โคตรรวย! คือคำที่หลายคนคงอุทานอยู่ในใจ เมื่อได้ยินข่าวการซื้อตัวนักเตะชื่อดังของสโมสรจีน ที่ทำให้วงการฟุตบอลทั่วโลก ต้องหันมาจับตาลีกฟุตบอลของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ด้วยเงินทุนจากนักธุรกิจพันล้านที่อยู่เบื้องหลังสโมสรฟุตบอลในลีกจีนนั้น ช่างเย้ายวนให้นักเตะหลายคน หันมาค้าแข้งในลีกไชนีส ซุปเปอร์ ลีก (Chinese Super League) มากขึ้น อาทิ แจ็คสัน มาร์ติเนซ อเล็กซ์ เตเซร่า เดมบ้า บา ทิม เคฮิลล์ ฯลฯ และยังมีข่าวว่าสโมสรจีนพร้อมที่จะทุ่มเงินมหาศาล เพื่อดึงตัวนักเตะชื่อดังจากลีกยุโรปอีกมากมายมาร่วมทีม
ไม่ใช่แค่วงการฟุตบอลในประเทศเท่านั้น จีนยังตั้งเป้าหมายใหญ่ในการพัฒนาประเทศให้เป็นมหาอำนาจด้านกีฬาฟุตบอลด้วยการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในอีก 15 ปีข้างหน้า! ในขณะทึ่นอกสนาม กลุ่มนักธุรกิจจีนได้เริ่มสร้างชื่อในวงการฟุตบอล ด้วยการเข้าซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลในยุโรป ในทางกลับกัน จำนวนประชากรที่มีมากกว่าพันล้านคน ทำให้จีนกลายเป็นแหล่งทำเงินให้กับสโมสรในยุโรปเช่นกัน ซึ่งช่วงไม่กี่ปีมานี้ หลายๆคนคงได้ยินข่าวสโมสรชื่อดังหลายแห่งบินลัดฟ้าไปเตะอุ่นเครื่องที่จีนกันบ่อยครั้ง
มองจากภายนอก วงการฟุตบอลจีนช่างดูมีอนาคตที่สดใสด้วยเงินทุนมหาศาล แต่ถ้ามองย้อนกลับไปในอดีต เราจะพบว่า กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ เส้นทางของฟุตบอลจีนนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเหมือนภาพที่เราเห็นในปัจจุบัน
ก่อตั้งประเทศ วางรากฐานกีฬา จุดเริ่มฟุตบอลลีก
ถ้าพูดถึงฟุตบอลกับประเทศจีน หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยสักเท่าไหร่ เพราะถ้าพูดถึงกีฬาฟุตบอลคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงประเทศอังกฤษที่คิดค้นและวางรากฐานให้กับกีฬาฟุตบอลสมัยใหม่มากกว่าจีน แต่แท้จริงแล้วจีนมีการเล่นเกมที่คล้ายการเล่นฟุตบอลมาเกือบ 2 พันปีแล้ว โดยมีเรียกชื่อว่า Tsu’ Chu แปลว่า การเตะบอล ซึ่งเป็นการเล่นของทหารในระหว่างการฝึกซ้อม โดยใช้ลูกบอลที่ทำจากหนังสัตว์ มีรูปแบบการเล่นที่คล้ายการแข่งฟุตบอลในปัจจุบัน แต่ต่างกันที่ความสูงของประตูของการเล่น Tsu’ Chu ที่สูงจากพื้นถึง 30 ฟุต
แม้ว่าจีนจะมีการเล่นเกมที่คล้ายฟุตบอลมากว่า 2 พันปี แต่กว่าที่ฟุตบอลจีนจะเริ่มมีการแข่งขันอย่างเป็นทางการนั้น ก็ต้องรอจนถึงปี 1951
การเล่น Tsu’ Chu
จีนเป็นประเทศที่ผ่านการทำสงครามมายาวนาน ทั้งสงครามภายนอกและภายในประเทศ จนกระทั่งในปี 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ได้ประกาศสถาปนาประเทศจีนขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China)
เหมาเจ๋อตง ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน
การบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้จีนมีสภาพการเมืองที่มั่นคงต่างจากในอดีตที่มีการต่อสู้และความขัดแย้งทางการเมืองมายาวนาน ทำให้ในปี 1951 การแข่งขันฟุตบอลระดับชาติในจีนมีขึ้นครั้งแรกในเมืองเทียนจิน (Tainjin) ซึ่งมีทีมฟุตบอลจากภูมิภาคต่างๆของจีนส่งทีมเข้าแข่งขันกันอย่างคึกคัก
