21 พฤษภาคม 2559, สงขลา -- 5 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมมือจัดตั้งศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา นับเป็นศูนย์แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อเดินหน้าแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมายเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน คาดดูแลกลุ่มเป้าหมายแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 25,000 คน
ศูนย์ดังกล่าวก่อตั้งภายใต้บันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือ ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา ซึ่งมีหน่วยงานร่วมก่อตั้ง ประกอบด้วย องค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย, ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ
ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมงทุกรูปแบบอย่างจริงจังและปราบปรามอย่างเคร่งครัด โดยความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่าง ซีพีเอฟ ขณะเดียวกันการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวตามหลักมนุษยธรรมและมาตรฐานสากลถือเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายและแรงงานผิดกฎหมายที่ต้องการความช่วยเหลือให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
สำหรับศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลามีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ 1. การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานต่างด้าวและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการให้บริการ คุ้มครอง ป้องกัน ผู้ที่เสี่ยงหรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ 2. ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันการค้ามนุษย์ ในระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น 3. เป็นศูนย์การเรียนเด็กต่างด้าว แรงงานต่างด้าวและครอบครัวได้เรียนรู้ อบรม และส่งเสริมอาชีพ 4. เป็นศูนย์ให้การดูแล พยาบาล คัดกรองโรคเบื้องต้นและประกอบศาสนกิจแก่กลุ่มแรงงานประมงต่อเนื่องและครอบครัวของแรงงานต่างด้าว 5. เป็นศูนย์ประสานงานรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมของแรงงาน
นายสุชาติ จันทลักขณา ผู้จัดการศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลาและผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา กล่าวว่า ศูนย์นี้จะสามารถช่วยพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันการค้ามนุษย์ ในระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นให้มีประสิทธิผล ขณะเดียวกันยังช่วยยกระดับความเป็นอยู่และสร้างอาชีพให้กับกลุ่มแรงงานประมงและประมงต่อเนื่อง ทั้งสัญชาติ ไทย กัมพูชา พม่า และลาว ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และอำเภอใกล้เคียง รวมไปถึงกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์ กลุ่มเด็กต่างด้าวและครอบครัวสัญชาติ กัมพูชา พม่า และลาว บริเวณท่าเทียบเรือประมงสงขลาและบริเวณใกล้เคียงกว่า 25,000 คน
“ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานภาคประมงที่ถูกกฎหมายและครอบครัว รวมไปถึงแรงงานผิดกฎหมายที่เดินเข้ามาขอความช่วยเหลือจากเรา ซึ่งศูนย์จะให้คำแนะนำ ความรู้ด้านการคุ้มครองแรงงาน ตลอดจนการสนับสนุนให้สามารถประกอบอาชีพโดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตตามสมควรตามหลักมนุษยธรรม และไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์การต่อต้านการค้ามนุษย์” นายสุชาติ กล่าว
ทั้งนี้ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เริ่มโครงการ ถึง สิ้นสุดโครงการ เป็นเวลา5 ปี (2558-2563) โดยคณะกรรมการศูนย์ฯจะพิจารณาและประเมินผลการดำเนินงานแต่ละโครงการปีต่อปี และมีกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่ 5 กลุ่ม ครอบคลุมจำนวนแรงงานและกลุ่มเสี่ยงกว่า 25,000 คน ประกอบด้วยกลุ่มลูกเรือประมง และแรงงานประมงต่อเนื่องจำนวน 3,565 คน, กลุ่มแรงงานที่เสี่ยงต่อการเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์จำนวน 20,000 คน, กลุ่มเด็กต่างด้าวอายุ 4–15 ปี จำนวน 50 คน, กลุ่มแรงงานสตรีจำนวน 1,200 คน และกลุ่มครอบครัวเด็กต่างด้าวจำนวน 320 คน อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จของโครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการขยายผลการดำเนินงานไปยังท่าเรืออื่นๆในประเทศไทย
ศูนย์นี้มีการจัดสรรพื้นที่เป็น 4 ส่วน เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ คือ ห้องเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว,ห้องละหมาด, ห้องพยาบาล, ห้องอเนกประสงค์ซึ่งรวมถึงศูนย์ติดต่อประสานงาน ห้องประชุมและห้องสมุด
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาแรงงานซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ ดังนั้นจึงเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ตามคำแนะนำและความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งในภาครัฐและเอกชนจะเป็นก้าวแรกอันสำคัญต่อการเริ่มต้นในการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยการสร้างการตระหนักรู้และการแก้ไขให้เกิดความถูกต้องบนความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคำนึงถึงหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในระดับสากล อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานประมงที่ดียิ่งขึ้น และยังให้ความสำคัญลงไปถึงครอบครัวแรงงานประมง โดย ซีพีเอฟ มีส่วนสนับสนุนงบประมาณในระยะเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์ ซึ่งในอนาคตหากการดำเนินการได้ตามเป้าหมาย จะมีการหารือเพื่อให้เกิดแนวทางการสนับสนุนจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น
