การอบรมขัดเกลาสังคม ด้วยการแสดงพฤติกรรมส่วนตัว
การทำหน้าที่ในการขัดเกลาสังคม และกระบวนการขัดเกลา ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอไปที่การอ้างการศึกษา เกี่ยวกับกฎหมายและหน้าที่พลเมือง ที่พูดถึงสถาบันทางสังคม และสถานภาพ. สถาบันแรกๆที่ควรเข้าใจ คือ สถาบันครอบครัว ส่วนสถานภาพนั้นก็คือ สถานภาพที่เรียกว่า สถานภาพบุคคล
◘ สถาบันครอบครัว หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตรและความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องทางสังคมอันเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญมากที่สุดของคน โดยสัญลักษณ์ สถานภาพต่างๆ เช่น พ่อ แม่ ลูก หลาน ลุง ป้า น้า อา เป็นอาทิ ก่อนที่จะมี ครู ทหาร ตำรวจ หมอ เกษตรกร และศิลปิน ฯ และสถาบันที่เกิดจากสังคม
◘ โครงสร้างของสังคมเป็นโคลงร่างความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ที่ยึดเหนี่ยวกันเหมือนเครื่องจักรเครื่องยนต์ ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ทุกคนในสังคมเป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าสถานะทางสังคม. และสถานภาพบุคคล ก็คือ สถานภาพทางสังคม แม้บุคคลที่ไม่มีบทบาทใดใดเลยทางสังคม ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า บุคคลนั้น ไม่มีสถานภาพทางสังคม เพราะการไม่มีบทบาทก็ถือว่า เป็นการอบรมและขัดเกลาสังคมอย่างหนึ่ง
การทำหน้าที่ในการขัดเกลาสังคม และกระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้เกิดขึ้นในทุกองค์กรทางสังคมในการอบรมกล่อมเกลาให้สมาชิกใหม่ได้รับรู้และกระทำตามกรอบเกณฑ์ของสังคม ในที่นี้ได้จำแนกองค์กรที่ทำหน้าที่ ดังนี้.
1. ครอบครัว เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม โดยเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งครอบครัวจะทำหน้าที่อบรมสั่งสอนสมาชิกให้เป็นพลเมืองดีปฏิบัติตามกฎเกณฑ์แบบแผนที่สังคมเป็นผู้กำหนด จึงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่สุดในการขัดเกลาทางสังคมในการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้กับสมาชิกในสังคมเพื่อให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ
2. โรงเรียน ภาระหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคมที่ต่อเนื่องจากครอบครัวก็คือโรงเรียนที่สังคมจัดตั้งขึ้นเพื่อสั่งสอนความรู้ และถ่ายทอดวิทยาการรวมถึงศีลธรรมจรรยาต่างๆ ให้แก่สมาชิกในสังคม
3. กลุ่มเพื่อน เมื่อสมาชิกในสังคมเติบโตขึ้นมา กลุ่มเพื่อนจะมีบทบาทที่สำคัญต่อการขัดเกลาทางสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลเนื่องจากการลอกเลียนแบบกันภายในกลุ่ม
4. สถาบันทางศาสนา ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของสมาชิกในสังคม ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีและมีศีลธรรมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้นสถาบันศาสนาจึงมีความสำคัญจึงมีบทบาทสำคัญต่อสมาชิกในสังคมให้เป็นผู้ประพฤติดีอยู่ในกรอบของสังคม
5. สื่อมวลชน มีบทบาทที่สำคัญ ในการเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ ไปสู่สมาชิกในสังคมอย่างทั่วถึงทำให้สมาชิกได้รับรู้ข่าวสารและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างถูกต้องมีความเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเองอย่างมีวิจารณญาณ
ในที่นี่จะขอกล่าวถึงบทบาทของศาสนคำสอน และการแสดงพฤติกรรมส่วนตัว จนกลายเป็นเหตุการณ์ของการขัดเกลาทางสังคม ตัวอย่างเช่น การถือธุดงค์เข้มข้น ในการเนสัชชิก และถืออยู่ป่าช้านิสัย ด้วยการไม่ฉันเนื้อฉันปลา จนกลายเป็นนักมังสวิรัติ เป็นต้น มีเหตุการณ์เล่า ว่า พระโลกนาถ (ซัลวาโตเล ซิโอฟฟี) พระนิกายเถรวาทชาวอิตาลี รวบรวมการเดินทางจาริกเพื่อการฝึกฝนและการศึกษาของชาวพุทธ สำหรับกลุ่มที่เรียกชื่อกันว่า Lion-hearted Bhikkhus and Samaneras ในสมัยนั้น ว่าด้วยการแสดงพฤติกรรมส่วนตัวของนักบวชนั้นเอง ทำให้ผู้คนมาร่วมกันปฏิญาณตนเป็นนักมังสวิรัติมากมาย ซึ่งต้องนับว่าเป็นการอบรมและขัดเกลาสังคม. ด้วยการแสดงพฤติกรรมส่วนตัวนั่นเอง กลับเป็นบทบาทที่สำคัญในเวลาต่อมาต่อกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท
บทสรุปถึงบทบาทหน้าที่ขัดเกลาสังคม แม้จะเป็นด้วยการแสดงพฤติกรรมส่วนตัว แต่ในข้อนี้เองก็อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของสถาบันทางศาสนา ฯ
Photos : DescriptionFamily …(commons-wikimedia)
Stories : รวบรวมด้วยกับเนื้อหาข้อมูล วิชา: กฏหมาย สังคมและวัฒนธรรม ห้องเรียนควิปเปอร์ไทยแลนด์
พฤติกรรมส่วนรวมแบบทั่วไป อาจไม่ใช่วิถีทางที่ดำรงไว้ซึ่งการอบรมและการขัดเกลาทางสังคม.
