สถานะของผู้นำตามระบบอิสลาม
โดย... อาจารย์วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ
ความสำคัญ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกันนี้ จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบทางสังคมขึ้น เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ข่มเหง หรือทำร้ายกันและกันระหว่างผู้คนในสังคม ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ดำเนินการให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ก็คือ ผู้นำของสังคมนั้น ๆ
สถาบันการปกครองในสังคมทุกสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็น และหากสังคมทั่วไปจำเป็นต้องอาศัยสถาบันการปกครองเพื่อควบคุมผู้คนให้ปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผน และให้การเสนอสนองผลประโยชน์ระหว่างกัน เป็นไปด้วยความยุติธรรมแล้ว สังคมมุสลิมยิ่งจำเป็นต้องมีสถาบันการปกครองของตนเองมากกว่านั้น เนื่องจากระเบียบทางสังคมและกฎกติกาต่าง ๆ ในสังคมมุสลิม ต้องเป็นปัจจัยที่นำไปสู่เป้าหมายที่ไกลและล้ำลึกมากกว่าสังคมทั่วไป กล่าวคือต้องนำไปสู่ความพึงพระทัยแห่งองค์อัลลอฮ์ เจ้านั่นเอง
“และเราไม่ได้รังสรรค์มนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการอื่นใด นอกจากจะให้พวกเขาแสดงความจงรักภักดีต่อเราเท่านั้น”
(อัซซาริยาต : 56)
สถาบันการปกครองในสังคมมุสลิมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งในแง่ของปัญญาและหลักธรรมแห่งศาสนา ทั้งนี้ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านระบุถึงหน้าที่ของมุสลิมในสังคม ความว่า
“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกท่านจงภักดีต่ออัลลอฮ์ จงภักดีต่อศาสนทูตและผู้นำของพวกเจ้า”
(อันนิซาอฺ : 59)
“และหากว่าพวกเขาให้มันกลับไปยังเราะซูล และยังผู้ปกครองการงานในหมู่พวกเขาแล้ว แน่นอนบรรดาผู้วินิจฉัยมันในหมู่พวกเขาก็ย่อมรู้มันได้”
(อันนิซาอฺ : 83)
ความสำคัญของผู้นำยังปรากฏในวจนะแห่งศาสดาหลายที่หลายตอน เช่น ในประมวลวจนะฉบับอิหม่ามอะห์มัด ความว่า
“การอยู่ร่วมกันของบุคคลสามคนในดินแดนเปลี่ยวร้าง จะไม่เป็นที่อนุมัติ ยกเว้นเมื่อพวกเขาตั้งคนใดคนหนึ่งขึ้นเป็นผู้นำ”
สถานะของผู้นำในระบบอิสลาม
โดย... อาจารย์วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ
ความสำคัญ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกันนี้ จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบทางสังคมขึ้น เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ข่มเหง หรือทำร้ายกันและกันระหว่างผู้คนในสังคม ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ดำเนินการให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ก็คือ ผู้นำของสังคมนั้น ๆ
สถาบันการปกครองในสังคมทุกสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็น และหากสังคมทั่วไปจำเป็นต้องอาศัยสถาบันการปกครองเพื่อควบคุมผู้คนให้ปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผน และให้การเสนอสนองผลประโยชน์ระหว่างกัน เป็นไปด้วยความยุติธรรมแล้ว สังคมมุสลิมยิ่งจำเป็นต้องมีสถาบันการปกครองของตนเองมากกว่านั้น เนื่องจากระเบียบทางสังคมและกฎกติกาต่าง ๆ ในสังคมมุสลิม ต้องเป็นปัจจัยที่นำไปสู่เป้าหมายที่ไกลและล้ำลึกมากกว่าสังคมทั่วไป กล่าวคือต้องนำไปสู่ความพึงพระทัยแห่งองค์อัลลอฮ์ เจ้านั่นเอง
“และเราไม่ได้รังสรรค์มนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการอื่นใด นอกจากจะให้พวกเขาแสดงความจงรักภักดีต่อเราเท่านั้น”
(อัซซาริยาต : 56)
สถาบันการปกครองในสังคมมุสลิมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งในแง่ของปัญญาและหลักธรรมแห่งศาสนา ทั้งนี้ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านระบุถึงหน้าที่ของมุสลิมในสังคม ความว่า
“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกท่านจงภักดีต่ออัลลอฮ์ จงภักดีต่อศาสนทูตและผู้นำของพวกเจ้า”
(อันนิซาอฺ : 59)
“และหากว่าพวกเขาให้มันกลับไปยังเราะซูล และยังผู้ปกครองการงานในหมู่พวกเขาแล้ว แน่นอนบรรดาผู้วินิจฉัยมันในหมู่พวกเขาก็ย่อมรู้มันได้”
(อันนิซาอฺ : 83)
ความสำคัญของผู้นำยังปรากฏในวจนะแห่งศาสดาหลายที่หลายตอน เช่น ในประมวลวจนะฉบับอิหม่ามอะห์มัด ความว่า
“การอยู่ร่วมกันของบุคคลสามคนในดินแดนเปลี่ยวร้าง จะไม่เป็นที่อนุมัติ ยกเว้นเมื่อพวกเขาตั้งคนใดคนหนึ่งขึ้นเป็นผู้นำ”