บทเรียนจากประธานาธิบดีลินคอล์น : ศาสตร์การเป็นผู้นำ 5 ข้อ



อับราฮัม ลินคอล์นได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของโลก และเขาเองก็สมควรที่จะได้รับเกียรติ์เช่นนั้น แต่...

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที่พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยรู้เลยว่า เพราะอะไรเขาถึงได้รับเกียรติ์เช่นนั้น

แล้วอะไรที่ทำให้เขาเป็นผู้นำที่ไม่เหมือนบุคคลอื่นล่ะครับ? และมีงานวิจัยไหนที่สนับสนุนเบื้องหลังของเขาบ้าง?

นี่เป็น 5 ข้อที่ทำไมประธานาธิบดีถึงได้รับการยอมรับและคุณเองก็สามารถสร้างทักษะความเป็นผู้นำที่ดีได้ดังนี้คือ


1.เดินออกจากที่ทำงานและพบปะกับผู้คน

ในปี 1861 ลินคอล์นได้ใช้เวลาเดินออกจากทำเนียบขาวมากกว่าที่จะอยู่ในทำเนียบอย่างเดียว

แล้วเรื่องนี้ทำให้เขากลายเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไรล่ะครับ?

จากหนังสือ Lincoln On Leadership : Executive Strategies For Tough Times มีการกล่าวถึงลินคอล์นเอาไว้ว่า

“เป็นที่น่าสังเกตว่าในปี 1861 ลินคอล์นได้ใช้เวลาออกจากทำเนียบขาวมากกว่าหน้าที่ที่เขาทำอยู่ และเป็นโอกาสที่ดีหากทางกองทัพได้ทำการสนับสนุนเขาในช่วงสงครามกลางเมือง เขาเห็นว่าประธานาธิบดีลินคอล์นโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบตรวจตรากองทหารในแต่ละรัฐตลอดจนวอชิงตันดีซี โดยตรวจตรากองทัพจนถึงทหารแถวหน้า และก่อนที่จะเกิดสงคราม พวกเขาทุกคนก็ใช้เวลาเตรียมรับมือจนถึงรัฐวอชิงตันดีซี”

ลินคอล์นรู้ดีว่าประชาชนคือแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับเขา และสามารถสร้างความไว้วางใจระหว่างกันได้ เขาใช้เวลา 75 % ของวันในการพบปะประชาชนทุกๆวัน

ลินคอล์นมีการดำเนินนโยบายที่เปิดกว้าง ใช่ครับประธานาธิบดีแต่ละคนถึงมีการดำเนินนโยบายที่เปิดกว้างจนถึงทุกวันนี้

จากหนังสือ Lincoln On Leadership : Executive Strategies For Tough Times มีการกล่าวถึงลินคอล์นเอาไว้ว่า

“บางทีผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จักลินคอล์นในฐานะที่เป็นผู้นำประเทศอเมริกาที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ทางด้าน John Nicolay กับ John Hay ซึ่งเป็นเลขาส่วนตัวของลินคอล์นก็ได้รายงานว่า ลินคอล์นได้ใช้เวลา 75 % ส่วนใหญ่ในการพบปะกับประชาชน ไม่สำคัญว่าประธานาธิบดีจะยุ่งแค่ไหน ดูเหมือนเขาจะหาเวลาในการทำสิ่งที่เขาจะต้องทำอยู่เสมอ”

ลองคิดดูสิครับว่า? ทฤษฎีการทำธุรกิจยุคใหม่ก็มาจากเบื้องหลังที่เขาทำอยู่นี่ล่ะครับ

คนที่เรียกตัวเองว่าเป็นกูรูในการบริหารจัดการในแต่ละวันมักจะชอบเรียกวิธีนี้ว่าเป็น “การบริหารจัดการแบบเดินไปรอบๆ” นี่พูดจริงๆเหรอครับ
จากหนังสือ Lincoln On Leadership : Executive Strategies For Tough Times มีการกล่าวถึงลินคอล์นเอาไว้ว่า

“ลินคอล์นเปิดเผยรากฐานที่สำคัญของปรัชญาการเป็นผู้นำในแบบฉบับตัวของเขาเอง ในการปฎิบัติก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฎิวัติแนวคิดความเป็นผู้นำในยุคสมัยใหม่ใน 100 ปีต่อมาเมื่อมีการอธิบายโดยทาง MBWA (การบริหารจัดการโดยเดินไปรอบๆ) โดย Tom Peters กับ Robert Waterman ในหนังสือในปี 1982 ที่ชื่อว่า In Search Of Excellence”

