สวัสดีครับ
เนื่องด้วย ข่าวหนาหูในช่วงนี้ เกี่ยวกับการโกง การสอบเข้าแพทย์ ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จึงเป็นที่มา ที่อยากจะเล่ากระบวนการสอบ ประเมินผล ของคนที่ผ่านเข้ามาเรียนคณะแพทย์ว่า กว่าจะจบเป็นแพทย์ทั้งที มันสอบ มันวัดความสามารถกันขนาดไหน
จุดประสงค์ไม่ได้เพื่ออวดว่า กว่าจะจบแพทย์ มันยาก ต้องเก่งหรืออะไร เพียงแต่ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ถ้าพวกที่มันโกงการสอบเข้ามา แล้วโชคร้าย ไม่โดนจับได้แต่แรก ผ่านเข้ามามันจะทุกข์ทรมานสักเพียงใด 555
ขออนุญาติ แนะนำตัว ก่อนละกันครับ ว่า ผมเองเรียนจบแพทย์ จากมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในประเทศไทย ฉะนั่นเนื้อหาที่จะเล่า ก็เล่าจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ก็ไม่ได้ทราบรายละเอียดปลีกย่อยของทุกการสอบในทุกมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชนอื่นๆ ที่ผมไม่ได้ไปเรียน แต่รายละเอียดส่วนใหญ่ ที่พอทราบมาจากเพื่อนเก่าที่เรียนแพทย์ต่างมหาวิทยาลัยกัน ก็พบว่าการสอบและวัดผลก็เป็นไปในรูปแบบ แนวๆเดียวกันนั่นแหละครับ
เริ่มกันเลย ละกันครับ
ปี 1 เบาๆ
- รูปแบบการเรียน และการสอบ เหมือนๆกัน กับคณะอื่นๆโดยทั่วไปครับ คือเรียนกัน 2 เทอม แต่ละเทอม มีสอบ มิดเทอม 1 ครั้ง และ ไฟนอล อีก 1 ครั้ง
- โดยรูปแบบการสอบแต่ละครั้ง ก็มีทั้ง MCQ (Multiple Choice Questions) หรือ ข้อสอบที่มีตัวเลือกให้เลือก กับ การสอบแบบเขียนบรรยาย
ปี 2 และ ปี 3 เริ่มเข้มข้น
- รูปแบบการเรียน จะถูกแบ่งเป็น block แต่ละ block คือ 1 ระบบใหญ่ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ซึ่งในแต่ละ block จะใช้เวลาเรียนกัน 4 สัปดาห์บ้าง 6 สัปดาห์บ้าง 8 สัปดาห์บ้าง (ส่วนใหญ่ 4 กับ 6) ขึ้นอยู่กับเนื้อหามากน้อยในแต่ละระบบ
- ทีนี้การสอบ จะต้องสอบ mid-block และ final-block เช่น ถ้า block นั่นเรียน 4 สัปดาห์ หมายถึง สอบทุก 2 สัปดาห์ เป็นต้น (คือ สอบเสร็จ = ใกล้สอบ)
- และการสอบแต่ละครั้ง มีรูปแบบการสอบหลักๆ อยู่ 3 ชนิด คือ
1. MCQ
2. KF (key feature) หรือ MEQ (Modified Essay Questions)
- KF จะเป็นข้อสอบบรรยายทั่วๆไป มีคำถาม แล้วก็มีที่ว่างๆให้เขียน ให้มาทีเป็นปึก แล้วก็ให้เวลามา 2-3 ชม. อยากเขียนไรก็เขียนไป อยากเขียนตรงไหนก่อนก็ได้ เขียนคำตอบตรง key ถึง จะได้คะแนน
