เจ้าของกระทู้เชื่อว่าชาวพันทิปหลายคนคงเคยฟังนิทานพื้นบ้านเรื่องเทวดากับหมูหมา แต่ยังไม่รู้ที่มาของเทวดาองค์นี้
แถนลอ (天洛) ทรงมีพระนามเต็มว่าผู้เล่าโต (布洛陀) พระนามของพระองค์ทรงมีความหมายว่าผู้ทรงสัพพัญญู "知道得很多的公公"
เนื่องจากภาษาจ้วงหลายท้องถิ่นไม่มีมาตราตัวสะกด แม่กก คำว่า "ลอ" จึงเทียบได้กับคำว่า "ลวั๊ก" ในภาษาไทยถิ่นเหนือ
แถนลอทรงเป็นโอรส บ้างก็ว่าเป็นเพียงทาส ของพญาผีที่มีชื่อว่า "ผีผู้คลุม" แต่ภาษาถิ่นออกเสียงว่า "พีปู้ฮุ๊ม" ส่วนชาวไทลื้อในประเทศจีนเรียกผีตนนี้ว่า "ผีกุ้มกะลุม" เนื่องจากผีตนนี้เป็นผู้สร้างเพดานน้ำแข็งครอบคั่นระหว่างฟ้ากับดินภายหลังการแยกกันระหว่างฟ้ากับดิน
ตามตำนานกล่าวว่าแถนลอทรงถูกขับให้อยู่บนโลกมนุษย์เพราะทรงแย่งไฟจากพญาผี จึงทำให้มนุษย์รู้จักใช้ไฟ แต่พญาผียังไม่หายแค้น แถมยังส่งโอรส บ้างก็ว่าสมุนเอก 3 ตน อันได้แก่ ผีคางคก ผีเงือก ผีสาง ลงไปโลกมนุษย์เพื่อชิงไฟคืนสู่เมืองฟ้า แต่ผี 3 ตนถูกแถนลอเล่นงานด้วยไฟจนทำให้ผีคางคกมีแผลพุพองตามตัว ผีเงือกมีแผลตกสะเก็ดตามตัว ผีสางมีรอยไหม้ตามตัว อยู่มาวันหนึ่งผีสางแย่งไฟจากแถนลอได้ แต่ผีเงือกก็มายื้อแย่งหวังความดีความชอบจากพญาผี ผีเงือกกับผีสางจึงปล่อยของใส่กันจนเพดานน้ำแข็งเกิดรอยรั่ว ไฟที่ตกลงในน้ำก็กลายเป็นบ่อน้ำร้อน ส่วนไฟที่ตกใส่หินก็กลายเป็นหินเหล็กไฟ
พญาผีเสียใจที่ไม่ได้ไฟกลับคืนจึงขับผีสางกับผีเงือกไปอยู่บนโลก แต่พญาผีเห็นแก่คุณความดีที่ผีสองตนเคยทำ พญาผีจึงประทานแม่น้ำสายใหญ่ให้ครอง แต่ผีสองตนยังมีความอาฆาตแค้นต่อกัน ดังนั้นผู้คนจึงแก้เคล็ดด้วยการเรียกชื่อแม่น้ำใหญ่ 2 สายนี้ว่า คลอง (江) เหมือนกันหมดเพื่อป้องกันไม่ให้ผีที่ปกครองน่านน้ำบันดาลให้เรือล่ม
ขณะที่โลกยังต้องอาศัยแสงสว่างจากเปลวไฟที่มีวันดับ แถนลอช่วยมนุษย์สร้างไฟที่ไม่มีวันดับ 2 ดวงลอยขึ้นฟ้า ดวงหนึ่งให้แสงสว่างยามกลางวัน อีกดวงหนึ่งให้แสงสว่างยามค่ำคืน แต่ดวงไฟทั้งสองดวงแอบสมสู่กันจนออกลูกหลานสร้างความวิบัติแก่โลกมนุษย์เป็นเหตุให้ดวงไฟที่ไม่มีวันดับถูกตอน มนุษย์จึงยกแถนลอขึ้นเป็นเทพเจ้า จนอยู่มาวันหนึ่งพญาผีมีบัญชาให้ผีคางคกซึ่งอยู่บนสวรรค์นอนทับรอยรั่วของแผ่นน้ำแข็งครอบโลกทำให้ไม่มีฝนตกลงมาจากฟ้า แถนลอจึงนำมนุษย์ออกจากดินแดนลุ่มแม่น้ำไข่มุกไปตั้งถิ่นฐานในเขตลุ่มน้ำสางและแม่น้ำเงือก