นักลงทุนสถาบันในประเทศผสมโรงต่างชาติ แห่ซื้อตราสารหนี้ไทย ดันวอลุ่มไตรมาส 1/59 พุ่งกว่า 20% กดยีลด์พันธบัตรอายุ 10 ปีลดลงแตะ 1.53% ต่ำสุดประวัติการณ์ ส.ตลาดตราสารหนี้จับตาผลประชุมเฟด-บีโอเจ ชี้ทิศฟันด์โฟลว์ไหลเข้าพันธบัตรไทยต่อเนื่อง
นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ไทย (บอนด์) ในไตรมาสแรกของปีนี้ว่า ปริมาณการชื้อขาย (วอลุ่มเทรด) ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 97,136 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 20% จากสิ้นปี 2558 ที่อยู่ระดับ 81,000 ล้านบาท ขณะที่ด้านมูลค่าคงค้างโดยรวมเพิ่มขึ้น 2.05% จากสิ้นปีก่อนที่อยู่ 10.23 ล้านล้านบาท
ส่วนไตรมาส 2/2559 คาดว่า ปริมาณการซื้อขายจะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรก เพราะที่ผ่านมากลุ่มนักลงทุนสถาบัน อาทิ บริษัทหลักทรัพย์, กองทุน และบริษัทประกันเข้ามาซื้อค่อนข้างมากแล้ว และนับว่ามากสุดเป็นประวัติการณ์
ด้านมูลค่าการระดมทุนของภาคเอกชนพบว่า การออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นอยู่ที่ 241,417 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.75% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนที่ระดับ 164,508 ล้านบาท ขณะที่การออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว (หุ้นกู้) มีมูลค่า 127,813 ล้านบาท โตขึ้น 55% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ระดับ 82,408 ล้านบาท โดยมีจำนวนบริษัทเอกชนออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 192 บริษัท จากปีก่อนมีจำนวน 158 บริษัท และแบ่งเป็นออกหุ้นกู้ 47 บริษัท และบอนด์ 145 บริษัท รวมถึงมีบริษัทใหม่ที่มาออกเพิ่มอีก 21 บริษัท
นายธาดา กล่าวว่า ในไตรมาส 1 ยังพบว่ามีนักลงทุนต่างชาติถือครองตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้นสุทธิ 98,768 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ถือครองในตราสารหนี้ระยะสั้นสูงถึง 113,941 ล้านบาท ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ขายตราสารหนี้ระยะยาว 15,174 ล้านบาท
"ทิศทางฟันด์โฟลว์ต่างชาติในไตรมาส 2 มีโอกาสที่เงินต่างชาติจะไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงผลักดันจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศหลัก ซึ่งในช่วงสัปดาห์นี้ (27-29 เม.ย.) จะมีการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ซึ่งหากบีโอเจมีมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม จะหนุนให้เงินไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น" นายธาดากล่าว
ส่วน ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทน (ยีลด์) ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา พบว่า ตราสารหนี้ระยะสั้นและกลางที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า 5 ปี ยีลด์ปรับตัวลดลง 0.12-0.36% จากสิ้นปีก่อน ขณะที่ยีลด์ของตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ปรับตัวลงในช่วง 0.73-0.89% ส่วนพันธบัตรรัฐอายุ 10 ปี ยีลด์ปรับลดลงไปอยู่ที่ 1.53% ณ วันที่ 5 เม.ย. 2559 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และยุโรป ประกอบกับแนวโน้มการชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด และมีแรงซื้อตราสารหนี้จากนักลงทุนสถาบันในประเทศค่อนข้างสูง
"ทิศทางยีลด์ของตราสารหนี้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยีลด์พันธบัตรระยะสั้นจะทรงตัวตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย และมีโอกาสแกว่งตัวลดลงเล็กน้อยตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในตลาด ขณะที่ยีลด์พันธบัตรอายุ 10 ปี มีโอกาสลดลงได้อีกไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันยีลด์อยู่ระดับต่ำมากเป็นประวัติการณ์แล้ว หลังจากนี้ ยีลด์น่าจะทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นช้า ๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง หากเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวตามแรงกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐ" นายธาดากล่าว