ในช่วงเวลาของการก่อร่างสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน การพัฒนากีฬาได้รับการบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาประเทศ 5 ปี โดยมุมมองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเห็นว่า กีฬาจะช่วยสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้กับประชาชนที่มีความแตกต่างทางด้านชนชาติพันธุ์ (จีนมีประชากรจำนวน 55 ชนชาติอาศัยอยู่ในประเทศ) และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจหลังจากที่ต้องเจอกับความบอบช้ำจากสงครามครั้งแล้วครั้งเล่า
ดังนั้น ในปี 1952 คณะกรรมการกีฬาแห่งชาติ หรือ NSC (The National Sports Commission) จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา โดยรับหน้าที่วางแผนนโยบายด้านกีฬาในประเทศ ทั้งการสร้างทักษะด้านกีฬาให้กับเยาวชนและให้เงินทุนสนับสนุนวงการกีฬาประเภทต่างๆ การรับความช่วยเหลือจากประเทศสหภาพโซเวียต (ในช่วงเวลานั้น จีนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมเหมือนกัน)) ที่ส่งผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนานักกีฬาและผู้ฝึกสอนจีน สำหรับกีฬาฟุตบอลทางคณะกรรมการมีนโยบายที่สำคัญ อาทิ การเชิญทีมฟุตบอลฮังการีมาสอนทักษะฟุตบอลในจีน พร้อมทั้งส่งนักเตะจีนไปฝึกซ้อมที่ฮังการี การเริ่มต้นระบบการแข่งฟุตบอลลีกที่มี 2 ดิวิชั่นในปี 1956 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้จีนมีสโมสรฟุตบอลมากถึง 154 สโมสรในปี 1958 (มากกว่าปี 1951 ถึง 17 เท่า)
ในช่วงทศวรรษ 1950 -1960 คณะกรรมการกีฬา ผู้บริหาร ประชาชนในช่วงเวลานั้น มีความมั่นใจว่าทีมฟุตบอลของพวกเขาจะเป็นที่หนึ่งแห่งเอเชีย แต่ทว่าความเป็นจริงนั้นไม่ง่ายเหมือนความฝัน เมื่อวงการฟุตบอลจีนต้องเจอกับอุปสรรคครั้งสำคัญ
การก้าวกระโดดที่ผิดพลาด วงการฟุตบอลถึงจุดต่ำสุด
วงการฟุตบอลจีนในช่วงทศวรรษที่ 1960 ต้องเจอกับอุปสรรคที่ส่งผลให้การพัฒนาต้องหยุดชะงักลงด้วย 2 เหตุการณ์สำคัญ
เหตุการณ์แรก เกิดขึ้นในปี 1958 ด้วยเป้าหมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน เหมาเจ๋อตงจึงได้คิดค้นนโยบายก้าวกระโดดไกล (Great Leap Forward) ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาภาคการผลิตอุตสาหกรรมให้แข็งแกร่ง โดยเน้นไปที่การผลิตเหล็กกล้า และส่งเสริมให้ประชาชนช่วยกันเพิ่มการผลิตเหล็กกล้าให้มากขึ้น นโยบายก้าวกระโดดฟังดูสวยหรู สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับพังทลายลง เพราะขาดการวางแผนที่ดี เหล็กกล้าที่ผลิตได้มีจำนวนมากก็จริง แต่ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้จีนสูญเสียทั้งเงินทุนและเวลา
เมื่อเศรษฐกิจแย่ ประชาชนขาดแคลนทั้งเงินและอาหาร ผสมผสานกับความขัดแย้งทางการฑูตกับสหภาพโซเวียตซึ่งงดความช่วยเหลือในทุกๆด้านกับจีน (รวมถึงวงการกีฬา) ทำให้ในช่วงเวลานั้น การพัฒนาฟุตบอลจีนต้องหยุดชะงักลง
เหตุการณ์ที่สอง ปัญหาเศรษฐกิจว่าแย่แล้ว แต่ปัญหาทางการเมืองนั้นยิ่งแย่กว่า เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้นำพรรคเหมาเจ๋อตงและผู้บริหารพรรค ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้เหมาเจ๋อตงปลุกระดมมวลชนให้เกิดการ “ปฎิวัติวัฒนธรรม (cultural revolution)” ในปี 1966
