เมื่อวันที่19 พ.ค.ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักโหมกระแสชี้นำสังคมเกี่ยวกับ รายงานข่าวจากดีเอสไอที่เปิดเผยว่า
ใบรับรองแพทย์ที่ทางวัดพระธรรมกายใช้เป็นหลักฐานขอเลื่อนการเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ถือเป็นเอกสารที่มิชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากตรวจสอบแล้วพบว่าพระธัมมชโยไม่เคยเดินทางไปรับการรักษายังโรงพยาบาลดังกล่าวเลย
จนทำให้คนในสังคมสงสัยว่า
ดีเอสไอกำลังพยายามโยงความสับสนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตนเองหรือเปล่า?
ปัญหาการออกใบรับรองแพทย์ว่าเข้าข่ายการปลอมเอกสารเท็จหรือไม่ จำเป็นต้องแยกลำดับขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์ให้เห็นชัด
1. ดีเอสไอไม่เชื่อถือใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยคณะแพทย์ประจำคลีนิคในวัด จึงต้องการใบรับรองแพทย์ที่มาจากแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ
2. ศิษย์วัดเชิญแพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาลรัฐที่มีความชำนาญด้านโลหิตวิทยามาตรวจอาการของผู้ป่วยที่วัดพระธรรมกาย ไม่ได้พาผู้ป่วยเดินทางออกนอกวัดไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาล
3. แพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยแล้วระบุว่ามีอาการโรคเบาหวานเรื้อรังอยู่ในขั้นรุนแรง ต้องพักรักษาตัว 2-3 เดือน จึงเมตตาออกใบรับรองแพทย์ให้แก่ลูกศิษย์วัด เพื่อนำไปมอบให้ตามคำร้องขอของดีเอสไอ
-------------------------------------------------------------------
เมื่อวินิจฉัยไล่เป็นลำดับขั้นตอนแบบนี้แล้ว ก็จะเห็นว่าวัตถุประสงค์แท้จริงของการออกใบรับรองแพทย์นั้น เกิดขึ้นจาก
1. คณะลูกศิษย์ทำตามคำร้องขอของดีเอสไอที่ต้องการใบรับรองแพทย์จากแพทย์ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐ และมีความชำนาญเฉพาะทางในการวินิจฉัยโรค
2. เป็นการวิงวอนขอร้องจากคณะลูกศิษย์ให้ดีเอสไอซึ่งเป็นคนหนุ่มมีความแข็งแรงกว่า เดินทางมาพร้อมกับคณะแพทย์ เพื่อมาตรวจดูอาการของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ว่ามีอาการเจ็บป่วยจริงตามใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยคณะแพทย์ในวัดและแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐทั้ง 3 ใบ จริงหรือไม่
3. เป็นการออกใบรับรองแพทย์ตามจรรยาบรรณของแพทย์ที่ดีอย่างแท้จริง เพราะแสดงให้เห็นถึงความเมตตาและห่วงใยต่อผู้ป่วยที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการเบาหวานเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคประจำตัวมานานกว่าสิบปี ไม่ใช่การปลอมแปลงเอกสารเท็จจากโรงพยาบาลอย่างที่มีผู้เข้าใจผิดกัน
------------------------------------------------------------------
หลังจากที่คณะศิษย์ส่งใบรับรองแพทย์แก่ดีเอสไอไปแล้ว คำตอบที่ได้รับกลับมาคือ การออก “หมายจับ” อย่างลัดขั้นตอนการไต่สวน ซึ่งถือว่ากระทบกระเทือนใจต่อคณะลูกศิษย์อย่างรุนแรง ทำให้เกิดความคลางแคลงใจขึ้นว่า
1. วิธีการดำเนินคดีของดีเอสไอมีความโปร่งใสตามขั้นตอนกฎหมายจริงหรือไม่ ?
2. เหตุใดจึงรีบออกหมายจับ ทั้งที่ขั้นตอนการไต่สวนยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนความ ?
3. การตั้งข้อหาฟอกเงินและรับของโจร โดยไม่ครบองค์ประกอบของคดี โดยไม่แสดงมูลฐานความผิดให้ชัดเจนต่อผู้ถูกกล่าวหา เป็นการตั้งข้อหาที่ถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนการดำเนินคดีหรือไม่ ?
4. การตั้งข้อหาฟอกเงินและรับของโจร โดยแยกออกมาจากคดีที่ค้างอยู่บนศาล ซึ่งยังไม่มีการตัดสินอันเป็นที่สิ้นสุด เพื่อเจาะจงตั้งคดีฟ้องเฉพาะเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายแต่เพียงผู้เดียว เป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ?
