สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
แปะแล้วแปะอีก ๆๆๆๆๆ
========================================
สมัยก่อนเนี่ย การเขียนมันมีความลักลั่นของการใช้ตัวอักษร ดังนั้นการเขียนสะกดตามเสียงที่ได้ยินก็เลยปรากฏอยู่มาก จะเห็นได้ว่าไม่ว่าคำไหนก็กำหนดลงไม่ได้ว่าจะเขียนว่าไงกันแน่ แล้วก็อาจเป็นเพราะภาษาเรามันรุ่มรวยตัวอักษร ดังนั้นคนก็เขียนไปเรื่อยตามความเข้าใจ ข้อนี้ยังปรากฏอยู่ในชื่อคน อาทิ มีคนชื่อ รวิวรรณ ที่เขียนเป็น ละวิวรรณ์ หรือคนชื่อ นงราม ที่เขียนเป็น นงค์ลาม คนชื่อ วาณิช ที่เขียนเป็น วานิจ เป็นต้น คือมุ่งเอาความเข้าใจทางเสียงเป็นหลักไง
แต่เมื่อมีองค์กรราชบัณฑิตยสถานขึ้นมาปุ๊บ เพื่อมุ่งการใช้ภาษาที่มีคำกลางไม่ลักลั่นเช่นเมื่อก่อน จึงได้มีการบัญญัติคำอ่าน และการสะกดคำ นั้นๆ เข้าไว้ โดยสืบเสาะมาจากที่มาของคำ ความหมายของคำเอาไว้แล้วก็ออกมาเป็นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอย่างที่เห็น ส่วนหนึ่งคงต้องบันทึกไว้ว่าราชบัณฑิตเองก็คนไม่มากนัก แล้วคำที่เป็นคำเจ้าปัญหาก็มีอยู่ไม่น้อย ดังนั้นก็เป็นไปได้ที่จะดูแลไม่ทุกคำ หรือมีบางคำที่อาจเกิดความเข้าใจผิดไปบ้าง โดยเฉพาะคำที่เกี่ยวกับภาษาถิ่น แต่ทีนี้อย่าลืมว่าคนเราเกิดความเคยชินที่จะใช้คำที่เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ แม้ว่า คำนั้นจะผิดก็ตาม
ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่ว่า ในราว ๆ ปี 2525 หรือหลังจากนั้นไม่กี่ปี มีพจนานุกรมฉบับหนึ่งพิมพ์ขึ้นมา ที่มีรูปวัดพระแก้วกับพระบรมมหาราชวังอยู่ที่หน้าปกน่ะ พจนานุกรมฉบับนั้นเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดมากมายที่เกิดจากระบบการพิมพ์และการไม่ตรวจพิสูจน์อักษร ซึ่งแน่นอนว่าคนที่ไม่ได้ศึกษาด้านภาษาจริง ๆ หรือไม่ได้สนใจตรวจสอบจริง ๆ ก็หลงหูหลงตาไปได้ ประกอบกับระยะนั้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ขาดตลาด (ช่วงปี 35-37 มั้ง) พจนานุกรมฉบับนี้ก็เลยเป็นที่นิยมกันทุกองค์กรเอกชนและผู้ที่หาซื้อฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่ได้ อันนี้พี่เคยทำงานด้านพิสูจน์อักษรในองค์กรอุตสาหกรรมอยู่ ต้องเปิดใช้เล่มนี้ประจำ เลยชักแหม่ง ๆ ว่ามันมีอะไรแปลก ๆ ก็ต้องโทรศัพท์ถามไปทางราชบัณฑิตอยู่เนือง ๆ ว่าจริง ๆ คำนี้แปลว่าอะไร อย่างไร เขาพิมพ์ผิดใช่ไหม