สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นก็ต้องขอพูดแบบคนที่เขียนกะทู้รีวิวแรกๆว่า >>>พอดีเรายืมรหัสเพื่อนมาโพส ของเราสมัครไว้แล้ว แต่อดใจรอไม่ไหว อยากให้ทุกคนได้รับชมความสนุก<<<เริ่มยาวและ ไม่ใช่ค่ะ จะบอกว่า นี้เป็นรีวิวท่องเที่ยวแรกของเรา อาจมีผิด มีพลาดอย่าว่ากัน ถือว่าอ่านผ่านๆล่ะกันนะค่ะ เอ๊ะ แบบนี้ก็คุ้นๆเห็นหลายกะทู้ก็ตั้งนะ เอาเป็นว่าเป็นประโยคหากินล่ะกันค่ะ ก่อนอื่นขอถามก่อนเลย ในคนที่มาอ่านกะทู้นี้มีใครไม่รู้จักสามจังหวัดชายแดนใต้บ้าง คิดว่าครึ่งค่อนของประชากรไทยน่าจะรู้จักกันอย่างดี เพราะมีข่าวดังตลอดไม่เว้นแต่ละวัน แง่ล่ะสิ วันๆๆโจรใต้ก็ขยันวางระเบิดเหลือเกิ๊น ล่าสุดที่พี่โน้ตเอามาทอล์กโชว์เรื่องของจังหวัดยะลา ยิ่งดังขึ้นมาอีก 4.7ริกเตอร์ ระดับพอรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน (อันนี้มุขนะค่ะ ขำได้ก็ขำค่ะ ถ้าอ่านแล้วเป๊ก ก็ถือว่าลมพัดเย็นดี) พอเอ่ยคำว่า ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สิ่งที่แวปเข้ามาในหัวเราคือ >>> ระเบิด ถูกไหมค่ะ ใครฟังก็กลัว ไม่กล้าเข้ามาสัมผัสความงามตรงนี้ แต่วันนี้ค่ะ เราพร้อมแล้วจะพาความงามของสถานที่ท่องเที่ยงบางส่วนให้คนไทยได้ประจักษ์ ณ บัดนาวววววววว
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนค่ะ จขกท.เป็นคนจังหวัดนราธิวาส เกิดและโตที่อำเภอสุไหงโก-ลก ถ้าเราย้อนกลับไปสมัยเด็กๆๆ วิชาสังคมก็จะบอกว่าเมืองที่ใต้สุดแดนสยาม คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา แต่ในความรู้สึกเราสุไหงโก-ลกก็ใต้สุดนะ
ระหว่างที่จะทำการรีวิวนี้ ก็เปิดเพลงฮัมไปเบาๆ เหมือนปลุกกระแสในตัวเรา ** ขวานที่ไม่มีด้าม นำไปใช้ย่อมไร้พลัง คนไทยไม่เคยแบ่งข้าง ไทยแขกจีนฝรั่งที่เกิดยังเมืองไทย *** ใต้ร่มบรมโพธิสมภาร พระเจ้าอยู่หัวพระราชินีทรงห่วงใย ลูกเอยหลานเอยล้วนคนไทย มาสร้างฝันวันใหม่ให้ขวานไทยใจหนึ่งเดียว (ให้ขวานไทยใจหนึ่งเดียว) เอ๊ะ สรุปกำลังพาเที่ยวหรือปลุกระดม เริ่มงง555
เข้าเรื่องกันเลยค่ะ เรามีนัดกันทุกปีว่าจะกลับไปทำบุญให้พ่อในเดือนเมษายน พ่อก็จะนอนรออยู่ที่คอนโดในวัดแห่งหนึ่งของอำเภอสุงไหงโก-ลกโดยมีทหารคุ้มกันให้เรียบร้อย ดูดีเลยใช่ไหมค่ะคุณผู้ชม เส้นทางของเราก็จะออกเดินทางจากหาดใหญ่มุ่งตรงเข้าสู่อำเภอสุไหงโก-ลก และจะแวะทักทายญาติบ้างตามอำเภอตันหยงมัส ซึ่งลองกองต้องตันหยังมัส คือผลไม้ชื่อดังของอำเภอนี้ อันนี้บอกให้ฟังเฉยๆๆนะค่ะ ว่าเราก็มีของดี จากตันหยงมัสก็จะไปแวะที่อำเภอตากใบ ซึ่งปลากุเหลาที่นี้ก็ดังอีกแล้ว ก็บอกแล้วว่านอกจากระเบิดที่ดังเรื่องของกินที่อร่อยเราก็มีค่ะ อยากให้ลองมาสัมผัสของอร่อยถึงถิ่น อย่าปล่อยให้คนสามจังหวัดอยู่อย่างเหงาๆ อย่างห่วงๆ กันเลยนะค่ะ มันเหงาจริงๆๆๆ
