ผมมีข้อสงสัยครับ
พระเจ้าปดุงมีความประสงค์จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และอยากจะมาปราบกรุงศรีอยุธยา (ใหม่) โดยตลอดรัชกาล และยังคงส่งต่อความหวังนี้ไปยังพระเจ้า พาคยีดอ พระราชนัดดาอีกด้วย
แต่พอจบสงครามศึกท่าดินแดง และตามต่อด้วยโดนกองทัพไทยยกไปลูบคมถึงเมือทวายในปี พ.ศ. 2330 ตามด้วยการตีเชียงแสนซึ่งเป็นฐานทัพใหญ่ของพม่าในแถบแม่น้ำโขงแตกในปี พ.ศ. 2345 แล้ว ทัพพม่าก็ไม่เคยยกทัพใหญ่มาตีไทยอีกเลย จวบจนถึงพม่ามีสงครามกับอังกฤษในปี พ.ศ.2367 ทั้งๆที่ระยะเวลา 37 ปี จาก พ.ศ. 2330-2367 นี้ พม่ามีความเข้มแข็งและมั่นคงมากพอสมควร สามารถระดมทัพใหญ่ข้ามมาตีไทยได้สบายๆ
มีเพียงแต่สงครามเล็กๆ แบบกะก่อกวน อย่างศึกตีเมืองถลางในปี 2352 เท่านั้น และยกมาเป็นกองกำลังขนาดไม่ใหญ่ เทียบไม่ได้เลยกับขนาดกองกำลังที่รบกันที่ท่าดินแดง หรือแม้แต่การข้ามไปตีเมืองทวาย
จะว่าพระเจ้าปดุง เกรงฝีมือการรบ ของกรมพระราชวังบวร และรัชกาลที่ 1 แต่พระเจ้าปดุงสวรรคตหลังรัชกาลที่ 1 ถึง 10 ปี และน่าจะสามารถระดมพลข้ามมาตีไทยได้อีกหลายรอบ ในช่วง 10 ปี ที่เหลือของรัชกาล
ขอบคุณครับผม
ทำไมพม่าไม่ยกทัพใหญ่มาตีไทยอีกเลย หลังจบสงครามไทยข้ามไปตีทวาย
พระเจ้าปดุงมีความประสงค์จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และอยากจะมาปราบกรุงศรีอยุธยา (ใหม่) โดยตลอดรัชกาล และยังคงส่งต่อความหวังนี้ไปยังพระเจ้า พาคยีดอ พระราชนัดดาอีกด้วย
แต่พอจบสงครามศึกท่าดินแดง และตามต่อด้วยโดนกองทัพไทยยกไปลูบคมถึงเมือทวายในปี พ.ศ. 2330 ตามด้วยการตีเชียงแสนซึ่งเป็นฐานทัพใหญ่ของพม่าในแถบแม่น้ำโขงแตกในปี พ.ศ. 2345 แล้ว ทัพพม่าก็ไม่เคยยกทัพใหญ่มาตีไทยอีกเลย จวบจนถึงพม่ามีสงครามกับอังกฤษในปี พ.ศ.2367 ทั้งๆที่ระยะเวลา 37 ปี จาก พ.ศ. 2330-2367 นี้ พม่ามีความเข้มแข็งและมั่นคงมากพอสมควร สามารถระดมทัพใหญ่ข้ามมาตีไทยได้สบายๆ
มีเพียงแต่สงครามเล็กๆ แบบกะก่อกวน อย่างศึกตีเมืองถลางในปี 2352 เท่านั้น และยกมาเป็นกองกำลังขนาดไม่ใหญ่ เทียบไม่ได้เลยกับขนาดกองกำลังที่รบกันที่ท่าดินแดง หรือแม้แต่การข้ามไปตีเมืองทวาย
จะว่าพระเจ้าปดุง เกรงฝีมือการรบ ของกรมพระราชวังบวร และรัชกาลที่ 1 แต่พระเจ้าปดุงสวรรคตหลังรัชกาลที่ 1 ถึง 10 ปี และน่าจะสามารถระดมพลข้ามมาตีไทยได้อีกหลายรอบ ในช่วง 10 ปี ที่เหลือของรัชกาล
ขอบคุณครับผม