- ส่วน MEQ เนี่ย ก็เป็นข้อสอบเขียนเหมือนกัน แต่จะมีเวลาจำกัดในแต่ละหน้ากระดาษที่ให้ทำ (ตื่นเต้น สนุก และ เขียนกันมือหงิก) เช่นว่า หน้าแรกให้ข้อมูลเบื้องต้นคนไข้มาว่า ผู้ป่วย ชายหรือหญิง อายุเท่าไร มาด้วยอาการอะไร แล้วถามว่า ต้องถามประวัติอะไรเพิ่มเติม โดยจับเวลา 5 นาที พอหมดเวลาก็ต้องเปิดหน้าถัดไป จากนั่นก็จะมีข้อมูลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาว่า ป่วยเป็นอะไรมากี่วัน มีอาการอื่นๆอะไรบ้าง และมีคำถามต่อว่า ต้องตรวจร่างกายอะไร โดยจับเวลาอีก ซึ่งแต่ละหน้าเนี่ยใช้กระดาษคนละสี จะโกงโดยเปิดกลับมาแก้ หรือเปิดไปอีกหน้าแอบดูคำตอบเนี่ย ยาก เปิดกลับไปกลับมา สีกระดาษแปลกเตะตากรรมการคุมสอบ ก็โดนปรับตกทุจริต
3. OSPE (Objective Structured Pharmaceutical Examination) หรือ แลปกริ๊งๆ คือการสอบ เป็นฐานๆ ฐานละ 5 นาที ในแต่ละ 5 นาทีทุกคนจะมีฐานเป็นของตัวเอง ไม่มีใครยืนอยู่ในข้อเดียวกัน จะลอกใครก็ไม่ได้ เขียนคำตอบเสร็จก็มีซองให้ใส่คำตอบมิดชิด แล้วก็วน ทำไป จนครบทุกข้อ (กดดันสุดๆ)
- นั่นหมายความว่าถ้าเรียน block 4 สัปดาห์ ก็จะสอบทุก 2 สัปดาห์ ครั้งละ 3 รูปแบบ
- รวมๆปีๆหนึ่ง จะสอบประมาณ 14-18 ครั้ง ครั้งละ 3 รูปแบบ จะโกงกันทุกรอบเนี่ย..ก็นะ
- และเมื่อปลายปี 3 ก็จะมีการสอบ comprehensive step 1(แต่ละมหาวิทยาลัยออกข้อสอบเอง) ซึ่งเป็นการ สอบความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด ปี 1-3 และสอบ National license test step 1(ข้อสอบมาตรฐานชุดเดียวกันทั้งประเทศ ทุกสถาบัน สอบพร้อมกัน) คือ สอบเพื่อให้ได้ใบประกอบโรคศิลป์ของแพทย์เมื่อเรียนจบ ในขั้นตอนแรก การสอบทั้งสองครั้งนี้จะสอบโดยรูปแบบ MCQ
ปี 4 และ ปี 5 เริ่มเป็นแพนด้า ขอบตงขอบตานี่ไปหมด
- รูปแบบการเรียน จะเป็นการเรียนใน รพ. เป็น บรรยายบ้าง เรียนจากคนไข้จริงบ้าง โดยมีรุ่นพี่ พี่พยาบาลในบางโอกาส และอาจารย์แพทย์ ค่อยสอน และควบคุมดูแล โดยเรียนวนไปแต่ละแผนกๆ เช่นศัลยกรรม อายุรกรรม เป็นต้น แต่ละแผนกเรียนการ 1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับแผนกนั่นๆไป
- ทีนี้การประเมินจะถูกแบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1.การสอบ 2.ทักษะการเรียนและทำงานในรพ.(ประเมินโดยพยาบาล รุ่นพี่ และอาจารย์แพทย์ จากการสังเกต) 3.ทัศนคติและจริยธรรม (part 1 กับ 2 ตกแล้วยังพอแก้ได้ แต่ part 3 ตกเนี่ย ตกเลย เรียนกันใหม่ ปรับทัศนคติจริยธรรมกันใหม่)
- ส่วนเรื่องการสอบ จะมี 4 รูปแบบ ในแต่ละแผนก
1. MCQ
2. MEQ
3. OSCE (Objective Structured Clinical Examination) คือการสอบปฎิบัติเป็นฐานๆ ฐานละ 5 นาที แต่ละฐานจะอยู่ในแต่ละห้องแยกกัน ในห้องจะประกอบด้วยผู้สอบ 1 คน อาจารย์คุมสอบ 1 คน และ ผู้ป่วยจำลอง/จริง หรือโจทย์ ซึ่งโจทย์จะมีตั้งแต่ การซักประวัติคนไข้ การตรวจร่างกายคนไข้ การทำหัตถการกับคนไข้ การแปลผลแลป การให้คำแนะนำ ความรู้แก่คนไข้ คือต้องเล่นจริง แสดงจริง ผู้ป่วยก็เล่นจริง ร้องจริง ไม่มีตัวแสดงแทน oscar กันสุดๆ (สนุก กดดัน ปวดขี้สุดๆ) ซึ่งการสอบแบบนี้ไม่มีทางจะลอกกันได้เลย