เหมาเจ๋อตุงปลุกระดมมวลชนด้วยเป้าหมายที่จะนำพาประเทศเข้าสู่สังคมนิยมอย่างเต็มตัว และกวาดล้างประชาชนที่มีความคิดแตกต่างจากรัฐบาลว่าเป็นต้นเหตุทำให้จีนไม่พัฒนา การปลุกระดมของเขาได้ผลดีเยี่ยม จนเกิดกลุ่มผู้พิทักษ์แดง (Red Guard) ที่คอยจับกุม ทำร้ายประชาชนจีนที่มีความคิดเห็นต่าง สำหรับวงการฟุตบอล มีนักกีฬา โค้ช ถูกจับกุมและฆ่าทิ้งเป็นจำนวนมาก
กลุ่มผู้พิทักษ์แดง (Red Guard) ในช่วงปฎิวัติวัฒนธรรม
ความขัดแย้งทางการเมือง จนกระทั่งนำไปสู่การทำร้ายเข่นฆ่าประชาชน ทำให้อนาคตของฟุตบอลจีนในขณะนั้นช่างดูมืดหม่นไร้หนทาง
เปิดประตูสู่ความทันสมัย ฟุตบอลลีกเริ่มพัฒนา
แสงสว่างส่องแสงมายังวงการฟุตบอลจีนอีกครั้ง เมื่อเหมา เจ่อ ตุงเสียชีวิตในปี 1976 จีนภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่ เติ้งเสี่ยวผิง ได้มีนโยบายสำคัญที่จะนำพาประเทศก้าวข้ามความเจ็บปวดในอดีตด้วยการปฏิรูปและเปิดประเทศทำการค้ากับต่างชาติมากขึ้น หลังจากที่ปิดกั้นตัวเองคบหาแต่กับประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมมาตั้งแต่ปี 1949
นโยบายเปิดประเทศของเติ้งเสี่ยวผิง ทำให้เศรษฐกิจของจีนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะเปิดกว้างเพื่อทำการค้าแล้ว จีนยังเปิดรับความรู้จากต่างประเทศ เพื่อนำมาพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ รวมไปถึงกีฬาฟุตบอล
แผนการพัฒนากีฬาฟุตบอล ได้รับการบรรจุเป็นนโยบายสำคัญของ NSC ในปี 1979 ด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารของคณะกรรมการ โดยมุ่งหวังให้ฟุตบอลจีนประสบความสำเร็จในเวทีการแข่งระดับโลก หลังจากที่ต้องหยุดชะงักลงด้วยปัญหาการเมืองในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม โดยเน้นไปที่การสร้างทักษะให้กับเยาวชน อาทิ ลงทุนสร้างศูนย์ฝึกกีฬาเยาวชน จัดการแข่งฟุตบอลถ้วยเยาวชนในระดับอายุต่างๆ การเปิดรับความรู้จากโค้ชชาวต่างชาติ ฯลฯ
Klaus Schlappner ผู้จัดการทีมชาวเยอรมัน (ซ้าย) ชาวต่างชาติคนแรกที่เข้ามาคุมทีมชาติจีน
การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนในจีน
ในวงการฟุตบอลอาชีพ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รูปแบบของการทำธุรกิจมากขึ้น สโมสรในลีกมีกลุ่มธุรกิจจากเอกชนมาลงทุน ต่างจากเมื่อก่อนที่สโมสรจะมีเงินลงทุนจากรัฐบาลเป็นหลัก โดยในปี 1984 บริษัทยา baiyunshan pharmaceutical group นับเป็นบริษัทแรกที่เข้ามาลงในวงการฟุตบอลจีน ด้วยการเป็นสปอนเซอร์ให้สโมสรกวางโจว (Guangzhou Football Team) นอกจากนั้น NSC ยังได้ร่างกฎระเบียบเรื่องค่าจ้างของนักฟุตบอลให้มีมาตรฐาน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมฟุตบอลให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1994 ลีกฟุตบอลอาชีพเจีย-เอลีก (Jia-A League) ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ และมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาจนเป็นไชนีส ซุปเปอร์ ลีก ในปัจจุบัน
โลโก้ไชนีส ซุปเปอร์ ลีก