รอยยิ้ม อีโมติคอน kiki จากแม่ค้า ในขณะที่น้ากำลังต่อรองราคาน้ำตาลสด
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินถึงวัดพระพุทธ เสด็จเข้าศาลาการเปรียญ ทรงจุดธูป เทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระรัตนตรัย ทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่ "พระครูไพโรจน์ศาสนกิจ" เจ้าอาวาสวัดพระพุทธ และพระสงฆ์ที่จำพรรษา รวม 8 รูป กลุ่มศิลปาชีพ วัดพระพุทธสามารถพัฒนาฝีมือ จนผลิตผลงานได้สวยงาม และมีคุณภาพ
ที่มา>>>วิกิพีเดีย
เค้าเล่าว่า>>>ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้นำผู้คนมาอพยพพักบนบกที่ ปากบางพร่อน พร้อมทั้งได้นำพระพุทธรูปมาประดิษฐานสององค์ ณ ปากคลอง พระพุทธรูปองค์พี่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ลอยขึ้นฟ้าแล้วหายไป ส่วนองค์น้อง ชาวบ้านกลัวว่าจะหายตามไป จึงได้ทำพิธีตัดเล็บมือเล็บเท้า และล่ามโซ่ไว้ โดยมีความเชื่อว่าพระจะไม่ห่ายไปได้ จึงเป็นที่มาขององค์พระรูปนี้ว่า"พ่อท่านพระพุทธ" และได้นำชื่อของพระองค์พี่มาตั้งเป็นตำบลว่า พระร่อน แต่พอนานๆไปคำเรียกก็ได้เปลี่นจากพระร่อน เป็น "พร่อน" แทน ปัจจุบันพ่อท่านพระพุทธเป็นประธานในพระอุโบสถวัดพระพุทธ เมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี (ในอดีตเป็นวันขึ้นปีใหม่) ชาวบ้านร่วมกันนิมนต์พ่อท่านพระพุทธออกมาสรงน้ำ เพื่อขอพรให้เป็นสิริมงคล นิมนต์พระภิกษุสวดบังสุกุลบัว เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ และทำบุญเลี้ยงพระพร้อมรับประทานอาหารร่วมกันจนเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
ที่มา>>>แฟนเพจชาวพร่อน ตากใบ นราธิวาส
แบบบ้านของคนที่นี้ยังหลงเหลือไว้ให้ดูอยู่สองหลัง ผ่านไปยี่สิบกว่าปี ก็ยังคงความรู้สึกเดิม บ้านไม้ที่ตัดกับทรายสีขาว
ที่นี่สถานีตันหยงมัส
ตำบลตันหยงมัส:สถานีรถไฟตันหยงมัส>>>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดทำขบวนรถไฟพระที่นั่งถวาย เสด็จออกจากสถานีหลวงจิตรลดา เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒ เวลา ๐๖.๐๕ น. ถึงสถานีชุมพร เวลา ๑๗.๒๐น. เสด็จเยี่ยมพสกนิกรจังหวัดชุมพร แล้วจึงได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกร ทางภาคใต้ด้วยรถยนต์พระที่นั่งไปยังจังหวัดต่างๆ อันได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แล้วจึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานครด้วยรถไฟพระที่นั่งจากสถานีตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒
ลงจากสถานีตันหยงมัส ท่านสามารถต่อรถไปจังหวัดนราธิวาสได้ ในระยะเวลา หนึงชั่วโมง
ที่นี้ทหารหาพบเจอได้ง่ายมาก ตามวัด และบนท้องถนน เพื่อทำให้เราอุ่นใจ ต้องขอขอบคุณรั้วของชาติมากค่ะ
สถานที่สำคัญอันเป็นที่นับถือของชาวสุไหงโกลกและชาวจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงชาวจีนในมาเลเซีย ที่พากันเดินทางมาสักการะเป็นประจำ เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่บ้านโต๊ะโม อำเภอสุคิริน ต่อมาชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่อำเภอสุไหงโกโลก และทุกวันที่ 23 เดือนสามของจีนในทุกปี (ประมาณเดือนเมษายน) จะมีการจัดงานประเพณีประจำปีอันยิ่งใหญ่บริเวณศาลเจ้า โดยอัดแน่นด้วยกิจกรรมมากมาย เช่น การจัดขบวนแห่เจ้าแม่ ขบวนสิงโต ขบวนเอ็งกอ ขบวนกลองยาว และการลุยไฟอันน่าตื่นตาตื่นใจ
สำหรับความเป็นมาของศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะที่อำเภอสุไหงโก-ลก นั้น สืบเนื่องมาจากชาวฝรั่งเศสได้สัมปทานหาทองคำที่เขาโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน คนงานและเป็นผู้ที่เคารพนับถือเจ้าแม่ได้อัญเชิญเจ้าแม่มาประทับทรง และมีอยู่ครั้งหนึ่งเจ้าแม่ในร่างทรงบอกว่าบริเวณที่สำรวจห้ามขุด แต่ชาวฝรั่งเศสไม่เชื่อจนทำให้คนงานถูกดินพังทลายฝังกว่าร้อยคน จนชาวฝรั่งเศสเชื่อและนับถือ "กัปตันคิว"ที่เป็นหัวหน้า จึงเดินทางไปเมืองจีนและอัญเชิญองค์จำลองของเจ้าแม่มาบูชาที่เขาโต๊ะโมะและสร้างศาลที่ประทับให้
ก่อนจะย้ายองค์เจ้าแม่มาประทับที่สุไหงโก-ลก กระทั่งทุกวันนี้
โรงงิ้ว จำความได้ว่าตอนเด็กๆๆพ่อชอบพามาดูมังกรที่นี้ หากไม่มีการโชว์มังกร สิ่งที่พ่อชอบพามาดูอีกอย่างคือ งิ้ว คือตอนนั้นรำคาญมาก เพราะฟังไม่รู้เรื่อง เสียงก็แหลม หาความเพราะไม่ได้เลย แต่พ่อชอบมานั่งฟัง ที่นั่งของเราส่วนมากก็จะเป็นแถวที่สาม โดยประมาณ สมัยก่อนโรงงิ้วจะใหญ่กว่านี้ เพราะคนจีนในถิ่น และต่างถิ่นชอบมานั่งดู อย่างเช่น จีนมาเล แต่สมัยนี้ด้วยความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีอยู่ไม่จำกัด การแสดงได้สูญสลายไปตามกาลเวลา พร้อมคนที่นั่งชม หนึ่งในนั่งก็พ่อเรา
ป.ล.ข้างโรงงิ้วจะชอบขายน้ำตาลปั้นด้วย เราชอบกินดอกไม้ ถ้าลิงจะแพงหน่อย นานๆจะซื้อกินที
>>>>จบแล้วค่ะ ฝากติชมผลงานกันมาได้นะค่ะ ป.ล.ด่าได้แต่อย่างแรงนะค่ะ^_^<<<<<
