กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกที่ผมเขียนขึ้นเพื่อเล่าประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับเพื่อน ๆ ชาวพันทิปได้อ่านกัน เผื่อเรื่องที่ผมเขียนขึ้นจะทำให้เพื่อน ๆ บางคนเกิดแรงบันดาลใจกล้าที่จะเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองเพียงลำพังเหมือนอย่างผม หรือจะเกิดประโยชน์ในการวางแผนท่องเที่ยวแก่เพื่อน ทริปตะลุยเดี่ยวขี่เที่ยวเจาะมัณฑะเลย์และรอบ ๆ ของผมในประเทศพม่ากว่าจะเกิดขึ้นมาได้เรียกว่าวางแผนกันเกือบครึ่งปี ผมเริ่มวางแผนอยากเดินทางไปมัณฑะเลย์ เมืองในฝันที่สักครั้งต้องหาโอกาสไปเยือนไปสัมผัสและดูด้วยตาของตนเอง หลังจากที่ผมอ่านหนังสือท่องเที่ยวและประวัติศาสตร์พม่ามาแล้วหลายเล่ม ผมวางแผนเที่ยวจะเที่ยวที่นี่ตั้งแต่ช่วงปีใหม่ 59 หลังกลับจากตะลุยเที่ยวเสียบเรียบ ประเทศกัมพูชา กว่าทุกอย่างจะลงตัวก็ปาเข้าไปช่วงมีนาคมแล้ว เริ่มจากอ่านข้อมูลเที่ยวเมืองมัณฑะเลย์จากหนังสือคู่มือท่องเที่ยวต่าง ๆ อ่านประสบการณ์ท่องเที่ยวที่เพื่อน ๆ ชาวพันทิปเขียนเล่ามาในเว็บนี้ และค้นดูข้อมูลจาก google map เพื่อจะได้รู้ว่ามีสถานที่น่าสนใจอะไรบ้างที่เราควรไปชม ปกติผมเป็นคนชอบดูงานศิลปกรรมและโบราณสถานมาก รู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้ชม ดังนั้นผมจึงโลภมากอยากไปชมเสียทุกที่สามารถไปชมได้ ทริปที่ผมไปในครั้งนี้จึงเน้นขี่รถจักรยานและมอเตอร์ไซค์เที่ยวเอง ลัดเลาะไปเรื่อย ๆ ตามแผนที่วางไว้ แต่ถ้าเจออะไรน่าสนใจระหว่างทางก็แวะดะไปทั่วตามสไตล์คนชอบเที่ยวดูของเก่า ผมจึงเลือกที่จะเที่ยวแบบเจาะลึกเที่ยวแค่เมืองเดียวหรือควบที่ใกล้ ๆ กันอยู่ยาวทีเดียวหลายวันหน่อย ไม่ชอบเที่ยวแบบ 1 หรือ 2 วันเปลี่ยนเมืองหรือกลับ เพราะผมคิดว่าไหน ๆ ก็มาแล้ว เดินทางมาไกลอย่างไงต้องเอาให้คุ้ม ไกล ๆ ค่อยไปทริปต่อไป
ส่วนเรื่องการเตรียมตัวเที่ยวของผมนอกจากอ่านข้อมูลแล้วนั้น ผมได้จองตั๋วเครื่องบินที่ใคร ๆ ก็บินได้เพราะมองว่าราคาของเจ้านี้ยังน่าคบกว่าเจ้าอื่นแถมเวลาบินก็น่าสนใจ 10.55 น. ถึงมัณฑะเลย์ 12.15 น. ใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 1.45 ชั่วโมง ผมจองตั๋วไปกลับกรุงเทพฯ - มัณฑะเลย์ในราคาที่บวกสัมภาระ 20 ก.ก. ด้วยได้ในราคา 6,011 บาท อาจจะแพงกว่าเพื่อน ๆ ที่เคยไปกัน เพราะผมจองตั๋วโปรไม่ทันที มั่วแต่ปะวิงเวลาคิดว่าเดี๋ยวสัปดาห์หน้างานไม่ยุ่งค่อยจอง ผมจองตั๋วไปเที่ยวได้วันที่ 1 - 5 พ.