สะกดรอย Start up Thailnd 2016
สะกดรอยแรงขับเคลื่อน
หลังงาน Start up Thailnd 2016
หลังจากที่งานใหญ่ของปี Start up Thailand 2016 ได้จบลงไปด้วยความอลังการ์ และเกินความคาดหมายในสายตาของหลายต่อหลายคน ก็เริ่มมีการโยนคำถามเข้าสู่เหล่ากูรู เกจิ ผู้เชี่ยวชาญในวงการว่า คิดอย่างไรกับทิศทาง และอนาคตของ Start up ของประเทศไทย มาถูกทางหรือไม่? ยังสามารถไปต่อได้อีกเพียงใด และควรจะกำหนดบทบทบาทของประเทศไทยในเวทีระดับโลกไว้อย่างไร
คนแรกๆที่ต้องเข้ามาตอบคำถามตรงนี้ และน่าจะรู้อะไรๆ มากที่สุดคนหนึ่งของวงการ ก็คงต้องเป็น ไพท ผดุงถิ่น ประธานสมาคมไทยแลนด์ เทคสตาร์ทอัพ ซึ่งคร่ำหวอด Eco Systems ของเทค สตาร์อัพ และสตาร์ทอัพ ในเมืองไทยมาอย่างเข้มข้น และยาวนาน ได้ให้ทัศนะว่า แม้ว่าประเทศไทยจะแกะรอยเส้นทางสู่ Start up ให้เท่าทันกับประเทศใกล้เคียง และประเทศระดับแนวหน้า มาพอสมควรแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไทยยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นแม้แต่ในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน
“เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ การพัฒนาด้านกระบวนทัศน์ความรู้ (Data base) รวมถึงการบูรณาการด้านกฎหมาย เพื่อตอบสนองการเติบโตของวงการนี้ได้อย่างจริงจังนั้น กลับเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่สามารถกรุยทางให้ผู้ประกอบการของไทยที่มีความพร้อมไปแสดงศักยภาพยังต่างชาติได้”
ประธานเทค สตาร์ทอัพของไทย ได้ชี้เห็นอย่างเด่นชัดว่า หากหวังจะให้ประเทศไทย ยืนอยู่บนเวที สตาร์ท อัพโลกได้อย่างสง่างามแล้ว ก็จะต้องกำหนดบทบาทในความเป็นตัวตนของ Start up Thailand ว่าจะต้องข้องเกี่ยวกับ 3 องคาพยพสำคัญคือ เกษตร อาหาร และท่องเที่ยวเท่านั้นที่เป็นเนื้อและหนังของประเทศไทยอย่างแท้จริง ในการพัฒนาด้านสตาร์ทอัพขึ้นมา
ข้อสำคัญที่ประธานเทค สตาร์ทอัพ ฝากไว้ด้วยคือ บุคลิกในความเป็นสตาร์ทอัพของคนไทย นั้นคือ จะต้อง Lean นั่นคือ พอเพียง บริหารกิจการด้วยความรู้เท่าทันถึงต้นทุนในการดำเนินการกับสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบัน และจะต้องให้เกิดความกระชับในการบริหารธุรกิจของตน
อย่างไรก็ตาม กูรูผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ให้ทัศนะในทิศทางที่ใกล้เคียงกันว่า โอกาสของสตาร์ทอัพประเทศไทย หลังจากการจัดงาน Start up Thailand แล้ว นั้น เริ่มสดใสขึ้นมาบ้าง เพียงแต่จะต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐของไทย ว่า จะสร้างความ “ต่อเนื่อง”ในนโยบายสนับสนุนธุรกรรมด้านนี้อย่างจริงจังเพียงใด ขณะที่ภาคเอกชนที่คอยส่องกล้องติดตามการขับเคลื่อนของภาครัฐ ก็จะต้องคอย “กระทุ้ง” “กระตุ้น” ให้เกิดความเป็นรูปธรรมของการแปรธาตุจาก “ทฤษฎี” ไปสู่ “การปฏิบัติ” ได้อย่างแท้จริง
โอกาสที่จะเกิดขึ้นเป็นตัวตนของ Start up หรือ Tech start up ของไทยใช่เรื่องง่าย ผู้กล้าที่สามารถแหวกความยากลำบากขึ้นมาเป็นหนึ่งยอดยุทธ์ นั้นมีไม่ถึง 0.1% เท่านั้น ดังนั้น อย่าให้ “ความไม่ต่อเนื่อง” ของภาครัฐ ที่หวังจะกระตุ้นธุรกรรมด้านนี้ กลายเป็น “แห้ว” ไปอีกเลย …
