พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ แพทย์ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า จากข้อมูลที่คลินิกนิรนาม มีอยู่ พบว่า ตัวเลขผู้ป่วยโรคซิฟิลิสเพิ่มขึ้นพอสมควร โดยเฉพาะกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย อธิบายได้ว่าเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน เป็นตัวชี้วัดได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่การใช้ถุงยางอนามัยลดลง ตัวเลขผู้ป่วยซิฟิลิสก็เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ตัวเลขผู้ป่วยซิฟิลิสไม่ได้เพิ่มในช่วง 2-3 เดือนนี้ แต่ตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมา 1-2 ปีแล้ว
“ซิฟิลิส” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มียารักษาให้หายขาดได้ โดยหลักจะรักษาด้วยยาฉีด แต่ปัญหาในบ้านเรา คือ ยาฉีดที่รักษาซิฟิลิสเป็นยาในกลุ่มเพนนิซิลิน ซึ่งเป็นยาราคาถูกแต่หาได้ยาก เนื่องจากถูกจนไม่มีบริษัทไหนอยากจะค้าขายทำกำไร ดังนั้นในช่วง 1-2 ปีที่เรารู้สึกว่าซิฟิลิสเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่า ในระดับประเทศการใช้ยาตัวนี้แทบไม่มีการใช้เลย ไม่มีใครนำเข้า ไม่มีใครผลิตในประเทศไทย ทำให้ยาฉีดซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาซิฟิลิสไม่มี ก็ต้องเลี่ยงไปใช้ยากินแทน คือ ด็อกซี่ไซคลิน
ปกติยาฉีดจะฉีดบริเวณก้น มีการฉีดตั้งแต่ครั้งเดียวถึง 3 ครั้งขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อซิฟิลิสระยะไหน ถ้าเพิ่งติดเชื้อจะฉีดเข้าก้นเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าติดไปแล้วสักระยะหนึ่ง อาการมีไปแล้ว หายไปแล้ว แต่มาตรวจเลือดเจอ แล้วไม่รักษา กรณีนี้จะฉีด 3 เข็ม โดยฉีดสัปดาห์ละ 1 เข็มเป็นเวลา 3 สัปดาห์
ถ้าไม่มียาฉีดก็ต้องกินยา ผู้ป่วยต้องกิน 1 เม็ด เช้า-เย็น ต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์ ปัญหา คือ บางคนกินบ้างไม่กินบ้าง กินไม่ครบบ้าง ดังนั้นก็เลยทำให้ประสิทธิภาพการกินยาสู้แบบฉีดยาไม่ได้
ในปัจจุบันโรคซิฟิลิสจึงยังไม่หายไปจากสังคมไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ในขณะที่ยาหายากมีไม่ค่อยเพียงพอในประเทศไทยโรคนี้ไม่มีอาการเฉพาะ แต่จะเลียนแบบโรคต่าง ๆ ก็เลยทำให้วินิจฉัยค่อนข้างยาก กว่าจะแสดงอาการ มีตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึง 2-3 เดือน อาการซิฟิลิสระยะแรกสุด เช่น เป็นแผลบริเวณที่สัมผัสเชื้อ อย่างบริเวณอวัยวะเพศ บริเวณช่องปาก ปัญหาคือแผลไม่เจ็บ บางคนเป็นแล้วหายไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ตัว
