เมื่ออาทิตย์ก่อน มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนเทคนิคการโค้ชให้กับคณะครูของโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง ซึ่งมีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ
โรงเรียนแห่งนี้เชื่อว่าเด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีกว่า ถ้าครูใช้วิธีการตั้งคำถามแทนที่จะให้คำตอบ
ผมแอบไปนั่งดูในห้องเรียน เห็นเด็กอายุสัก 6-7 ขวบราว 10 กว่าคน แย่งกันตอบเสียงเจี๊ยวจ๊าวจนไม่น่าเชื่อ เมื่อคุณครูตั้งคำถามเกี่ยวกับนิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงที่เพิ่งเล่าให้ฟังจบไป
ผมถามครูใหญ่ว่ามีวิธีการช่วยครูอย่างไรในการตั้งคำถาม เพราะฟังดูง่ายแต่ทำจริงๆ น่าจะยาก
ท่านเล่าให้ฟังว่า คุณครูที่นี่อาศัยหลักการของ Benjamin Bloom นักจิตวิทยาด้านการศึกษาชื่อดังระดับโลก ซึ่งแบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ขั้น (เรียกว่า Bloom’s Taxanomy)
ขั้นที่หนึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยความจำ (Remembering) เน้นให้เด็กจดจำเนื้อหาของสิ่งที่เรียน ท่องคำศัพท์หรือจำคำจำกัดความให้ได้ สามารถพูดซ้ำสิ่งที่ครูสอนไปแล้ว หรือนึกเรื่องราวที่เล่าให้ฟังออก ตัวอย่างคำถามเช่น เด็กผู้หญิงในนิทานเรื่องนี้สวมหมวกสีอะไร หรือสัตว์อะไรปลอมตัวมาเป็นคุยยาย เป็นต้น
ขั้นที่สองเป็นการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ (Understanding) เน้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง สามารถอธิบายหลักการและอภิปรายรายละเอียดได้อย่างแตกฉาน ตัวอย่างคำถามเช่น หมาป่ารู้ได้อย่างไรว่าหนูน้อยหมวกแดงกำลังจะมาหาคุณยาย เป็นต้น
การเรียนรู้สองระดับแรกนี้ จัดเป็นขั้นพื้นฐานที่ไม่ต้องใช้สมองในการคิดวิเคราะห์มากนัก อาศัยความสนใจและความใส่ใจในเนื้อหาที่เรียน ก็เพียงพอ
ขั้นที่สามเป็นความสามารถในการประยุกต์สิ่งที่เรียนให้เข้ากับสถานการณ์จริง (Applying) เน้นให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้น พลิกแพลงหลักการไปสู่การปฏิบัติให้ได้ ตัวอย่างคำถามเช่น นิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงสอนอะไรกับพวกเรา หรืออะไรคือนิสัยที่ไม่ดีของหมาป่าที่นักเรียนไม่ควรทำตาม เป็นต้น
ขั้นที่สี่เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเปรียบเทียบ (Analyzing) เน้นให้เด็กสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ จัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ของส่ิงที่ได้ยินได้ฟัง สามารถเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างของเรื่องราวต่างๆ ได้ ตัวอย่างคำถามเช่น นิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงกับนิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ ต่างกันตรงไหน เป็นต้น
การเรียนรู้ขั้นที่สามและสี่นี้ ถือเป็นการเรียนรู้ระดับกลาง ที่ผู้เรียนต้องใช้สมองในการวิเคราะห์มากขึ้น ความสนใจใส่ใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องมีความพยายามในการคิดเพิ่มขึ้นด้วย
ขั้นที่ห้าเป็นความสามารถในการประเมินผล (Evaluating) เน้นให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจแยกแยะส่ิงที่ดีออกจากส่ิงที่ไม่ดี ตัดสินถูกหรือผิดโดยมีเหตุผลที่เหมาะสมสนับสนุน สามารถวิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้งความเห็นที่แตกต่าง และชี้แจงหรือยืนยันส่ิงที่ตนเองคิดโดยอาศัยข้อมูลสนับสนุนได้อย่างฉะฉาน ตัวอย่างคำถามเช่น ระหว่างหนูน้อยหมวกแดง กับ เด็กชายเลี้ยงแกะ ใครทำดี ใครทำไม่ดี เพราะเหตุใด เป็นต้น
