.
การเมือง คือ ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่าง เศรษฐกิจ การปกครอง พลังทางสังคม และพลังทางสังคมของไทยเกิดจากชนชั้นในสังคม ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ ความสัมพันธ์ทางอำนาจ หรือ การเมืองไม่คงที่ จะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม บรรยากาศ และดุลกำลังของชนชั้น และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบางครั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นแตกหักรุนแรง แต่ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในรูปแบบของการประนีประนอม
การที่จะเข้าใจการเมืองไทยและพัฒนาการประชาธิปไตยไทยได้ดีนั้น องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การศึกษาถึงโครงสร้างชนชั้นต่างๆของสังคมไทย และทำความเข้าใจกับพลังของชนชั้นที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองตั้งแต่ครั้งอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อมองภาพรวมและวิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่หากบ่งบรรยายเนื้อหาของทุกชนชั้น ก็เกรงจะมีความยาวของเนื้อหาที่มากเกินไป ผู้เขียนจึงขอเลือกที่จะกล่าวถึงแค่ชนชั้นเดียวในบทความนี้ คือ ชนชั้นขุนนาง และจะกล่าวถึงตัวบุคคลซึ่งเคยเป็นขุนนางแท้ๆมาก่อนด้วย ไม่ได้กล่าวถึงข้าราชการ ซึ่งเป็นขุนนางยุคใหม่และเกิดขึ้นภายหลังเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
นักทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ อย่าง David Easton ได้ให้นิยาม คำว่า การเมือง (Politics) ไว้ว่า
การเมือง คือ กระบวนการจัดสรรทรัพยากรทางสังคมเพื่อให้บรรลุถึงผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม และการแข่งขันเพื่อการแสวงหาอำนาจในการที่จะเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่
ซึ่งกระบวนการจัดสรรที่ว่า ได้มาจากระบอบการปกครอง ซึ่งในที่นี้ ประเทศไทย ชนชั้นขุนนางเป็นผู้ริเริ่มที่จะนำระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระบอบการปกครองประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2475 และการแข่งขันในการแสวงหาอำนาจในการที่จะเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร ก็เริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเสียอีก
เห็นได้จากการที่คณะราษฏร ซึ่งมีนายปรีดีย์ พนมยงค์เป็นผู้นำ สามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองได้ แต่ก็ไม่สามารถก้าวเข้ามาควบคุมการจัดสรรทรัพยากร เพราะฝ่ายที่ก้าวเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ คือ คนกลางตัวประสานความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่ ซึ่งคือ พระยานโนปกรนิติธาดา กับฝ่ายทหาร ที่นำโดย พระยาพหลพยุหเสนา หนึ่งในบุคคลสำคัญที่จะกล่าวถึงในบทความชิ้นนี้
แม้ว่าเอกสารหลักฐานมากมายจะบ่งชี้ว่า พระยาพหลพยุหเสนา ผู้นี้เป็นหนึ่งในคณะราษฎรเช่นกัน แต่หลักฐานเอกสารมากมายเหล่านั้นก็บ่งบอกว่า เจ้าพระยาผู้นี้มิได้เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรมากไปกว่าการเป็นผู้บังคับบัญชาของหนึ่งในแกนนำผู้ก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นเมื่อครั้งแรก ที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 และหนึ่งในแกนนำของคณะราษฎรผู้นั้นคือ ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ หรือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในเวลาต่อมา
การก้าวเข้ามาสู่อำนาจ ชอง พระยาพหลพยุหเสนา ถือเป็นกระบวนการที่ผานการวางแผนอย่างมีชั้นเชิงทางการเมืองระดับสูง คือรู้เห็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มคณะราษฎรอยู่ตลอด แต่ก็ปล่อยให้เคลื่อนไหวให้คณะราษฎรและนายปรีดีย์ทำการชักจูขุนนางเดิม เพื่อล้มระบอบการปกครองเก่า ที่ว่ากันตามตรงก็คือเจ้านายของตัวเอง เรียกว่า
ยืมมือคนอื่นทรยศเจ้านายตนเอง
เพราะเมื่อคณะราษฎรโดยนายปรีดีย์ ชักจูงทำความเข้าใจกับขุนนางที่กุมบทบาทสำคัญในการบริหารบ้านเมืองได้ และลงมือ "
ปฏิวัติสยาม"สำเร็จ ก็ยื้อแย่งซดน้ำแกงคำแรก ปฏิวัติยึดอำนาจจาก พระยามโนปกรณนิติธาดาผู้ซึ่งทั้งคณะราษฎรและฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์เห็นว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครอง ได้รับการจากสนับสนุนจากทั้งสองฝ่ายให้ก้าวขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรีคนแรก
แต่ก็ครองตำแหน่งได้เพียง 1 ปีกับ 3 เดือนเท่านั้น เพราะเกิดเหตุการณ์ความเห็นทางนโยบายเศรษฐกิจไม่ตรงกัน กรณีเรื่อง "
สมุดปกเหลือง" หรือแผนการเศรษฐกิจที่นายปรีดีย์จัดทำขึ้น และนำขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย ที่ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ ขุนนาง และบุคคลในสภา
จนสุดท้ายพระยามโนปกรณนิติธาดา ได้ตัดสินใจเนรเทศ นายปรีดีย์ ออกนอกประเทศ เพื่อยุติปัญหา
ซึ่งก็เข้าทางพระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งรอคอยจังหวะอยู่แล้ว ก็ได้นำกำลังเข้าก่อการรัฐประหารโค่นอำนาจพระยามโนปกรณนิติธาดาลง ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของประเทศไทย และก้าวขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มคณะราษฏรแทนที่นายปรีดีย์ที่ถูกเนรเทศและด่างพร้อยทางการเมืองไปแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ 5 สมัย เป็นระยะเวลากว่าสิบปี ก่อนจะส่งต่ออำนาจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่าง ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ หรือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเวลานั้นแตกข้างแบ่งขั้วเป็นศัตรูทางการเมืองกับนายปรีดีย์อย่างชัดเจน
ส่วนนายปรีดีย์นั้น กว่าจะก้าวเข้ามาเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์จากต้นประชาธิปไตยที่ตนเองลงมือปลูกก็ต้องรออีกถึง 9 ปีและก็จัดสรรประโยชน์แทบไม่ได้ เพราะผลของต้นไม้ที่ตนปลูกกลายพันธ์ไปเป็นผลไม้พิษเสียแล้ว และนั้นเป็นจุดเริ่มที่ทำให้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยของไทย พิกลพิการเรื่อยมา นายปรีดีย์เองก็ต้องรับชะตากรรมซ้ำรอยเก่า เมื่อเจอข้อหาที่ปั้นแต่งขึ้นใส่ร้าย โดยหาว่านายปรีดีย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ จนต้องหลบภัยหลบหนีออกนอกประเทศ
มุมมองส่วนตัวของผมกับนายปรีดีย์ พนมยงค์ ก็บอกตรงๆว่า เมื่อได้อ่านศึกษาเรื่องราวของเขามาพอสมควร ผมไม่ได้เห็นเขาเป็นฮีโร่ทางการเมืองมากเท่ากับที่ใครหลายคนพยายามให้เป็น ผมเห็นภาพเขาเป็นชายน่าสงสารซะมากกว่า อย่างคำที่ตัวเขาเองเคยกล่าวไว้ว่า
"เมื่อข้าพเจ้ามีอำนาจ ข้าพเจ้าไม่มีประสบการณ์ เมื่อข้าพเจ้ามีประสบการณ์ ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจ"
บอกเล่าลำดับเรื่องราวถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้อ่านคงพอจะมองออกกันแล้วว่า ใครเป็นหุ่น ผู้ถูกชักเชิด และใครเป็นผู้หาประโยชน์ในสมัยนั้น
ทิ้งท้ายกันด้วยคำถามว่า แล้วสมัยนี้เล่า? มีเรื่องแบบนี้อยู่หรือเปล่า พอจะมองออกกันบ้างรึเปล่าครับ
แต่ถึงรู้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องตอบออกมา เก็บคำตอบนั้นไว้ในใจก็พอครับ
ผมเองชอบใช้สมองคิดวิเคราะห์แง่มุมของเรื่องราวที่ผมชื่นชอบ และก็ชอบนำเสนอมุมมองความคิดของตัวเองออกมาในรูปแบบที่สรุประเด็นเนื้อหาการนำเสนอ แต่บทความนี้ผมจะไม่ใช้วลีหรือคำกล่าวใดมาสรุปประเด็นเนื้อหา แต่ขอใช้อีกสิ่งที่ผมชื่นชอบคือการแต่งโคลงสี่สุภาพมาทำหน้าที่ตรงนั้นแทน
จักผูกรั้ง สั่งชี้............................ควบคุม
ใช้ห่วงเชือก เกาะกุม...................หุ่นให้
สำแดงท่า ย่างขุม.......................บาทบท ใดนา
หุ่นกระบอก นี้ไซร้.......................ยักย้ายทำตาม
ให้เล่นบท ชั่วช้า..........................เลวทราม
หรือพระเอก ครองธรรม...............ย่อมได้
หุ่นล้วนแต่ การนำ.......................ผู้ชัก เชิดเอย
ให้เคลื่อนไหว เยื่องย้าย.................ส่ายแสร้งแกล้งเป็น
ขอบคุณครับ
นายพระรอง
*แก้ไขคำผิด
(บทความ...นายพระรอง) หุ่นเชิดชัก เล่ห์เหลี่ยมของกลุ่มคนผู้หาประโยชน์แห่งการเมืองการปกครอง
