ขอ Copy ที่ผมเพิ่งเขียนลงเฟสและเพจตัวเองเมื่อเช้าเอามาไว้ในนี้นะครับ
.
.
--------------------------
.
18-May-2016 12.25 PM
.
เพราะกฎหมายเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อน..ผู้ทำงานกับกฎหมายจึงไม่อาจทำอะไรตามใจใครได้!!!
.
.
นั่งอ่านความเห็นของผู้คนกรณีตำรวจไม่ตั้งข้อหาฆ่าคนตาย "โดยไตร่ตรองไว้ก่อน" กับ 6 คนที่รุมทำร้ายคนพิการจนตาย ความเห็นส่วนใหญ่ไม่พอใจตำรวจ มองว่าตำรวจปกป้องผู้ต้องหาบ้างอะไรบ้าง
.
ทว่าระยะหลังๆ เมื่อฝุ่นควันจางลง เราก็ได้พบบางความเห็นแบบ "สวนกระแส" แต่อ่านแล้วก็น่าสนใจ!!
.
ประการแรก..การตั้งข้อหาที่ดูแล้วผิดไปจากสิ่งที่เกิดขึ้น สุ่มเสี่ยงที่เมื่อขึ้นสู่ศาลแล้วศาลจะ "ตีตก" หรือก็คือพิพากษาให้ "ยกฟ้อง" ดังที่เราเห็นจากหลายๆ คดีในข่าว ที่ศาลยกฟ้องเพราะข้อหาที่ตั้งไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ปรากฎในสำนวนการสอบสวน หรือกับพยานหลักฐานอื่นๆ
.
( ที่มีเรื่องเล่าว่าตำรวจแย่ๆ บางคน แกล้งทำสำนวนแบบนี้ เพื่อให้ศาลยกฟ้อง ฟอกตัวให้คนผิดนั่นแหละ )
.
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นมันจะเท่ากับจำเลยสามารถอ้างว่าตัวเองบริสุทธิ์ได้ทันที และถ้าจำเลยรายนั้น "หัวหมอ" ฟ้องกลับฝ่ายโจทก์ เรื่องมันจะยื่งวุ่นวายไปกันใหญ่ "อีกทั้งการยกฟ้อง เท่ากับผู้ต้องหาจะถูกปล่อยตัวทันทีโดยไม่ต้องไปขอประกันตัว แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์ก็ตาม ก็ยิ่งเสี่ยงที่ผู้ต้องหาจะไปวุ่นวายกับพยานหลักฐานเข้าไปอีก"
.
ตรงกันข้ามกับถ้าตั้งข้อหาที่มองแล้วหาจุดแย้งได้ยาก ศาลก็มีแนวโน้มจะตัดสินไปตามนั้น "และหากศาลชั้นต้นตัดสินว่าผิดจริง แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ แต่การประกันตัวจำเลยก็ยังเป็นอำนาจของศาลว่าจะอนุญาตหรือไม่" ภาระก็จะไปตกที่จำเลย ไม่ใช่โจทก์
.
ประการที่สอง..การที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ต้องหาโทรไปตามพวกและพวกก็ลากมีดดาบมาด้วย จะเข้าข่ายไตร่ตรองได้หรือไม่? อันนี้มันก็มีคนมองว่า "อาวุธมีด" มีความรุนแรงน้อยกว่าอาวุธปืน ( เห็นได้จากที่เราไม่มีกฎหมายควบคุมมีด ) และจากหลายๆ คดีที่เกิดขึ้น "การทำร้ายร่างกายมักใช้มีด แต่การตั้งใจฆ่ามักใช้ปืน" เช่น "คดีการจ้างวานฆ่า อุ้มฆ่า พวกนี้เข้าข่ายไตร่ตรองแน่นอน เพราะมีการวางแผนชัดเจน" กรณีพวกนี้คนลงมือมักฆ่าเหยื่อด้วยปืนก่อนเอาศพไปอำพราง
.
