MOU ฉบับตบทรัพย์พ่นพิษ!!
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา ฉบับวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559
'ฐากร ตัณฑสิทธิ์' เลขาธิการกสทช.
ความวุ่นวายของการประมูลคลื่น 900 MHz ดูเหมือนจะยังไม่จบง่ายๆ แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ประกาศให้จัดประมูลรอบใหม่ในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และขยายระยะเวลาเยียวยาลูกค้าบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ระบบ 2G คลื่น 900 MHz ออกไปจนถึง 30 มิ.ย.จากเดิมที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้คุ้มครองถึงวันที่ 14 เม.ย.แล้วก็ตาม
หากไล่เรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะพบข้อพิรุธหลายประการ บ่งบอกถึงการใช้อำนาจแบบมิชอบ มีการกระทำส่อให้เห็นถึงการเอื้อประโยชน์อย่างชัดเจน เริ่มจาก "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการกสทช.ที่เป็นจิ๊กซอว์สำคัญในหมากกระดานนี้ ในวันก่อนหน้าที่คำสั่งตามมาตรา 44 จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา ฐากร บอกว่า นอกจากร่างเงื่อนไขการประมูลรอบใหม่และการขยายระยะเวลาเยียวยาลูกค้าแล้วยังมีการทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) บางอย่างของเอกชนเกิดขึ้นด้วย โดยเลขาธิการกสทช.ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดให้รับทราบเพียงอ้างว่าต้องการให้การประมูลราบรื่นและบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ฟ้องร้องต่อศาล
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
โดยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 MHz ระหว่าง เอไอเอส และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น กับ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟ้องร้องต่อศาล หลังจากที่ ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล ทำหนังสือร้องสอดต่อศาลปกครอง กรณีที่เอไอเอสขอขยายระยะเวลาเยียวยาจากเดิมที่ศาลให้คำสั่งสิ้นสุดการเยียวยาในวันที่ 14 เม.ย.รวมถึงทรูยังได้ร้องขอความเป็นธรรมกับ คสช. และกสทช.ด้วย
แต่ร่างเอ็มโอยู ที่ถูกเปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดีย @NBTCnews เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา กลับไม่ได้เป็นไปตามนั้น !!!
ทั้งนี้เนื้อหาร่างเอ็มโอยู ฉบับตบทรัพย์ ระบุไว้ 2 ข้อ คือ1. ทั้ง 2 ฝ่ายยินยอมให้กสทช.เป็นผู้ตรวจสอบการโอนย้ายผู้ใช้บริการของกลุ่มบริษัทเอไอเอสไปยังกลุ่มบริษัททรู โดยสำนักงานกสทช.จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาและตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว โดยมีรองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นประธานคณะทำงาน และให้มีผู้แทนจากกลุ่มบริษัทเอไอเอสและกลุ่มบริษัททรูร่วมเป็นคณะทำงานด้วย ทั้งนี้หากผลการพิจารณาของสำนักงาน กสทช.เป็นประการใดแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะรับไปปฏิบัติโดยพลัน โดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ผลการพิจารณาดังกล่าวของสำนักงานกสทช.ไม่ว่าในกรณีใด และขอสละสิทธิ์เรียกร้องใดๆ อันเกิดขึ้นจากการตรวจสอบและการชี้ขาดของสำนักงาน กสทช.
สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส
2. เอดับบลิวเอ็น ตกลงใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ โรมมิ่ง บนคลื่น 900 MHz บนคลื่นย่านความถี่ 905-915 MHz คู่กับ 950-960 MHzของ ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ให้บริการของกลุ่มบริษัทเอไอเอสในบางส่วนตามความเหมาะสม จนกว่าระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการตามมาตรการเยียวยาจะสิ้นสุดลง ทั้งนี้ให้ผู้แทนทั้งสองฝ่ายเจรจาร่วมกันให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน 15 วัน โดยมี รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลการเจรจาในเรื่องนี้ และรายงานต่อเลขาธิการกสทช.ทราบเป็นระยะ
"ว่ากันว่าในการประชุมร่วมกันจะไม่ให้เอไอเอสโรมมิ่งกับดีแทคด้วยซ้ำ โดยหันมาใช้บริการทรูแทน ทั้งหมด ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เลขาฯพูดไม่หมด"
นอกจากนี้แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีที ให้ข้อมูลว่าในที่ประชุมที่มีวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี, อุตตม สาวนายนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที, ทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที, ฐากร, สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส และ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมประชุมเพื่อหาทางออกในมาตรการเยียวยาลูกค้านั้น ฐากรได้พยายามโน้มน้าวให้ เอไอเอส ลงนามในเอ็มโอยู ซึ่งได้จัดเตรียมไว้แล้ว ขณะที่ สมชัยเอง ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าปัจจุบันเอไอเอสได้มีแผนการดูแลลูกค้า 2G ของบริษัทอยู่แล้ว โดยได้โรมมิ่งกับดีแทค ซึ่งจะสามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 8 ล้านราย ในส่วนของลูกค้าที่ยังเหลืออยู่ราว 4 แสนรายนั้น ก็ได้มีคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ให้มีการใช้งานต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 59 ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็จะได้ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz รอบใหม่อยู่แล้ว
ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น
โดยในกลุ่มลูกค้าจำนวน 4 แสนรายดังกล่าวปัจจุบันได้ใช้ช่วงคลื่นที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ชนะการประมูล และกำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดการประมูลใหม่ ซึ่ง เอไอเอส เองก็เข้าร่วมประมูลด้วย จึงยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องลงนามในร่างเอ็มโอยู เพื่อโอนย้ายลูกค้าไปยัง ทรู แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการชี้แจงจาก เอไอเอส แล้ว ที่ประชุม นำโดย ฐากร ก็ยังพยายามโน้มน้าวให้ เอไอเอส ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวอยู่ โดย สมชัย ได้กล่าวว่า เอไอเอส จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของเอไอเอส ก่อนจึงจะสามารถให้คำตอบได้
เมื่อเอ็มโอยู ถูกแฉผ่านโซเชียล ทำให้ ฐากร ออกมาแถลงข่าวด่วนเมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยได้กล่าวปฏิเสธข้อกล่าวหาแต่ก็ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเนื้อหาเอ็มโอยูที่ปรับปรุงใหม่ได้ กลับโยนให้เอไอเอสเป็นผู้ชี้แจงเอง อีกทั้งยังชี้แจงด้วยว่าเอกสารที่เห็นนั้นเป็นเอกสารเก่าที่ กสทช.เป็นผู้ยกร่างให้ทั้ง 2 ฝ่ายดู แต่ทั้ง 2 ฝ่ายได้แก้ไขเอกสารกันทั้งคู่แล้วจนเรียกได้ว่าไม่ต้องเซ็นเอ็มโอยู ก็ได้ เพราะเนื้อหาเบาจนไม่มีอะไรน่ากลัวอย่างที่เป็นข่าว ขออย่าให้กังวล และ กสทช.ไม่ได้ต้องการทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับใครทั้งสิ้น แต่เป็นการทำเพื่อผู้บริโภค
บันทึกความตกลง 1
"เมื่อเช้าวันที่ 25 เม.ย. เอไอเอสได้เข้าพบกับผมและบอกว่าเรื่องนี้ซีอีโอของเอไอเอสจะเป็นผู้ชี้แจงเอง ผมจึงไม่ได้ซักว่าใครเป็นคนปล่อยเอกสาร เพราะตรวจสอบกันแล้วพบว่าเป็นเอกสารเก่า จึงขอให้อย่ากังวล ไม่ได้มีอะไรใหญ่โต กสทช.ไม่ได้บังคับให้เซ็น จะเซ็นหรือไม่เซ็นก็แล้วแต่ ยืนยันว่าทุกอย่างทำโปร่งใส ไม่มีอะไรอยู่ในที่มืด ตอนนี้ปรับเอ็มโอยูใหม่เบาจนเป็นปุยนุ่นแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้เพราะเข้าใจว่าเป็นความลับทางธุรกิจที่เอไอเอสเองก็คงไม่อยากเปิดเผย"
ด้านเอไอเอสกลับชี้แจงแบบเป็นกลางๆว่า ได้มีการหารือระหว่างภาครัฐ และเอกชนจริง ถึงเรื่องการดูแลลูกค้า 900 MHz และคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในด้านการใช้งานโทรคมนาคมในช่วงรอการประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งใหม่ ซึ่งขณะนี้การหารือในเรื่องการดูแลลูกค้า และคุ้มครองประโยชน์ประชาชนยังอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกันในรายละเอียด เพื่อประโยชน์ของลูกค้า และประชาชนในช่วงเปลี่ยนถ่ายระหว่างรอการประมูล
โดยเอไอเอสมีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในเรื่องต่างๆ แต่ต้อง เป็นไปอย่างโปร่งใสถูกต้องตามหลักธรรมมาภิบาลของบริษัทฯที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และจะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารก่อนหากบริษัทฯจะดำเนินการใดๆ
ด้านศุภชัย เองกล่าวถึงเอ็มโอยูนี้ว่าเป็นแค่หลักการกว้างๆเรื่องการโอนย้ายเลขหมายมากลุ่มทรู และเอไอเอสต้องโรมมิ่งกับทรูบ้าง เพราะเอไอเอสใช้ความถี่ต่อในช่วงเยียวยา ขณะที่ทรูก็ต้องมีภาระจ่ายค่าความถี่ 900 MHzไปแล้ว
บันทึกความตกลง 2
ขณะที่ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าไม่เคยเห็นเอกสารดังกล่าวเลย แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นคนในสำนักงาน กสทช.ปล่อยออกมา ทั้งนี้ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการเซ็นเอ็มโอยูดังกล่าวว่า หากการเจรจามีผู้ใหญ่ทางการเมืองนั่งหัวโต๊ะก็น่าจะเป็นเรื่องแปลกไม่ธรรมดา เพราะมีการเซ็นในช่วงที่จะเกิดการประมูล ทั้งๆ ที่ คสช.ได้ใช้มาตรา 44 ในการขยายมาตรการเยียวยาออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.แล้ว เอ็มโอยูนี้หากมีการเซ็นร่วมกันจะเข้าข่ายฮั้วการประมูลหรือไม่ คือ ทรูไม่เข้าร่วมประมูลให้เอไอเอสได้ไปรายเดียว หรือไม่
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเอ็มโอยูฉบับนี้ คือ การใช้อำนาจผ่านร่างทรง ที่กุมอำนาจรัฐในมือ เพื่อให้กระทำบางสิ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ อย่างไร้ยางอาย ประโยชน์ของโซเชียลเน็ตเวิร์กครั้งนี้ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นเส้นสายการทำธุรกิจที่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย จะเป็นรัฐบาลการเมืองหรือ รัฐบาลท็อปบูต ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันมากนัก แม้กระทั่งการอ้างคำว่าทำเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ และประชาชน.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา ฉบับวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 53)
ภาพประกอบข่าวจาก Manager Online
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000042882
MOU ฉบับตบทรัพย์พ่นพิษ!!
MOU ฉบับตบทรัพย์พ่นพิษ!!
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา ฉบับวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559
ความวุ่นวายของการประมูลคลื่น 900 MHz ดูเหมือนจะยังไม่จบง่ายๆ แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ประกาศให้จัดประมูลรอบใหม่ในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และขยายระยะเวลาเยียวยาลูกค้าบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ระบบ 2G คลื่น 900 MHz ออกไปจนถึง 30 มิ.ย.จากเดิมที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้คุ้มครองถึงวันที่ 14 เม.ย.แล้วก็ตาม
หากไล่เรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะพบข้อพิรุธหลายประการ บ่งบอกถึงการใช้อำนาจแบบมิชอบ มีการกระทำส่อให้เห็นถึงการเอื้อประโยชน์อย่างชัดเจน เริ่มจาก "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการกสทช.ที่เป็นจิ๊กซอว์สำคัญในหมากกระดานนี้ ในวันก่อนหน้าที่คำสั่งตามมาตรา 44 จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา ฐากร บอกว่า นอกจากร่างเงื่อนไขการประมูลรอบใหม่และการขยายระยะเวลาเยียวยาลูกค้าแล้วยังมีการทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) บางอย่างของเอกชนเกิดขึ้นด้วย โดยเลขาธิการกสทช.ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดให้รับทราบเพียงอ้างว่าต้องการให้การประมูลราบรื่นและบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ฟ้องร้องต่อศาล
โดยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 MHz ระหว่าง เอไอเอส และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น กับ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟ้องร้องต่อศาล หลังจากที่ ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล ทำหนังสือร้องสอดต่อศาลปกครอง กรณีที่เอไอเอสขอขยายระยะเวลาเยียวยาจากเดิมที่ศาลให้คำสั่งสิ้นสุดการเยียวยาในวันที่ 14 เม.ย.รวมถึงทรูยังได้ร้องขอความเป็นธรรมกับ คสช. และกสทช.ด้วย
แต่ร่างเอ็มโอยู ที่ถูกเปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดีย @NBTCnews เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา กลับไม่ได้เป็นไปตามนั้น !!!
