ส่งต่อๆกันมาในไลน์ พึ่งได้อ่าน
---------------------------------
ในสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1867) ประเทศญี่ปุ่นมีการปกครองด้วยระบบขุนนาง มีเจ้าเมืองและซามูไรที่มีอำนาจลดหลั่นกันไป ประชาชนทุกคนต้องเชื่อฟังคำสั่งของเจ้าเมืองแบบไม่มีเงื่อนไข ช่วงที่ญี่ปุ่นถูกภัยแล้งคุกคามนานหลายปี เจ้าเมืองได้ออกกฏหมายขึ้นมาข้อหนึ่งว่า หากครอบครัวไหนมีพ่อแม่ที่อายุเกิน 70 ปี ลูกต้องนำพ่อแม่ไปทิ้งบนเขา มิฉะนั้นจะถูกประหาร เพราะถือว่าคนสูงวัยถึงเพียงนั้นเป็นคนที่ไร้ประโยชน์ ยิ่งอยู่นานยิ่งเป็นภาระ ในทางตรงกันข้าม การตายเพื่อให้ลูกหลานได้อยู่ต่อ
นับเป็นการตายที่มีเกียรติสูงยิ่ง
ภูเขาสูงหลายแห่งจึงกลายเป็นหลุมฝังศพคนแก่ ขึ้นไปสองคน แต่กลับลงมาหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปอย่างนี้เรื่อยมา
ชาวญี่ปุ่นเรียกภูเขาเหล่านี้ว่า "อุบะสุเทะ" ("อุบะ" แปลว่า คนแก่ "สุเทะ" แปลว่า ทิ้ง)
...และแล้วก็ถึงวันที่แม่ของ"เขา"อายุครบ 70 ปี เช้าวันนั้นเขาจัดเตรียมข้าวเป็นเสบียง
เตรียมสานตระกร้าสำหรับใส่แม่ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็อุ้มแม่วางลงในตระกร้า แบกขึ้นหลังและออกเดินทางไปยังภูเขา ในขณะที่ชายหนุ่มกำลังจดจ่อกับการปีนเขาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แม่ผู้ชราก็สังเกตเห็นว่าท้องฟ้ากำลังมืดลงทุกทีๆ นางเกิดความกลัวขึ้นมาว่าถ้าฟ้ามืดลูกชายอาจหลงทางอยู่บนเขาก็ได้ นางจึงเอื้อมมือไปหักกิ่งไม้ กิ่งแล้วกิ่งเล่าเพื่อที่ว่าหลังจากทิ้งนางไว้บนภูเขาแล้ว ลูกชายจะสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย
เมื่อถึงเวลาที่แม่ลูกต้องจากกัน นางได้บอกลูกชายว่า "ลูกแม่ ตอนที่เราขึ้นมาบนเขา แม่ได้หักกิ่งไม้ไว้ตลอดทาง ตอนลงจากเขาเจ้าจงสังเกตรอยไม้ที่แม่หักไว้ ก็จะถึงบ้านโดยปลอดภัย" เมื่อลูกชายได้ยินดังนั้น ทันใดสายตาก็มองเห็นมือที่
เต็มไปด้วยรอยขีดข่วนของแม่ เขาอดหลั่งน้ำตาออกมามิได้ และตัดสินใจว่าจะไม่ยอมทิ้งแม่ไว้บนภูเขาเด็ดขาด เขาอุ้มแม่วางลงในตระกร้า แบกขึ้นหลังพาลงภูเขา และซ่อนแม่ไว้ในยุ้งฉางเพื่อหลบสายตาจากคนภายนอก
ไม่นานหลังจากนั้น เจ้าเมืองก็ประกาศคำปริศนาไว้สองข้อ และบอกว่าหากใครแก้ปริศนาเหล่านี้ได้ ก็จะให้คนผู้นั้นสมปรารถนาหนึ่งประการ
ปริศนาข้อแรก คือ ให้ฟั่นเชือกขึ้นมาจากขี้เถ้า และสอง คือ ให้ร้อยเส้นไหมลอดผ่านเปลือกหอยสังข์
เวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ก็ยังไม่มีใครแก้ปริศนาได้ ลูกชายจึงนำเรื่องนี้ไปเล่าให้แม่ฟัง เมื่อเล่าจบแม่ก็ยิ้มแล้วสอนว่า