ขณะการทำร้ายร่างกาย วัยรุ่นยกพวกตีกันแล้วพลั้งมือฆ่าคู่อริ อาวุธที่ใช้มักจะเป็นมีดหรือของมีคม "และเหตุที่เกิดมักไม่ได้มีแผนล่วงหน้าว่าวันนี้จะไปฆ่ามันให้ตาย แต่พอไปเจอคู่อริก็รวมพวกระดมพลเข้าไปบวกทันที" กรณีแบบนี้แม้ข้อเท็จจริงจะมีเจตนาฆ่า "แต่พิสูจน์ได้ยากว่ามีการวางแผนเตรียมการมาเพื่อฆ่าหรือไม่?" หรือเป็นเพียงแค่รู้ตัวว่าจะไปมีเรื่องเฉยๆ ดังนั้นถ้าตรงนี้ไม่ชัดเจน ทนายจำเลยอาจยกมาเป็นข้ออ้างในการต่อสู้คดีได้
.
( อย่างที่มีคนแนะนำว่าอย่าชักปืนขึ้นมามั่วซั่ว เพราะแค่เล็งปืนไป อาจกลายเป็นเจตนาฆ่าคนโดยเล็งเห็นผลได้แล้ว ขณะที่การใช้มีดยังพออ้างได้ว่าเจตนาแค่ทำร้ายแต่สุดท้ายกลายเป็นพลั้งมือฆ่า )
.
อย่าได้เห็นจุดเล็กๆ นี่ไม่สำคัญนะครับ ศาลมีหลักอยู่ว่า "คำพิพากษาต้องไร้ข้อโต้แย้ง" และ "ถ้ามีจุดให้สงสัยเคลือบแคลง ให้สันนิษฐานว่าจำเลยบริสุทธิ์" ดังนั้นการใช้กฎหมายจึงต้องทำให้รอบคอบรัดกุมที่สุด
.
( ภาษากฎหมายจึงดูยาก ปวดหัว และน่าเบื่อสำหรับคนทั่วไป เพราะปกติคนเราไม่ได้ถูกฝึกมาให้คุ้นเคยกับการคิดวิเคราะห์แบบละเอียดขนาดนั้น )
.
อนึ่ง..กรณีนี้ผมมองว่าตำรวจไม่น่ามีเจตนาช่วยผู้ต้องหา เพราะถ้าจะช่วยจริง ตั้งข้อหาแรงๆ ตามใจสังคมก็ได้ แต่สำนวนก็ทำอ่อนๆ หน่อย ศาลก็อาจจะยกฟ้อง ตำรวจก็โยนภาระกลับมาที่พวกนักชี้นำตามเพจต่างๆ ได้ด้วย สบายตัวไปเลย ตรงกันข้ามกับทางที่ตำรวจเลือกขณะนี้ ถ้าศาลยกฟ้องนี่ตำรวจโดนสังคมถล่มเละแน่ ดังนั้นเขาคงไม่โง่หรือบ้าพอที่จะเอาเกียรติบนบ่ามาแลก มันไม่คุ้ม
.
เรื่องของกฎหมายมันก็แบบนี้แหละครับ..มีความซับซ้อน มีทริกมีเทคนิคในการต่อสู้กัน ไม่ใช่แค่บ้านเรา แม้แต่ในประเทศเจริญแล้ว คนก่อคดีใหญ่ๆ ยังหลุดได้เหมือนกัน ทั้งที่ความจริงเป็นอย่างไรสังคมก็เห็นๆ กันอยู่ ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สมบูรณ์ กระบวนวิธีต่างๆ ที่ออกโดยมนุษย์มันก็ยังมีช่องโหว่ช่องว่าง
.
โลกมันก็เลยเป็นแบบที่เราเห็นนี่แล!!!
