นักวิจัยปลื้มครบรอบ 2 ปีแผ่นดินไหวเชียงราย คนท้องถิ่นตื่นตัวดี โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบ ส่วนคนที่อยู่ไกลพื้นที่แผ่นดินไหว ยังไม่ค่อยรู้สึก ไม่ตื่นตัว เพราะไม่มีประสบการณ์และคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว
เมื่อเร็วๆ นี้ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงได้ร่วมเดินทางไปยัง จ.เชียงราย ร่วมกับคณะนักวิจัยแผ่นดินไหว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อย้อนรอยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอาคารบ้านเรือน พร้อมเปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการสอนวิศวกรและช่างท้องถิ่นเสริมแกร่งอาคารต้านแผ่นดินไหว ซึ่งโอกาสนี้ทีมข่าวฯ ได้พูดคุยกับนักวิจัยถึงความพร้อมของประชาชนในการรับมือแผ่นดินไหว หลังมีการอบรมทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแผ่นดินไหวมาตลอด 2 ปีหลังเกิดเหตุการณ์
ศ.ดร.อมร พิมานมาศ หัวหน้าโครงการเผยแพร่ความรู้การก่อสร้างและเสริมความมั่นคงอาคารบ้านเรือนต้านแผ่นดินไหว สกว. กล่าวว่า ใน ประเทศไทยตั้งอยู่บนรอยเลื่อนมีพลัง 14 แห่ง ซึ่งกระจายตัวอยู่แทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใน 77 จังหวัดของประเทศไทย จ.เชียงราย ถือเป็นจังหวัดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด เพราะตั้งอยู่บนรอยเลื่อนมีพลังถึง 3 รอยด้วยกัน อันได้แก่ รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนแม่อิง และรอยเลื่อนแม่จัน โดยเฉพาะรอยเลื่อนแม่จันที่นักแผ่นดินไหวยกให้เป็นรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยที่ต้องจับตามองที่สุด เพราะผลวิจัยด้านธรณีฟิสิกส์ได้ระบุไว้ ว่ารอยเลื่อนแม่จันสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงสูงได้ถึงขนาด 6-8-6.9
ด้วยเหตุผลข้างต้น ศ.ดร.อมร เผยว่า หลังการเกิดแผ่นดินไหวแม่ลาว เมื่อวันที่ 5 พ.ค.57 หรือ 2 ปีที่ผ่านมา ภาคส่วนต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการอบรมและให้ความรู้กับชาวบ้านในพื้นที่เสี่ยงมาโดยตลอด ทั้งในแง่การหลบภัย การเอาตัวรอด การเตรียมอพยพ ไปจนถึงการออกแบบก่อสร้างหรือซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนให้มีความแข็งแกร่งสามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคตเพื่อลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้แผ่นดินไหวเพื่อให้นักเรียนและประชาชนได้เข้าใจหลักการของธรรมชาติ
“คนเชียงรายวันนี้ตื่นตัวเรื่องแผ่นดินไหวดีมาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่โดนทำลายเพราะเขามีประสบการณ์ตรง ส่วนคนที่ยังอยู่ห่างไกล ยังไม่มีประสบการณ์การพบเจอ หรือข้าวของพังเสียหายจากแผ่นดินไหวก็จะไม่ค่อยรู้สึก ไม่ตื่นตัว เพราะเขาไม่มีประสบการณ์และคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่พวกเราทั้งหมดก็มีความเสี่ยงตลอด ฉะนั้นในฐานะนักวิจัยเราจึงต้องคิดหาทางให้ประชาชนตื่นตัวต่อแผ่นดินไหวตลอดเวลาทั้งในรูปแบบการให้ความรู้ และการผลักดันร่างกฎหมาย เช่น การจัดทำมาตรการเชิงกฎหมายบังคับอาคารสูงที่จะก่อสร้างเกิน 15 ชั้นให้มีการออกแบบก่อสร้างต้านแผ่นดินไหวตาม พรบ.ควบคุมอาคารด้วยการนำของวิศวกรที่มีความรู้ชั้นสูง หรืออาคารที่สูงไม่เกิน 15 ชั้น ไม่เข้าข่าย พรบ.ควบคุมอาคาร ก็ต้องสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานเช่นกัน”