ลินคอล์นมักจะพยายามรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเขามากที่สุดเพื่อการประเมินตัดสินใจที่ดีที่สุดอยู่เสมอ

เขาก็คงใช้อีเมล์กับพิมพ์ข้อความใน iphone ของเขาด้วย อืม...แต่ว่านั่นมันก็ช่วงศตวรรษที่ 19 ก็คงจะเทียบกันได้ในช่วงเวลานี้เป็นอย่างน้อยนะครับ

จากหนังสือ Lincoln On Leadership : Executive Strategies For Tough Times มีการกล่าวถึงลินคอล์นเอาไว้ว่า

“เป็นที่ชัดเจนว่าเขาได้ใช้ชีวิตอยู่กับแผนกทางด้านการสงคราม ด้วยเหตุนี้ทำให้เขาได้รับข้อมูลกุญแจที่เป็นประโยชน์ที่สุดได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที”

แล้ว CEO ยุคใหม่ยังใช้เวลากับการทำเรื่องแบบนี้มากพอบ้างไหมล่ะครับ?

เช่นเดียวกัน สิ่งที่ลินคอล์นได้ทำก็คือ จะต้องพยายามรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินตัดสินให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

จากการอธิบายโดย John P.Kotter ในหัวข้อผู้นำแต่ละคนจริงๆแล้วทำอะไรบ้าง ก็คือ

“ทางด้าน GMS ไม่ได้โฟกัสถึงขีดจำกัดในการวางแผน กลยุทธ์การทำธุรกิจ คณะคนทำงานกับเรื่องอื่นๆที่ “เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระดับสูง” พวกเขามักจะพูดคุยทุกๆเรื่องที่มีความชัดเจนและทุกๆเรื่องแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆในการทำธุรกิจกับองค์กรต่างๆ ในการพูดคุยนั้น ทาง GMS ก็ได้ทำการสอบถามเรื่องต่างๆจำนวนมาก ในการพูดคุยครึ่งชั่วโมง บางคนก็อาจจะมีการถามเป็นร้อยๆกว่าคำถาม”


2.จะต้องทำการโน้มน้าวชักจูงมากกว่าที่จะทำการขู่เข็ญ

แม้ว่าประธานาธิบดีจะมีอำนาจล้นฟ้า แต่ลินคอล์นก็ไม่ได้ใช้กำลังแข็งข้อกับประชาชน เขามักจะทำการโน้มน้าวประชาชน แต่ว่าเขาทำได้อย่างไรครับ?

เขาได้สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนจำนวนมาก แล้วเขาก็ทำให้เพื่อนๆต่างชอบในตัวเขา นี่เป็นสิ่งที่ลินคอล์นได้พูดถึงเกี่ยวกับหลักการนี้คือ

“เมื่อพฤติกรรมของผู้คนมีการออกแบบโดยอำนาจอิทธิพล การโน้มน้าวชักจูง ความเมตตากรุณา การไม่ทำตัวแสแสร้ง ก็ควรที่จะมีการปรับเปลี่ยนเสียใหม่ มีสุภาษิตและคติพจน์ที่สะท้อนให้เห็นถึงสัจธรรมที่ว่า ‘หยดน้ำผึ้งสามารถจับแมลงได้มากกว่าการใช้อารมณ์โกรธเคืองหลายแกลลอน’ ดังนั้นสำหรับผู้คนแล้ว หากคุณต้องการเอาชนะใจคนด้วยสิ่งที่คุณมีอยู่ ก่อนอื่นจะต้องโน้มน้าวเขาให้มองเห็นคุณเป็นเพื่อนที่น่าเคารพ ซึ่งก็เหมือนกับหยดน้ำผึ้งที่สามารถจับหัวใจของเขาได้ กล่าวได้ว่าเขาจะเป็นเหตุผลที่ปูทางคุณให้ก้าวหน้ามากขึ้น และเมื่อไรที่คุณประสบความสำเร็จ คุณจะพบว่าไม่มีปัญหาเลยในการที่จะโน้มน้าวด้วยหลักการตัดสินใจของคุณ หากคุณได้แสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถโน้มน้าวเขาได้ดีพอ”

และแสดงให้เห็นว่าเขาสามารถรับมือกับเรื่องนี้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี

เขามักจะไม่ชอบออกคำสั่ง แต่เขาทำการร้องขอ ลองดูสิ่งที่เขาได้เขียนจดหมายกันครับ

ถึง Mcclellan (10-13-63) : “จดหมายนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของการออกคำสั่งของผม”