เส้นทางฟุตบอลจีน มุ่งทะยานสู่มหาอำนาจฟุตบอลโลก
โคตรรวย! คือคำที่หลายคนคงอุทานอยู่ในใจ เมื่อได้ยินข่าวการซื้อตัวนักเตะชื่อดังของสโมสรจีน ที่ทำให้วงการฟุตบอลทั่วโลก ต้องหันมาจับตาลีกฟุตบอลของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ด้วยเงินทุนจากนักธุรกิจพันล้านที่อยู่เบื้องหลังสโมสรฟุตบอลในลีกจีนนั้น ช่างเย้ายวนให้นักเตะหลายคน หันมาค้าแข้งในลีกไชนีส ซุปเปอร์ ลีก (Chinese Super League) มากขึ้น อาทิ แจ็คสัน มาร์ติเนซ อเล็กซ์ เตเซร่า เดมบ้า บา ทิม เคฮิลล์ ฯลฯ และยังมีข่าวว่าสโมสรจีนพร้อมที่จะทุ่มเงินมหาศาล เพื่อดึงตัวนักเตะชื่อดังจากลีกยุโรปอีกมากมายมาร่วมทีม
ไม่ใช่แค่วงการฟุตบอลในประเทศเท่านั้น จีนยังตั้งเป้าหมายใหญ่ในการพัฒนาประเทศให้เป็นมหาอำนาจด้านกีฬาฟุตบอลด้วยการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในอีก 15 ปีข้างหน้า! ในขณะทึ่นอกสนาม กลุ่มนักธุรกิจจีนได้เริ่มสร้างชื่อในวงการฟุตบอล ด้วยการเข้าซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลในยุโรป ในทางกลับกัน จำนวนประชากรที่มีมากกว่าพันล้านคน ทำให้จีนกลายเป็นแหล่งทำเงินให้กับสโมสรในยุโรปเช่นกัน ซึ่งช่วงไม่กี่ปีมานี้ หลายๆคนคงได้ยินข่าวสโมสรชื่อดังหลายแห่งบินลัดฟ้าไปเตะอุ่นเครื่องที่จีนกันบ่อยครั้ง
มองจากภายนอก วงการฟุตบอลจีนช่างดูมีอนาคตที่สดใสด้วยเงินทุนมหาศาล แต่ถ้ามองย้อนกลับไปในอดีต เราจะพบว่า กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ เส้นทางของฟุตบอลจีนนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเหมือนภาพที่เราเห็นในปัจจุบัน
ก่อตั้งประเทศ วางรากฐานกีฬา จุดเริ่มฟุตบอลลีก
ถ้าพูดถึงฟุตบอลกับประเทศจีน หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยสักเท่าไหร่ เพราะถ้าพูดถึงกีฬาฟุตบอลคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงประเทศอังกฤษที่คิดค้นและวางรากฐานให้กับกีฬาฟุตบอลสมัยใหม่มากกว่าจีน แต่แท้จริงแล้วจีนมีการเล่นเกมที่คล้ายการเล่นฟุตบอลมาเกือบ 2 พันปีแล้ว โดยมีเรียกชื่อว่า Tsu’ Chu แปลว่า การเตะบอล ซึ่งเป็นการเล่นของทหารในระหว่างการฝึกซ้อม โดยใช้ลูกบอลที่ทำจากหนังสัตว์ มีรูปแบบการเล่นที่คล้ายการแข่งฟุตบอลในปัจจุบัน แต่ต่างกันที่ความสูงของประตูของการเล่น Tsu’ Chu ที่สูงจากพื้นถึง 30 ฟุต
แม้ว่าจีนจะมีการเล่นเกมที่คล้ายฟุตบอลมากว่า 2 พันปี แต่กว่าที่ฟุตบอลจีนจะเริ่มมีการแข่งขันอย่างเป็นทางการนั้น ก็ต้องรอจนถึงปี 1951
การเล่น Tsu’ Chu
จีนเป็นประเทศที่ผ่านการทำสงครามมายาวนาน ทั้งสงครามภายนอกและภายในประเทศ จนกระทั่งในปี 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ได้ประกาศสถาปนาประเทศจีนขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China)
เหมาเจ๋อตง ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน
การบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้จีนมีสภาพการเมืองที่มั่นคงต่างจากในอดีตที่มีการต่อสู้และความขัดแย้งทางการเมืองมายาวนาน ทำให้ในปี 1951 การแข่งขันฟุตบอลระดับชาติในจีนมีขึ้นครั้งแรกในเมืองเทียนจิน (Tainjin) ซึ่งมีทีมฟุตบอลจากภูมิภาคต่างๆของจีนส่งทีมเข้าแข่งขันกันอย่างคึกคัก