"ลูกแม่ เจ้าจงทำตามที่แม่บอกต่อไปนี้ สำหรับปริศนาข้อแรกให้เจ้าฟั่นเชือกขึ้นมาแล้วนำไปเผาให้ไหม้เป็นถ่าน ขี้เถ้าจะคงรูปเหมือนเชือกอยู่อย่างนั้น
ส่วนปริศนาข้อที่สอง ให้ผูกเส้นไหมกับขามดแล้วจับมดไปใส่ในเปลือกหอย หลังจากนั้นให้โรยน้ำตาล และจุดเทียนอีกด้านหนึ่งของเปลือกหอย เมื่อมดได้กลิ่นน้ำตาลและเห็นแสงเทียนก็จะพยายามเดินออกไปอีกด้าน"
ภายหลังเมื่อเจ้าเมืองรู้ว่าคนที่แก้ปริศนาได้ แท้จริงแล้วคือหญิงชราธรรมดาๆ คนหนึ่ง จึงเกิดความเลื่อมใสในภูมิปัญญา
ของคนชราและตัดสินใจยกเลิกกฎให้ทิ้งพ่อแม่ ตั้งแต่นั้น
แม่กับลูกชายจึงใช้ชีวิตต่อมาอย่างมีความสุข
ความรักของพ่อแม่เป็นสิ่งอัศจรรย์...ราวกับไม่มีอยู่จริง เพราะเป็นความรักที่มีแต่คำว่า "ให้" อย่างที่ไม่มีลูกคนไหน "ให้" คืนกลับได้อย่างเท่าเทียม
การดูแลพ่อแม่ในยามที่ท่านดูแลตัวเองไม่ได้ถือเป็นการทดแทนบุญคุณของท่าน
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หากใครบอกว่าไม่สามารถดูแล
พ่อแม่ได้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม โปรดจำเรื่องนี้ไว้เป็นคติสอนใจ
ตำนานอุบะสุเทะเป็นเรื่องที่ชาว
ญี่ปุ่นส่วนใหญ่รู้จักดี แต่คนทั่วไปอาจได้ยินเรื่องนี้จาก Ballad of Narayama
ภาพยนต์ผลการกำกับของผู้กำกับ
อิมะมุระ โชเฮ (Imamura Shohei)
ที่เล่าเรื่องราวชีวิตปีที่ 69 ย่าง 70 ของ โอริน หญิงชราซึ่งพยายามใช้ปีสุดท้ายก่อน
จะถูกนำไปทิ้งบนภูเขานารายาม่า เพื่อช่วยลูกชายและหลาน จนแน่ใจว่าพวกเขาจะสามารถเผชิญความทุกข์ยากแร้นแค้นได้หลังจากที่เธอตายไปแล้ว
จากนิตยสาร Secret ฉบับที่ 51
ประจำเดือน ส.ค.53 หน้า 81
--------------------------------------
มีกฏอย่างนี้จริงหรือเปล่าครับเนี่ย แล้วใครเคยได้ดูหนังเรื่องBallad of Narayama มันเป็นตามข้อความนี้จริงไหมครับ
คิดภาพว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ดูแลคนแก่ดี คนคุณภาพใจบุญเอื้อเฟื้อมาตลอด ไม่นึกว่าจะมีประวัติศาสตร์สมัยเอโดะโหดร้ายกับคนแก่ขนาดนั้น ชาวบ้านยอมตามกันได้ไงไม่รู้ ทิ้งพ่อแม่ตัวเองให้ตาย เป็นประเทศเดียวในโลกเลยหรือเปล่าครับเนี่ย
ในเรื่องระดับคนใหญ่คนโตทัศนคติไม่ดีกับคนแก่ ยุคนี้ก็เคยได้ยินข่าวผ่านๆไม่นานมานี้ว่ารมต.หรือระดับสูงในรัฐบาลสักคน ตอนเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ดีช่วงที่ผ่านมา หลุดพูดออกสื่อว่า ประมาณว่าคนแก่ในประเทศเป็นภาระ (ประมาณว่าไมไม่รีบตายไป) ตอนนั้นก็ไม่ค่อยเชื่อข่าวนี้เท่าไร