ถึง Halleck (9-19-63) : “ผมหวังว่าคุณสามารถตัดสินใจในเรื่องนี้ได้…”

ถึง Burnside (9-27-63) : “เป็นเพียงแค่คำแนะนำสำหรับคุณ ไม่ใช่เป็นคำสั่งของผม”

แล้วงานวิจัยสมัยใหม่คิดว่าจะยอมรับเรื่องนี้หรือไม่ครับ? คิดว่าคงจะยอมรับนะครับ

แล้วสิ่งสำคัญที่สุดที่ทาง Harvard Business School ได้สอนหลักสูตร MBA ให้กับนักศึกษาเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองนั้นคืออะไรล่ะครับ”
ก็คือ “พวกเขาจะต้องตีซี้กับคุณก่อน”

ทางด้าน Harvard Business School มีการอธิบายเอาไว้ว่า

“นี่เป็นสิ่งที่คุณจะต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ จะต้องไม่ทำการไล่ล่าฝ่ายเจรจา คุณจะต้องทำสิ่งที่จำเป็นมากกว่านั้น หากคุณต้องการเงินมากขึ้น ก็จะต้องร่างข้อเสนอที่ดี ร่างข้อตกลงที่ดี นี่ถือเป็นองค์ประกอบที่คุณจะต้องมี ก่อนอื่นพวกเขาจะต้องมาตีซี้กับคุณก่อน นี่ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับแรก สิ่งที่คุณจะต้องทำนั้น จะต้องทำให้พวกเขาชอบคุณก่อน ไม่ว่าคุณจะไม่ชอบเขามากแค่ไหน ยังไงคุณก็ได้ข้อเสนอที่คุณต้องการ”

ลินคอล์นมีวลีเด็ดอย่างหนึ่งก็คือ

ผมทำลายศัตรูของคุณเมื่อผมสามารถทำให้พวกเขากลายเป็นเพื่อนของผมได้


3.เป็นผู้นำที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ลินคอล์นได้รับการยอมรับว่าในเรื่องนี้และยอมรับผิดเมื่อเขาทำผิดพลาด

จากหนังสือ Lincoln On Leadership : Executive Strategies For Tough Times มีการกล่าวถึงลินคอล์นเอาไว้ว่า

“ไม่เพียงแค่การทำแบบนี้จะทำให้ลินคอล์นมีเกียรติ์ มีความซื่อตรงและมีความสง่างามมากขึ้นเท่านั้น  ยังช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขายังเข้าใจถึงทัศนคติที่ถูกต้อง ทำให้พวกเขาสามารถเข้าใจถึงความเป็นผู้นำโดยที่ไม่ยึดมั่นกับตัวลินคอล์นเอง หากดูเหมือนเรื่องนี้ไร้ความหมาย ก็คงทำให้เขารู้สึกภูมิใจกับหน้าที่ที่พวกเขาทำอยู่ เช่นกันก็กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและรับมือกับความเสี่ยงได้ เนื่องจากพวกเขารู้ว่า หากพวกเขาล้มเหลว ลินคอล์นก็จะไม่ไปว่ากล่าวกับพวกเขา”

เรื่องนี้ทางด้านศาสตราจารย์ที่ Harvard อย่าง Gautam Mukunda ได้กล่าวว่า ลินคอล์นพยายามหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความโอหังของตัวเอง

ลินคอล์นก็ไม่ได้มีปัญหาที่จะพูดว่า เขาเองก็อารมณ์เสียเหมือนกัน อย่างที่เขาได้เขียนจดหมายไปยังนายพล Ulysses S.Grant เอาไว้ว่า

“ผมเขียนจดหมายนี้จากใจจริงที่แทบจะประเมินค่ามิได้เลยสำหรับการที่ท่านได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศนี้ ผมอยากที่จะกล่าวอะไรมากกว่านั้น เมื่อคุณได้มาถึงบริเวณ Vicksburg ผมก็ไม่เคยหมดศรัทธา เว้นแต่ท่านนายพลมีความหวังว่า คุณจะรู้ดีมากกว่าผมว่าการเตรียมความพร้อมนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จ ผมเกรงว่าจะเป็นเรื่องผิดพลาดขึ้นมา ตอนนี้ผมอยากที่จะพูดออกมาจากจริงใจว่า ท่านทำสิ่งที่ถูกและผมเป็นคนคิดผิดเอง”

เขาเชื่อมั่นในหลักการตัดสินใจของประชาชนที่อยู่แถวหน้า นี่ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทางด้านการทหารที่ดี

ลองมาดูที่งานวิจัยสิครับว่า ความเป็นผู้นำแบบไหนที่น่ากลัวที่สุดในสถานการณ์ต่างๆ?