Q1 เงินต่างชาติเก็งกำไรบอนด์ไทย วอลุ่มพุ่ง20%กดผลตอบแทนอายุยาวต่ำสุดรอบ10ปี
นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ไทย (บอนด์) ในไตรมาสแรกของปีนี้ว่า ปริมาณการชื้อขาย (วอลุ่มเทรด) ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 97,136 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 20% จากสิ้นปี 2558 ที่อยู่ระดับ 81,000 ล้านบาท ขณะที่ด้านมูลค่าคงค้างโดยรวมเพิ่มขึ้น 2.05% จากสิ้นปีก่อนที่อยู่ 10.23 ล้านล้านบาท
ส่วนไตรมาส 2/2559 คาดว่า ปริมาณการซื้อขายจะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรก เพราะที่ผ่านมากลุ่มนักลงทุนสถาบัน อาทิ บริษัทหลักทรัพย์, กองทุน และบริษัทประกันเข้ามาซื้อค่อนข้างมากแล้ว และนับว่ามากสุดเป็นประวัติการณ์
ด้านมูลค่าการระดมทุนของภาคเอกชนพบว่า การออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นอยู่ที่ 241,417 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.75% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนที่ระดับ 164,508 ล้านบาท ขณะที่การออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว (หุ้นกู้) มีมูลค่า 127,813 ล้านบาท โตขึ้น 55% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ระดับ 82,408 ล้านบาท โดยมีจำนวนบริษัทเอกชนออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 192 บริษัท จากปีก่อนมีจำนวน 158 บริษัท และแบ่งเป็นออกหุ้นกู้ 47 บริษัท และบอนด์ 145 บริษัท รวมถึงมีบริษัทใหม่ที่มาออกเพิ่มอีก 21 บริษัท
นายธาดา กล่าวว่า ในไตรมาส 1 ยังพบว่ามีนักลงทุนต่างชาติถือครองตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้นสุทธิ 98,768 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ถือครองในตราสารหนี้ระยะสั้นสูงถึง 113,941 ล้านบาท ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ขายตราสารหนี้ระยะยาว 15,174 ล้านบาท
"ทิศทางฟันด์โฟลว์ต่างชาติในไตรมาส 2 มีโอกาสที่เงินต่างชาติจะไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงผลักดันจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศหลัก ซึ่งในช่วงสัปดาห์นี้ (27-29 เม.ย.) จะมีการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ซึ่งหากบีโอเจมีมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม จะหนุนให้เงินไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น" นายธาดากล่าว
ส่วน ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทน (ยีลด์) ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา พบว่า ตราสารหนี้ระยะสั้นและกลางที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า 5 ปี ยีลด์ปรับตัวลดลง 0.12-0.36% จากสิ้นปีก่อน ขณะที่ยีลด์ของตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ปรับตัวลงในช่วง 0.73-0.89% ส่วนพันธบัตรรัฐอายุ 10 ปี ยีลด์ปรับลดลงไปอยู่ที่ 1.53% ณ วันที่ 5 เม.ย. 2559 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และยุโรป ประกอบกับแนวโน้มการชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด และมีแรงซื้อตราสารหนี้จากนักลงทุนสถาบันในประเทศค่อนข้างสูง
"ทิศทางยีลด์ของตราสารหนี้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยีลด์พันธบัตรระยะสั้นจะทรงตัวตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย และมีโอกาสแกว่งตัวลดลงเล็กน้อยตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในตลาด ขณะที่ยีลด์พันธบัตรอายุ 10 ปี มีโอกาสลดลงได้อีกไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันยีลด์อยู่ระดับต่ำมากเป็นประวัติการณ์แล้ว หลังจากนี้ ยีลด์น่าจะทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นช้า ๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง หากเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวตามแรงกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐ" นายธาดากล่าว