ทั้งนี้เนื้อหาร่างเอ็มโอยู ฉบับตบทรัพย์ ระบุไว้ 2 ข้อ คือ1. ทั้ง 2 ฝ่ายยินยอมให้กสทช.เป็นผู้ตรวจสอบการโอนย้ายผู้ใช้บริการของกลุ่มบริษัทเอไอเอสไปยังกลุ่มบริษัททรู โดยสำนักงานกสทช.จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาและตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว โดยมีรองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นประธานคณะทำงาน และให้มีผู้แทนจากกลุ่มบริษัทเอไอเอสและกลุ่มบริษัททรูร่วมเป็นคณะทำงานด้วย ทั้งนี้หากผลการพิจารณาของสำนักงาน กสทช.เป็นประการใดแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะรับไปปฏิบัติโดยพลัน โดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ผลการพิจารณาดังกล่าวของสำนักงานกสทช.ไม่ว่าในกรณีใด และขอสละสิทธิ์เรียกร้องใดๆ อันเกิดขึ้นจากการตรวจสอบและการชี้ขาดของสำนักงาน กสทช.
2. เอดับบลิวเอ็น ตกลงใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ โรมมิ่ง บนคลื่น 900 MHz บนคลื่นย่านความถี่ 905-915 MHz คู่กับ 950-960 MHzของ ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ให้บริการของกลุ่มบริษัทเอไอเอสในบางส่วนตามความเหมาะสม จนกว่าระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการตามมาตรการเยียวยาจะสิ้นสุดลง ทั้งนี้ให้ผู้แทนทั้งสองฝ่ายเจรจาร่วมกันให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน 15 วัน โดยมี รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลการเจรจาในเรื่องนี้ และรายงานต่อเลขาธิการกสทช.ทราบเป็นระยะ
"ว่ากันว่าในการประชุมร่วมกันจะไม่ให้เอไอเอสโรมมิ่งกับดีแทคด้วยซ้ำ โดยหันมาใช้บริการทรูแทน ทั้งหมด ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เลขาฯพูดไม่หมด"
นอกจากนี้แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีที ให้ข้อมูลว่าในที่ประชุมที่มีวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี, อุตตม สาวนายนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที, ทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที, ฐากร, สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส และ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมประชุมเพื่อหาทางออกในมาตรการเยียวยาลูกค้านั้น ฐากรได้พยายามโน้มน้าวให้ เอไอเอส ลงนามในเอ็มโอยู ซึ่งได้จัดเตรียมไว้แล้ว ขณะที่ สมชัยเอง ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าปัจจุบันเอไอเอสได้มีแผนการดูแลลูกค้า 2G ของบริษัทอยู่แล้ว โดยได้โรมมิ่งกับดีแทค ซึ่งจะสามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 8 ล้านราย ในส่วนของลูกค้าที่ยังเหลืออยู่ราว 4 แสนรายนั้น ก็ได้มีคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ให้มีการใช้งานต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 59 ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็จะได้ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz รอบใหม่อยู่แล้ว
โดยในกลุ่มลูกค้าจำนวน 4 แสนรายดังกล่าวปัจจุบันได้ใช้ช่วงคลื่นที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ชนะการประมูล และกำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดการประมูลใหม่ ซึ่ง เอไอเอส เองก็เข้าร่วมประมูลด้วย จึงยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องลงนามในร่างเอ็มโอยู เพื่อโอนย้ายลูกค้าไปยัง ทรู แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการชี้แจงจาก เอไอเอส แล้ว ที่ประชุม นำโดย ฐากร ก็ยังพยายามโน้มน้าวให้ เอไอเอส ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวอยู่ โดย สมชัย ได้กล่าวว่า เอไอเอส จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของเอไอเอส ก่อนจึงจะสามารถให้คำตอบได้