แต่ให้ยกตอนนี้ยังนึกไม่ออก เพราะนานแล้วที่ไม่ได้เปิดดู ต่อมาถ้าติดตามข่าว ก็จะพบว่าพจนานุกรมเล่มนี้เป็นคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลอยู่พักใหญ่ (ไม่รู้ตอนนี้คดีสิ้นสุดหรือยังนะคะ) ว่าจริง ๆ ไม่ใช่ฉบับที่ทำขึ้นมาใหม่เลย แต่คนทำ copy มาจากฉบับราชบัณฑิตนั่นเอง เมื่อก็อปปี้มาแล้ว ก็นำมาให้คนพิมพ์ขึ้นมาใหม่ แต่ทีนี้คนพิมพ์ก็อาจจะเหนื่อยเพราะคำมันเยอะ ก็เลยมีที่พิมพ์ผิดเยอะมาก ๆ แล้วคนทำก็ดันไม่ได้ตรวจพิสูจน์อักษรให้ดี เร่ง ๆ เข็นกันออกมา ซึ่งในที่สุดก็ได้ผล คนอ่านกันทั่วบ้านทั่วเมืองโดยไม่รู้ว่ามันผิด โดยอาศัยคำว่า "เฉลิมพระเกียรติ" เป็นการพะยี่ห้อ
ดังนั้น พอเข้าใจแนวคิดใช่ไหมจ๊ะ ว่าคนที่เข้าใจผิด ว่าคำ ๆ หนึ่ง เขียนแบบนี้สิ (ไม่เฉพาะคำว่า รสชาติ นะจ๊ะ) ก็มี 3 กรณี คือ
1. คนที่อ้างอิงพจนานุกรม ฉบับนี้ ในบางคำที่เขาพิมพ์ผิด
2. คนที่ชินกับภาษาเก่า ก่อนปี 2500 หรือก่อนหน้านั้น ที่กระบวนการเขียนยังลักลั่นอยู่
3. อ้างถึงพจนานุกรมฉบับอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองว่าถูกต้องหรือไม่ หรือเขียนตามใจผู้อ่านหรือไม่นั่นเอง
กับคำถามว่า จะทำอย่างไรต่อไป ก็คือ
1. เมื่อมีคำที่เขาสอบสวนแล้วว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ณ เวลานี้ ก็ควรจะใช้คำตามนั้นเพื่อให้สื่อสารเข้าใจตรงกัน ประเด็นนี้ห้ามตอบว่า อย่างนั้นจะเขียนอย่างไร ให้สื่อสารตรงกันก็ได้สิ ก็ไม่ใช่ คำตอบแบบนี้ดูมักง่ายและไม่ได้หาข้อมูลมากสักนิด ประเด็นสำคัญก็คือ สื่อสารกันได้ก็จริง แต่ถ้าสื่อสารได้เข้าใจตรงกันแล้ว ยังสื่อสารด้วยถ้อยคำและข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนด้วยก็จะยิ่งดีกว่าใช่ไหม
2. ถ้าคำนั้นเรามีหลักฐานยืนยันได้ว่า ราชบัณฑิตเขียนผิดจริง ๆ หรือสอบสวนผิดพลาดจริง ๆ สามารถติดต่อไปที่ราชบัณฑิตขอคำอธิบายได้ว่าเป็นอย่างไร และสอบถามได้ว่าเหตุใดจึงใช้เช่นนั้น และแน่นอนว่าราชบัณฑิตสามารถเปิดแถลงการณ์ได้ทันที ที่สอบสวนว่าผิดจริงค่ะ หรืออย่างน้อยส่งหลักฐานไปยืนยันกับสื่อมวลชนให้ช่วยตรวจสอบอีกแรง
ก็ได้ ไม่ใช่มาแอบ ๆ เถียงว่าราชบัณฑิตผิด คน ๆ หนึ่ง (คนเดียวตะหากที่เขียนถูก) แหะๆ น้ำหนักมันน้อยไปนิด เพราะราชบัณฑิตเขาทำงานกันเป็นคณะอ้ะค่ะ ไม่ใช่ทำงานคนเดียว