http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9590000044720
นักวิจัยปลื้ม 2 ปีครบรอบแผ่นดินไหว "คนเชียงราย" ตื่นตัวดีมาก
เมื่อเร็วๆ นี้ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงได้ร่วมเดินทางไปยัง จ.เชียงราย ร่วมกับคณะนักวิจัยแผ่นดินไหว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อย้อนรอยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอาคารบ้านเรือน พร้อมเปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการสอนวิศวกรและช่างท้องถิ่นเสริมแกร่งอาคารต้านแผ่นดินไหว ซึ่งโอกาสนี้ทีมข่าวฯ ได้พูดคุยกับนักวิจัยถึงความพร้อมของประชาชนในการรับมือแผ่นดินไหว หลังมีการอบรมทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแผ่นดินไหวมาตลอด 2 ปีหลังเกิดเหตุการณ์
ศ.ดร.อมร พิมานมาศ หัวหน้าโครงการเผยแพร่ความรู้การก่อสร้างและเสริมความมั่นคงอาคารบ้านเรือนต้านแผ่นดินไหว สกว. กล่าวว่า ใน ประเทศไทยตั้งอยู่บนรอยเลื่อนมีพลัง 14 แห่ง ซึ่งกระจายตัวอยู่แทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใน 77 จังหวัดของประเทศไทย จ.เชียงราย ถือเป็นจังหวัดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด เพราะตั้งอยู่บนรอยเลื่อนมีพลังถึง 3 รอยด้วยกัน อันได้แก่ รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนแม่อิง และรอยเลื่อนแม่จัน โดยเฉพาะรอยเลื่อนแม่จันที่นักแผ่นดินไหวยกให้เป็นรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยที่ต้องจับตามองที่สุด เพราะผลวิจัยด้านธรณีฟิสิกส์ได้ระบุไว้ ว่ารอยเลื่อนแม่จันสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงสูงได้ถึงขนาด 6-8-6.9
ด้วยเหตุผลข้างต้น ศ.ดร.อมร เผยว่า หลังการเกิดแผ่นดินไหวแม่ลาว เมื่อวันที่ 5 พ.ค.57 หรือ 2 ปีที่ผ่านมา ภาคส่วนต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการอบรมและให้ความรู้กับชาวบ้านในพื้นที่เสี่ยงมาโดยตลอด ทั้งในแง่การหลบภัย การเอาตัวรอด การเตรียมอพยพ ไปจนถึงการออกแบบก่อสร้างหรือซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนให้มีความแข็งแกร่งสามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคตเพื่อลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้แผ่นดินไหวเพื่อให้นักเรียนและประชาชนได้เข้าใจหลักการของธรรมชาติ
“คนเชียงรายวันนี้ตื่นตัวเรื่องแผ่นดินไหวดีมาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่โดนทำลายเพราะเขามีประสบการณ์ตรง ส่วนคนที่ยังอยู่ห่างไกล ยังไม่มีประสบการณ์การพบเจอ หรือข้าวของพังเสียหายจากแผ่นดินไหวก็จะไม่ค่อยรู้สึก ไม่ตื่นตัว เพราะเขาไม่มีประสบการณ์และคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่พวกเราทั้งหมดก็มีความเสี่ยงตลอด ฉะนั้นในฐานะนักวิจัยเราจึงต้องคิดหาทางให้ประชาชนตื่นตัวต่อแผ่นดินไหวตลอดเวลาทั้งในรูปแบบการให้ความรู้ และการผลักดันร่างกฎหมาย เช่น การจัดทำมาตรการเชิงกฎหมายบังคับอาคารสูงที่จะก่อสร้างเกิน 15 ชั้นให้มีการออกแบบก่อสร้างต้านแผ่นดินไหวตาม พรบ.ควบคุมอาคารด้วยการนำของวิศวกรที่มีความรู้ชั้นสูง หรืออาคารที่สูงไม่เกิน 15 ชั้น ไม่เข้าข่าย พรบ.ควบคุมอาคาร ก็ต้องสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานเช่นกัน”
http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9590000044720