5. การปฏิเสธใบรับรองแพทย์ที่ดีเอสไอเป็นผู้ร้องขอมาเอง การชี้นำผ่านสื่อมวลชนในทำนองว่า ผู้ป่วย แพทย์ และทนาย ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารเท็จ สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างสถานการณ์ตึงเครียด เพื่อปูทางให้สังคมเห็นชอบด้วยกับการใช้มาตรการรุนแรงกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในอนาคตใช่หรือไม่ ?
6. มูลหนี้ที่เกิดจากคดีสหกรณ์ มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้นเพียง 5 % เท่านั้น แต่ยังมีลูกหนี้รายอื่นๆ อีก 95 % ที่ผ่านไปแล้ว 2 ปี แต่ยังติดตามเงินคืนมาไม่ได้ เหตุใดดีเอสไอจึงเจาะจงจะดำเนินคดีแต่เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทั้งที่สามารถไกล่เกลี่ยกับผู้เสียหายคือสหกรณ์จนจบสิ้นไป 2 ปีแล้ว การเจาะจงดำเนินคดีอย่างเลือกปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมต่อเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและลูกศิษย์วัดทั่วโลกหรือไม่ ?
--------------------------------------------------------------------
ความคลางแคลงใจเหล่านี้ เมื่อไม่ได้รับการอธิบายอย่างชัดเจนจากเจ้าหน้าที่รัฐ จึงยิ่งสะสมกลายเป็นความหวาดระแวงสงสัย ไม่ไว้วางใจมากยิ่งขึ้น
เพราะมองเห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติไล่บี้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายอยู่ข้างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินกว่าศิษย์วัดจะทนดูได้ เกินกว่าศิษย์วัดจะไว้วางใจได้
เพราะขนาดการดำเนินคดีในขั้นตอนการไต่สวน ยังไล่บี้ออกหมายจับอย่างเลือกปฏิบัติแต่เฉพาะบุคคลเพียงผู้เดียวเช่นนี้ แล้วจะให้ศิษย์วัดไว้วางใจในกระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนที่เหลืออยู่ได้อย่างไร
ปัญหาการออกใบรับรองแพทย์ว่าเข้าข่ายการปลอมเอกสารเท็จหรือไม่ ?
ใบรับรองแพทย์ที่ทางวัดพระธรรมกายใช้เป็นหลักฐานขอเลื่อนการเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ถือเป็นเอกสารที่มิชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากตรวจสอบแล้วพบว่าพระธัมมชโยไม่เคยเดินทางไปรับการรักษายังโรงพยาบาลดังกล่าวเลย
จนทำให้คนในสังคมสงสัยว่า
ดีเอสไอกำลังพยายามโยงความสับสนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตนเองหรือเปล่า?
ปัญหาการออกใบรับรองแพทย์ว่าเข้าข่ายการปลอมเอกสารเท็จหรือไม่ จำเป็นต้องแยกลำดับขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์ให้เห็นชัด
1. ดีเอสไอไม่เชื่อถือใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยคณะแพทย์ประจำคลีนิคในวัด จึงต้องการใบรับรองแพทย์ที่มาจากแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ
2. ศิษย์วัดเชิญแพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาลรัฐที่มีความชำนาญด้านโลหิตวิทยามาตรวจอาการของผู้ป่วยที่วัดพระธรรมกาย ไม่ได้พาผู้ป่วยเดินทางออกนอกวัดไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาล
3. แพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยแล้วระบุว่ามีอาการโรคเบาหวานเรื้อรังอยู่ในขั้นรุนแรง ต้องพักรักษาตัว 2-3 เดือน จึงเมตตาออกใบรับรองแพทย์ให้แก่ลูกศิษย์วัด เพื่อนำไปมอบให้ตามคำร้องขอของดีเอสไอ
-------------------------------------------------------------------
เมื่อวินิจฉัยไล่เป็นลำดับขั้นตอนแบบนี้แล้ว ก็จะเห็นว่าวัตถุประสงค์แท้จริงของการออกใบรับรองแพทย์นั้น เกิดขึ้นจาก
1. คณะลูกศิษย์ทำตามคำร้องขอของดีเอสไอที่ต้องการใบรับรองแพทย์จากแพทย์ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐ และมีความชำนาญเฉพาะทางในการวินิจฉัยโรค
