แต่ละศาสดา ทำลายความเห็นแก่ตัวต่างกัน - พุทธทาสภิกขุ



... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...
แต่ละศาสดา ทำลายความเห็นแก่ตัวต่างกัน
... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...


สำหรับศาสนาที่เขามีพระเจ้าจะเป็นศาสนาคริสเตียนอิสลาม

ศาสนาซิกข์ ศาสนาฮินดูบางแขนง เขามีพระเจ้า ทำตาม

พระเจ้า แล้วก็หมดความเห็นแก่ตัว บางทีก็แบ่งแยกไปว่า

ความเห็นแก่ตัวอย่างนี้ แล้วไปมีตัวอย่างอื่นที่สูงสุดที่ไม่เปลี่ยนแปลง

อย่างนั้นก็มี แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรื่องสำคัญตรงที่ว่า

คนอย่าเห็นแก่ตัว แล้วคนก็จะไม่เบียดเบียนกัน แล้วคนก็จะอยู่กันอย่างผาสุก

ทีนี้พุทธศาสนาไม่มีพระเจ้าอย่างนั้นถ้าจะไม่ให้เห็นแก่ตัว

จะต้องทำอย่างไร?พวกนี้ใช้ปัญญาใช้ปัญญามองดูมองดู

พิจารณาดู เห็นโทษว่า โอ้, ถ้าเห็นแก่ตัวแล้วมันฆ่าฟันกันตายหมด

เราเกลียดความเห็นแก่ตัว อย่ามีความเห็นแก่ตัว

อย่ามีความเห็นแก่ตัว นี้ก็ระดับหนึ่ง

ทีนี้อีกระดับหนึ่ง สูงไปกว่านั้นก็ว่า โอ้,ที่จริงมันไม่มีตัว

โดยแท้จริง ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัว หรือเป็นตัว

มีแต่สิ่งที่เป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา เท่านั้นแหละ

เป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา

เป็นการปรุงแต่ง เป็นตัวการปรุงแต่ง เป็นกระแสแห่งการปรุงแต่ง ที่เราเรียกว่า

สังขาร สังขาร สังขารนั่นแหละ สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัว

เป็นไปตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตา พวกนี้ใช้ปัญญามองเห็นว่า

อ้าว, มันไม่มีตัวนี่ มันก็หมดความเห็นแก่ตัว

ถ้ายังไม่ขึ้นมาถึงขั้นนี้ ยังอยู่ในขั้นศีลธรรม

เขาก็มองเห็นว่า เห็นแก่ตัวมัน

ทำลายล้างกันฉะนั้นอย่าเห็นแก่ตัวกันเลยในขั้นศีลธรรม

ก็ไม่เห็นแก่ตัวเพราะมีศีล ในขั้นปรมัตถ์ก็ไม่เห็นแก่ตัว เพราะมีปัญญาเห็นว่ามันไม่มีตัว

ดังนั้น พุทธศาสนาของเรา จึงแปลกจากศาสนาอื่นที่เขามีตัว หรือมีแบบพระเจ้า

อาศัยอำนาจพระเจ้ามากำจัดความเห็นแก่ตัว นี่เราอาศัยความจริง เห็นว่าไม่มีตัวมายกเลิกความเห็นแก่ตัวเสีย

.....................................................................................

คัดลอกบทความจาก หนังสือ : หลุดพ้น เสียจากความหลุดพ้น - โดย หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

ลิงค์ ข้อมูล หนังสือ : http://www.trilakbooks.com/product/1784140/หลุดพ้นเสียจากความหลุดพ้น-19บาท-โดย-พุทธทาสภิกขุ.html

เผยแพร่โดย ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎก และ หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์ http://www.trilakbooks.com
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่