แต่มนุษย์ก็ถูกตัวแผ้วลูกสมุนของผีสางกับตัวจระเข้ลูกสมุนของผีเงือกจับกินเนื้อ ผู้คนพากันโกรธแค้นที่แถนลอพาพวกตนไปสังเวยชีวิตจึงเปลี่ยนไปนับถือผีคางคกเพื่อขอน้ำฝน ผีคางคกจึงกลั่นแกล้งมนุษย์ที่นับถือตนด้วยการออกกฎให้มนุษย์กินคนด้วยกัน ดังนั้นผู้คนที่นับถือคางคกจึงยึดถือประเพณีล่าหัวคนสืบมาเพราะเชื่อว่าการกระทำดั่งกล่าวจะทำให้ผีคางคกพอใจและจะประทานฝนให้ใช้ทำการเกษตร
ฝ่ายแถนลอพอรู้ว่าผีคางคกนอนปิดรอยรั่วจึงสอนให้มนุษย์ที่ยังภักดีกับตนทำฆ้องขึ้นมาตีให้ผีคางคกสะดุ้ง เมื่อมนุษย์สามารถบังคับฝนให้ตกได้ ผีคางคกจึงส่งกบเขียดซึ่งเป็นลูกสมุนของตนไปสืบความบนโลกมนุษย์เวลาที่ฝนตก แต่ก็ถูกมนุษย์จับกินทุกครั้ง ผีคางคกจึงเปลี่ยนวิธีเล่นงานมนุษย์ที่ภักดีต่อแถนลอด้วยการคาบเดือน เมื่อไม่มีความสว่างยามค่ำคืน สัตว์ร้ายซึ่งเป็นลูกสมุนของผีเงือกกับผีสางจะออกมาล่าคน ตั้งแต่นั้นมามนุษย์ที่นับถือแถนลอจึงประกอบพิธีตีฆ้องไล่ผีคางคกเวลาเกิดปรากฎการณ์ราหูอมจันทร์ เพราะเหตุนี้เองผีไท้ซึ่งเป็นผีบรรพชนของคนที่นับถือแถนลอจึงกลายเป็นคู่อริของผีบรรพชนของคนที่นับถือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ดังที่เราได้เห็นจากมหากาพย์ของอุษาคเนย์
ก่อนมนุษย์จะแยกย้ายกันไปสร้างบ้านแปลงเมืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำสางและน้ำเงือก แถนลอทรงสอนมนุษย์ให้รู้จักถลุงโลหะทำอาวุธป้องกันตัวจากสัตว์ร้าย ลุกสมุนของผีประจำน่านน้ำจะมากินเนื้อ แต่สุดท้ายแถนลอต้องเสียพระทัยที่มนุษย์ใช้วิชาที่พระองค์ทรงตรัสสอนรบราฆ่าฟันกันเอง พระองค์จึงเสด็จจากมนุษย์ไปประทับอยู่บนเขาทรนง (敢壮山) ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตเที้ยนหยาง (田阳) เมืองปากแสก (百色) ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกของแถนลอกับผีผู้คลุมไม่มีวันตัดขาดเหมือนฟ้าที่ขาดจากดินเพราะท้ายที่สุดพญาผีจะให้อภัยแถนลอพร้อมรับแถนลอกลับเมืองฟ้า แผ่นน้ำแข็งที่ครอบโลกจะร้าวและหล่นลงสู่พื้นดิน เมื่อวันนั้นมาถึงจะมีคนและสัตว์ล้มตายเป็นอันมาก แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วมนุษย์เรามักเต็มไปด้วยความสงสัย เมื่อสงสัยก็พยายามหาคำตอบ ความเชื่อของยุคเก่าจึงถูกหักล้างด้วยเหตุผลใหม่ที่ผ่านการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์เสมอ ความเชื่อเรื่องแผ่นฟ้าถล่มจึงเหลือไว้เพียงตำนานเล่าขานกันเพื่อความสนุกสนานในวันสักการะแถนลอซึ่งจัดระหว่างวันที่ 19 เดือน 2 ถึงวันที่ 9 ของเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติ
ในช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านกว่า 300,000 คน จากหมู่บ้านใกล้เคียง และจากบ้านอื่นเมืองไกล รวมถึงในประเทศไทยจะมารวมตัวกันที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์สูง 100 เมตรเพื่อประกอบพิธีสักการะแถนลอพร้อมเครื่องสักการะบูชา ระหว่างพิธีจะมีการขับลำนำเล่านิทานพื้นบ้านและตำนานต่างๆ มากมาย
นิทานพื้นบ้านที่คนรักหมาเกลียดมากที่สุดคือนิทานหมูกับหมาที่แถนลอทรงตัดสินให้หมากินขี้ พอนิทานเรื่องนี้ไปถึงสังคมที่เลี้ยงหมาด้วยข้าวก็จะถูกขัดเกลาตอนจบให้หมาไม่ต้องใช้กรรมที่ตัวมันเองก่อ ซึ่งการขัดเกลานิทานพื้นบ้านทำนองนี้เคยเกิดขึ้นกับ "นิทานจำปาสี่ต้น" ที่เปลี่ยนลูกของนางคำกลองจากหมาให้กลายเป็นปลิงเพราะกลัวว่าคนรักหมาจะรับไม่ได้
สืบเนื่องจากกระทู้
https://ppantip.com/topic/31031745
อัพเดทข้อมูล
อ่านกระทู้ต่อเนื่องได้ที่
https://ppantip.com/topic/41381701
มารู้จัก "แถนลอ" เทพเจ้าที่คนรักหมาเกลียดมากที่สุด
แถนลอ (天洛) ทรงมีพระนามเต็มว่าผู้เล่าโต (布洛陀) พระนามของพระองค์ทรงมีความหมายว่าผู้ทรงสัพพัญญู "知道得很多的公公"
เนื่องจากภาษาจ้วงหลายท้องถิ่นไม่มีมาตราตัวสะกด แม่กก คำว่า "ลอ" จึงเทียบได้กับคำว่า "ลวั๊ก" ในภาษาไทยถิ่นเหนือ
แถนลอทรงเป็นโอรส บ้างก็ว่าเป็นเพียงทาส ของพญาผีที่มีชื่อว่า "ผีผู้คลุม" แต่ภาษาถิ่นออกเสียงว่า "พีปู้ฮุ๊ม" ส่วนชาวไทลื้อในประเทศจีนเรียกผีตนนี้ว่า "ผีกุ้มกะลุม" เนื่องจากผีตนนี้เป็นผู้สร้างเพดานน้ำแข็งครอบคั่นระหว่างฟ้ากับดินภายหลังการแยกกันระหว่างฟ้ากับดิน
ตามตำนานกล่าวว่าแถนลอทรงถูกขับให้อยู่บนโลกมนุษย์เพราะทรงแย่งไฟจากพญาผี จึงทำให้มนุษย์รู้จักใช้ไฟ แต่พญาผียังไม่หายแค้น แถมยังส่งโอรส บ้างก็ว่าสมุนเอก 3 ตน อันได้แก่ ผีคางคก ผีเงือก ผีสาง ลงไปโลกมนุษย์เพื่อชิงไฟคืนสู่เมืองฟ้า แต่ผี 3 ตนถูกแถนลอเล่นงานด้วยไฟจนทำให้ผีคางคกมีแผลพุพองตามตัว ผีเงือกมีแผลตกสะเก็ดตามตัว ผีสางมีรอยไหม้ตามตัว อยู่มาวันหนึ่งผีสางแย่งไฟจากแถนลอได้ แต่ผีเงือกก็มายื้อแย่งหวังความดีความชอบจากพญาผี ผีเงือกกับผีสางจึงปล่อยของใส่กันจนเพดานน้ำแข็งเกิดรอยรั่ว ไฟที่ตกลงในน้ำก็กลายเป็นบ่อน้ำร้อน ส่วนไฟที่ตกใส่หินก็กลายเป็นหินเหล็กไฟ
