http://www.matichon.co.th/news/124405
เผยแพร่ 3 พ.ค. 59
พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า กรณีมีนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ และไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. … ในหมวดที่ 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 67 ที่ระบุว่า “รัฐพึงอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ในการอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา และการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจ และปัญญา และต้องมีมาตรการ และกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการ หรือกลไกดังกล่าวด้วย” นั้น การเขียนว่า “รัฐพึงส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา และการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท” หมายถึงเถรวาทในแบบไหน เพราะพุทธศาสนาเถรวาทมีความซับซ้อนหลากหลาย และแต่ละสำนักมีความแตกต่างกัน ทั้งแนวทางปฏิบัติ และวิธีคำสอน หากเขียนคำว่าพุทธศาสนาเถรวาทลงไปในรัฐธรรมนูญ จะต้องนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งในอนาคตแน่นอน ส่วนนิกายอื่นๆ ที่ไม่ใช่พุทธศาสนาเถรวาทจะดำเนินการอย่างไร รัฐบาลจะไม่ให้การอุปถัมภ์คุ้มครองหรือไม่
พระมหาไพรวัลย์กล่าวต่อว่า การเขียนพุทธศาสนาเถรวาทไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นการชักนำพระพุทธศาสนาให้เป็นเครื่องมือในการปราบปรามทำลายความหลากหลายของศาสนาพุทธเถรวาท ปัญหาที่เห็นชัดคือหากตีความคำสอนของบางสำนัก รัฐบาลอาจใช้ช่องทางนี้เพื่อเล่นงานสำนักเถรวาทที่เห็นต่างกับรัฐ หรืออยู่ในฝ่ายที่รัฐไม่พึงพอใจหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าตั้งคำถามกลับไปถึงผู้ร่างกฎหมาย ดังนั้น ไม่ควรระบุ “พุทธศาสนาเถรวาท” ลงไปในร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึง ไม่ควรระบุคำว่า “พระพุทธศาสนา” ลงไปด้วย เพราะอาจเกิดปัญหาได้ สิ่งที่สำคัญสำหรับการร่างกฎหมายเกี่ยวกับศาสนา รัฐควรให้เสรีภาพในการนับถือศาสนากับพลเมืองอย่างเท่าเทียม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา
“ส่วนที่ระบุว่าต้องมีมาตรการ และกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนานั้น แล้วการกระทำอย่างไรคือการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาในแบบที่รัฐต้องการให้เป็นเท่านั้นหรือ จากการตีความถ้อยคำดังกล่าว แสดงว่าหากมีสำนักใดสำนักหนึ่งเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบที่รัฐไม่ถูกใจ รัฐจะอ้างว่าเป็นการบ่อนทำลายศาสนาเพื่อมาจัดการใช่หรือไม่ สรุปแล้วร่างกฎหมายมาตรา 67 ตีความได้กว้าง ต้องมีปัญหาตามมาในอนาคต ทั้งนี้ พุทธศาสนาเถรวาทอาจตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ส่วนศาสนาอื่นต้องตกเป็นพลเมืองชั้น 2 ที่รัฐไม่ให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาตลอด ให้ศาสนาพุทธแยกออกจากรัฐ เพราะหากรัฐมากำกับดูแลศาสนา ปัญหาจะเพิ่มมากขึ้น” พระมหาไพรวัลย์กล่าว
บรรจุ “พุทธศาสนาเถรวาท” ไว้ในรัฐธรรมนูญ
เผยแพร่ 3 พ.ค. 59
พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า กรณีมีนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ และไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. … ในหมวดที่ 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 67 ที่ระบุว่า “รัฐพึงอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ในการอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา และการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจ และปัญญา และต้องมีมาตรการ และกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการ หรือกลไกดังกล่าวด้วย” นั้น การเขียนว่า “รัฐพึงส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา และการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท” หมายถึงเถรวาทในแบบไหน เพราะพุทธศาสนาเถรวาทมีความซับซ้อนหลากหลาย และแต่ละสำนักมีความแตกต่างกัน ทั้งแนวทางปฏิบัติ และวิธีคำสอน หากเขียนคำว่าพุทธศาสนาเถรวาทลงไปในรัฐธรรมนูญ จะต้องนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งในอนาคตแน่นอน ส่วนนิกายอื่นๆ ที่ไม่ใช่พุทธศาสนาเถรวาทจะดำเนินการอย่างไร รัฐบาลจะไม่ให้การอุปถัมภ์คุ้มครองหรือไม่
พระมหาไพรวัลย์กล่าวต่อว่า การเขียนพุทธศาสนาเถรวาทไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นการชักนำพระพุทธศาสนาให้เป็นเครื่องมือในการปราบปรามทำลายความหลากหลายของศาสนาพุทธเถรวาท ปัญหาที่เห็นชัดคือหากตีความคำสอนของบางสำนัก รัฐบาลอาจใช้ช่องทางนี้เพื่อเล่นงานสำนักเถรวาทที่เห็นต่างกับรัฐ หรืออยู่ในฝ่ายที่รัฐไม่พึงพอใจหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าตั้งคำถามกลับไปถึงผู้ร่างกฎหมาย ดังนั้น ไม่ควรระบุ “พุทธศาสนาเถรวาท” ลงไปในร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึง ไม่ควรระบุคำว่า “พระพุทธศาสนา” ลงไปด้วย เพราะอาจเกิดปัญหาได้ สิ่งที่สำคัญสำหรับการร่างกฎหมายเกี่ยวกับศาสนา รัฐควรให้เสรีภาพในการนับถือศาสนากับพลเมืองอย่างเท่าเทียม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา
“ส่วนที่ระบุว่าต้องมีมาตรการ และกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนานั้น แล้วการกระทำอย่างไรคือการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาในแบบที่รัฐต้องการให้เป็นเท่านั้นหรือ จากการตีความถ้อยคำดังกล่าว แสดงว่าหากมีสำนักใดสำนักหนึ่งเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบที่รัฐไม่ถูกใจ รัฐจะอ้างว่าเป็นการบ่อนทำลายศาสนาเพื่อมาจัดการใช่หรือไม่ สรุปแล้วร่างกฎหมายมาตรา 67 ตีความได้กว้าง ต้องมีปัญหาตามมาในอนาคต ทั้งนี้ พุทธศาสนาเถรวาทอาจตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ส่วนศาสนาอื่นต้องตกเป็นพลเมืองชั้น 2 ที่รัฐไม่ให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาตลอด ให้ศาสนาพุทธแยกออกจากรัฐ เพราะหากรัฐมากำกับดูแลศาสนา ปัญหาจะเพิ่มมากขึ้น” พระมหาไพรวัลย์กล่าว