เพราะ “ความมุ่งมั่น” นั้นมีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน หาก Eco systems ไม่เอื้อให้ยืนหยัดขึ้นมา
สะกดรอย Start up Thailnd 2016
หลังงาน Start up Thailnd 2016
คนแรกๆที่ต้องเข้ามาตอบคำถามตรงนี้ และน่าจะรู้อะไรๆ มากที่สุดคนหนึ่งของวงการ ก็คงต้องเป็น ไพท ผดุงถิ่น ประธานสมาคมไทยแลนด์ เทคสตาร์ทอัพ ซึ่งคร่ำหวอด Eco Systems ของเทค สตาร์อัพ และสตาร์ทอัพ ในเมืองไทยมาอย่างเข้มข้น และยาวนาน ได้ให้ทัศนะว่า แม้ว่าประเทศไทยจะแกะรอยเส้นทางสู่ Start up ให้เท่าทันกับประเทศใกล้เคียง และประเทศระดับแนวหน้า มาพอสมควรแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไทยยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นแม้แต่ในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน
“เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ การพัฒนาด้านกระบวนทัศน์ความรู้ (Data base) รวมถึงการบูรณาการด้านกฎหมาย เพื่อตอบสนองการเติบโตของวงการนี้ได้อย่างจริงจังนั้น กลับเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่สามารถกรุยทางให้ผู้ประกอบการของไทยที่มีความพร้อมไปแสดงศักยภาพยังต่างชาติได้”
ประธานเทค สตาร์ทอัพของไทย ได้ชี้เห็นอย่างเด่นชัดว่า หากหวังจะให้ประเทศไทย ยืนอยู่บนเวที สตาร์ท อัพโลกได้อย่างสง่างามแล้ว ก็จะต้องกำหนดบทบาทในความเป็นตัวตนของ Start up Thailand ว่าจะต้องข้องเกี่ยวกับ 3 องคาพยพสำคัญคือ เกษตร อาหาร และท่องเที่ยวเท่านั้นที่เป็นเนื้อและหนังของประเทศไทยอย่างแท้จริง ในการพัฒนาด้านสตาร์ทอัพขึ้นมา
ข้อสำคัญที่ประธานเทค สตาร์ทอัพ ฝากไว้ด้วยคือ บุคลิกในความเป็นสตาร์ทอัพของคนไทย นั้นคือ จะต้อง Lean นั่นคือ พอเพียง บริหารกิจการด้วยความรู้เท่าทันถึงต้นทุนในการดำเนินการกับสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบัน และจะต้องให้เกิดความกระชับในการบริหารธุรกิจของตน
อย่างไรก็ตาม กูรูผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ให้ทัศนะในทิศทางที่ใกล้เคียงกันว่า โอกาสของสตาร์ทอัพประเทศไทย หลังจากการจัดงาน Start up Thailand แล้ว นั้น เริ่มสดใสขึ้นมาบ้าง เพียงแต่จะต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐของไทย ว่า จะสร้างความ “ต่อเนื่อง”ในนโยบายสนับสนุนธุรกรรมด้านนี้อย่างจริงจังเพียงใด ขณะที่ภาคเอกชนที่คอยส่องกล้องติดตามการขับเคลื่อนของภาครัฐ ก็จะต้องคอย “กระทุ้ง” “กระตุ้น” ให้เกิดความเป็นรูปธรรมของการแปรธาตุจาก “ทฤษฎี” ไปสู่ “การปฏิบัติ” ได้อย่างแท้จริง
โอกาสที่จะเกิดขึ้นเป็นตัวตนของ Start up หรือ Tech start up ของไทยใช่เรื่องง่าย ผู้กล้าที่สามารถแหวกความยากลำบากขึ้นมาเป็นหนึ่งยอดยุทธ์ นั้นมีไม่ถึง 0.1% เท่านั้น ดังนั้น อย่าให้ “ความไม่ต่อเนื่อง” ของภาครัฐ ที่หวังจะกระตุ้นธุรกรรมด้านนี้ กลายเป็น “แห้ว” ไปอีกเลย …
เพราะ “ความมุ่งมั่น” นั้นมีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน หาก Eco systems ไม่เอื้อให้ยืนหยัดขึ้นมา