ช่วงหลังๆนี้เห็นข่าวผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ไม่ว่าจะเป็น
- ให้คนถูกฆ่าขุดหลุมฝังตัวเอง ข่มขืนแฟนให้ดูแล้วฆ่าทิ้ง ตามมาด้วยฆ่าแฟนแล้วทิ้งลงเหว
- 6 คนรุมฆ่าชายพิการ ขนาดตำรวจมาถึงจุดเกิดเหตุยังระงับเหตุไม่ได้
และเชื่อว่าจะมีคดีเช่นนี้ตามมาอีกมาก ถ้าคนพวกนี้รอดคดีหรือได้รับโทษสถานเบา เพราะสองเหตุผล
- เยาวชน
- ประหารเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
ผมเชื่อว่า กฏหมายทุกกฏหมาย คือ การออกระเบียบการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด เพราะฉนั้นกฏหมายคือการแก้ไขที่ปลายเหตุอยู่แล้ว จะมาตัดค้านกันทำไม อยากให้คิดว่า ถ้าสมมุติคุณเป็นมะเร็ง คุณจะตัดมะเร็งร้ายนั้นทิ้งมั้ย เมื่อเราตัดมะเร็งร้ายนั้นทิ้ง เราค่อยกลับมาบำรุงดูแลร่างกายส่วนที่เหลือของเรา การบำรุงร่างกายอย่างเดียวไม่สามารถกำจัดมะเร็งได้นะครับ ตายอยู่ดี
ก็เสมือนกับการประหารคนเหล่านี้ซึ่งเหมือนเป็นมะเร็งร้ายของสังคม แล้วค่อยมาปรับปรุงเยียวยาส่วนที่ยังเยียวยาได้ ไม่ใช่บอกว่าไปรักษาที่ต้นเหตุอย่างเดียว ส่วนมะเร็งร้ายก็ทิ้งไว้งั้นแหละ มันกระจายนะครับ มันกัดกินส่วนที่ยังดีอยู่นะครับ
จากที่อ่านมาหลายๆข่าว ผู้กระทำผิดซ้ำส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยได้รับโทษมาหรือบางคนพึ่งพ้นโทษซะด้วยซ้ำ ซึ่งทำไมเราต้องเลือกแค่ว่า
- ประหาร แล้วไม่แก้ไขที่ต้นเหตุ
- ไม่ประหาร แล้วไปแก้ไขที่ต้นเหตุ
ทำไมเราถึงไม่เลือกว่า " ประหาร แล้วไปแก้ไขที่ต้นเหตุ " ทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปด้วย ความจริงกฏหมายไทยมันยังมีโทษประหารชีวิตอยู่นะครับ แต่ไม่รู้ทำไมไม่ว่าจะคดีอะไรก็ช่าง ผมไม่เห็นมีใครถูกประหารเลย
อย่างก่อนหน้านี้ที่มีคนเข้าไปปล้นบ้านหมอ แล้วฆ่ายกครัวเพื่อชิงทรัพย์ แขวนคอลูกคุณหมอท่านนั้นให้พ่อแม่ดู แล้วก็แขวนคอทีละคนทีละคน จนหมดบ้าน แต่กลับไม่โดนโทษประหาร เข้าคุกไม่กี่ปี หารออกมาถึงชีวิตละ 5 ปีรึเปล่าก็ไม่รู้ ผลสุดท้ายผู้กระทำผิดออกจากคุกมาก็ไปทำเรื่องไม่ดีมีคนมายิงทิ้ง ถามจริงคนอย่างนี้เราควรให้มีชีวิตต่อทำไม
อยากให้คนที่คัดค้านการประหารชีวิต ลองคิดดูใหม่ประเทศเราสามารถทั้ง "ประหารแล้วก็แก้ไขที่ต้นเหตุ" ไปพร้อมๆกันได้นะครับ
ขอบคุณที่อ่านที่ผมบ่นนะครับ บางทีเราอยู่ในสังคมที่น่ากลัวจริงๆ บางครั้งเคราะห์ร้ายนี้อาจเกิดกับคนใกล้ตัวเราก็ได้