5 หน่วยงาน ภาครัฐ-เอกชน ร่วมเปิดศูนย์สวัสดิภาพและธรรมภิบาลแรงงานประมงแห่งแรกของไทย
21 พฤษภาคม 2559, สงขลา -- 5 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมมือจัดตั้งศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา นับเป็นศูนย์แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อเดินหน้าแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมายเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน คาดดูแลกลุ่มเป้าหมายแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 25,000 คน
ศูนย์ดังกล่าวก่อตั้งภายใต้บันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือ ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา ซึ่งมีหน่วยงานร่วมก่อตั้ง ประกอบด้วย องค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย, ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ
ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมงทุกรูปแบบอย่างจริงจังและปราบปรามอย่างเคร่งครัด โดยความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่าง ซีพีเอฟ ขณะเดียวกันการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวตามหลักมนุษยธรรมและมาตรฐานสากลถือเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายและแรงงานผิดกฎหมายที่ต้องการความช่วยเหลือให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
สำหรับศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลามีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ 1. การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานต่างด้าวและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการให้บริการ คุ้มครอง ป้องกัน ผู้ที่เสี่ยงหรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ 2. ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันการค้ามนุษย์ ในระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น 3. เป็นศูนย์การเรียนเด็กต่างด้าว แรงงานต่างด้าวและครอบครัวได้เรียนรู้ อบรม และส่งเสริมอาชีพ 4. เป็นศูนย์ให้การดูแล พยาบาล คัดกรองโรคเบื้องต้นและประกอบศาสนกิจแก่กลุ่มแรงงานประมงต่อเนื่องและครอบครัวของแรงงานต่างด้าว 5. เป็นศูนย์ประสานงานรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมของแรงงาน
นายสุชาติ จันทลักขณา ผู้จัดการศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลาและผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา กล่าวว่า ศูนย์นี้จะสามารถช่วยพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันการค้ามนุษย์ ในระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นให้มีประสิทธิผล ขณะเดียวกันยังช่วยยกระดับความเป็นอยู่และสร้างอาชีพให้กับกลุ่มแรงงานประมงและประมงต่อเนื่อง ทั้งสัญชาติ ไทย กัมพูชา พม่า และลาว ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และอำเภอใกล้เคียง รวมไปถึงกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์ กลุ่มเด็กต่างด้าวและครอบครัวสัญชาติ กัมพูชา พม่า และลาว บริเวณท่าเทียบเรือประมงสงขลาและบริเวณใกล้เคียงกว่า 25,000 คน
“ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานภาคประมงที่ถูกกฎหมายและครอบครัว รวมไปถึงแรงงานผิดกฎหมายที่เดินเข้ามาขอความช่วยเหลือจากเรา ซึ่งศูนย์จะให้คำแนะนำ ความรู้ด้านการคุ้มครองแรงงาน ตลอดจนการสนับสนุนให้สามารถประกอบอาชีพโดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตตามสมควรตามหลักมนุษยธรรม และไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์การต่อต้านการค้ามนุษย์” นายสุชาติ กล่าว
ทั้งนี้ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เริ่มโครงการ ถึง สิ้นสุดโครงการ เป็นเวลา5 ปี (2558-2563) โดยคณะกรรมการศูนย์ฯจะพิจารณาและประเมินผลการดำเนินงานแต่ละโครงการปีต่อปี และมีกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่ 5 กลุ่ม ครอบคลุมจำนวนแรงงานและกลุ่มเสี่ยงกว่า 25,000 คน ประกอบด้วยกลุ่มลูกเรือประมง และแรงงานประมงต่อเนื่องจำนวน 3,565 คน, กลุ่มแรงงานที่เสี่ยงต่อการเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์จำนวน 20,000 คน, กลุ่มเด็กต่างด้าวอายุ 4–15 ปี จำนวน 50 คน, กลุ่มแรงงานสตรีจำนวน 1,200 คน และกลุ่มครอบครัวเด็กต่างด้าวจำนวน 320 คน อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จของโครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการขยายผลการดำเนินงานไปยังท่าเรืออื่นๆในประเทศไทย
ศูนย์นี้มีการจัดสรรพื้นที่เป็น 4 ส่วน เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ คือ ห้องเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว,ห้องละหมาด, ห้องพยาบาล, ห้องอเนกประสงค์ซึ่งรวมถึงศูนย์ติดต่อประสานงาน ห้องประชุมและห้องสมุด
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาแรงงานซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ ดังนั้นจึงเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ตามคำแนะนำและความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งในภาครัฐและเอกชนจะเป็นก้าวแรกอันสำคัญต่อการเริ่มต้นในการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยการสร้างการตระหนักรู้และการแก้ไขให้เกิดความถูกต้องบนความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคำนึงถึงหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในระดับสากล อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานประมงที่ดียิ่งขึ้น และยังให้ความสำคัญลงไปถึงครอบครัวแรงงานประมง โดย ซีพีเอฟ มีส่วนสนับสนุนงบประมาณในระยะเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์ ซึ่งในอนาคตหากการดำเนินการได้ตามเป้าหมาย จะมีการหารือเพื่อให้เกิดแนวทางการสนับสนุนจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น