ค. รวม 4 คืน 5 วัน ส่วนเรื่องจองโรมแรมผมจองผ่าน agoda เพราะมีรายชื่อโรงแรม ข้อมูล และรีวิวของผู้เคยเข้าพักให้พร้อม ในที่สุดผมก็จองได้โรงแรมยาดาร์นาบอน เป็นโรงแรมหนึ่งที่คนไทยที่เที่ยวมัณฑะเลย์ชอบไปพัก เพราะดูราคา รีวิว ที่ตั้งและสภาพห้องพักของโรงแรมคิดว่าตอบโจทย์ทริปของผมมากที่สุด (แต่พอไปพักจริง ๆ กลับไม่ชอบสภาพแวดล้อมของโรงแรมที่อยู่ในย่านชุมชนที่จอแจ เช้า ๆ มีตลาดเช้าในซอยข้างโรงแรมอีก เสียงบีบแตรรถดังตลอดช่วงหัวค่ำและใกล้สว่าง เรียกได้เลยว่า นอนแทบไม่หลับสบาย ไหนจะให้บริการอาหารเช้ามีให้เลือกน้อยมากและซ้ำ ๆ คล้ายกันทุกวัน)
ผมเสียที่พักห้องซูพีเรีย 4 คืนในราคา 4,090 บาท ส่วนเรื่องแลกเงินนั้น ผมพกไปเที่ยวหมื่นกว่าบาท แต่พอเที่ยวจริงใช้แค่เกือบ 7 พันบาทเองใน 5 วันที่เที่ยว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผมจะนำน้ำดื่มจากโรงแรมไปในตอนเที่ยวเสมอ เลยไม่เคยเสียค่าน้ำเปล่าแม้แต่บาทเดียว รวมถึงการขี่รถเที่ยวเองเป็นอะไรที่สะดวกและประหยัดกว่าการเช่ารถให้เขาพาเที่ยวหรือการเที่ยวกับทัวร์ เพราะประเทศพม่าเป็นประเทศที่เที่ยวเองง่ายมาก ยิ่งตอนนี้เขาเปิดประเทศแล้งยิ่งไปง่ายและเที่ยวได้สะดวก ค่าเชารถจักรยานขี่เที่ยวที่โรงแรมที่ผมเช่าคิดวันละ 2 ดอลลาร์ (70 บาทของไทย) ผมเช่าขี่ในวันแรกเพราะที่เที่ยวอยู่ในเมืองใกล้ที่พักและเที่ยวเพียงครึ่งวันเท่านั้น ส่วนรถมอเตอร์ไซค์เช่าขี่เที่ยว 3 วันที่ไปเที่ยวรอบนอกมัณฑะเลย์อย่างสกาย อังวะ มิงกุน และอมรปุระ ค่าเช่ารถมอเตอร์ไซค์ขี่เที่ยวตกราคาวันละ 10 ดอลลาร์ หรือ 350 บาท เช่าไป 3 วันก็ 1,050 บาทเองถูกกว่าจ้างรถพาเที่ยวอีก แถมได้เที่ยวดะไปทั่วอีกด้วย ส่วนเพื่อน ๆ บางคนถ้ากลัวว่าราคาน้ำมันจะแพง ขอบอกเลยว่าน้ำมันที่นี่ถูกกว่าบ้านเรา ถ้าเติมตามร้านที่ขายริมถนนก็ตกขวดละ 800 - 1,800 จ๊าต หรือราวครั้งละ 35 - 80 บาท ก็เต็มถังแล้ว ยิ่งเติมร้านนอกเมืองหรือในปั๊มน้ำมันยิ่งถูกลงไปอีก ราคาลิตร 500 - 800 จ๊าตเองก็เต็มถังแล้ว เล่ามาไกลลืมเรื่องแลกเงินเลย ขอวกกลับหน่อยรึกันครับ คนไปเที่ยวพม่าควรแลกเงินไป 2 สกุลครับ คือ เงินดอลลาร์ ($) กับเงินจ๊าต (k) ควรแลกเงินจ๊าตให้มากกว่าดอลลาร์ เพราะดอลลาร์จะใช้จ่ายแค่ค่าที่พักโรงแรม และค่าเข้าชมสถานที่เท่านั่น เพราะส่วนใหญ่เราจะจ่ายเป็นเงินจ๊าตมากกว่า ยกเว้นใครถามราคาว่าจ่ายสกุลเงินไหนถูกกว่าก็เลือกจ่ายได้ตามใจ ที่แลกจ๊าตนั้นส่วนใหญ่เราจะแลกดอลลาร์มาจากเมืองไทยแล้วค่อยมาแลกเป็นเงินจ๊าตที่สนามบินมัณฑะเลย์หรือธนาคารในมัณฑะเลย์ แต่ถ้าใครไม่อยากต่อคิวนานหรือต้องเดินหาในเมืองขณะเที่ยว ก็สามารถแลกเงินจ๊าตได้ตั้งแต่อยู่ในประเทศไทย สถานที่รับแลกเงินจ๊าตก็เช่นแถว ๆ ร้านแลกเงินที่สะพานควาย ร้านแลกเงินใกล้สถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ และที่ผมไปแลกคือ ร้านชื่อว่า money exchange อยู่ที่พาลาเดียม ประตูน้ำ ชั้น 1 บูท 180 เรตที่ผมแลกตอนนั้น 1 บาท = 28.57 จ๊าต ราคาเงินจ๊าตที่แลกปกติจะขึ้นลงอยู่ที่ 25 - 34 จ๊าตต่อ 1 บาทครับ