ทำไมจึงคัดค้านโทษประหารกัน
- ให้คนถูกฆ่าขุดหลุมฝังตัวเอง ข่มขืนแฟนให้ดูแล้วฆ่าทิ้ง ตามมาด้วยฆ่าแฟนแล้วทิ้งลงเหว
- 6 คนรุมฆ่าชายพิการ ขนาดตำรวจมาถึงจุดเกิดเหตุยังระงับเหตุไม่ได้
และเชื่อว่าจะมีคดีเช่นนี้ตามมาอีกมาก ถ้าคนพวกนี้รอดคดีหรือได้รับโทษสถานเบา เพราะสองเหตุผล
- เยาวชน
- ประหารเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
ผมเชื่อว่า กฏหมายทุกกฏหมาย คือ การออกระเบียบการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด เพราะฉนั้นกฏหมายคือการแก้ไขที่ปลายเหตุอยู่แล้ว จะมาตัดค้านกันทำไม อยากให้คิดว่า ถ้าสมมุติคุณเป็นมะเร็ง คุณจะตัดมะเร็งร้ายนั้นทิ้งมั้ย เมื่อเราตัดมะเร็งร้ายนั้นทิ้ง เราค่อยกลับมาบำรุงดูแลร่างกายส่วนที่เหลือของเรา การบำรุงร่างกายอย่างเดียวไม่สามารถกำจัดมะเร็งได้นะครับ ตายอยู่ดี
ก็เสมือนกับการประหารคนเหล่านี้ซึ่งเหมือนเป็นมะเร็งร้ายของสังคม แล้วค่อยมาปรับปรุงเยียวยาส่วนที่ยังเยียวยาได้ ไม่ใช่บอกว่าไปรักษาที่ต้นเหตุอย่างเดียว ส่วนมะเร็งร้ายก็ทิ้งไว้งั้นแหละ มันกระจายนะครับ มันกัดกินส่วนที่ยังดีอยู่นะครับ
จากที่อ่านมาหลายๆข่าว ผู้กระทำผิดซ้ำส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยได้รับโทษมาหรือบางคนพึ่งพ้นโทษซะด้วยซ้ำ ซึ่งทำไมเราต้องเลือกแค่ว่า
- ประหาร แล้วไม่แก้ไขที่ต้นเหตุ
- ไม่ประหาร แล้วไปแก้ไขที่ต้นเหตุ
ทำไมเราถึงไม่เลือกว่า " ประหาร แล้วไปแก้ไขที่ต้นเหตุ " ทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปด้วย ความจริงกฏหมายไทยมันยังมีโทษประหารชีวิตอยู่นะครับ แต่ไม่รู้ทำไมไม่ว่าจะคดีอะไรก็ช่าง ผมไม่เห็นมีใครถูกประหารเลย
อย่างก่อนหน้านี้ที่มีคนเข้าไปปล้นบ้านหมอ แล้วฆ่ายกครัวเพื่อชิงทรัพย์ แขวนคอลูกคุณหมอท่านนั้นให้พ่อแม่ดู แล้วก็แขวนคอทีละคนทีละคน จนหมดบ้าน แต่กลับไม่โดนโทษประหาร เข้าคุกไม่กี่ปี หารออกมาถึงชีวิตละ 5 ปีรึเปล่าก็ไม่รู้ ผลสุดท้ายผู้กระทำผิดออกจากคุกมาก็ไปทำเรื่องไม่ดีมีคนมายิงทิ้ง ถามจริงคนอย่างนี้เราควรให้มีชีวิตต่อทำไม
อยากให้คนที่คัดค้านการประหารชีวิต ลองคิดดูใหม่ประเทศเราสามารถทั้ง "ประหารแล้วก็แก้ไขที่ต้นเหตุ" ไปพร้อมๆกันได้นะครับ
ขอบคุณที่อ่านที่ผมบ่นนะครับ บางทีเราอยู่ในสังคมที่น่ากลัวจริงๆ บางครั้งเคราะห์ร้ายนี้อาจเกิดกับคนใกล้ตัวเราก็ได้