ขั้นที่หกเป็นความสามารถในการจินตนาการ (Creating) เน้นให้นักเรียนสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ พัฒนาสูตรหรือแนวทางที่แตกต่างจากที่เคยมีหรือเคยเรียนรู้มาก่อน คิดได้แบบไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องกลัวว่าคำตอบจะถูกหรือผิด ตัวอย่างคำถาม เช่น ถ้านักเรียนสามารถเปลี่ยนตอนจบของนิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงได้ จะเปลี่ยนให้เป็นอย่างไร เป็นต้น
การเรียนรู้สองขั้นสุดท้ายนี้ ถือเป็นการเรียนรู้ระดับสูงที่นอกจากผู้เรียนจะต้องใช้สมองในการวิเคราะห์แยกแยะแล้ว ยังต้องใช้จินตนาการเพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ในระหว่างการเรียน ผมสังเกตุเห็นคุณครูค่อยๆ ตั้งคำถามกับเด็กๆ ตั้งแต่ขั้นหนึ่งแบบง่ายๆ ที่อาศัยแค่ความจำ ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นหก ที่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น ได้อย่างไหล่ลื่น
เด็กๆ ก็สนุกสนานไปกับการตอบคำถามที่ไม่ยากจนเกินไป คล้ายการเดินขึ้นบันไดทีละขั้นอย่างมั่นคง จนถึงขั้นสุดท้ายที่ได้ใช้จินตนาการสร้างสรรค์ไอเดียบรรเจิด โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครมาตัดสิน ถูกผิด ดีเลว
ผมเห็นแล้วตกหลุมรักวิธีการสอนแบบนี้ทันที ได้แต่แอบฝันว่าคุณครูส่วนใหญ่ในประเทศเรา จะใช้แนวทางการตั้งคำถามทำนองนี้ กระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กได้คิด วิเคราะห์และจินตนาการมากขึ้น
แต่ทุกวันนี้ฝันยังไม่เป็นจริง เพราะข้อสอบที่วัดความจำ มีให้เห็นอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ดูแล้วระเหี่ยใจ นี่ละมั้งที่เป็นสาเหตุให้เราพัฒนาไปไหนไม่ได้ไกลสักที เพราะคนไทยจำเก่งแต่คิดไม่เป็น
น่าจะถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง !
การเรียนรู้ 6 ระดับ ... คำถาม ทำให้คน คิดเป็น
โรงเรียนแห่งนี้เชื่อว่าเด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีกว่า ถ้าครูใช้วิธีการตั้งคำถามแทนที่จะให้คำตอบ
ผมแอบไปนั่งดูในห้องเรียน เห็นเด็กอายุสัก 6-7 ขวบราว 10 กว่าคน แย่งกันตอบเสียงเจี๊ยวจ๊าวจนไม่น่าเชื่อ เมื่อคุณครูตั้งคำถามเกี่ยวกับนิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงที่เพิ่งเล่าให้ฟังจบไป
ผมถามครูใหญ่ว่ามีวิธีการช่วยครูอย่างไรในการตั้งคำถาม เพราะฟังดูง่ายแต่ทำจริงๆ น่าจะยาก
ท่านเล่าให้ฟังว่า คุณครูที่นี่อาศัยหลักการของ Benjamin Bloom นักจิตวิทยาด้านการศึกษาชื่อดังระดับโลก ซึ่งแบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ขั้น (เรียกว่า Bloom’s Taxanomy)
ขั้นที่หนึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยความจำ (Remembering) เน้นให้เด็กจดจำเนื้อหาของสิ่งที่เรียน ท่องคำศัพท์หรือจำคำจำกัดความให้ได้ สามารถพูดซ้ำสิ่งที่ครูสอนไปแล้ว หรือนึกเรื่องราวที่เล่าให้ฟังออก ตัวอย่างคำถามเช่น เด็กผู้หญิงในนิทานเรื่องนี้สวมหมวกสีอะไร หรือสัตว์อะไรปลอมตัวมาเป็นคุยยาย เป็นต้น
ขั้นที่สองเป็นการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ (Understanding) เน้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง สามารถอธิบายหลักการและอภิปรายรายละเอียดได้อย่างแตกฉาน ตัวอย่างคำถามเช่น หมาป่ารู้ได้อย่างไรว่าหนูน้อยหมวกแดงกำลังจะมาหาคุณยาย เป็นต้น
การเรียนรู้สองระดับแรกนี้ จัดเป็นขั้นพื้นฐานที่ไม่ต้องใช้สมองในการคิดวิเคราะห์มากนัก อาศัยความสนใจและความใส่ใจในเนื้อหาที่เรียน ก็เพียงพอ