ลืมบอกไปถ้าเพื่อน ๆ สนใจอ่านข้อมูลจากหนังสือท่องเที่ยวพม่า หรือนำไปใช้ในการเดินทางเที่ยว ผมแนะนำหนังสือเที่ยวไม่ง้อทัวร์ ตีตั๋วตะลุยพม่า ราคาเล่มละ 295 บาท หนังสือเที่ยวพม่า ซ่าอย่างอินดี้ของคุณบาส เล่มละ 299 บาท และวารสารทริปแม็กกาซีนฉบับหน้าปกพระธาตุอินทร์แขวนและหน้าปกเณร 2 รูปครับ
ภาพหนังสือเที่ยวพม่าที่ผมเอาไปใช้ในการเดินทางเที่ยวครั้งนี้ครับ
ส่วนหนังสือที่ควรนำติดไปด้วยถ้าใครภาษาไม่แข็งแรงในการสื่อสาร ก็นำหนังสืออย่างภาษาอังกฤษไม่พร้อมแต่คนพร้อมเที่ยว และหนังสือสนทนาภาษาอาเซียนลัดทันใจ ภาษาพม่า ด้วยก็จะดีนะครับ เพราะทริปนี้ที่ผมไปได้ใช้คุ้มค่าจริง ๆ โดยเฉพาะภาษาพม่า เพราะเวลาเราไปเที่ยวนอกเมืองมัณฑะเลย์ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้ เราจะสอบถามเส้นทาง สถานที่ สั่งอาหาร เติมน้ำมันรถ และจ่ายเงินต้องพูดเป็นภาษาพม่า ชาวบ้านจึงจะเข้าใจครับ (เดี๋ยวมาต่อนะครับ)
ตะลุยเดี่ยวขี่เที่ยวดะเจาะลึกมัณฑะเลย์และรอบ ๆ
กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกที่ผมเขียนขึ้นเพื่อเล่าประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับเพื่อน ๆ ชาวพันทิปได้อ่านกัน เผื่อเรื่องที่ผมเขียนขึ้นจะทำให้เพื่อน ๆ บางคนเกิดแรงบันดาลใจกล้าที่จะเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองเพียงลำพังเหมือนอย่างผม หรือจะเกิดประโยชน์ในการวางแผนท่องเที่ยวแก่เพื่อน ทริปตะลุยเดี่ยวขี่เที่ยวเจาะมัณฑะเลย์และรอบ ๆ ของผมในประเทศพม่ากว่าจะเกิดขึ้นมาได้เรียกว่าวางแผนกันเกือบครึ่งปี ผมเริ่มวางแผนอยากเดินทางไปมัณฑะเลย์ เมืองในฝันที่สักครั้งต้องหาโอกาสไปเยือนไปสัมผัสและดูด้วยตาของตนเอง หลังจากที่ผมอ่านหนังสือท่องเที่ยวและประวัติศาสตร์พม่ามาแล้วหลายเล่ม ผมวางแผนเที่ยวจะเที่ยวที่นี่ตั้งแต่ช่วงปีใหม่ 59 หลังกลับจากตะลุยเที่ยวเสียบเรียบ ประเทศกัมพูชา กว่าทุกอย่างจะลงตัวก็ปาเข้าไปช่วงมีนาคมแล้ว เริ่มจากอ่านข้อมูลเที่ยวเมืองมัณฑะเลย์จากหนังสือคู่มือท่องเที่ยวต่าง ๆ อ่านประสบการณ์ท่องเที่ยวที่เพื่อน ๆ ชาวพันทิปเขียนเล่ามาในเว็บนี้ และค้นดูข้อมูลจาก google map เพื่อจะได้รู้ว่ามีสถานที่น่าสนใจอะไรบ้างที่เราควรไปชม ปกติผมเป็นคนชอบดูงานศิลปกรรมและโบราณสถานมาก