ทีนี้ มาดูกันว่าการเขียนแบบลักลั่นในภาษาไทยยังมีอยู่ไหม คำตอบก็คือมี ดูได้จากหนังสือที่พิมพ์ใน สนพ. ในเครืออัมรินทร์ทุกเล่ม เมื่อพิมพ์คำว่า มอเตอร์ไซค์ จะเป็น มอเตอร์ไซคล์ ทุกคำ โดยแจ้งว่า ถอดมาจากเสียงในภาษาเดิม (อันนี้ต้องดูหลักเกณฑ์ในบัญญัติเรื่องการถอดคำจากภาษาดั้งเดิมประกอบนะคะ) แล้วจะทราบว่า คำไทย ไม่นิยมคำที่รุงรังมาก ๆ ยกเว้นคำที่จะทำให้เข้าใจผิด อย่าง โค้ก กับ โคก น่ะ หรือบางคำ มีการรณรงค์ให้เขียนแบบใหม่ โดยยังไม่ได้สอบทานเลยว่า ที่เข้าใจเนี่ยถูกต้องไหม อันนี้จะเป็นเยอะในชื่อบ้านนามเมือง อันนี้ไม่เกี่ยวกับที่คุยกันเรื่องรสชาติแล้วนา เดี๋ยวจะว่าหลงประเด็น อย่างเกาะภูเก็ต หลาย ๆ คนบอกว่า มันน่าจะเป็น ภูเก็จ ที่แปลว่า ภูเขาแก้ว โดยลืมไปว่า ท้องถิ่นนั้น บาลีสันสกฤตเข้ามาทีหลัง หรือมีอิทธิพลน้อยกว่าภาษายาวีเยอะเลย เพราะถ้าสอบสวนจากนิทานพื้นบ้าน หรือภาษาพื้นบ้าน จะพบคำว่า บูกิต ที่แปลว่า ภูเขา อยู่ด้วย ดังนั้น ถ้าเขียน ภูเก็ต ก็น่าจะใช่มากกว่า ภูเก็จ ที่เป็นแขกใช่ปะ
ทำนองนี้แหละ
จากคุณ : ว่านน้ำ - [ 6 มิ.ย. 46 12:48:02 ]
========================================
สมัยก่อนเนี่ย การเขียนมันมีความลักลั่นของการใช้ตัวอักษร ดังนั้นการเขียนสะกดตามเสียงที่ได้ยินก็เลยปรากฏอยู่มาก จะเห็นได้ว่าไม่ว่าคำไหนก็กำหนดลงไม่ได้ว่าจะเขียนว่าไงกันแน่ แล้วก็อาจเป็นเพราะภาษาเรามันรุ่มรวยตัวอักษร ดังนั้นคนก็เขียนไปเรื่อยตามความเข้าใจ ข้อนี้ยังปรากฏอยู่ในชื่อคน อาทิ มีคนชื่อ รวิวรรณ ที่เขียนเป็น ละวิวรรณ์ หรือคนชื่อ นงราม ที่เขียนเป็น นงค์ลาม คนชื่อ วาณิช ที่เขียนเป็น วานิจ เป็นต้น คือมุ่งเอาความเข้าใจทางเสียงเป็นหลักไง
แต่เมื่อมีองค์กรราชบัณฑิตยสถานขึ้นมาปุ๊บ เพื่อมุ่งการใช้ภาษาที่มีคำกลางไม่ลักลั่นเช่นเมื่อก่อน จึงได้มีการบัญญัติคำอ่าน และการสะกดคำ นั้นๆ เข้าไว้ โดยสืบเสาะมาจากที่มาของคำ ความหมายของคำเอาไว้แล้วก็ออกมาเป็นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอย่างที่เห็น ส่วนหนึ่งคงต้องบันทึกไว้ว่าราชบัณฑิตเองก็คนไม่มากนัก แล้วคำที่เป็นคำเจ้าปัญหาก็มีอยู่ไม่น้อย ดังนั้นก็เป็นไปได้ที่จะดูแลไม่ทุกคำ หรือมีบางคำที่อาจเกิดความเข้าใจผิดไปบ้าง โดยเฉพาะคำที่เกี่ยวกับภาษาถิ่น แต่ทีนี้อย่าลืมว่าคนเราเกิดความเคยชินที่จะใช้คำที่เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ แม้ว่า คำนั้นจะผิดก็ตาม
ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่ว่า ในราว ๆ ปี 2525 หรือหลังจากนั้นไม่กี่ปี มีพจนานุกรมฉบับหนึ่งพิมพ์ขึ้นมา ที่มีรูปวัดพระแก้วกับพระบรมมหาราชวังอยู่ที่หน้าปกน่ะ พจนานุกรมฉบับนั้นเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดมากมายที่เกิดจากระบบการพิมพ์และการไม่ตรวจพิสูจน์อักษร ซึ่งแน่นอนว่าคนที่ไม่ได้ศึกษาด้านภาษาจริง ๆ หรือไม่ได้สนใจตรวจสอบจริง ๆ ก็หลงหูหลงตาไปได้ ประกอบกับระยะนั้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ขาดตลาด (ช่วงปี 35-37 มั้ง) พจนานุกรมฉบับนี้ก็เลยเป็นที่นิยมกันทุกองค์กรเอกชนและผู้ที่หาซื้อฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่ได้ อันนี้พี่เคยทำงานด้านพิสูจน์อักษรในองค์กรอุตสาหกรรมอยู่ ต้องเปิดใช้เล่มนี้ประจำ เลยชักแหม่ง ๆ ว่ามันมีอะไรแปลก ๆ ก็ต้องโทรศัพท์ถามไปทางราชบัณฑิตอยู่เนือง ๆ ว่าจริง ๆ คำนี้แปลว่าอะไร อย่างไร เขาพิมพ์ผิดใช่ไหม แต่ให้ยกตอนนี้ยังนึกไม่ออก เพราะนานแล้วที่ไม่ได้เปิดดู ต่อมาถ้าติดตามข่าว ก็จะพบว่าพจนานุกรมเล่มนี้เป็นคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลอยู่พักใหญ่ (ไม่รู้ตอนนี้คดีสิ้นสุดหรือยังนะคะ) ว่าจริง ๆ ไม่ใช่ฉบับที่ทำขึ้นมาใหม่เลย แต่คนทำ copy มาจากฉบับราชบัณฑิตนั่นเอง เมื่อก็อปปี้มาแล้ว ก็นำมาให้คนพิมพ์ขึ้นมาใหม่ แต่ทีนี้คนพิมพ์ก็อาจจะเหนื่อยเพราะคำมันเยอะ ก็เลยมีที่พิมพ์ผิดเยอะมาก ๆ แล้วคนทำก็ดันไม่ได้ตรวจพิสูจน์อักษรให้ดี เร่ง ๆ เข็นกันออกมา ซึ่งในที่สุดก็ได้ผล คนอ่านกันทั่วบ้านทั่วเมืองโดยไม่รู้ว่ามันผิด โดยอาศัยคำว่า "เฉลิมพระเกียรติ" เป็นการพะยี่ห้อ
ดังนั้น พอเข้าใจแนวคิดใช่ไหมจ๊ะ ว่าคนที่เข้าใจผิด ว่าคำ ๆ หนึ่ง เขียนแบบนี้สิ (ไม่เฉพาะคำว่า รสชาติ นะจ๊ะ) ก็มี 3 กรณี คือ
1. คนที่อ้างอิงพจนานุกรม ฉบับนี้ ในบางคำที่เขาพิมพ์ผิด
2. คนที่ชินกับภาษาเก่า ก่อนปี 2500 หรือก่อนหน้านั้น ที่กระบวนการเขียนยังลักลั่นอยู่
3. อ้างถึงพจนานุกรมฉบับอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองว่าถูกต้องหรือไม่ หรือเขียนตามใจผู้อ่านหรือไม่นั่นเอง
กับคำถามว่า จะทำอย่างไรต่อไป ก็คือ