พญาผีเสียใจที่ไม่ได้ไฟกลับคืนจึงขับผีสางกับผีเงือกไปอยู่บนโลก แต่พญาผีเห็นแก่คุณความดีที่ผีสองตนเคยทำ พญาผีจึงประทานแม่น้ำสายใหญ่ให้ครอง แต่ผีสองตนยังมีความอาฆาตแค้นต่อกัน ดังนั้นผู้คนจึงแก้เคล็ดด้วยการเรียกชื่อแม่น้ำใหญ่ 2 สายนี้ว่า คลอง (江) เหมือนกันหมดเพื่อป้องกันไม่ให้ผีที่ปกครองน่านน้ำบันดาลให้เรือล่ม
ขณะที่โลกยังต้องอาศัยแสงสว่างจากเปลวไฟที่มีวันดับ แถนลอช่วยมนุษย์สร้างไฟที่ไม่มีวันดับ 2 ดวงลอยขึ้นฟ้า ดวงหนึ่งให้แสงสว่างยามกลางวัน อีกดวงหนึ่งให้แสงสว่างยามค่ำคืน แต่ดวงไฟทั้งสองดวงแอบสมสู่กันจนออกลูกหลานสร้างความวิบัติแก่โลกมนุษย์เป็นเหตุให้ดวงไฟที่ไม่มีวันดับถูกตอน มนุษย์จึงยกแถนลอขึ้นเป็นเทพเจ้า จนอยู่มาวันหนึ่งพญาผีมีบัญชาให้ผีคางคกซึ่งอยู่บนสวรรค์นอนทับรอยรั่วของแผ่นน้ำแข็งครอบโลกทำให้ไม่มีฝนตกลงมาจากฟ้า แถนลอจึงนำมนุษย์ออกจากดินแดนลุ่มแม่น้ำไข่มุกไปตั้งถิ่นฐานในเขตลุ่มน้ำสางและแม่น้ำเงือก แต่มนุษย์ก็ถูกตัวแผ้วลูกสมุนของผีสางกับตัวจระเข้ลูกสมุนของผีเงือกจับกินเนื้อ ผู้คนพากันโกรธแค้นที่แถนลอพาพวกตนไปสังเวยชีวิตจึงเปลี่ยนไปนับถือผีคางคกเพื่อขอน้ำฝน ผีคางคกจึงกลั่นแกล้งมนุษย์ที่นับถือตนด้วยการออกกฎให้มนุษย์กินคนด้วยกัน ดังนั้นผู้คนที่นับถือคางคกจึงยึดถือประเพณีล่าหัวคนสืบมาเพราะเชื่อว่าการกระทำดั่งกล่าวจะทำให้ผีคางคกพอใจและจะประทานฝนให้ใช้ทำการเกษตร
ฝ่ายแถนลอพอรู้ว่าผีคางคกนอนปิดรอยรั่วจึงสอนให้มนุษย์ที่ยังภักดีกับตนทำฆ้องขึ้นมาตีให้ผีคางคกสะดุ้ง เมื่อมนุษย์สามารถบังคับฝนให้ตกได้ ผีคางคกจึงส่งกบเขียดซึ่งเป็นลูกสมุนของตนไปสืบความบนโลกมนุษย์เวลาที่ฝนตก แต่ก็ถูกมนุษย์จับกินทุกครั้ง ผีคางคกจึงเปลี่ยนวิธีเล่นงานมนุษย์ที่ภักดีต่อแถนลอด้วยการคาบเดือน เมื่อไม่มีความสว่างยามค่ำคืน สัตว์ร้ายซึ่งเป็นลูกสมุนของผีเงือกกับผีสางจะออกมาล่าคน ตั้งแต่นั้นมามนุษย์ที่นับถือแถนลอจึงประกอบพิธีตีฆ้องไล่ผีคางคกเวลาเกิดปรากฎการณ์ราหูอมจันทร์ เพราะเหตุนี้เองผีไท้ซึ่งเป็นผีบรรพชนของคนที่นับถือแถนลอจึงกลายเป็นคู่อริของผีบรรพชนของคนที่นับถือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ดังที่เราได้เห็นจากมหากาพย์ของอุษาคเนย์