ในช่วงเวลาของการก่อร่างสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน การพัฒนากีฬาได้รับการบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาประเทศ 5 ปี โดยมุมมองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเห็นว่า กีฬาจะช่วยสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้กับประชาชนที่มีความแตกต่างทางด้านชนชาติพันธุ์ (จีนมีประชากรจำนวน 55 ชนชาติอาศัยอยู่ในประเทศ) และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจหลังจากที่ต้องเจอกับความบอบช้ำจากสงครามครั้งแล้วครั้งเล่า
ดังนั้น ในปี 1952 คณะกรรมการกีฬาแห่งชาติ หรือ NSC (The National Sports Commission) จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา โดยรับหน้าที่วางแผนนโยบายด้านกีฬาในประเทศ ทั้งการสร้างทักษะด้านกีฬาให้กับเยาวชนและให้เงินทุนสนับสนุนวงการกีฬาประเภทต่างๆ การรับความช่วยเหลือจากประเทศสหภาพโซเวียต (ในช่วงเวลานั้น จีนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมเหมือนกัน)) ที่ส่งผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนานักกีฬาและผู้ฝึกสอนจีน สำหรับกีฬาฟุตบอลทางคณะกรรมการมีนโยบายที่สำคัญ อาทิ การเชิญทีมฟุตบอลฮังการีมาสอนทักษะฟุตบอลในจีน พร้อมทั้งส่งนักเตะจีนไปฝึกซ้อมที่ฮังการี การเริ่มต้นระบบการแข่งฟุตบอลลีกที่มี 2 ดิวิชั่นในปี 1956 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้จีนมีสโมสรฟุตบอลมากถึง 154 สโมสรในปี 1958 (มากกว่าปี 1951 ถึง 17 เท่า)
ในช่วงทศวรรษ 1950 -1960 คณะกรรมการกีฬา ผู้บริหาร ประชาชนในช่วงเวลานั้น มีความมั่นใจว่าทีมฟุตบอลของพวกเขาจะเป็นที่หนึ่งแห่งเอเชีย แต่ทว่าความเป็นจริงนั้นไม่ง่ายเหมือนความฝัน เมื่อวงการฟุตบอลจีนต้องเจอกับอุปสรรคครั้งสำคัญ
การก้าวกระโดดที่ผิดพลาด วงการฟุตบอลถึงจุดต่ำสุด
วงการฟุตบอลจีนในช่วงทศวรรษที่ 1960 ต้องเจอกับอุปสรรคที่ส่งผลให้การพัฒนาต้องหยุดชะงักลงด้วย 2 เหตุการณ์สำคัญ
เหตุการณ์แรก เกิดขึ้นในปี 1958 ด้วยเป้าหมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน เหมาเจ๋อตงจึงได้คิดค้นนโยบายก้าวกระโดดไกล (Great Leap Forward) ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาภาคการผลิตอุตสาหกรรมให้แข็งแกร่ง โดยเน้นไปที่การผลิตเหล็กกล้า และส่งเสริมให้ประชาชนช่วยกันเพิ่มการผลิตเหล็กกล้าให้มากขึ้น นโยบายก้าวกระโดดฟังดูสวยหรู สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับพังทลายลง เพราะขาดการวางแผนที่ดี เหล็กกล้าที่ผลิตได้มีจำนวนมากก็จริง แต่ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้จีนสูญเสียทั้งเงินทุนและเวลา
เมื่อเศรษฐกิจแย่ ประชาชนขาดแคลนทั้งเงินและอาหาร ผสมผสานกับความขัดแย้งทางการฑูตกับสหภาพโซเวียตซึ่งงดความช่วยเหลือในทุกๆด้านกับจีน (รวมถึงวงการกีฬา) ทำให้ในช่วงเวลานั้น การพัฒนาฟุตบอลจีนต้องหยุดชะงักลง
เหตุการณ์ที่สอง ปัญหาเศรษฐกิจว่าแย่แล้ว แต่ปัญหาทางการเมืองนั้นยิ่งแย่กว่า เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้นำพรรคเหมาเจ๋อตงและผู้บริหารพรรค ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้เหมาเจ๋อตงปลุกระดมมวลชนให้เกิดการ “ปฎิวัติวัฒนธรรม (cultural revolution)” ในปี 1966