แนวคิดของลินคอล์นจึงนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยและการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง

จากหนังสือ Bold Endeavors: Lessons from Polar and Space Exploration: มีการอธิบายเอาไว้ว่า

“ในช่วงก่อนปี 1960 ทางด้านศูนย์วิจัยการแพทย์เกี่ยวกับระบบจิตประสาทนาวิกโยธิน (ตอนนี้เป็นศูนย์วิจัยสุขภาพนาวิกโยธิน) ก็ได้รวบรวมข้อมูลการศึกษาลักษณะความเป็นผู้นำที่สถานีขั้วโลกใต้ ซึ่งโปรแกรมงานวิจัยนั้น ทางด้าน Nelson (1962) พบว่า ผู้นำที่ได้รับการยกย่องมีแนวโน้มที่จะสร้างความสัมพันธ์ในความเป็นผู้นำในรูปแบบประชาธิปไตย และเป็นคุณสมบัติความเป็นผู้นำที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้คนมากกว่ารูปแบบธรรมเนียมปฎิบัติแบบทหาร นอกจากนั้นผู้นำที่ได้รับการยกย่องมีการพัฒนาความสัมพันธ์แต่ละคนที่อยู่กลุ่มเดียวกันและมีการทำรายงานสำรวจความคิดเห็นของแต่ละคนเกี่ยวกับประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับพวกเขา”

ผู้นำหลายคนมีการบันทึกจากงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ไม่ต้องวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวคิดที่ได้รับการยอมรับซึ่งถือเป็นกุญแจที่มีสำคัญของผู้มีอิทธิพล

และผู้นำทางด้านจิตวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่อย่างเล่าจื้อก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า

“ความล้มเหลวในการให้เกียรติ์ผู้คนก็เท่ากับว่าผู้คนล้มเหลวต่อการให้เกียรติ์กับคุณด้วย แต่สำหรับผู้นำที่ดีมักจะเป็นคนพูดน้อยเมื่องานของเขาได้ดำเนินเสร็จสิ้นแล้ว เป้าหมายของเขาก็สามารถบรรลุผลสำเร็จ พวกเขาทุกคนมักจะกล่าวว่า 'พวกเราก็ต้องทำในแบบของตัวเอง'”


4.กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

คำแนะนำส่วนใหญ่ก็มักจะพูดถึงการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน แล้วลินคอล์นรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหรือเปล่าครับ?
อืม เขาก็เป็นเพียงแค่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีการเปิดเผยเรื่องราวบางประเด็นใช่ไหมล่ะครับ

จากหนังสือ Lincoln On Leadership : Executive Strategies For Tough Times มีการกล่าวถึงลินคอล์นเอาไว้ว่า

“ปีก่อนที่จะเป็นประธานาธิบดี ลินคอล์นก็แสดงให้เห็นถึงแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เขาจะต้องทำการเปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.1849 (ช่วงอายุ 40 ปี) เขาก็ยอมรับปรับเปลี่ยนความคิดใหม่โดยการสร้างเรือให้ลอยน้ำได้สูงขึ้น”

แล้วอะไรที่ทำให้องค์กรมีความคิดสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นบ้างล่ะครับ? อย่างที่ผมกล่าวเอาไว้ก็คือ

จะต้องพยายามให้รางวัลตอบแทนผู้คนด้วยสิ่งใหม่ๆและอย่าทำโทษหากพวกเขาล้มเหลวขึ้นมา

ลินคอล์นรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี

จากหนังสือ Lincoln On Leadership : Executive Strategies For Tough Times มีการกล่าวถึงลินคอล์นเอาไว้ว่า

“และแม้ว่าในช่วงที่เขาเจอกับความยากลำบาก ลินคอล์นได้เรียกผู้ใต้บังคับบัญชาพัฒนาสิ่งใหม่ๆ แนวคิดต่างๆที่สามารถบรรลุผลได้ และจะต้องเอาชนะแม้ว่าจะยังมีการเรียนรู้อยู่หรือไม่ก็ตาม เขาเข้าใจดีว่าในฐานะที่เป็นผู้นำสูงสุด จึงเป็นความรับผิดชอบของเขาในการสร้างความเสี่ยงให้มีความจำเป็นต่อการส่งเสริมให้เกิดเปลี่ยนแปลงให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่