4. Short/Long case คือการสอบกับคนไข้จริงๆ ตั้งแต่ซักประวัติ ตรวจร่างกาย การคิด วินิจฉัยโรค การส่งตรวจแลป การแปลผลแลป การให้การรักษา และการให้คำแนะนำแก่คนไข้ ให้อาจารย์ดูกันตัวต่อตัว คนต่อคน ซึ่งแต่ละคน ก็มีคนไข้คนละคน โรคคนละโรค แบบนี้ก็ไม่มีทางลอกกันได้
- และในช่วงท้ายของปี 5 ก็มีสอบ Comprehensive step 2 และ National license test step 2 โดยเป็นความรู้ตั้งแต่ปี 1-5 แต่หลักๆจะเป็นความรู้ในปี 4-5 โดยสอบในรูปแบบ MCQ
ปี 6 ต้องใจสู้ และใจรัก
- รูปแบบการเรียน คือการทำงาน หรือฝึกงานนั่นเอง ต้องใช้ความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด 5 ปี มาทำงานเสมือนแพทย์คนหนึ่ง เพียงแต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์อีกทีหนึ่งด้วย
- การทำงานก็คือ ทำงานในเวลาราชการปกติ (8.00 -16.30) + เวร (16.30-8.00ของอีกวัน) โดยไม่ได้เงิน และยังต้องจ่ายค่าเทอม
- การประเมินจะประกอบด้วย 1. จากการทำงาน (ประเมินโดยพยาบาล และอาจารย์แพทย์) 2. การสอบ รูปแบบมักจะเป็น long case และ/หรือ MEQ ในบางแผนก
- และสุดท้ายการสอบ Comprehesive step 3 และ National license test step 3 จะสอบในรู้แบบ MEQ, Long case 2 case และ OSCE
ผ่านการสอบทุกอย่างนี้ ถึงจะได้ใบประกอบโรคศิลป์ เพื่อเป็นแพทย์อย่างถูกกฎหมาย
โกงสอบเข้าแพทย์ จะจบออกมาเป็นแพทย์ได้หรือเปล่า ?
เนื่องด้วย ข่าวหนาหูในช่วงนี้ เกี่ยวกับการโกง การสอบเข้าแพทย์ ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จึงเป็นที่มา ที่อยากจะเล่ากระบวนการสอบ ประเมินผล ของคนที่ผ่านเข้ามาเรียนคณะแพทย์ว่า กว่าจะจบเป็นแพทย์ทั้งที มันสอบ มันวัดความสามารถกันขนาดไหน
จุดประสงค์ไม่ได้เพื่ออวดว่า กว่าจะจบแพทย์ มันยาก ต้องเก่งหรืออะไร เพียงแต่ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ถ้าพวกที่มันโกงการสอบเข้ามา แล้วโชคร้าย ไม่โดนจับได้แต่แรก ผ่านเข้ามามันจะทุกข์ทรมานสักเพียงใด 555
ขออนุญาติ แนะนำตัว ก่อนละกันครับ ว่า ผมเองเรียนจบแพทย์ จากมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในประเทศไทย ฉะนั่นเนื้อหาที่จะเล่า ก็เล่าจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ก็ไม่ได้ทราบรายละเอียดปลีกย่อยของทุกการสอบในทุกมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชนอื่นๆ ที่ผมไม่ได้ไปเรียน แต่รายละเอียดส่วนใหญ่ ที่พอทราบมาจากเพื่อนเก่าที่เรียนแพทย์ต่างมหาวิทยาลัยกัน ก็พบว่าการสอบและวัดผลก็เป็นไปในรูปแบบ แนวๆเดียวกันนั่นแหละครับ
เริ่มกันเลย ละกันครับ
ปี 1 เบาๆ
- รูปแบบการเรียน และการสอบ เหมือนๆกัน กับคณะอื่นๆโดยทั่วไปครับ คือเรียนกัน 2 เทอม แต่ละเทอม มีสอบ มิดเทอม 1 ครั้ง และ ไฟนอล อีก 1 ครั้ง