เหมาเจ๋อตุงปลุกระดมมวลชนด้วยเป้าหมายที่จะนำพาประเทศเข้าสู่สังคมนิยมอย่างเต็มตัว และกวาดล้างประชาชนที่มีความคิดแตกต่างจากรัฐบาลว่าเป็นต้นเหตุทำให้จีนไม่พัฒนา การปลุกระดมของเขาได้ผลดีเยี่ยม จนเกิดกลุ่มผู้พิทักษ์แดง (Red Guard) ที่คอยจับกุม ทำร้ายประชาชนจีนที่มีความคิดเห็นต่าง สำหรับวงการฟุตบอล มีนักกีฬา โค้ช ถูกจับกุมและฆ่าทิ้งเป็นจำนวนมาก
กลุ่มผู้พิทักษ์แดง (Red Guard) ในช่วงปฎิวัติวัฒนธรรม
ความขัดแย้งทางการเมือง จนกระทั่งนำไปสู่การทำร้ายเข่นฆ่าประชาชน ทำให้อนาคตของฟุตบอลจีนในขณะนั้นช่างดูมืดหม่นไร้หนทาง
เปิดประตูสู่ความทันสมัย ฟุตบอลลีกเริ่มพัฒนา
แสงสว่างส่องแสงมายังวงการฟุตบอลจีนอีกครั้ง เมื่อเหมา เจ่อ ตุงเสียชีวิตในปี 1976 จีนภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่ เติ้งเสี่ยวผิง ได้มีนโยบายสำคัญที่จะนำพาประเทศก้าวข้ามความเจ็บปวดในอดีตด้วยการปฏิรูปและเปิดประเทศทำการค้ากับต่างชาติมากขึ้น หลังจากที่ปิดกั้นตัวเองคบหาแต่กับประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมมาตั้งแต่ปี 1949
นโยบายเปิดประเทศของเติ้งเสี่ยวผิง ทำให้เศรษฐกิจของจีนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะเปิดกว้างเพื่อทำการค้าแล้ว จีนยังเปิดรับความรู้จากต่างประเทศ เพื่อนำมาพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ รวมไปถึงกีฬาฟุตบอล
แผนการพัฒนากีฬาฟุตบอล ได้รับการบรรจุเป็นนโยบายสำคัญของ NSC ในปี 1979 ด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารของคณะกรรมการ โดยมุ่งหวังให้ฟุตบอลจีนประสบความสำเร็จในเวทีการแข่งระดับโลก หลังจากที่ต้องหยุดชะงักลงด้วยปัญหาการเมืองในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม โดยเน้นไปที่การสร้างทักษะให้กับเยาวชน อาทิ ลงทุนสร้างศูนย์ฝึกกีฬาเยาวชน จัดการแข่งฟุตบอลถ้วยเยาวชนในระดับอายุต่างๆ การเปิดรับความรู้จากโค้ชชาวต่างชาติ ฯลฯ
Klaus Schlappner ผู้จัดการทีมชาวเยอรมัน (ซ้าย) ชาวต่างชาติคนแรกที่เข้ามาคุมทีมชาติจีน
การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนในจีน
ในวงการฟุตบอลอาชีพ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รูปแบบของการทำธุรกิจมากขึ้น สโมสรในลีกมีกลุ่มธุรกิจจากเอกชนมาลงทุน ต่างจากเมื่อก่อนที่สโมสรจะมีเงินลงทุนจากรัฐบาลเป็นหลัก โดยในปี 1984 บริษัทยา baiyunshan pharmaceutical group นับเป็นบริษัทแรกที่เข้ามาลงในวงการฟุตบอลจีน ด้วยการเป็นสปอนเซอร์ให้สโมสรกวางโจว (Guangzhou Football Team) นอกจากนั้น NSC ยังได้ร่างกฎระเบียบเรื่องค่าจ้างของนักฟุตบอลให้มีมาตรฐาน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมฟุตบอลให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1994 ลีกฟุตบอลอาชีพเจีย-เอลีก (Jia-A League) ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ และมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาจนเป็นไชนีส ซุปเปอร์ ลีก ในปัจจุบัน
โลโก้ไชนีส ซุปเปอร์ ลีก