การเมือง คือ ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่าง เศรษฐกิจ การปกครอง พลังทางสังคม และพลังทางสังคมของไทยเกิดจากชนชั้นในสังคม ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ ความสัมพันธ์ทางอำนาจ หรือ การเมืองไม่คงที่ จะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม บรรยากาศ และดุลกำลังของชนชั้น และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบางครั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นแตกหักรุนแรง แต่ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในรูปแบบของการประนีประนอม
การที่จะเข้าใจการเมืองไทยและพัฒนาการประชาธิปไตยไทยได้ดีนั้น องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การศึกษาถึงโครงสร้างชนชั้นต่างๆของสังคมไทย และทำความเข้าใจกับพลังของชนชั้นที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองตั้งแต่ครั้งอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อมองภาพรวมและวิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่หากบ่งบรรยายเนื้อหาของทุกชนชั้น ก็เกรงจะมีความยาวของเนื้อหาที่มากเกินไป ผู้เขียนจึงขอเลือกที่จะกล่าวถึงแค่ชนชั้นเดียวในบทความนี้ คือ ชนชั้นขุนนาง และจะกล่าวถึงตัวบุคคลซึ่งเคยเป็นขุนนางแท้ๆมาก่อนด้วย ไม่ได้กล่าวถึงข้าราชการ ซึ่งเป็นขุนนางยุคใหม่และเกิดขึ้นภายหลังเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
นักทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ อย่าง David Easton ได้ให้นิยาม คำว่า การเมือง (Politics) ไว้ว่า การเมือง คือ กระบวนการจัดสรรทรัพยากรทางสังคมเพื่อให้บรรลุถึงผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม และการแข่งขันเพื่อการแสวงหาอำนาจในการที่จะเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่
ซึ่งกระบวนการจัดสรรที่ว่า ได้มาจากระบอบการปกครอง ซึ่งในที่นี้ ประเทศไทย ชนชั้นขุนนางเป็นผู้ริเริ่มที่จะนำระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระบอบการปกครองประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2475 และการแข่งขันในการแสวงหาอำนาจในการที่จะเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร ก็เริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเสียอีก เห็นได้จากการที่คณะราษฏร ซึ่งมีนายปรีดีย์ พนมยงค์เป็นผู้นำ สามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองได้ แต่ก็ไม่สามารถก้าวเข้ามาควบคุมการจัดสรรทรัพยากร เพราะฝ่ายที่ก้าวเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ คือ คนกลางตัวประสานความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่ ซึ่งคือ พระยานโนปกรนิติธาดา กับฝ่ายทหาร ที่นำโดย พระยาพหลพยุหเสนา หนึ่งในบุคคลสำคัญที่จะกล่าวถึงในบทความชิ้นนี้
แม้ว่าเอกสารหลักฐานมากมายจะบ่งชี้ว่า พระยาพหลพยุหเสนา ผู้นี้เป็นหนึ่งในคณะราษฎรเช่นกัน แต่หลักฐานเอกสารมากมายเหล่านั้นก็บ่งบอกว่า เจ้าพระยาผู้นี้มิได้เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรมากไปกว่าการเป็นผู้บังคับบัญชาของหนึ่งในแกนนำผู้ก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นเมื่อครั้งแรก ที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 และหนึ่งในแกนนำของคณะราษฎรผู้นั้นคือ ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ หรือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในเวลาต่อมา
การก้าวเข้ามาสู่อำนาจ ชอง พระยาพหลพยุหเสนา ถือเป็นกระบวนการที่ผานการวางแผนอย่างมีชั้นเชิงทางการเมืองระดับสูง คือรู้เห็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มคณะราษฎรอยู่ตลอด แต่ก็ปล่อยให้เคลื่อนไหวให้คณะราษฎรและนายปรีดีย์ทำการชักจูขุนนางเดิม เพื่อล้มระบอบการปกครองเก่า ที่ว่ากันตามตรงก็คือเจ้านายของตัวเอง เรียกว่ายืมมือคนอื่นทรยศเจ้านายตนเอง