ก่อนมนุษย์จะแยกย้ายกันไปสร้างบ้านแปลงเมืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำสางและน้ำเงือก แถนลอทรงสอนมนุษย์ให้รู้จักถลุงโลหะทำอาวุธป้องกันตัวจากสัตว์ร้าย ลุกสมุนของผีประจำน่านน้ำจะมากินเนื้อ แต่สุดท้ายแถนลอต้องเสียพระทัยที่มนุษย์ใช้วิชาที่พระองค์ทรงตรัสสอนรบราฆ่าฟันกันเอง พระองค์จึงเสด็จจากมนุษย์ไปประทับอยู่บนเขาทรนง (敢壮山) ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตเที้ยนหยาง (田阳) เมืองปากแสก (百色) ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกของแถนลอกับผีผู้คลุมไม่มีวันตัดขาดเหมือนฟ้าที่ขาดจากดินเพราะท้ายที่สุดพญาผีจะให้อภัยแถนลอพร้อมรับแถนลอกลับเมืองฟ้า แผ่นน้ำแข็งที่ครอบโลกจะร้าวและหล่นลงสู่พื้นดิน เมื่อวันนั้นมาถึงจะมีคนและสัตว์ล้มตายเป็นอันมาก แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วมนุษย์เรามักเต็มไปด้วยความสงสัย เมื่อสงสัยก็พยายามหาคำตอบ ความเชื่อของยุคเก่าจึงถูกหักล้างด้วยเหตุผลใหม่ที่ผ่านการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์เสมอ ความเชื่อเรื่องแผ่นฟ้าถล่มจึงเหลือไว้เพียงตำนานเล่าขานกันเพื่อความสนุกสนานในวันสักการะแถนลอซึ่งจัดระหว่างวันที่ 19 เดือน 2 ถึงวันที่ 9 ของเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติ
ในช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านกว่า 300,000 คน จากหมู่บ้านใกล้เคียง และจากบ้านอื่นเมืองไกล รวมถึงในประเทศไทยจะมารวมตัวกันที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์สูง 100 เมตรเพื่อประกอบพิธีสักการะแถนลอพร้อมเครื่องสักการะบูชา ระหว่างพิธีจะมีการขับลำนำเล่านิทานพื้นบ้านและตำนานต่างๆ มากมาย
นิทานพื้นบ้านที่คนรักหมาเกลียดมากที่สุดคือนิทานหมูกับหมาที่แถนลอทรงตัดสินให้หมากินขี้ พอนิทานเรื่องนี้ไปถึงสังคมที่เลี้ยงหมาด้วยข้าวก็จะถูกขัดเกลาตอนจบให้หมาไม่ต้องใช้กรรมที่ตัวมันเองก่อ ซึ่งการขัดเกลานิทานพื้นบ้านทำนองนี้เคยเกิดขึ้นกับ "นิทานจำปาสี่ต้น" ที่เปลี่ยนลูกของนางคำกลองจากหมาให้กลายเป็นปลิงเพราะกลัวว่าคนรักหมาจะรับไม่ได้
สืบเนื่องจากกระทู้ https://ppantip.com/topic/31031745
อัพเดทข้อมูล
อ่านกระทู้ต่อเนื่องได้ที่ https://ppantip.com/topic/41381701