อีก 50 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 7 จริงหรือไม่ ?

ข่าวจาก http://morning-news.bectero.com/regional/22-Apr-2016/78153



ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวระบุอีก 50 ปีข้างหน้า ไทยมีความเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ที่รอยเลื่อนแม่จัน
ขณะที่โครงสร้างเขื่อนต่างๆทั่วไทยยังแข็งแรงมั่นใจไม่พังหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า

ปัจจุบันไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลัง พาดผ่านประเทศตั้งแต่ภาคเหนือไปจรดภาคใต้ทั้งหมด 14 แห่ง
แต่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือรอยเลื่อนแม่จัน ที่จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่
มีความยาวเกือบ 200 กิโลเมตร จากการศึกษาพบว่ารอยเลื่อนนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 มาแล้ว
เมื่อประมาณ 1500 ปีก่อน และมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก หากมีตัวกระตุ้นจากรอยเลื่อนแม่น้ำแดงที่ประเทศจีน
ซึ่งถือเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างความรุนแรงได้ถึงขนาด 7.5 – 8

สอดคล้องกับงานวิจัยของ รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ที่ระบุว่า
ทั่วโลกมีรอยเลื่อน 5-6 แห่งที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ในอีก 50-100 ปีข้างหน้า
โดยเฉพาะที่รอยเลื่อนสะกายในพม่า ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ทรงพลัง พาดผ่านบริเวณเมืองสำคัญต่างๆ
เช่น ย่างกุ้ง เนปิดอร์ และอีกหลายเมือง หากเกิดขึ้นจะทำให้พม่าเสียหายทั้งประเทศ
และจะส่งผลกระทบถึงไทยโดยเฉพาะภาคเหนือ และกรุงเทพฯจะสามารถรับรู้การสั่นไหวได้

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะมีรอยเลื่อนที่มีพลังหลายแห่ง
และเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวได้ทุกเมื่อ ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า อาจจะส่งผลต่อเขื่อน
ซึ่งมีมากถึง 5 พันเขื่อนทั่วประเทศ แต่จากการศึกษาพบว่า ทุกเขื่อนในไทยและทั่วโลก
ต่างถูกออกแบบให้สามารถต้านทานภัยพิบัติ ทั้งแผ่นดินไหว หรือน้ำท่วม

ซึ่งก่อนก่อสร้าง ทุกครั้งจะต้องมีการสำรวจว่าทับรอยเลื่อนหรือไม่ หรือหากทับ
จะต้องเป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีพลังจึงจะก่อสร้างได้ ในขณะที่โครงสร้างทุกแห่ง
มีการออกแบบที่ได้มาตรฐานสามารถรองรับการสั่นไหวได้ แต่ทั้งนี้
ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลและการตรวจสอบสภาพความพร้อมของเขื่อนอยู่เสมอ
ซึ่งจากสถิติการภิบัติของเขื่อนจากเหตุแผ่นดินไหวทั้งหมด 240 เขื่อนทั่วโลก
พบว่ามีเพียง1เขื่อนเท่านั้น ที่พังเนื่องจากเป็นโครงสร้างแบบเก่า
ฉะนั้นความเป็นไปได้ที่เขื่อนจะแตกหรือพังจากแผ่นดินไหวน้อยมาก
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ธรณีวิทยา รายการข่าว แผ่นดินไหว เขื่อน
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่