[CR] >>>น ร า บ้ า น ฉั น <<<
สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นก็ต้องขอพูดแบบคนที่เขียนกะทู้รีวิวแรกๆว่า >>>พอดีเรายืมรหัสเพื่อนมาโพส ของเราสมัครไว้แล้ว แต่อดใจรอไม่ไหว อยากให้ทุกคนได้รับชมความสนุก<<<เริ่มยาวและ ไม่ใช่ค่ะ จะบอกว่า นี้เป็นรีวิวท่องเที่ยวแรกของเรา อาจมีผิด มีพลาดอย่าว่ากัน ถือว่าอ่านผ่านๆล่ะกันนะค่ะ เอ๊ะ แบบนี้ก็คุ้นๆเห็นหลายกะทู้ก็ตั้งนะ เอาเป็นว่าเป็นประโยคหากินล่ะกันค่ะ ก่อนอื่นขอถามก่อนเลย ในคนที่มาอ่านกะทู้นี้มีใครไม่รู้จักสามจังหวัดชายแดนใต้บ้าง คิดว่าครึ่งค่อนของประชากรไทยน่าจะรู้จักกันอย่างดี เพราะมีข่าวดังตลอดไม่เว้นแต่ละวัน แง่ล่ะสิ วันๆๆโจรใต้ก็ขยันวางระเบิดเหลือเกิ๊น ล่าสุดที่พี่โน้ตเอามาทอล์กโชว์เรื่องของจังหวัดยะลา ยิ่งดังขึ้นมาอีก 4.7ริกเตอร์ ระดับพอรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน (อันนี้มุขนะค่ะ ขำได้ก็ขำค่ะ ถ้าอ่านแล้วเป๊ก ก็ถือว่าลมพัดเย็นดี) พอเอ่ยคำว่า ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สิ่งที่แวปเข้ามาในหัวเราคือ >>> ระเบิด ถูกไหมค่ะ ใครฟังก็กลัว ไม่กล้าเข้ามาสัมผัสความงามตรงนี้ แต่วันนี้ค่ะ เราพร้อมแล้วจะพาความงามของสถานที่ท่องเที่ยงบางส่วนให้คนไทยได้ประจักษ์ ณ บัดนาวววววววว
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนค่ะ จขกท.เป็นคนจังหวัดนราธิวาส เกิดและโตที่อำเภอสุไหงโก-ลก ถ้าเราย้อนกลับไปสมัยเด็กๆๆ วิชาสังคมก็จะบอกว่าเมืองที่ใต้สุดแดนสยาม คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา แต่ในความรู้สึกเราสุไหงโก-ลกก็ใต้สุดนะ
ระหว่างที่จะทำการรีวิวนี้ ก็เปิดเพลงฮัมไปเบาๆ เหมือนปลุกกระแสในตัวเรา ** ขวานที่ไม่มีด้าม นำไปใช้ย่อมไร้พลัง คนไทยไม่เคยแบ่งข้าง ไทยแขกจีนฝรั่งที่เกิดยังเมืองไทย *** ใต้ร่มบรมโพธิสมภาร พระเจ้าอยู่หัวพระราชินีทรงห่วงใย ลูกเอยหลานเอยล้วนคนไทย มาสร้างฝันวันใหม่ให้ขวานไทยใจหนึ่งเดียว (ให้ขวานไทยใจหนึ่งเดียว) เอ๊ะ สรุปกำลังพาเที่ยวหรือปลุกระดม เริ่มงง555
เข้าเรื่องกันเลยค่ะ เรามีนัดกันทุกปีว่าจะกลับไปทำบุญให้พ่อในเดือนเมษายน พ่อก็จะนอนรออยู่ที่คอนโดในวัดแห่งหนึ่งของอำเภอสุงไหงโก-ลกโดยมีทหารคุ้มกันให้เรียบร้อย ดูดีเลยใช่ไหมค่ะคุณผู้ชม เส้นทางของเราก็จะออกเดินทางจากหาดใหญ่มุ่งตรงเข้าสู่อำเภอสุไหงโก-ลก และจะแวะทักทายญาติบ้างตามอำเภอตันหยงมัส ซึ่งลองกองต้องตันหยังมัส คือผลไม้ชื่อดังของอำเภอนี้ อันนี้บอกให้ฟังเฉยๆๆนะค่ะ ว่าเราก็มีของดี จากตันหยงมัสก็จะไปแวะที่อำเภอตากใบ ซึ่งปลากุเหลาที่นี้ก็ดังอีกแล้ว ก็บอกแล้วว่านอกจากระเบิดที่ดังเรื่องของกินที่อร่อยเราก็มีค่ะ อยากให้ลองมาสัมผัสของอร่อยถึงถิ่น อย่าปล่อยให้คนสามจังหวัดอยู่อย่างเหงาๆ อย่างห่วงๆ กันเลยนะค่ะ มันเหงาจริงๆๆๆ