[คิดต่างขวางกระแส] กรณีวัยรุ่น 6 คนรุมฆ่าคนพิการ ตำรวจมีเจตนาช่วยเหลือผู้ต้องหาด้วยการ "ตั้งข้อหาเบาๆ" จริงหรือ?
.
.
--------------------------
.
18-May-2016 12.25 PM
.
เพราะกฎหมายเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อน..ผู้ทำงานกับกฎหมายจึงไม่อาจทำอะไรตามใจใครได้!!!
.
.
นั่งอ่านความเห็นของผู้คนกรณีตำรวจไม่ตั้งข้อหาฆ่าคนตาย "โดยไตร่ตรองไว้ก่อน" กับ 6 คนที่รุมทำร้ายคนพิการจนตาย ความเห็นส่วนใหญ่ไม่พอใจตำรวจ มองว่าตำรวจปกป้องผู้ต้องหาบ้างอะไรบ้าง
.
ทว่าระยะหลังๆ เมื่อฝุ่นควันจางลง เราก็ได้พบบางความเห็นแบบ "สวนกระแส" แต่อ่านแล้วก็น่าสนใจ!!
.
ประการแรก..การตั้งข้อหาที่ดูแล้วผิดไปจากสิ่งที่เกิดขึ้น สุ่มเสี่ยงที่เมื่อขึ้นสู่ศาลแล้วศาลจะ "ตีตก" หรือก็คือพิพากษาให้ "ยกฟ้อง" ดังที่เราเห็นจากหลายๆ คดีในข่าว ที่ศาลยกฟ้องเพราะข้อหาที่ตั้งไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ปรากฎในสำนวนการสอบสวน หรือกับพยานหลักฐานอื่นๆ
.
( ที่มีเรื่องเล่าว่าตำรวจแย่ๆ บางคน แกล้งทำสำนวนแบบนี้ เพื่อให้ศาลยกฟ้อง ฟอกตัวให้คนผิดนั่นแหละ )
.
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นมันจะเท่ากับจำเลยสามารถอ้างว่าตัวเองบริสุทธิ์ได้ทันที และถ้าจำเลยรายนั้น "หัวหมอ" ฟ้องกลับฝ่ายโจทก์ เรื่องมันจะยื่งวุ่นวายไปกันใหญ่ "อีกทั้งการยกฟ้อง เท่ากับผู้ต้องหาจะถูกปล่อยตัวทันทีโดยไม่ต้องไปขอประกันตัว แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์ก็ตาม ก็ยิ่งเสี่ยงที่ผู้ต้องหาจะไปวุ่นวายกับพยานหลักฐานเข้าไปอีก"
.
ตรงกันข้ามกับถ้าตั้งข้อหาที่มองแล้วหาจุดแย้งได้ยาก ศาลก็มีแนวโน้มจะตัดสินไปตามนั้น "และหากศาลชั้นต้นตัดสินว่าผิดจริง แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ แต่การประกันตัวจำเลยก็ยังเป็นอำนาจของศาลว่าจะอนุญาตหรือไม่" ภาระก็จะไปตกที่จำเลย ไม่ใช่โจทก์
.
ประการที่สอง..การที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ต้องหาโทรไปตามพวกและพวกก็ลากมีดดาบมาด้วย จะเข้าข่ายไตร่ตรองได้หรือไม่? อันนี้มันก็มีคนมองว่า "อาวุธมีด" มีความรุนแรงน้อยกว่าอาวุธปืน ( เห็นได้จากที่เราไม่มีกฎหมายควบคุมมีด ) และจากหลายๆ คดีที่เกิดขึ้น "การทำร้ายร่างกายมักใช้มีด แต่การตั้งใจฆ่ามักใช้ปืน" เช่น "คดีการจ้างวานฆ่า อุ้มฆ่า พวกนี้เข้าข่ายไตร่ตรองแน่นอน เพราะมีการวางแผนชัดเจน" กรณีพวกนี้คนลงมือมักฆ่าเหยื่อด้วยปืนก่อนเอาศพไปอำพราง
.