เพราะเมื่อคณะราษฎรโดยนายปรีดีย์ ชักจูงทำความเข้าใจกับขุนนางที่กุมบทบาทสำคัญในการบริหารบ้านเมืองได้ และลงมือ "ปฏิวัติสยาม"สำเร็จ ก็ยื้อแย่งซดน้ำแกงคำแรก ปฏิวัติยึดอำนาจจาก พระยามโนปกรณนิติธาดาผู้ซึ่งทั้งคณะราษฎรและฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์เห็นว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครอง ได้รับการจากสนับสนุนจากทั้งสองฝ่ายให้ก้าวขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรีคนแรก
แต่ก็ครองตำแหน่งได้เพียง 1 ปีกับ 3 เดือนเท่านั้น เพราะเกิดเหตุการณ์ความเห็นทางนโยบายเศรษฐกิจไม่ตรงกัน กรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" หรือแผนการเศรษฐกิจที่นายปรีดีย์จัดทำขึ้น และนำขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย ที่ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ ขุนนาง และบุคคลในสภา จนสุดท้ายพระยามโนปกรณนิติธาดา ได้ตัดสินใจเนรเทศ นายปรีดีย์ ออกนอกประเทศ เพื่อยุติปัญหา
ซึ่งก็เข้าทางพระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งรอคอยจังหวะอยู่แล้ว ก็ได้นำกำลังเข้าก่อการรัฐประหารโค่นอำนาจพระยามโนปกรณนิติธาดาลง ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของประเทศไทย และก้าวขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มคณะราษฏรแทนที่นายปรีดีย์ที่ถูกเนรเทศและด่างพร้อยทางการเมืองไปแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ 5 สมัย เป็นระยะเวลากว่าสิบปี ก่อนจะส่งต่ออำนาจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่าง ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ หรือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเวลานั้นแตกข้างแบ่งขั้วเป็นศัตรูทางการเมืองกับนายปรีดีย์อย่างชัดเจน
ส่วนนายปรีดีย์นั้น กว่าจะก้าวเข้ามาเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์จากต้นประชาธิปไตยที่ตนเองลงมือปลูกก็ต้องรออีกถึง 9 ปีและก็จัดสรรประโยชน์แทบไม่ได้ เพราะผลของต้นไม้ที่ตนปลูกกลายพันธ์ไปเป็นผลไม้พิษเสียแล้ว และนั้นเป็นจุดเริ่มที่ทำให้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยของไทย พิกลพิการเรื่อยมา นายปรีดีย์เองก็ต้องรับชะตากรรมซ้ำรอยเก่า เมื่อเจอข้อหาที่ปั้นแต่งขึ้นใส่ร้าย โดยหาว่านายปรีดีย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ จนต้องหลบภัยหลบหนีออกนอกประเทศ
มุมมองส่วนตัวของผมกับนายปรีดีย์ พนมยงค์ ก็บอกตรงๆว่า เมื่อได้อ่านศึกษาเรื่องราวของเขามาพอสมควร ผมไม่ได้เห็นเขาเป็นฮีโร่ทางการเมืองมากเท่ากับที่ใครหลายคนพยายามให้เป็น ผมเห็นภาพเขาเป็นชายน่าสงสารซะมากกว่า อย่างคำที่ตัวเขาเองเคยกล่าวไว้ว่า "เมื่อข้าพเจ้ามีอำนาจ ข้าพเจ้าไม่มีประสบการณ์ เมื่อข้าพเจ้ามีประสบการณ์ ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจ"
บอกเล่าลำดับเรื่องราวถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้อ่านคงพอจะมองออกกันแล้วว่า ใครเป็นหุ่น ผู้ถูกชักเชิด และใครเป็นผู้หาประโยชน์ในสมัยนั้น
ทิ้งท้ายกันด้วยคำถามว่า แล้วสมัยนี้เล่า? มีเรื่องแบบนี้อยู่หรือเปล่า พอจะมองออกกันบ้างรึเปล่าครับ
แต่ถึงรู้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องตอบออกมา เก็บคำตอบนั้นไว้ในใจก็พอครับ
ผมเองชอบใช้สมองคิดวิเคราะห์แง่มุมของเรื่องราวที่ผมชื่นชอบ และก็ชอบนำเสนอมุมมองความคิดของตัวเองออกมาในรูปแบบที่สรุประเด็นเนื้อหาการนำเสนอ แต่บทความนี้ผมจะไม่ใช้วลีหรือคำกล่าวใดมาสรุปประเด็นเนื้อหา แต่ขอใช้อีกสิ่งที่ผมชื่นชอบคือการแต่งโคลงสี่สุภาพมาทำหน้าที่ตรงนั้นแทน
จักผูกรั้ง สั่งชี้............................ควบคุม
ใช้ห่วงเชือก เกาะกุม...................หุ่นให้
สำแดงท่า ย่างขุม.......................บาทบท ใดนา
หุ่นกระบอก นี้ไซร้.......................ยักย้ายทำตาม
ให้เล่นบท ชั่วช้า..........................เลวทราม
หรือพระเอก ครองธรรม...............ย่อมได้
หุ่นล้วนแต่ การนำ.......................ผู้ชัก เชิดเอย
ให้เคลื่อนไหว เยื่องย้าย.................ส่ายแสร้งแกล้งเป็น
ขอบคุณครับ
นายพระรอง
*แก้ไขคำผิด