รู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้ชม ดังนั้นผมจึงโลภมากอยากไปชมเสียทุกที่สามารถไปชมได้ ทริปที่ผมไปในครั้งนี้จึงเน้นขี่รถจักรยานและมอเตอร์ไซค์เที่ยวเอง ลัดเลาะไปเรื่อย ๆ ตามแผนที่วางไว้ แต่ถ้าเจออะไรน่าสนใจระหว่างทางก็แวะดะไปทั่วตามสไตล์คนชอบเที่ยวดูของเก่า ผมจึงเลือกที่จะเที่ยวแบบเจาะลึกเที่ยวแค่เมืองเดียวหรือควบที่ใกล้ ๆ กันอยู่ยาวทีเดียวหลายวันหน่อย ไม่ชอบเที่ยวแบบ 1 หรือ 2 วันเปลี่ยนเมืองหรือกลับ เพราะผมคิดว่าไหน ๆ ก็มาแล้ว เดินทางมาไกลอย่างไงต้องเอาให้คุ้ม ไกล ๆ ค่อยไปทริปต่อไป
ส่วนเรื่องการเตรียมตัวเที่ยวของผมนอกจากอ่านข้อมูลแล้วนั้น ผมได้จองตั๋วเครื่องบินที่ใคร ๆ ก็บินได้เพราะมองว่าราคาของเจ้านี้ยังน่าคบกว่าเจ้าอื่นแถมเวลาบินก็น่าสนใจ 10.55 น. ถึงมัณฑะเลย์ 12.15 น. ใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 1.45 ชั่วโมง ผมจองตั๋วไปกลับกรุงเทพฯ - มัณฑะเลย์ในราคาที่บวกสัมภาระ 20 ก.ก. ด้วยได้ในราคา 6,011 บาท อาจจะแพงกว่าเพื่อน ๆ ที่เคยไปกัน เพราะผมจองตั๋วโปรไม่ทันที มั่วแต่ปะวิงเวลาคิดว่าเดี๋ยวสัปดาห์หน้างานไม่ยุ่งค่อยจอง ผมจองตั๋วไปเที่ยวได้วันที่ 1 - 5 พ.ค. รวม 4 คืน 5 วัน ส่วนเรื่องจองโรมแรมผมจองผ่าน agoda เพราะมีรายชื่อโรงแรม ข้อมูล และรีวิวของผู้เคยเข้าพักให้พร้อม ในที่สุดผมก็จองได้โรงแรมยาดาร์นาบอน เป็นโรงแรมหนึ่งที่คนไทยที่เที่ยวมัณฑะเลย์ชอบไปพัก เพราะดูราคา รีวิว ที่ตั้งและสภาพห้องพักของโรงแรมคิดว่าตอบโจทย์ทริปของผมมากที่สุด (แต่พอไปพักจริง ๆ กลับไม่ชอบสภาพแวดล้อมของโรงแรมที่อยู่ในย่านชุมชนที่จอแจ เช้า ๆ มีตลาดเช้าในซอยข้างโรงแรมอีก เสียงบีบแตรรถดังตลอดช่วงหัวค่ำและใกล้สว่าง เรียกได้เลยว่า นอนแทบไม่หลับสบาย ไหนจะให้บริการอาหารเช้ามีให้เลือกน้อยมากและซ้ำ ๆ คล้ายกันทุกวัน)
ผมเสียที่พักห้องซูพีเรีย 4 คืนในราคา 4,090 บาท ส่วนเรื่องแลกเงินนั้น ผมพกไปเที่ยวหมื่นกว่าบาท แต่พอเที่ยวจริงใช้แค่เกือบ 7 พันบาทเองใน 5 วันที่เที่ยว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผมจะนำน้ำดื่มจากโรงแรมไปในตอนเที่ยวเสมอ เลยไม่เคยเสียค่าน้ำเปล่าแม้แต่บาทเดียว รวมถึงการขี่รถเที่ยวเองเป็นอะไรที่สะดวกและประหยัดกว่าการเช่ารถให้เขาพาเที่ยวหรือการเที่ยวกับทัวร์ เพราะประเทศพม่าเป็นประเทศที่เที่ยวเองง่ายมาก ยิ่งตอนนี้เขาเปิดประเทศแล้งยิ่งไปง่ายและเที่ยวได้สะดวก ค่าเชารถจักรยานขี่เที่ยวที่โรงแรมที่ผมเช่าคิดวันละ 2 ดอลลาร์ (70 บาทของไทย) ผมเช่าขี่ในวันแรกเพราะที่เที่ยวอยู่ในเมืองใกล้ที่พักและเที่ยวเพียงครึ่งวันเท่านั้น