Chuchart Srisaeng
6 ชม. ·
.....ข่าวกรณีสุนัขตัวหนึ่งกัดเด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้า มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า เหตุที่เกิดขึ้นเพราะมี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วยเหลือเด็กเนื่องจากกลัวจะมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
.....บางคนถึงกับด่าผู้มีส่วนในการดำเนินการให้มีกฎหมายฉบับนี้ ว่าเห็นสัตว์มีความสำคัญมากกว่าคน
.....มีการเสนอให้ดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่า ในกรณีที่สุนัขจะกัดคนให้สามารถทำร้ายสุนัขเพื่อป้องกันไม่ให้กัดผู้นั้นได้
.....พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นคือ
.....มาตรา ๓ ให้คำนิยามคำว่า “การทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทําหรืองดเว้นการกระทําใด ๆ ที่ทําให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย ฯลฯ
.....มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร
.....มาตรา ๒๑ การกระทําดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐
.....(๑) ฯลฯ
.....(๖) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
.....ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังที่กล่าวมาข้างต้น มีความหมายว่า จะมีความผิดฐานกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ต้องเป็นกรณีที่กระทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถ้ามีเหตุอันสมควรก็ไม่มีความผิด
.....โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นการกระทำที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ (๖) ก็ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐ นั่นก็คือไม่มีความผิดนั่นเอง
.....สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่นี้ ผู้ที่อยู่รู้เห็นเหตุการณ์สามารถช่วยเหลือเด็กไม่ให้ถูกสุนัขกัด โดยการทำร้ายหรือฆ่าสุนัขตัวนั้นเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ร่างกายหรือชีวิตของเด็กได้ โดยชอบด้วยกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา ๒๑ (๖) ผู้กระทำการดังกล่าวย่อมไม่มีความผิดใดๆ
.....นอกจากนี้ เมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บเพราะถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เด็กผู้หญิงที่ได้รับบาดเจ็บด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๓
.....สรุปได้ว่า ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่เคยอ่านกฎหมายฉบับนี้รวมทั้งผู้ที่แชร์กันก็ไม่เคยอ่านและเชื่อตามที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์
.....นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทย ครับ
https://www.facebook.com/chuchart.srisaeng?fref=nf
"อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา" ตอก พวกวิจารณ์ หมารังแก คน ไม่เคยอ่าน พ.ร.บ.คุ้มครองหมา
6 ชม. ·
.....ข่าวกรณีสุนัขตัวหนึ่งกัดเด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้า มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า เหตุที่เกิดขึ้นเพราะมี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วยเหลือเด็กเนื่องจากกลัวจะมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
.....บางคนถึงกับด่าผู้มีส่วนในการดำเนินการให้มีกฎหมายฉบับนี้ ว่าเห็นสัตว์มีความสำคัญมากกว่าคน
.....มีการเสนอให้ดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่า ในกรณีที่สุนัขจะกัดคนให้สามารถทำร้ายสุนัขเพื่อป้องกันไม่ให้กัดผู้นั้นได้
.....พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นคือ
.....มาตรา ๓ ให้คำนิยามคำว่า “การทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทําหรืองดเว้นการกระทําใด ๆ ที่ทําให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย ฯลฯ
.....มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร
.....มาตรา ๒๑ การกระทําดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐
.....(๑) ฯลฯ
.....(๖) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
.....ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังที่กล่าวมาข้างต้น มีความหมายว่า จะมีความผิดฐานกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ต้องเป็นกรณีที่กระทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถ้ามีเหตุอันสมควรก็ไม่มีความผิด
.....โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นการกระทำที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ (๖) ก็ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐ นั่นก็คือไม่มีความผิดนั่นเอง
.....สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่นี้ ผู้ที่อยู่รู้เห็นเหตุการณ์สามารถช่วยเหลือเด็กไม่ให้ถูกสุนัขกัด โดยการทำร้ายหรือฆ่าสุนัขตัวนั้นเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ร่างกายหรือชีวิตของเด็กได้ โดยชอบด้วยกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา ๒๑ (๖) ผู้กระทำการดังกล่าวย่อมไม่มีความผิดใดๆ
.....นอกจากนี้ เมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บเพราะถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เด็กผู้หญิงที่ได้รับบาดเจ็บด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๓
.....สรุปได้ว่า ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่เคยอ่านกฎหมายฉบับนี้รวมทั้งผู้ที่แชร์กันก็ไม่เคยอ่านและเชื่อตามที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์
.....นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทย ครับ
https://www.facebook.com/chuchart.srisaeng?fref=nf