รอยยิ้ม อีโมติคอน kiki จากแม่ค้า ในขณะที่น้ากำลังต่อรองราคาน้ำตาลสด
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินถึงวัดพระพุทธ เสด็จเข้าศาลาการเปรียญ ทรงจุดธูป เทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระรัตนตรัย ทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่ "พระครูไพโรจน์ศาสนกิจ" เจ้าอาวาสวัดพระพุทธ และพระสงฆ์ที่จำพรรษา รวม 8 รูป กลุ่มศิลปาชีพ วัดพระพุทธสามารถพัฒนาฝีมือ จนผลิตผลงานได้สวยงาม และมีคุณภาพ
ที่มา>>>วิกิพีเดีย
เค้าเล่าว่า>>>ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้นำผู้คนมาอพยพพักบนบกที่ ปากบางพร่อน พร้อมทั้งได้นำพระพุทธรูปมาประดิษฐานสององค์ ณ ปากคลอง พระพุทธรูปองค์พี่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ลอยขึ้นฟ้าแล้วหายไป ส่วนองค์น้อง ชาวบ้านกลัวว่าจะหายตามไป จึงได้ทำพิธีตัดเล็บมือเล็บเท้า และล่ามโซ่ไว้ โดยมีความเชื่อว่าพระจะไม่ห่ายไปได้ จึงเป็นที่มาขององค์พระรูปนี้ว่า"พ่อท่านพระพุทธ" และได้นำชื่อของพระองค์พี่มาตั้งเป็นตำบลว่า พระร่อน แต่พอนานๆไปคำเรียกก็ได้เปลี่นจากพระร่อน เป็น "พร่อน" แทน ปัจจุบันพ่อท่านพระพุทธเป็นประธานในพระอุโบสถวัดพระพุทธ เมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี (ในอดีตเป็นวันขึ้นปีใหม่) ชาวบ้านร่วมกันนิมนต์พ่อท่านพระพุทธออกมาสรงน้ำ เพื่อขอพรให้เป็นสิริมงคล นิมนต์พระภิกษุสวดบังสุกุลบัว เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ และทำบุญเลี้ยงพระพร้อมรับประทานอาหารร่วมกันจนเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
ที่มา>>>แฟนเพจชาวพร่อน ตากใบ นราธิวาส
แบบบ้านของคนที่นี้ยังหลงเหลือไว้ให้ดูอยู่สองหลัง ผ่านไปยี่สิบกว่าปี ก็ยังคงความรู้สึกเดิม บ้านไม้ที่ตัดกับทรายสีขาว
ที่นี่สถานีตันหยงมัส
ตำบลตันหยงมัส:สถานีรถไฟตันหยงมัส>>>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดทำขบวนรถไฟพระที่นั่งถวาย เสด็จออกจากสถานีหลวงจิตรลดา เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒ เวลา ๐๖.๐๕ น. ถึงสถานีชุมพร เวลา ๑๗.๒๐น. เสด็จเยี่ยมพสกนิกรจังหวัดชุมพร แล้วจึงได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกร ทางภาคใต้ด้วยรถยนต์พระที่นั่งไปยังจังหวัดต่างๆ อันได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แล้วจึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานครด้วยรถไฟพระที่นั่งจากสถานีตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒
ลงจากสถานีตันหยงมัส ท่านสามารถต่อรถไปจังหวัดนราธิวาสได้ ในระยะเวลา หนึงชั่วโมง
ที่นี้ทหารหาพบเจอได้ง่ายมาก ตามวัด และบนท้องถนน เพื่อทำให้เราอุ่นใจ ต้องขอขอบคุณรั้วของชาติมากค่ะ
สถานที่สำคัญอันเป็นที่นับถือของชาวสุไหงโกลกและชาวจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงชาวจีนในมาเลเซีย ที่พากันเดินทางมาสักการะเป็นประจำ เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่บ้านโต๊ะโม อำเภอสุคิริน ต่อมาชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่อำเภอสุไหงโกโลก และทุกวันที่ 23 เดือนสามของจีนในทุกปี (ประมาณเดือนเมษายน) จะมีการจัดงานประเพณีประจำปีอันยิ่งใหญ่บริเวณศาลเจ้า โดยอัดแน่นด้วยกิจกรรมมากมาย เช่น การจัดขบวนแห่เจ้าแม่ ขบวนสิงโต ขบวนเอ็งกอ ขบวนกลองยาว และการลุยไฟอันน่าตื่นตาตื่นใจ
สำหรับความเป็นมาของศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะที่อำเภอสุไหงโก-ลก นั้น สืบเนื่องมาจากชาวฝรั่งเศสได้สัมปทานหาทองคำที่เขาโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน คนงานและเป็นผู้ที่เคารพนับถือเจ้าแม่ได้อัญเชิญเจ้าแม่มาประทับทรง และมีอยู่ครั้งหนึ่งเจ้าแม่ในร่างทรงบอกว่าบริเวณที่สำรวจห้ามขุด แต่ชาวฝรั่งเศสไม่เชื่อจนทำให้คนงานถูกดินพังทลายฝังกว่าร้อยคน จนชาวฝรั่งเศสเชื่อและนับถือ "กัปตันคิว"ที่เป็นหัวหน้า จึงเดินทางไปเมืองจีนและอัญเชิญองค์จำลองของเจ้าแม่มาบูชาที่เขาโต๊ะโมะและสร้างศาลที่ประทับให้
ก่อนจะย้ายองค์เจ้าแม่มาประทับที่สุไหงโก-ลก กระทั่งทุกวันนี้
โรงงิ้ว จำความได้ว่าตอนเด็กๆๆพ่อชอบพามาดูมังกรที่นี้ หากไม่มีการโชว์มังกร สิ่งที่พ่อชอบพามาดูอีกอย่างคือ งิ้ว คือตอนนั้นรำคาญมาก เพราะฟังไม่รู้เรื่อง เสียงก็แหลม หาความเพราะไม่ได้เลย แต่พ่อชอบมานั่งฟัง ที่นั่งของเราส่วนมากก็จะเป็นแถวที่สาม โดยประมาณ สมัยก่อนโรงงิ้วจะใหญ่กว่านี้ เพราะคนจีนในถิ่น และต่างถิ่นชอบมานั่งดู อย่างเช่น จีนมาเล แต่สมัยนี้ด้วยความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีอยู่ไม่จำกัด การแสดงได้สูญสลายไปตามกาลเวลา พร้อมคนที่นั่งชม หนึ่งในนั่งก็พ่อเรา
ป.ล.ข้างโรงงิ้วจะชอบขายน้ำตาลปั้นด้วย เราชอบกินดอกไม้ ถ้าลิงจะแพงหน่อย นานๆจะซื้อกินที
>>>>จบแล้วค่ะ ฝากติชมผลงานกันมาได้นะค่ะ ป.ล.ด่าได้แต่อย่างแรงนะค่ะ^_^<<<<<