ส่วนรถมอเตอร์ไซค์เช่าขี่เที่ยว 3 วันที่ไปเที่ยวรอบนอกมัณฑะเลย์อย่างสกาย อังวะ มิงกุน และอมรปุระ ค่าเช่ารถมอเตอร์ไซค์ขี่เที่ยวตกราคาวันละ 10 ดอลลาร์ หรือ 350 บาท เช่าไป 3 วันก็ 1,050 บาทเองถูกกว่าจ้างรถพาเที่ยวอีก แถมได้เที่ยวดะไปทั่วอีกด้วย ส่วนเพื่อน ๆ บางคนถ้ากลัวว่าราคาน้ำมันจะแพง ขอบอกเลยว่าน้ำมันที่นี่ถูกกว่าบ้านเรา ถ้าเติมตามร้านที่ขายริมถนนก็ตกขวดละ 800 - 1,800 จ๊าต หรือราวครั้งละ 35 - 80 บาท ก็เต็มถังแล้ว ยิ่งเติมร้านนอกเมืองหรือในปั๊มน้ำมันยิ่งถูกลงไปอีก ราคาลิตร 500 - 800 จ๊าตเองก็เต็มถังแล้ว เล่ามาไกลลืมเรื่องแลกเงินเลย ขอวกกลับหน่อยรึกันครับ คนไปเที่ยวพม่าควรแลกเงินไป 2 สกุลครับ คือ เงินดอลลาร์ ($) กับเงินจ๊าต (k) ควรแลกเงินจ๊าตให้มากกว่าดอลลาร์ เพราะดอลลาร์จะใช้จ่ายแค่ค่าที่พักโรงแรม และค่าเข้าชมสถานที่เท่านั่น เพราะส่วนใหญ่เราจะจ่ายเป็นเงินจ๊าตมากกว่า ยกเว้นใครถามราคาว่าจ่ายสกุลเงินไหนถูกกว่าก็เลือกจ่ายได้ตามใจ ที่แลกจ๊าตนั้นส่วนใหญ่เราจะแลกดอลลาร์มาจากเมืองไทยแล้วค่อยมาแลกเป็นเงินจ๊าตที่สนามบินมัณฑะเลย์หรือธนาคารในมัณฑะเลย์ แต่ถ้าใครไม่อยากต่อคิวนานหรือต้องเดินหาในเมืองขณะเที่ยว ก็สามารถแลกเงินจ๊าตได้ตั้งแต่อยู่ในประเทศไทย สถานที่รับแลกเงินจ๊าตก็เช่นแถว ๆ ร้านแลกเงินที่สะพานควาย ร้านแลกเงินใกล้สถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ และที่ผมไปแลกคือ ร้านชื่อว่า money exchange อยู่ที่พาลาเดียม ประตูน้ำ ชั้น 1 บูท 180 เรตที่ผมแลกตอนนั้น 1 บาท = 28.57 จ๊าต ราคาเงินจ๊าตที่แลกปกติจะขึ้นลงอยู่ที่ 25 - 34 จ๊าตต่อ 1 บาทครับ
ลืมบอกไปถ้าเพื่อน ๆ สนใจอ่านข้อมูลจากหนังสือท่องเที่ยวพม่า หรือนำไปใช้ในการเดินทางเที่ยว ผมแนะนำหนังสือเที่ยวไม่ง้อทัวร์ ตีตั๋วตะลุยพม่า ราคาเล่มละ 295 บาท หนังสือเที่ยวพม่า ซ่าอย่างอินดี้ของคุณบาส เล่มละ 299 บาท และวารสารทริปแม็กกาซีนฉบับหน้าปกพระธาตุอินทร์แขวนและหน้าปกเณร 2 รูปครับ
ภาพหนังสือเที่ยวพม่าที่ผมเอาไปใช้ในการเดินทางเที่ยวครั้งนี้ครับ
ส่วนหนังสือที่ควรนำติดไปด้วยถ้าใครภาษาไม่แข็งแรงในการสื่อสาร ก็นำหนังสืออย่างภาษาอังกฤษไม่พร้อมแต่คนพร้อมเที่ยว และหนังสือสนทนาภาษาอาเซียนลัดทันใจ ภาษาพม่า ด้วยก็จะดีนะครับ เพราะทริปนี้ที่ผมไปได้ใช้คุ้มค่าจริง ๆ โดยเฉพาะภาษาพม่า เพราะเวลาเราไปเที่ยวนอกเมืองมัณฑะเลย์ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้ เราจะสอบถามเส้นทาง สถานที่ สั่งอาหาร เติมน้ำมันรถ และจ่ายเงินต้องพูดเป็นภาษาพม่า ชาวบ้านจึงจะเข้าใจครับ (เดี๋ยวมาต่อนะครับ)