การทำหน้าที่ในการขัดเกลาสังคม และกระบวนการขัดเกลา ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอไปที่การอ้างการศึกษา เกี่ยวกับกฎหมายและหน้าที่พลเมือง ที่พูดถึงสถาบันทางสังคม และสถานภาพ. สถาบันแรกๆที่ควรเข้าใจ คือ สถาบันครอบครัว ส่วนสถานภาพนั้นก็คือ สถานภาพที่เรียกว่า สถานภาพบุคคล
◘ สถาบันครอบครัว หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตรและความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องทางสังคมอันเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญมากที่สุดของคน โดยสัญลักษณ์ สถานภาพต่างๆ เช่น พ่อ แม่ ลูก หลาน ลุง ป้า น้า อา เป็นอาทิ ก่อนที่จะมี ครู ทหาร ตำรวจ หมอ เกษตรกร และศิลปิน ฯ และสถาบันที่เกิดจากสังคม
◘ โครงสร้างของสังคมเป็นโคลงร่างความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ที่ยึดเหนี่ยวกันเหมือนเครื่องจักรเครื่องยนต์ ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ทุกคนในสังคมเป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าสถานะทางสังคม. และสถานภาพบุคคล ก็คือ สถานภาพทางสังคม แม้บุคคลที่ไม่มีบทบาทใดใดเลยทางสังคม ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า บุคคลนั้น ไม่มีสถานภาพทางสังคม เพราะการไม่มีบทบาทก็ถือว่า เป็นการอบรมและขัดเกลาสังคมอย่างหนึ่ง
การทำหน้าที่ในการขัดเกลาสังคม และกระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้เกิดขึ้นในทุกองค์กรทางสังคมในการอบรมกล่อมเกลาให้สมาชิกใหม่ได้รับรู้และกระทำตามกรอบเกณฑ์ของสังคม ในที่นี้ได้จำแนกองค์กรที่ทำหน้าที่ ดังนี้.
1. ครอบครัว เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม โดยเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งครอบครัวจะทำหน้าที่อบรมสั่งสอนสมาชิกให้เป็นพลเมืองดีปฏิบัติตามกฎเกณฑ์แบบแผนที่สังคมเป็นผู้กำหนด จึงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่สุดในการขัดเกลาทางสังคมในการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้กับสมาชิกในสังคมเพื่อให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ
2. โรงเรียน ภาระหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคมที่ต่อเนื่องจากครอบครัวก็คือโรงเรียนที่สังคมจัดตั้งขึ้นเพื่อสั่งสอนความรู้ และถ่ายทอดวิทยาการรวมถึงศีลธรรมจรรยาต่างๆ ให้แก่สมาชิกในสังคม
3. กลุ่มเพื่อน เมื่อสมาชิกในสังคมเติบโตขึ้นมา กลุ่มเพื่อนจะมีบทบาทที่สำคัญต่อการขัดเกลาทางสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลเนื่องจากการลอกเลียนแบบกันภายในกลุ่ม
4. สถาบันทางศาสนา ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของสมาชิกในสังคม ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีและมีศีลธรรมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้นสถาบันศาสนาจึงมีความสำคัญจึงมีบทบาทสำคัญต่อสมาชิกในสังคมให้เป็นผู้ประพฤติดีอยู่ในกรอบของสังคม
5. สื่อมวลชน มีบทบาทที่สำคัญ ในการเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ ไปสู่สมาชิกในสังคมอย่างทั่วถึงทำให้สมาชิกได้รับรู้ข่าวสารและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างถูกต้องมีความเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเองอย่างมีวิจารณญาณ
ในที่นี่จะขอกล่าวถึงบทบาทของศาสนคำสอน และการแสดงพฤติกรรมส่วนตัว จนกลายเป็นเหตุการณ์ของการขัดเกลาทางสังคม ตัวอย่างเช่น การถือธุดงค์เข้มข้น ในการเนสัชชิก และถืออยู่ป่าช้านิสัย ด้วยการไม่ฉันเนื้อฉันปลา จนกลายเป็นนักมังสวิรัติ เป็นต้น มีเหตุการณ์เล่า ว่า พระโลกนาถ (ซัลวาโตเล ซิโอฟฟี) พระนิกายเถรวาทชาวอิตาลี รวบรวมการเดินทางจาริกเพื่อการฝึกฝนและการศึกษาของชาวพุทธ สำหรับกลุ่มที่เรียกชื่อกันว่า Lion-hearted Bhikkhus and Samaneras ในสมัยนั้น ว่าด้วยการแสดงพฤติกรรมส่วนตัวของนักบวชนั้นเอง ทำให้ผู้คนมาร่วมกันปฏิญาณตนเป็นนักมังสวิรัติมากมาย ซึ่งต้องนับว่าเป็นการอบรมและขัดเกลาสังคม. ด้วยการแสดงพฤติกรรมส่วนตัวนั่นเอง กลับเป็นบทบาทที่สำคัญในเวลาต่อมาต่อกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท
บทสรุปถึงบทบาทหน้าที่ขัดเกลาสังคม แม้จะเป็นด้วยการแสดงพฤติกรรมส่วนตัว แต่ในข้อนี้เองก็อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของสถาบันทางศาสนา ฯ
Photos : DescriptionFamily …(commons-wikimedia)
Stories : รวบรวมด้วยกับเนื้อหาข้อมูล วิชา: กฏหมาย สังคมและวัฒนธรรม ห้องเรียนควิปเปอร์ไทยแลนด์