ขั้นที่สามเป็นความสามารถในการประยุกต์สิ่งที่เรียนให้เข้ากับสถานการณ์จริง (Applying) เน้นให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้น พลิกแพลงหลักการไปสู่การปฏิบัติให้ได้ ตัวอย่างคำถามเช่น นิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงสอนอะไรกับพวกเรา หรืออะไรคือนิสัยที่ไม่ดีของหมาป่าที่นักเรียนไม่ควรทำตาม เป็นต้น
ขั้นที่สี่เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเปรียบเทียบ (Analyzing) เน้นให้เด็กสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ จัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ของส่ิงที่ได้ยินได้ฟัง สามารถเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างของเรื่องราวต่างๆ ได้ ตัวอย่างคำถามเช่น นิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงกับนิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ ต่างกันตรงไหน เป็นต้น
การเรียนรู้ขั้นที่สามและสี่นี้ ถือเป็นการเรียนรู้ระดับกลาง ที่ผู้เรียนต้องใช้สมองในการวิเคราะห์มากขึ้น ความสนใจใส่ใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องมีความพยายามในการคิดเพิ่มขึ้นด้วย
ขั้นที่ห้าเป็นความสามารถในการประเมินผล (Evaluating) เน้นให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจแยกแยะส่ิงที่ดีออกจากส่ิงที่ไม่ดี ตัดสินถูกหรือผิดโดยมีเหตุผลที่เหมาะสมสนับสนุน สามารถวิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้งความเห็นที่แตกต่าง และชี้แจงหรือยืนยันส่ิงที่ตนเองคิดโดยอาศัยข้อมูลสนับสนุนได้อย่างฉะฉาน ตัวอย่างคำถามเช่น ระหว่างหนูน้อยหมวกแดง กับ เด็กชายเลี้ยงแกะ ใครทำดี ใครทำไม่ดี เพราะเหตุใด เป็นต้น
ขั้นที่หกเป็นความสามารถในการจินตนาการ (Creating) เน้นให้นักเรียนสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ พัฒนาสูตรหรือแนวทางที่แตกต่างจากที่เคยมีหรือเคยเรียนรู้มาก่อน คิดได้แบบไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องกลัวว่าคำตอบจะถูกหรือผิด ตัวอย่างคำถาม เช่น ถ้านักเรียนสามารถเปลี่ยนตอนจบของนิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงได้ จะเปลี่ยนให้เป็นอย่างไร เป็นต้น
การเรียนรู้สองขั้นสุดท้ายนี้ ถือเป็นการเรียนรู้ระดับสูงที่นอกจากผู้เรียนจะต้องใช้สมองในการวิเคราะห์แยกแยะแล้ว ยังต้องใช้จินตนาการเพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ในระหว่างการเรียน ผมสังเกตุเห็นคุณครูค่อยๆ ตั้งคำถามกับเด็กๆ ตั้งแต่ขั้นหนึ่งแบบง่ายๆ ที่อาศัยแค่ความจำ ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นหก ที่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น ได้อย่างไหล่ลื่น
เด็กๆ ก็สนุกสนานไปกับการตอบคำถามที่ไม่ยากจนเกินไป คล้ายการเดินขึ้นบันไดทีละขั้นอย่างมั่นคง จนถึงขั้นสุดท้ายที่ได้ใช้จินตนาการสร้างสรรค์ไอเดียบรรเจิด โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครมาตัดสิน ถูกผิด ดีเลว
ผมเห็นแล้วตกหลุมรักวิธีการสอนแบบนี้ทันที ได้แต่แอบฝันว่าคุณครูส่วนใหญ่ในประเทศเรา จะใช้แนวทางการตั้งคำถามทำนองนี้ กระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กได้คิด วิเคราะห์และจินตนาการมากขึ้น
แต่ทุกวันนี้ฝันยังไม่เป็นจริง เพราะข้อสอบที่วัดความจำ มีให้เห็นอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ดูแล้วระเหี่ยใจ นี่ละมั้งที่เป็นสาเหตุให้เราพัฒนาไปไหนไม่ได้ไกลสักที เพราะคนไทยจำเก่งแต่คิดไม่เป็น
น่าจะถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง !