ดีแทค กำหนดเส้นทางสู่ดิจิตอล หวังความชัดเจนโรดแมพคลื่น | เดลินิวส์
„ วันนี้( 29 เม.ย.) นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทค นำเสนอ สมุดปกขาวหรือWhite Paper ในหัวข้อ เส้นทางสู่ดิจิตอลไทยแลนด์เพื่อเป็นการสนับสนุนประเทศไทยไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิตอลในขณะเดียวกันยังจะส่งเสริมและให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายทั้งภาครัฐที่เป็นผู้ออกกฎหมายและกำหนดนโยบายภาคเอกชน และภาคสังคมต่างๆ โดยดีแทค มุ่งเน้นที่จะสรรหาแผนงานในอนาคต ที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อจะนำประเทศไทยไปสู่สังคมดิจิตอลอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี 63 ทั้งนี้เชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาและศักยภาพในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจดิจิตอลในภูมิภาคอาเซียน โดยดีแทคได้เสนอ6ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล ที่รัฐบาลต้องพิจารณากำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ และจัดการประมูลคลื่นความถี่คลื่น 700 ,850,1800,2300 และ 2600เมกะเฮิร์ตซให้มีความชัดเจนเพื่อที่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมจะได้วางแผนธุรกิจในอนาคตได้และสนับสนุนภาครัฐสำหรับการจัดทำกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมในการสร้างเสาสถานีฐานในพื้นที่ห่างไกลและพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำร่วมกัน 2. ระบบนิเวศเชิงนวัตกรรมดิจิตอลส่งเสริมการเข้าถึงภาคธุรกิจเอสเอ็มอี ธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ 3.เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสังคมที่เท่าเทียม ทำให้เกิดการเชื่อมต่อคนไทยจากการดำเนินงานทั้งภาครัฐและเอกชนสู่บริการด้านสุขภาพการศึกษา การเงิน และการเกษตร ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรในเมืองและชนบท 4.บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ให้สามารถเข้าถึงได้โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสาธารณะผ่านเทคโนโลยีอย่างโปรงใส่ และให้รัฐบาลร่วมมือกับภาคเอกชน ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ 5. ทุนมนุษย์เสริมความแข็งแกร่งด้านดิจิตอล ทักษะพื้นฐานด้านไอซีทีให้แก่ประชาชนโดยการให้เอกชนเข้ามาทีบทบาทในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญแนะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งในขณะนี้ดีแทคมีโครงการเน็ตอาสาของดีแทคที่มีอาสาสมัครเป็นผู้สอนการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า60คน และช่วยเชื่อมต่อคนไทยมาแล้วกว่า50,000คนทั่วประเทศ และ 6กรอบการทำงานองค์รวมเพื่อดิจิตอลไทยแลนด์ ปรับปรุงร่างกฎหมายผ่านกระบวนการที่โปร่งใสและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันที่เป็นธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน นายลาร์ส กล่าวว่า ส่วนกรณีการที่ดีแทค ไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน900 เมกะเฮิร์ตซที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 พ.ค. นี้ เนื่องจากมองว่า ดีแทคมีคลื่นอยู่ในมือเป็นจำนวน 50 เมกะเฮิร์ตซ โดยแบ่งเป็นคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 10เมกะเฮิร์ตซใช้งานระบบ 3 จี คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 15เมกะเฮิร์ตซใช้งานระบบ 3 จี และ 4 จี ส่วนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 25 เมกะเฮิร์ตซ ใช้งานในระบบ 2 จี จำนวน10 เมกะเฮิร์ตซ และใช้งานระบบ 4 จี จำนวน15 เมกะเฮิร์ตซ และในอนาคตดีแทคจะขยายการให้ใช้งานในระบบ 4 จี มากขึ้นตามพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า“
อ่านต่อที่ :
http://www.dailynews.co.th/it/394635
ดีแทค กำหนดเส้นทางสู่ดิจิตอล หวังความชัดเจนโรดแมพคลื่น |
ดีแทค กำหนดเส้นทางสู่ดิจิตอล หวังความชัดเจนโรดแมพคลื่น | เดลินิวส์
„ วันนี้( 29 เม.ย.) นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทค นำเสนอ สมุดปกขาวหรือWhite Paper ในหัวข้อ เส้นทางสู่ดิจิตอลไทยแลนด์เพื่อเป็นการสนับสนุนประเทศไทยไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิตอลในขณะเดียวกันยังจะส่งเสริมและให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายทั้งภาครัฐที่เป็นผู้ออกกฎหมายและกำหนดนโยบายภาคเอกชน และภาคสังคมต่างๆ โดยดีแทค มุ่งเน้นที่จะสรรหาแผนงานในอนาคต ที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อจะนำประเทศไทยไปสู่สังคมดิจิตอลอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี 63 ทั้งนี้เชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาและศักยภาพในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจดิจิตอลในภูมิภาคอาเซียน โดยดีแทคได้เสนอ6ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล ที่รัฐบาลต้องพิจารณากำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ และจัดการประมูลคลื่นความถี่คลื่น 700 ,850,1800,2300 และ 2600เมกะเฮิร์ตซให้มีความชัดเจนเพื่อที่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมจะได้วางแผนธุรกิจในอนาคตได้และสนับสนุนภาครัฐสำหรับการจัดทำกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมในการสร้างเสาสถานีฐานในพื้นที่ห่างไกลและพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำร่วมกัน 2. ระบบนิเวศเชิงนวัตกรรมดิจิตอลส่งเสริมการเข้าถึงภาคธุรกิจเอสเอ็มอี ธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ 3.เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสังคมที่เท่าเทียม ทำให้เกิดการเชื่อมต่อคนไทยจากการดำเนินงานทั้งภาครัฐและเอกชนสู่บริการด้านสุขภาพการศึกษา การเงิน และการเกษตร ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรในเมืองและชนบท 4.บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ให้สามารถเข้าถึงได้โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสาธารณะผ่านเทคโนโลยีอย่างโปรงใส่ และให้รัฐบาลร่วมมือกับภาคเอกชน ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ 5. ทุนมนุษย์เสริมความแข็งแกร่งด้านดิจิตอล ทักษะพื้นฐานด้านไอซีทีให้แก่ประชาชนโดยการให้เอกชนเข้ามาทีบทบาทในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญแนะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งในขณะนี้ดีแทคมีโครงการเน็ตอาสาของดีแทคที่มีอาสาสมัครเป็นผู้สอนการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า60คน และช่วยเชื่อมต่อคนไทยมาแล้วกว่า50,000คนทั่วประเทศ และ 6กรอบการทำงานองค์รวมเพื่อดิจิตอลไทยแลนด์ ปรับปรุงร่างกฎหมายผ่านกระบวนการที่โปร่งใสและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันที่เป็นธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน นายลาร์ส กล่าวว่า ส่วนกรณีการที่ดีแทค ไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน900 เมกะเฮิร์ตซที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 พ.ค. นี้ เนื่องจากมองว่า ดีแทคมีคลื่นอยู่ในมือเป็นจำนวน 50 เมกะเฮิร์ตซ โดยแบ่งเป็นคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 10เมกะเฮิร์ตซใช้งานระบบ 3 จี คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 15เมกะเฮิร์ตซใช้งานระบบ 3 จี และ 4 จี ส่วนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 25 เมกะเฮิร์ตซ ใช้งานในระบบ 2 จี จำนวน10 เมกะเฮิร์ตซ และใช้งานระบบ 4 จี จำนวน15 เมกะเฮิร์ตซ และในอนาคตดีแทคจะขยายการให้ใช้งานในระบบ 4 จี มากขึ้นตามพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/394635