1. เมื่อมีคำที่เขาสอบสวนแล้วว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ณ เวลานี้ ก็ควรจะใช้คำตามนั้นเพื่อให้สื่อสารเข้าใจตรงกัน ประเด็นนี้ห้ามตอบว่า อย่างนั้นจะเขียนอย่างไร ให้สื่อสารตรงกันก็ได้สิ ก็ไม่ใช่ คำตอบแบบนี้ดูมักง่ายและไม่ได้หาข้อมูลมากสักนิด ประเด็นสำคัญก็คือ สื่อสารกันได้ก็จริง แต่ถ้าสื่อสารได้เข้าใจตรงกันแล้ว ยังสื่อสารด้วยถ้อยคำและข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนด้วยก็จะยิ่งดีกว่าใช่ไหม
2. ถ้าคำนั้นเรามีหลักฐานยืนยันได้ว่า ราชบัณฑิตเขียนผิดจริง ๆ หรือสอบสวนผิดพลาดจริง ๆ สามารถติดต่อไปที่ราชบัณฑิตขอคำอธิบายได้ว่าเป็นอย่างไร และสอบถามได้ว่าเหตุใดจึงใช้เช่นนั้น และแน่นอนว่าราชบัณฑิตสามารถเปิดแถลงการณ์ได้ทันที ที่สอบสวนว่าผิดจริงค่ะ หรืออย่างน้อยส่งหลักฐานไปยืนยันกับสื่อมวลชนให้ช่วยตรวจสอบอีกแรง
ก็ได้ ไม่ใช่มาแอบ ๆ เถียงว่าราชบัณฑิตผิด คน ๆ หนึ่ง (คนเดียวตะหากที่เขียนถูก) แหะๆ น้ำหนักมันน้อยไปนิด เพราะราชบัณฑิตเขาทำงานกันเป็นคณะอ้ะค่ะ ไม่ใช่ทำงานคนเดียว
ทีนี้ มาดูกันว่าการเขียนแบบลักลั่นในภาษาไทยยังมีอยู่ไหม คำตอบก็คือมี ดูได้จากหนังสือที่พิมพ์ใน สนพ. ในเครืออัมรินทร์ทุกเล่ม เมื่อพิมพ์คำว่า มอเตอร์ไซค์ จะเป็น มอเตอร์ไซคล์ ทุกคำ โดยแจ้งว่า ถอดมาจากเสียงในภาษาเดิม (อันนี้ต้องดูหลักเกณฑ์ในบัญญัติเรื่องการถอดคำจากภาษาดั้งเดิมประกอบนะคะ) แล้วจะทราบว่า คำไทย ไม่นิยมคำที่รุงรังมาก ๆ ยกเว้นคำที่จะทำให้เข้าใจผิด อย่าง โค้ก กับ โคก น่ะ หรือบางคำ มีการรณรงค์ให้เขียนแบบใหม่ โดยยังไม่ได้สอบทานเลยว่า ที่เข้าใจเนี่ยถูกต้องไหม อันนี้จะเป็นเยอะในชื่อบ้านนามเมือง อันนี้ไม่เกี่ยวกับที่คุยกันเรื่องรสชาติแล้วนา เดี๋ยวจะว่าหลงประเด็น อย่างเกาะภูเก็ต หลาย ๆ คนบอกว่า มันน่าจะเป็น ภูเก็จ ที่แปลว่า ภูเขาแก้ว โดยลืมไปว่า ท้องถิ่นนั้น บาลีสันสกฤตเข้ามาทีหลัง หรือมีอิทธิพลน้อยกว่าภาษายาวีเยอะเลย เพราะถ้าสอบสวนจากนิทานพื้นบ้าน หรือภาษาพื้นบ้าน จะพบคำว่า บูกิต ที่แปลว่า ภูเขา อยู่ด้วย ดังนั้น ถ้าเขียน ภูเก็ต ก็น่าจะใช่มากกว่า ภูเก็จ ที่เป็นแขกใช่ปะ
ทำนองนี้แหละ
จากคุณ : ว่านน้ำ - [ 6 มิ.ย. 46 12:48:02 ]
แสดงความคิดเห็น
รสชาติ หรือรสชาด คะ
แต่วันนี้น้องกลับบ้านมาบอกว่าครูตีมือเพราะเขียนคำว่ารสชาติผิด
ครูของน้องบอกว่าต้องเขียนว่ารสชาด ถ้าเขียนผิดอีกก็จะโดนตีอีก
เราเลยอยากมาถามค่ะว่าตกลงเขียนแบบไหนกันแน่ถึงจะถูก แล้วถ้าครูไม่ถูกเราควรจะสอนที่ถูกให้หรือปรับตามครูเพื่อน้องจะได้ไม่โดนตีดีคะ