เมื่อเอ็มโอยู ถูกแฉผ่านโซเชียล ทำให้ ฐากร ออกมาแถลงข่าวด่วนเมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยได้กล่าวปฏิเสธข้อกล่าวหาแต่ก็ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเนื้อหาเอ็มโอยูที่ปรับปรุงใหม่ได้ กลับโยนให้เอไอเอสเป็นผู้ชี้แจงเอง อีกทั้งยังชี้แจงด้วยว่าเอกสารที่เห็นนั้นเป็นเอกสารเก่าที่ กสทช.เป็นผู้ยกร่างให้ทั้ง 2 ฝ่ายดู แต่ทั้ง 2 ฝ่ายได้แก้ไขเอกสารกันทั้งคู่แล้วจนเรียกได้ว่าไม่ต้องเซ็นเอ็มโอยู ก็ได้ เพราะเนื้อหาเบาจนไม่มีอะไรน่ากลัวอย่างที่เป็นข่าว ขออย่าให้กังวล และ กสทช.ไม่ได้ต้องการทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับใครทั้งสิ้น แต่เป็นการทำเพื่อผู้บริโภค
"เมื่อเช้าวันที่ 25 เม.ย. เอไอเอสได้เข้าพบกับผมและบอกว่าเรื่องนี้ซีอีโอของเอไอเอสจะเป็นผู้ชี้แจงเอง ผมจึงไม่ได้ซักว่าใครเป็นคนปล่อยเอกสาร เพราะตรวจสอบกันแล้วพบว่าเป็นเอกสารเก่า จึงขอให้อย่ากังวล ไม่ได้มีอะไรใหญ่โต กสทช.ไม่ได้บังคับให้เซ็น จะเซ็นหรือไม่เซ็นก็แล้วแต่ ยืนยันว่าทุกอย่างทำโปร่งใส ไม่มีอะไรอยู่ในที่มืด ตอนนี้ปรับเอ็มโอยูใหม่เบาจนเป็นปุยนุ่นแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้เพราะเข้าใจว่าเป็นความลับทางธุรกิจที่เอไอเอสเองก็คงไม่อยากเปิดเผย"
ด้านเอไอเอสกลับชี้แจงแบบเป็นกลางๆว่า ได้มีการหารือระหว่างภาครัฐ และเอกชนจริง ถึงเรื่องการดูแลลูกค้า 900 MHz และคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในด้านการใช้งานโทรคมนาคมในช่วงรอการประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งใหม่ ซึ่งขณะนี้การหารือในเรื่องการดูแลลูกค้า และคุ้มครองประโยชน์ประชาชนยังอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกันในรายละเอียด เพื่อประโยชน์ของลูกค้า และประชาชนในช่วงเปลี่ยนถ่ายระหว่างรอการประมูล
โดยเอไอเอสมีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในเรื่องต่างๆ แต่ต้อง เป็นไปอย่างโปร่งใสถูกต้องตามหลักธรรมมาภิบาลของบริษัทฯที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และจะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารก่อนหากบริษัทฯจะดำเนินการใดๆ
ด้านศุภชัย เองกล่าวถึงเอ็มโอยูนี้ว่าเป็นแค่หลักการกว้างๆเรื่องการโอนย้ายเลขหมายมากลุ่มทรู และเอไอเอสต้องโรมมิ่งกับทรูบ้าง เพราะเอไอเอสใช้ความถี่ต่อในช่วงเยียวยา ขณะที่ทรูก็ต้องมีภาระจ่ายค่าความถี่ 900 MHzไปแล้ว
ขณะที่ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าไม่เคยเห็นเอกสารดังกล่าวเลย แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นคนในสำนักงาน กสทช.ปล่อยออกมา ทั้งนี้ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการเซ็นเอ็มโอยูดังกล่าวว่า หากการเจรจามีผู้ใหญ่ทางการเมืองนั่งหัวโต๊ะก็น่าจะเป็นเรื่องแปลกไม่ธรรมดา เพราะมีการเซ็นในช่วงที่จะเกิดการประมูล ทั้งๆ ที่ คสช.ได้ใช้มาตรา 44 ในการขยายมาตรการเยียวยาออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.แล้ว เอ็มโอยูนี้หากมีการเซ็นร่วมกันจะเข้าข่ายฮั้วการประมูลหรือไม่ คือ ทรูไม่เข้าร่วมประมูลให้เอไอเอสได้ไปรายเดียว หรือไม่
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเอ็มโอยูฉบับนี้ คือ การใช้อำนาจผ่านร่างทรง ที่กุมอำนาจรัฐในมือ เพื่อให้กระทำบางสิ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ อย่างไร้ยางอาย ประโยชน์ของโซเชียลเน็ตเวิร์กครั้งนี้ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นเส้นสายการทำธุรกิจที่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย จะเป็นรัฐบาลการเมืองหรือ รัฐบาลท็อปบูต ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันมากนัก แม้กระทั่งการอ้างคำว่าทำเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ และประชาชน.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา ฉบับวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 53)
ภาพประกอบข่าวจาก Manager Online
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000042882