http://money.kapook.com/view148190.html
กระทรวงการคลัง เตรียมยกเลิกจ่ายเบี้ยคนชราเดือนละ 600 บาท มุ่งเป้าผู้สูงวัยที่มีรายได้เกินเดือนละ 9 พัน สินทรัพย์เกิน 3 ล้าน รองรับสังคมผู้สูงอายุ คาดรัฐประหยัดเงินปีละ 1 หมื่นล้านบาท
วานนี้ (13 พฤษภาคม 2559) นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังทบทวนนโยบายการจ่ายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 600 บาทต่อเดือนใหม่ โดยจะมีการยกเลิกจ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาทหรือมีสินทรัพย์สูงเกิน 3 ล้านบาท และเลือกจ่ายให้เฉพาะผู้สูงวัยที่มีรายได้ต่ำ หรือต้องการได้รับความช่วยเหลือจริงเท่านั้นเพื่อลดภาระงบประมาณเพราะประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
นายวิสุทธิ์ กล่าวต่อว่า จากเดิมใครมีอายุเกิน 60 ปี ก็มาลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ แต่ต่อไปจะมีการช่วยเหลือบางคนที่มีรายได้ต่ำ ประเมินว่านโยบายจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุใหม่นี้จะช่วยรัฐประหยัดงบได้ปีละ1 หมื่นล้านบาทจากปัจจุบันที่เป็นภาระงบประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท โดยรัฐจะทำการเก็บข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยและเชื่อมโยงกับนโยบายพัฒนาการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเพย์เมนท์ที่เปิดให้มีการลงทะเบียนตั้งแต่กลางปีนี้
นายวิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า มีผู้สูงอายุประมาณ 10 ล้านคน แต่ต่อไปประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากขึ้น ซึ่งในปี 2573 คาดว่าทุกประชากร 5 คน มีผู้สูงอายุ 1 คนและคนในวัยทำงานที่สร้างรายได้จะเหลือน้อยลง ที่สำคัญคนไทยยังทำประกันภัยกันน้อยประมาณ 38 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดต่างจากประเทศพัฒนาแล้วที่ทุกคนจะมีการทำประกันอย่างน้อย 1 คนต่อ 1 กรมธรรม์ ส่งผลให้ต่อไปภาระงบประมาณในการดูแลผู้สูงวัยจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินให้กับผู้สูงอายุที่ต้องการใช้เงินในยามเกษียณซึ่งจะเหมาะกับคนไม่มีลูกหลาน
### คลังจ่อยกเลิกเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท คาดประหยัดงบปีละ 1 หมื่นล้าน ###
กระทรวงการคลัง เตรียมยกเลิกจ่ายเบี้ยคนชราเดือนละ 600 บาท มุ่งเป้าผู้สูงวัยที่มีรายได้เกินเดือนละ 9 พัน สินทรัพย์เกิน 3 ล้าน รองรับสังคมผู้สูงอายุ คาดรัฐประหยัดเงินปีละ 1 หมื่นล้านบาท
วานนี้ (13 พฤษภาคม 2559) นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังทบทวนนโยบายการจ่ายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 600 บาทต่อเดือนใหม่ โดยจะมีการยกเลิกจ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาทหรือมีสินทรัพย์สูงเกิน 3 ล้านบาท และเลือกจ่ายให้เฉพาะผู้สูงวัยที่มีรายได้ต่ำ หรือต้องการได้รับความช่วยเหลือจริงเท่านั้นเพื่อลดภาระงบประมาณเพราะประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
นายวิสุทธิ์ กล่าวต่อว่า จากเดิมใครมีอายุเกิน 60 ปี ก็มาลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ แต่ต่อไปจะมีการช่วยเหลือบางคนที่มีรายได้ต่ำ ประเมินว่านโยบายจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุใหม่นี้จะช่วยรัฐประหยัดงบได้ปีละ1 หมื่นล้านบาทจากปัจจุบันที่เป็นภาระงบประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท โดยรัฐจะทำการเก็บข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยและเชื่อมโยงกับนโยบายพัฒนาการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเพย์เมนท์ที่เปิดให้มีการลงทะเบียนตั้งแต่กลางปีนี้
นายวิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า มีผู้สูงอายุประมาณ 10 ล้านคน แต่ต่อไปประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากขึ้น ซึ่งในปี 2573 คาดว่าทุกประชากร 5 คน มีผู้สูงอายุ 1 คนและคนในวัยทำงานที่สร้างรายได้จะเหลือน้อยลง ที่สำคัญคนไทยยังทำประกันภัยกันน้อยประมาณ 38 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดต่างจากประเทศพัฒนาแล้วที่ทุกคนจะมีการทำประกันอย่างน้อย 1 คนต่อ 1 กรมธรรม์ ส่งผลให้ต่อไปภาระงบประมาณในการดูแลผู้สูงวัยจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินให้กับผู้สูงอายุที่ต้องการใช้เงินในยามเกษียณซึ่งจะเหมาะกับคนไม่มีลูกหลาน