ขณะการทำร้ายร่างกาย วัยรุ่นยกพวกตีกันแล้วพลั้งมือฆ่าคู่อริ อาวุธที่ใช้มักจะเป็นมีดหรือของมีคม "และเหตุที่เกิดมักไม่ได้มีแผนล่วงหน้าว่าวันนี้จะไปฆ่ามันให้ตาย แต่พอไปเจอคู่อริก็รวมพวกระดมพลเข้าไปบวกทันที" กรณีแบบนี้แม้ข้อเท็จจริงจะมีเจตนาฆ่า "แต่พิสูจน์ได้ยากว่ามีการวางแผนเตรียมการมาเพื่อฆ่าหรือไม่?" หรือเป็นเพียงแค่รู้ตัวว่าจะไปมีเรื่องเฉยๆ ดังนั้นถ้าตรงนี้ไม่ชัดเจน ทนายจำเลยอาจยกมาเป็นข้ออ้างในการต่อสู้คดีได้
.
( อย่างที่มีคนแนะนำว่าอย่าชักปืนขึ้นมามั่วซั่ว เพราะแค่เล็งปืนไป อาจกลายเป็นเจตนาฆ่าคนโดยเล็งเห็นผลได้แล้ว ขณะที่การใช้มีดยังพออ้างได้ว่าเจตนาแค่ทำร้ายแต่สุดท้ายกลายเป็นพลั้งมือฆ่า )
.
อย่าได้เห็นจุดเล็กๆ นี่ไม่สำคัญนะครับ ศาลมีหลักอยู่ว่า "คำพิพากษาต้องไร้ข้อโต้แย้ง" และ "ถ้ามีจุดให้สงสัยเคลือบแคลง ให้สันนิษฐานว่าจำเลยบริสุทธิ์" ดังนั้นการใช้กฎหมายจึงต้องทำให้รอบคอบรัดกุมที่สุด
.
( ภาษากฎหมายจึงดูยาก ปวดหัว และน่าเบื่อสำหรับคนทั่วไป เพราะปกติคนเราไม่ได้ถูกฝึกมาให้คุ้นเคยกับการคิดวิเคราะห์แบบละเอียดขนาดนั้น )
.
อนึ่ง..กรณีนี้ผมมองว่าตำรวจไม่น่ามีเจตนาช่วยผู้ต้องหา เพราะถ้าจะช่วยจริง ตั้งข้อหาแรงๆ ตามใจสังคมก็ได้ แต่สำนวนก็ทำอ่อนๆ หน่อย ศาลก็อาจจะยกฟ้อง ตำรวจก็โยนภาระกลับมาที่พวกนักชี้นำตามเพจต่างๆ ได้ด้วย สบายตัวไปเลย ตรงกันข้ามกับทางที่ตำรวจเลือกขณะนี้ ถ้าศาลยกฟ้องนี่ตำรวจโดนสังคมถล่มเละแน่ ดังนั้นเขาคงไม่โง่หรือบ้าพอที่จะเอาเกียรติบนบ่ามาแลก มันไม่คุ้ม
.
เรื่องของกฎหมายมันก็แบบนี้แหละครับ..มีความซับซ้อน มีทริกมีเทคนิคในการต่อสู้กัน ไม่ใช่แค่บ้านเรา แม้แต่ในประเทศเจริญแล้ว คนก่อคดีใหญ่ๆ ยังหลุดได้เหมือนกัน ทั้งที่ความจริงเป็นอย่างไรสังคมก็เห็นๆ กันอยู่ ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สมบูรณ์ กระบวนวิธีต่างๆ ที่ออกโดยมนุษย์มันก็ยังมีช่องโหว่ช่องว่าง
.
โลกมันก็เลยเป็นแบบที่เราเห็นนี่แล!!!