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่โหดร้ายกับคนแก่ตัวเองมาตั้งแต่โบราณเลยเหรอครับเนี่ย//อายุเกิน70ต้องเอาไปทิ้งบนเขา
---------------------------------
ในสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1867) ประเทศญี่ปุ่นมีการปกครองด้วยระบบขุนนาง มีเจ้าเมืองและซามูไรที่มีอำนาจลดหลั่นกันไป ประชาชนทุกคนต้องเชื่อฟังคำสั่งของเจ้าเมืองแบบไม่มีเงื่อนไข ช่วงที่ญี่ปุ่นถูกภัยแล้งคุกคามนานหลายปี เจ้าเมืองได้ออกกฏหมายขึ้นมาข้อหนึ่งว่า หากครอบครัวไหนมีพ่อแม่ที่อายุเกิน 70 ปี ลูกต้องนำพ่อแม่ไปทิ้งบนเขา มิฉะนั้นจะถูกประหาร เพราะถือว่าคนสูงวัยถึงเพียงนั้นเป็นคนที่ไร้ประโยชน์ ยิ่งอยู่นานยิ่งเป็นภาระ ในทางตรงกันข้าม การตายเพื่อให้ลูกหลานได้อยู่ต่อ
นับเป็นการตายที่มีเกียรติสูงยิ่ง
ภูเขาสูงหลายแห่งจึงกลายเป็นหลุมฝังศพคนแก่ ขึ้นไปสองคน แต่กลับลงมาหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปอย่างนี้เรื่อยมา
ชาวญี่ปุ่นเรียกภูเขาเหล่านี้ว่า "อุบะสุเทะ" ("อุบะ" แปลว่า คนแก่ "สุเทะ" แปลว่า ทิ้ง)
...และแล้วก็ถึงวันที่แม่ของ"เขา"อายุครบ 70 ปี เช้าวันนั้นเขาจัดเตรียมข้าวเป็นเสบียง
เตรียมสานตระกร้าสำหรับใส่แม่ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็อุ้มแม่วางลงในตระกร้า แบกขึ้นหลังและออกเดินทางไปยังภูเขา ในขณะที่ชายหนุ่มกำลังจดจ่อกับการปีนเขาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แม่ผู้ชราก็สังเกตเห็นว่าท้องฟ้ากำลังมืดลงทุกทีๆ นางเกิดความกลัวขึ้นมาว่าถ้าฟ้ามืดลูกชายอาจหลงทางอยู่บนเขาก็ได้ นางจึงเอื้อมมือไปหักกิ่งไม้ กิ่งแล้วกิ่งเล่าเพื่อที่ว่าหลังจากทิ้งนางไว้บนภูเขาแล้ว ลูกชายจะสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย
เมื่อถึงเวลาที่แม่ลูกต้องจากกัน นางได้บอกลูกชายว่า "ลูกแม่ ตอนที่เราขึ้นมาบนเขา แม่ได้หักกิ่งไม้ไว้ตลอดทาง ตอนลงจากเขาเจ้าจงสังเกตรอยไม้ที่แม่หักไว้ ก็จะถึงบ้านโดยปลอดภัย" เมื่อลูกชายได้ยินดังนั้น ทันใดสายตาก็มองเห็นมือที่
เต็มไปด้วยรอยขีดข่วนของแม่ เขาอดหลั่งน้ำตาออกมามิได้ และตัดสินใจว่าจะไม่ยอมทิ้งแม่ไว้บนภูเขาเด็ดขาด เขาอุ้มแม่วางลงในตระกร้า แบกขึ้นหลังพาลงภูเขา และซ่อนแม่ไว้ในยุ้งฉางเพื่อหลบสายตาจากคนภายนอก
ไม่นานหลังจากนั้น เจ้าเมืองก็ประกาศคำปริศนาไว้สองข้อ และบอกว่าหากใครแก้ปริศนาเหล่านี้ได้ ก็จะให้คนผู้นั้นสมปรารถนาหนึ่งประการ
ปริศนาข้อแรก คือ ให้ฟั่นเชือกขึ้นมาจากขี้เถ้า และสอง คือ ให้ร้อยเส้นไหมลอดผ่านเปลือกหอยสังข์
เวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ก็ยังไม่มีใครแก้ปริศนาได้ ลูกชายจึงนำเรื่องนี้ไปเล่าให้แม่ฟัง เมื่อเล่าจบแม่ก็ยิ้มแล้วสอนว่า
"ลูกแม่ เจ้าจงทำตามที่แม่บอกต่อไปนี้ สำหรับปริศนาข้อแรกให้เจ้าฟั่นเชือกขึ้นมาแล้วนำไปเผาให้ไหม้เป็นถ่าน ขี้เถ้าจะคงรูปเหมือนเชือกอยู่อย่างนั้น
ส่วนปริศนาข้อที่สอง ให้ผูกเส้นไหมกับขามดแล้วจับมดไปใส่ในเปลือกหอย หลังจากนั้นให้โรยน้ำตาล และจุดเทียนอีกด้านหนึ่งของเปลือกหอย เมื่อมดได้กลิ่นน้ำตาลและเห็นแสงเทียนก็จะพยายามเดินออกไปอีกด้าน"
ภายหลังเมื่อเจ้าเมืองรู้ว่าคนที่แก้ปริศนาได้ แท้จริงแล้วคือหญิงชราธรรมดาๆ คนหนึ่ง จึงเกิดความเลื่อมใสในภูมิปัญญา
ของคนชราและตัดสินใจยกเลิกกฎให้ทิ้งพ่อแม่ ตั้งแต่นั้น
แม่กับลูกชายจึงใช้ชีวิตต่อมาอย่างมีความสุข
ความรักของพ่อแม่เป็นสิ่งอัศจรรย์...ราวกับไม่มีอยู่จริง เพราะเป็นความรักที่มีแต่คำว่า "ให้" อย่างที่ไม่มีลูกคนไหน "ให้" คืนกลับได้อย่างเท่าเทียม
การดูแลพ่อแม่ในยามที่ท่านดูแลตัวเองไม่ได้ถือเป็นการทดแทนบุญคุณของท่าน
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หากใครบอกว่าไม่สามารถดูแล
พ่อแม่ได้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม โปรดจำเรื่องนี้ไว้เป็นคติสอนใจ
ตำนานอุบะสุเทะเป็นเรื่องที่ชาว
ญี่ปุ่นส่วนใหญ่รู้จักดี แต่คนทั่วไปอาจได้ยินเรื่องนี้จาก Ballad of Narayama
ภาพยนต์ผลการกำกับของผู้กำกับ
อิมะมุระ โชเฮ (Imamura Shohei)
ที่เล่าเรื่องราวชีวิตปีที่ 69 ย่าง 70 ของ โอริน หญิงชราซึ่งพยายามใช้ปีสุดท้ายก่อน
จะถูกนำไปทิ้งบนภูเขานารายาม่า เพื่อช่วยลูกชายและหลาน จนแน่ใจว่าพวกเขาจะสามารถเผชิญความทุกข์ยากแร้นแค้นได้หลังจากที่เธอตายไปแล้ว
จากนิตยสาร Secret ฉบับที่ 51
ประจำเดือน ส.ค.53 หน้า 81
--------------------------------------
มีกฏอย่างนี้จริงหรือเปล่าครับเนี่ย แล้วใครเคยได้ดูหนังเรื่องBallad of Narayama มันเป็นตามข้อความนี้จริงไหมครับ
คิดภาพว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ดูแลคนแก่ดี คนคุณภาพใจบุญเอื้อเฟื้อมาตลอด ไม่นึกว่าจะมีประวัติศาสตร์สมัยเอโดะโหดร้ายกับคนแก่ขนาดนั้น ชาวบ้านยอมตามกันได้ไงไม่รู้ ทิ้งพ่อแม่ตัวเองให้ตาย เป็นประเทศเดียวในโลกเลยหรือเปล่าครับเนี่ย
ในเรื่องระดับคนใหญ่คนโตทัศนคติไม่ดีกับคนแก่ ยุคนี้ก็เคยได้ยินข่าวผ่านๆไม่นานมานี้ว่ารมต.หรือระดับสูงในรัฐบาลสักคน ตอนเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ดีช่วงที่ผ่านมา หลุดพูดออกสื่อว่า ประมาณว่าคนแก่ในประเทศเป็นภาระ (ประมาณว่าไมไม่รีบตายไป) ตอนนั้นก็ไม่ค่อยเชื่อข่าวนี้เท่าไร