2. เป็นการวิงวอนขอร้องจากคณะลูกศิษย์ให้ดีเอสไอซึ่งเป็นคนหนุ่มมีความแข็งแรงกว่า เดินทางมาพร้อมกับคณะแพทย์ เพื่อมาตรวจดูอาการของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ว่ามีอาการเจ็บป่วยจริงตามใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยคณะแพทย์ในวัดและแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐทั้ง 3 ใบ จริงหรือไม่
3. เป็นการออกใบรับรองแพทย์ตามจรรยาบรรณของแพทย์ที่ดีอย่างแท้จริง เพราะแสดงให้เห็นถึงความเมตตาและห่วงใยต่อผู้ป่วยที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการเบาหวานเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคประจำตัวมานานกว่าสิบปี ไม่ใช่การปลอมแปลงเอกสารเท็จจากโรงพยาบาลอย่างที่มีผู้เข้าใจผิดกัน
------------------------------------------------------------------
หลังจากที่คณะศิษย์ส่งใบรับรองแพทย์แก่ดีเอสไอไปแล้ว คำตอบที่ได้รับกลับมาคือ การออก “หมายจับ” อย่างลัดขั้นตอนการไต่สวน ซึ่งถือว่ากระทบกระเทือนใจต่อคณะลูกศิษย์อย่างรุนแรง ทำให้เกิดความคลางแคลงใจขึ้นว่า
1. วิธีการดำเนินคดีของดีเอสไอมีความโปร่งใสตามขั้นตอนกฎหมายจริงหรือไม่ ?
2. เหตุใดจึงรีบออกหมายจับ ทั้งที่ขั้นตอนการไต่สวนยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนความ ?
3. การตั้งข้อหาฟอกเงินและรับของโจร โดยไม่ครบองค์ประกอบของคดี โดยไม่แสดงมูลฐานความผิดให้ชัดเจนต่อผู้ถูกกล่าวหา เป็นการตั้งข้อหาที่ถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนการดำเนินคดีหรือไม่ ?
4. การตั้งข้อหาฟอกเงินและรับของโจร โดยแยกออกมาจากคดีที่ค้างอยู่บนศาล ซึ่งยังไม่มีการตัดสินอันเป็นที่สิ้นสุด เพื่อเจาะจงตั้งคดีฟ้องเฉพาะเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายแต่เพียงผู้เดียว เป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ?
5. การปฏิเสธใบรับรองแพทย์ที่ดีเอสไอเป็นผู้ร้องขอมาเอง การชี้นำผ่านสื่อมวลชนในทำนองว่า ผู้ป่วย แพทย์ และทนาย ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารเท็จ สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างสถานการณ์ตึงเครียด เพื่อปูทางให้สังคมเห็นชอบด้วยกับการใช้มาตรการรุนแรงกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในอนาคตใช่หรือไม่ ?
6. มูลหนี้ที่เกิดจากคดีสหกรณ์ มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้นเพียง 5 % เท่านั้น แต่ยังมีลูกหนี้รายอื่นๆ อีก 95 % ที่ผ่านไปแล้ว 2 ปี แต่ยังติดตามเงินคืนมาไม่ได้ เหตุใดดีเอสไอจึงเจาะจงจะดำเนินคดีแต่เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทั้งที่สามารถไกล่เกลี่ยกับผู้เสียหายคือสหกรณ์จนจบสิ้นไป 2 ปีแล้ว การเจาะจงดำเนินคดีอย่างเลือกปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมต่อเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและลูกศิษย์วัดทั่วโลกหรือไม่ ?
--------------------------------------------------------------------
ความคลางแคลงใจเหล่านี้ เมื่อไม่ได้รับการอธิบายอย่างชัดเจนจากเจ้าหน้าที่รัฐ จึงยิ่งสะสมกลายเป็นความหวาดระแวงสงสัย ไม่ไว้วางใจมากยิ่งขึ้น
เพราะมองเห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติไล่บี้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายอยู่ข้างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินกว่าศิษย์วัดจะทนดูได้ เกินกว่าศิษย์วัดจะไว้วางใจได้
เพราะขนาดการดำเนินคดีในขั้นตอนการไต่สวน ยังไล่บี้ออกหมายจับอย่างเลือกปฏิบัติแต่เฉพาะบุคคลเพียงผู้เดียวเช่นนี้ แล้วจะให้ศิษย์วัดไว้วางใจในกระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนที่เหลืออยู่ได้อย่างไร