ที่เขาว่ากันว่าในหมู่บ้านหนึ่งมีผีปอบเข้ามา แล้วมาอยู่กับคนนู้นคนนี้ ทำให้มีการขับไล่บุคคลนั้นออกไป ในทางสังคมศาสตร์ซึ่งไม่ใช่วิทยาศาสตร์อธิบายได้ว่า เป็นกระบวนการทางสังคมสมัยก่อน ที่เห็นบุคคลนี้ดูหน้าตาแล้วไม่น่าไว้วางใจ หรือว่าบุคคลนั้นดูแล้วอาจจะมีโรคบางอย่าง ที่ดูแล้วอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง ก็ไล่ออกจากหมู่บ้านไป" รศ.ดร.เจษฎา กล่าว
ผีเข้า หรือ อุปาทานหมู่ !?
นอกจากนี้ รศ.ดร.เจษฎา กล่าวต่อว่า ในเรื่องของอาการผีเข้า เป็นสภาวะทางจิตมากกว่าสภาวะของวิญญาณที่แฝงเข้ามาในร่างกาย เช่นว่า การไปรับน้อง แล้วมีคนเล่าว่าที่นี่มีวิญญาณ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความเครียด ความกดดันที่เกิดขึ้นในการรับน้อง ไม่ว่าจะหิวข้าวหรืออากาศร้อน จะทำให้จิตใจอ่อนแอลงไป แล้วเกิดอาการทางจิตขึ้นมาได้ ไม่ต่างอะไรกับการที่ไปดูพิธีเข้าทรงต่างๆ แล้วลุกขึ้นมาเต้น ในเชิงจิตวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเป็นเรื่องของอุปาทานหมู่ เป็นลักษณะในเรื่องของจิตใจ ไม่ได้อธิบายว่าตัวอะไรเข้ามาอยู่ในร่างกายแต่อย่างใด และพบว่าผู้หญิงจะเป็นง่ายกว่าผู้ชายด้วย แสดงให้เห็นว่าจิตใจผู้หญิงจะอ่อนแอกว่าผู้ชาย
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"หากผมบอกคุณว่าผมเห็นโดราเอมอนมา แล้วผมบอกคุณให้เชื่อว่าผมเห็นโดราเอมอน คุณจะเชื่อผมไหม?"รศ.ดร.เจษฎา กล่าวทีเล่นทีจริงกับทีมข่าวฯ แน่นอนว่าทีมข่าวฯ ตอบกลับไปว่า ไม่เชื่อ! รศ.ดร.เจษฎา จึงอธิบายต่อว่า "ผมก็ต้องมีหน้าที่พิสูจน์ให้เห็นว่าโดราเอมอนเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นอย่างไร แล้วเอามาให้คุณดู ฉะนั้นหมายถึงเราแค่เชื่อคำพูดของคนที่พูดถึงโดราเอมอน ไม่ต่างอะไรกับคนที่พูดถึงผีปอบ นิยามของผีในแต่ละคนก็แตกต่างกันไป แต่ละที่ แต่ละประเทศในโลกก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเป็นหน้าที่ของคนที่เชื่อว่ามีจริง แล้วมาพิสูจน์ให้คนอื่นเห็น" รศ.ดร.เจษฎา กล่าว
เรื่องราวชวนผวาของผีปอบ ผีกระสือ ออกอาละวาด ฆ่ากัดกินสัตว์ของชาวบ้าน จะเห็นอยู่ในสังคมไทยร่ำไป แต่ดูเหมือนว่าเรื่องราวลี้ลับที่ไม่เคยมีใครสามารถหาคำอธิบายได้ แม้แต่ในทางวิทยาศาสตร์ จะมีปัจจัยสำคัญเพียงเรื่องที่เล่าต่อกันมา และเป็นความเชื่อเท่านั้น.