จากนั้นอาการจะเป็นระยะออกดอก ผื่นขึ้นตามตัว ลักษณะเหมือนผด เหมือนแพ้ยา ลมพิษ ตุ่มหนอง ฉะนั้นไม่สามารถบอกได้ว่าอาการแบบนี้คือซิฟิลิส บอกได้แต่ว่าเป็นผื่น ที่สังเกตได้คือ ผื่นมักจะขึ้นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า อาจมีลักษณะเป็นจ้ำ ๆ หรือตุ่มหนองบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าก็ได้ ถ้าเป็นหมอผิวหนังเวลาคนไข้มีผื่นกระจายทั่วตัว ถ้าหงายฝ่ามือฝ่าเท้าดูแล้วมีผื่น อาจจะนึกถึงโรคซิฟิลิสเป็นพิเศษ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ได้บอกว่าไม่ใช่ซิฟิลิส นอกจากนี้บางคนอาจผมร่วงเป็นหย่อม ๆ นาน ๆ จะเจอสักราย เพราะโดยข้อเท็จจริงจะร่วงหรือไม่ร่วงก็ได้ หากไม่รักษาบางทีก็อาจหายไปเองได้ บางคนไม่ไปตรวจเลือดไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นซิฟิลิส เพราะมีแผล มีผื่นแต่หายไปแล้ว
ระยะต่อมาคือระยะรุนแรง คือ เชื้อขึ้นสมอง ในช่วงออกดอกเชื้ออาจขึ้นสมองได้เลยในตอนนั้น ทำให้เกิดสมองอักเสบ แต่บางคนได้รับเชื้อแล้ว อาจจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ พอผ่านไป 5 ปี 10 ปี เชื้อยังอยู่ในร่างกาย พอไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้เกิดอาการตามมาบริเวณต่าง ๆ เช่น กระดูก สมอง ทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ของบริเวณนั้นขึ้นมา มีอาการทางหัวใจ อาการทางสมอง ถ้าซิฟิลิสขึ้นสมองตั้งแต่ระยะออกดอก ยาที่ใช้รักษาจะเข้มข้นขึ้น ด้วยการใช้ยาฉีดเข้าเส้น และผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ถามว่าเป็นโรคนี้ต้องตายหรือไม่ ต้องบอกว่าน้อยรายที่จะตายจากซิฟิลิส
ขอแนะนำว่าคนที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เวลาไปตรวจร่างกายประจำปี นอกจากตรวจเอชไอวีแล้วเราจะแนะนำให้ตรวจซิฟิลิสด้วย อย่างหลายคนอาการหายไปแล้วแต่ยังมีเชื้ออยู่ ตรวจเจอช่วงไหนก็ตามจะได้รีบรักษาทันที
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และ thaihealth.or.th
Report by LIV Capsule
“ซิฟิลิส” โรคร้าย ป้องกันได้
“ซิฟิลิส” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มียารักษาให้หายขาดได้ โดยหลักจะรักษาด้วยยาฉีด แต่ปัญหาในบ้านเรา คือ ยาฉีดที่รักษาซิฟิลิสเป็นยาในกลุ่มเพนนิซิลิน ซึ่งเป็นยาราคาถูกแต่หาได้ยาก เนื่องจากถูกจนไม่มีบริษัทไหนอยากจะค้าขายทำกำไร ดังนั้นในช่วง 1-2 ปีที่เรารู้สึกว่าซิฟิลิสเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่า ในระดับประเทศการใช้ยาตัวนี้แทบไม่มีการใช้เลย ไม่มีใครนำเข้า ไม่มีใครผลิตในประเทศไทย ทำให้ยาฉีดซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาซิฟิลิสไม่มี ก็ต้องเลี่ยงไปใช้ยากินแทน คือ ด็อกซี่ไซคลิน
ปกติยาฉีดจะฉีดบริเวณก้น มีการฉีดตั้งแต่ครั้งเดียวถึง 3 ครั้งขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อซิฟิลิสระยะไหน ถ้าเพิ่งติดเชื้อจะฉีดเข้าก้นเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าติดไปแล้วสักระยะหนึ่ง อาการมีไปแล้ว หายไปแล้ว แต่มาตรวจเลือดเจอ แล้วไม่รักษา กรณีนี้จะฉีด 3 เข็ม โดยฉีดสัปดาห์ละ 1 เข็มเป็นเวลา 3 สัปดาห์