- โดยรูปแบบการสอบแต่ละครั้ง ก็มีทั้ง MCQ (Multiple Choice Questions) หรือ ข้อสอบที่มีตัวเลือกให้เลือก กับ การสอบแบบเขียนบรรยาย
ปี 2 และ ปี 3 เริ่มเข้มข้น
- รูปแบบการเรียน จะถูกแบ่งเป็น block แต่ละ block คือ 1 ระบบใหญ่ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ซึ่งในแต่ละ block จะใช้เวลาเรียนกัน 4 สัปดาห์บ้าง 6 สัปดาห์บ้าง 8 สัปดาห์บ้าง (ส่วนใหญ่ 4 กับ 6) ขึ้นอยู่กับเนื้อหามากน้อยในแต่ละระบบ
- ทีนี้การสอบ จะต้องสอบ mid-block และ final-block เช่น ถ้า block นั่นเรียน 4 สัปดาห์ หมายถึง สอบทุก 2 สัปดาห์ เป็นต้น (คือ สอบเสร็จ = ใกล้สอบ)
- และการสอบแต่ละครั้ง มีรูปแบบการสอบหลักๆ อยู่ 3 ชนิด คือ
1. MCQ
2. KF (key feature) หรือ MEQ (Modified Essay Questions)
- KF จะเป็นข้อสอบบรรยายทั่วๆไป มีคำถาม แล้วก็มีที่ว่างๆให้เขียน ให้มาทีเป็นปึก แล้วก็ให้เวลามา 2-3 ชม. อยากเขียนไรก็เขียนไป อยากเขียนตรงไหนก่อนก็ได้ เขียนคำตอบตรง key ถึง จะได้คะแนน
- ส่วน MEQ เนี่ย ก็เป็นข้อสอบเขียนเหมือนกัน แต่จะมีเวลาจำกัดในแต่ละหน้ากระดาษที่ให้ทำ (ตื่นเต้น สนุก และ เขียนกันมือหงิก) เช่นว่า หน้าแรกให้ข้อมูลเบื้องต้นคนไข้มาว่า ผู้ป่วย ชายหรือหญิง อายุเท่าไร มาด้วยอาการอะไร แล้วถามว่า ต้องถามประวัติอะไรเพิ่มเติม โดยจับเวลา 5 นาที พอหมดเวลาก็ต้องเปิดหน้าถัดไป จากนั่นก็จะมีข้อมูลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาว่า ป่วยเป็นอะไรมากี่วัน มีอาการอื่นๆอะไรบ้าง และมีคำถามต่อว่า ต้องตรวจร่างกายอะไร โดยจับเวลาอีก ซึ่งแต่ละหน้าเนี่ยใช้กระดาษคนละสี จะโกงโดยเปิดกลับมาแก้ หรือเปิดไปอีกหน้าแอบดูคำตอบเนี่ย ยาก เปิดกลับไปกลับมา สีกระดาษแปลกเตะตากรรมการคุมสอบ ก็โดนปรับตกทุจริต
3. OSPE (Objective Structured Pharmaceutical Examination) หรือ แลปกริ๊งๆ คือการสอบ เป็นฐานๆ ฐานละ 5 นาที ในแต่ละ 5 นาทีทุกคนจะมีฐานเป็นของตัวเอง ไม่มีใครยืนอยู่ในข้อเดียวกัน จะลอกใครก็ไม่ได้ เขียนคำตอบเสร็จก็มีซองให้ใส่คำตอบมิดชิด แล้วก็วน ทำไป จนครบทุกข้อ (กดดันสุดๆ)
- นั่นหมายความว่าถ้าเรียน block 4 สัปดาห์ ก็จะสอบทุก 2 สัปดาห์ ครั้งละ 3 รูปแบบ
- รวมๆปีๆหนึ่ง จะสอบประมาณ 14-18 ครั้ง ครั้งละ 3 รูปแบบ จะโกงกันทุกรอบเนี่ย..ก็นะ
- และเมื่อปลายปี 3 ก็จะมีการสอบ comprehensive step 1(แต่ละมหาวิทยาลัยออกข้อสอบเอง) ซึ่งเป็นการ สอบความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด ปี 1-3 และสอบ National license test step 1(ข้อสอบมาตรฐานชุดเดียวกันทั้งประเทศ ทุกสถาบัน สอบพร้อมกัน) คือ สอบเพื่อให้ได้ใบประกอบโรคศิลป์ของแพทย์เมื่อเรียนจบ ในขั้นตอนแรก การสอบทั้งสองครั้งนี้จะสอบโดยรูปแบบ MCQ