เรื่องงมงาย ใครควรจะหาทางพิสูจน์ คนเชื่อหรือคนไม่เชื่อ
ด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเรื่องราวลี้ลับของผีปอบในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ยังไม่เคยมีบันทึกหลักฐาน ไม่เคยมีใครถ่ายรูปลักษณะของผีปอบว่าเป็นอย่างไร โดยตามหลักวิทยาศาสตร์ การจะเชื่อว่ามีจริงต้องเกิดจากการพิสูจน์เมื่อไม่มีหลักฐานให้พิสูจน์ ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ผีปอบจึงไม่มีอยู่จริงเลยในเชิงวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ว่าเรื่องราวของผีปอบเป็นสิ่งที่ถูกแต่งขึ้นมาจากคนสมัยโบราณ ต่อมามีการสร้างเป็นภาพยนตร์ จึงทำให้คนกลัวและจดจำ
"ตามความเชื่อทางด้านภาคอีสาน ที่เขาว่ากันว่าในหมู่บ้านหนึ่งมีผีปอบเข้ามา แล้วมาอยู่กับคนนู้นคนนี้ ทำให้มีการขับไล่บุคคลนั้นออกไป ในทางสังคมศาสตร์ซึ่งไม่ใช่วิทยาศาสตร์อธิบายได้ว่า เป็นกระบวนการทางสังคมสมัยก่อน ที่เห็นบุคคลนี้ดูหน้าตาแล้วไม่น่าไว้วางใจ หรือว่าบุคคลนั้นดูแล้วอาจจะมีโรคบางอย่าง ที่ดูแล้วอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง ก็ไล่ออกจากหมู่บ้านไป" รศ.ดร.เจษฎา กล่าว
ผีเข้า หรือ อุปาทานหมู่ !?
นอกจากนี้ รศ.ดร.เจษฎา กล่าวต่อว่า ในเรื่องของอาการผีเข้า เป็นสภาวะทางจิตมากกว่าสภาวะของวิญญาณที่แฝงเข้ามาในร่างกาย เช่นว่า การไปรับน้อง แล้วมีคนเล่าว่าที่นี่มีวิญญาณ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความเครียด ความกดดันที่เกิดขึ้นในการรับน้อง ไม่ว่าจะหิวข้าวหรืออากาศร้อน จะทำให้จิตใจอ่อนแอลงไป แล้วเกิดอาการทางจิตขึ้นมาได้ ไม่ต่างอะไรกับการที่ไปดูพิธีเข้าทรงต่างๆ แล้วลุกขึ้นมาเต้น ในเชิงจิตวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเป็นเรื่องของอุปาทานหมู่ เป็นลักษณะในเรื่องของจิตใจ ไม่ได้อธิบายว่าตัวอะไรเข้ามาอยู่ในร่างกายแต่อย่างใด และพบว่าผู้หญิงจะเป็นง่ายกว่าผู้ชายด้วย แสดงให้เห็นว่าจิตใจผู้หญิงจะอ่อนแอกว่าผู้ชาย
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"หากผมบอกคุณว่าผมเห็นโดราเอมอนมา แล้วผมบอกคุณให้เชื่อว่าผมเห็นโดราเอมอน คุณจะเชื่อผมไหม?"รศ.ดร.เจษฎา กล่าวทีเล่นทีจริงกับทีมข่าวฯ แน่นอนว่าทีมข่าวฯ ตอบกลับไปว่า ไม่เชื่อ! รศ.ดร.เจษฎา จึงอธิบายต่อว่า "ผมก็ต้องมีหน้าที่พิสูจน์ให้เห็นว่าโดราเอมอนเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นอย่างไร แล้วเอามาให้คุณดู ฉะนั้นหมายถึงเราแค่เชื่อคำพูดของคนที่พูดถึงโดราเอมอน ไม่ต่างอะไรกับคนที่พูดถึงผีปอบ นิยามของผีในแต่ละคนก็แตกต่างกันไป แต่ละที่ แต่ละประเทศในโลกก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเป็นหน้าที่ของคนที่เชื่อว่ามีจริง แล้วมาพิสูจน์ให้คนอื่นเห็น" รศ.ดร.เจษฎา กล่าว
เรื่องราวชวนผวาของผีปอบ ผีกระสือ ออกอาละวาด ฆ่ากัดกินสัตว์ของชาวบ้าน จะเห็นอยู่ในสังคมไทยร่ำไป แต่ดูเหมือนว่าเรื่องราวลี้ลับที่ไม่เคยมีใครสามารถหาคำอธิบายได้ แม้แต่ในทางวิทยาศาสตร์ จะมีปัจจัยสำคัญเพียงเรื่องที่เล่าต่อกันมา และเป็นความเชื่อเท่านั้น.