ถ้าไม่มียาฉีดก็ต้องกินยา ผู้ป่วยต้องกิน 1 เม็ด เช้า-เย็น ต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์ ปัญหา คือ บางคนกินบ้างไม่กินบ้าง กินไม่ครบบ้าง ดังนั้นก็เลยทำให้ประสิทธิภาพการกินยาสู้แบบฉีดยาไม่ได้
ในปัจจุบันโรคซิฟิลิสจึงยังไม่หายไปจากสังคมไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ในขณะที่ยาหายากมีไม่ค่อยเพียงพอในประเทศไทยโรคนี้ไม่มีอาการเฉพาะ แต่จะเลียนแบบโรคต่าง ๆ ก็เลยทำให้วินิจฉัยค่อนข้างยาก กว่าจะแสดงอาการ มีตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึง 2-3 เดือน อาการซิฟิลิสระยะแรกสุด เช่น เป็นแผลบริเวณที่สัมผัสเชื้อ อย่างบริเวณอวัยวะเพศ บริเวณช่องปาก ปัญหาคือแผลไม่เจ็บ บางคนเป็นแล้วหายไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ตัว
จากนั้นอาการจะเป็นระยะออกดอก ผื่นขึ้นตามตัว ลักษณะเหมือนผด เหมือนแพ้ยา ลมพิษ ตุ่มหนอง ฉะนั้นไม่สามารถบอกได้ว่าอาการแบบนี้คือซิฟิลิส บอกได้แต่ว่าเป็นผื่น ที่สังเกตได้คือ ผื่นมักจะขึ้นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า อาจมีลักษณะเป็นจ้ำ ๆ หรือตุ่มหนองบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าก็ได้ ถ้าเป็นหมอผิวหนังเวลาคนไข้มีผื่นกระจายทั่วตัว ถ้าหงายฝ่ามือฝ่าเท้าดูแล้วมีผื่น อาจจะนึกถึงโรคซิฟิลิสเป็นพิเศษ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ได้บอกว่าไม่ใช่ซิฟิลิส นอกจากนี้บางคนอาจผมร่วงเป็นหย่อม ๆ นาน ๆ จะเจอสักราย เพราะโดยข้อเท็จจริงจะร่วงหรือไม่ร่วงก็ได้ หากไม่รักษาบางทีก็อาจหายไปเองได้ บางคนไม่ไปตรวจเลือดไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นซิฟิลิส เพราะมีแผล มีผื่นแต่หายไปแล้ว
ระยะต่อมาคือระยะรุนแรง คือ เชื้อขึ้นสมอง ในช่วงออกดอกเชื้ออาจขึ้นสมองได้เลยในตอนนั้น ทำให้เกิดสมองอักเสบ แต่บางคนได้รับเชื้อแล้ว อาจจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ พอผ่านไป 5 ปี 10 ปี เชื้อยังอยู่ในร่างกาย พอไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้เกิดอาการตามมาบริเวณต่าง ๆ เช่น กระดูก สมอง ทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ของบริเวณนั้นขึ้นมา มีอาการทางหัวใจ อาการทางสมอง ถ้าซิฟิลิสขึ้นสมองตั้งแต่ระยะออกดอก ยาที่ใช้รักษาจะเข้มข้นขึ้น ด้วยการใช้ยาฉีดเข้าเส้น และผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ถามว่าเป็นโรคนี้ต้องตายหรือไม่ ต้องบอกว่าน้อยรายที่จะตายจากซิฟิลิส
ขอแนะนำว่าคนที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เวลาไปตรวจร่างกายประจำปี นอกจากตรวจเอชไอวีแล้วเราจะแนะนำให้ตรวจซิฟิลิสด้วย อย่างหลายคนอาการหายไปแล้วแต่ยังมีเชื้ออยู่ ตรวจเจอช่วงไหนก็ตามจะได้รีบรักษาทันที
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และ thaihealth.or.th
Report by LIV Capsule