ปี 4 และ ปี 5 เริ่มเป็นแพนด้า ขอบตงขอบตานี่ไปหมด
- รูปแบบการเรียน จะเป็นการเรียนใน รพ. เป็น บรรยายบ้าง เรียนจากคนไข้จริงบ้าง โดยมีรุ่นพี่ พี่พยาบาลในบางโอกาส และอาจารย์แพทย์ ค่อยสอน และควบคุมดูแล โดยเรียนวนไปแต่ละแผนกๆ เช่นศัลยกรรม อายุรกรรม เป็นต้น แต่ละแผนกเรียนการ 1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับแผนกนั่นๆไป
- ทีนี้การประเมินจะถูกแบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1.การสอบ 2.ทักษะการเรียนและทำงานในรพ.(ประเมินโดยพยาบาล รุ่นพี่ และอาจารย์แพทย์ จากการสังเกต) 3.ทัศนคติและจริยธรรม (part 1 กับ 2 ตกแล้วยังพอแก้ได้ แต่ part 3 ตกเนี่ย ตกเลย เรียนกันใหม่ ปรับทัศนคติจริยธรรมกันใหม่)
- ส่วนเรื่องการสอบ จะมี 4 รูปแบบ ในแต่ละแผนก
1. MCQ
2. MEQ
3. OSCE (Objective Structured Clinical Examination) คือการสอบปฎิบัติเป็นฐานๆ ฐานละ 5 นาที แต่ละฐานจะอยู่ในแต่ละห้องแยกกัน ในห้องจะประกอบด้วยผู้สอบ 1 คน อาจารย์คุมสอบ 1 คน และ ผู้ป่วยจำลอง/จริง หรือโจทย์ ซึ่งโจทย์จะมีตั้งแต่ การซักประวัติคนไข้ การตรวจร่างกายคนไข้ การทำหัตถการกับคนไข้ การแปลผลแลป การให้คำแนะนำ ความรู้แก่คนไข้ คือต้องเล่นจริง แสดงจริง ผู้ป่วยก็เล่นจริง ร้องจริง ไม่มีตัวแสดงแทน oscar กันสุดๆ (สนุก กดดัน ปวดขี้สุดๆ) ซึ่งการสอบแบบนี้ไม่มีทางจะลอกกันได้เลย
4. Short/Long case คือการสอบกับคนไข้จริงๆ ตั้งแต่ซักประวัติ ตรวจร่างกาย การคิด วินิจฉัยโรค การส่งตรวจแลป การแปลผลแลป การให้การรักษา และการให้คำแนะนำแก่คนไข้ ให้อาจารย์ดูกันตัวต่อตัว คนต่อคน ซึ่งแต่ละคน ก็มีคนไข้คนละคน โรคคนละโรค แบบนี้ก็ไม่มีทางลอกกันได้
- และในช่วงท้ายของปี 5 ก็มีสอบ Comprehensive step 2 และ National license test step 2 โดยเป็นความรู้ตั้งแต่ปี 1-5 แต่หลักๆจะเป็นความรู้ในปี 4-5 โดยสอบในรูปแบบ MCQ
ปี 6 ต้องใจสู้ และใจรัก
- รูปแบบการเรียน คือการทำงาน หรือฝึกงานนั่นเอง ต้องใช้ความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด 5 ปี มาทำงานเสมือนแพทย์คนหนึ่ง เพียงแต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์อีกทีหนึ่งด้วย
- การทำงานก็คือ ทำงานในเวลาราชการปกติ (8.00 -16.30) + เวร (16.30-8.00ของอีกวัน) โดยไม่ได้เงิน และยังต้องจ่ายค่าเทอม
- การประเมินจะประกอบด้วย 1. จากการทำงาน (ประเมินโดยพยาบาล และอาจารย์แพทย์) 2. การสอบ รูปแบบมักจะเป็น long case และ/หรือ MEQ ในบางแผนก
- และสุดท้ายการสอบ Comprehesive step 3 และ National license test step 3 จะสอบในรู้แบบ MEQ, Long case 2 case และ OSCE
ผ่านการสอบทุกอย่างนี้ ถึงจะได้ใบประกอบโรคศิลป์ เพื่อเป็นแพทย์อย่างถูกกฎหมาย