เดินทางระหว่างวันที่ 6 - 18 เมษายน พ.ศ.2559 (13 วัน)
กลับมาพบกันอีกครั้งครับ หลังจากที่ผมได้เคยเขียนรีวิว "ทริปเที่ยว Nepal หลังแผ่นดินไหว เมือง Kathmandu และ Pokhara" สามารถไปชมได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลย
http://ppantip.com/topic/34916017
โดยการไปเยือนเนปาลในครั้งนั้น ทำให้เราเห็นช่องทางต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดไอเดียที่ว่า เราอยากจะมา Trekking ในเส้นทางไปยัง Annapurna Base Camp ซักครั้ง เพราะได้เคยอ่านหลายๆกระทู้ใน Pantip ที่ได้บอกเล่าประสบการณ์ในการ Trekking ไป ABC รวมถึงได้ชมรูปถ่ายที่สวยงามเว่อร์วังเบอร์ล้าน แต่ในตอนนั้นเรารู้สึกว่ายังไกลตัวเราไปหน่อย แต่พอได้ไปเนปาลในครั้งนั้น ได้พูดคุยกับไกด์ กับบริษัททัวร์ ก็พบว่ามันไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด
เริ่มตรงไหนดี?
เนื่องจากบริษัททัวร์ที่ผมเคยใช้บริการรอบที่แล้วก็มีจัด Trekking ไป Annapurna Base Camp เหมือนกัน ผมจึงตกลงไปกับบริษัทนี้ครับ (รายละเอียดสอบถามได้หลังไมค์) แต่ปัญหาคือ จะไปกับใคร? มองเพื่อนๆรอบตัว ก็แทบจะไม่มีคนที่จะอยากไปจริงๆ หรือไปได้เลย ทางไกด์ก็เลยแนะนำว่าให้ไปจอยกลุ่มเอา เพราะว่ามีกลุ่มคนไทยกลุ่มหนึ่งแพลนว่าจะมา ในเดือนเมษายน 2559 พอดี ผมก็ตกลงทันทีครับ ไปลุยกันเดี่ยวๆนี้แหละ และยังเป็นการเดินเขาครั้งแรกของผมอีกด้วย (ภูกระดึงยังไม่เคยไป แฮะๆ)
ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แพงไหม?
ทริปนี้ใช้เวลา 13 วันครับ สำหรับค่าที่พักทั้งหมด ค่าอาหาร 3 มื้อ ค่ารถรับส่งในประเทศเนปาล ค่ารถจากเมืองกาฐมาณฑุไปโพคารา ค่าเครื่องบินในประเทศ ในการบินกลับจากโพคารามากาฐมาณฑุ ค่าไกด์ ค่าลูกหาบ ค่า Permit ในการ Trekking นี่จะรวมอยู่ในแพคเกจทัวร์ครับ รวมกับ ตั๋วการบินไทย ไปกลับ กรุงเทพกาฐมาณฑุ ตัวเลขจะอยู่ที่ประมาณ 40K-50K ขึ้นอยู่กับการจองตั๋วการบินไทยด้วย ถ้าล่วงหน้าได้นาน ก็จะได้ราคาถูก แต่ถ้าช่วงไฮซีซั่นก็อาจจะราคาสูง นอกเหนือจากนี้ ก็จะเป็นค่าน้ำดื่ม ค่าขนมจุกจิก ค่าชอปปิ้ง ค่าชาร์จแบต ค่าน้ำร้อน ค่าอาบน้ำ ต่างๆ ที่เราจะต้องออกเองครับ
นอกจากนี้ก็เป็นอุปกรณ์สำหรับเดินเขาครับ ที่จะต้องจัดหาจัดซื้อกัน ราคาก็ตามสะดวกเลยครับ สามารถไปหาซื้อได้ที่ย่านทาเมลได้เหมือนกัน อุปกรณ์ต่างๆก็ควรจะดีระดับนึงครับ แบบว่าลุยได้ เพราะทางค่อนข้างโหดเพราะสมควร จะให้ใส่ Yeezy ไปเดิน กลับมาคงต้องโยนทิ้ง 55555
ควรไปช่วงไหน?
ช่วงพีคจริงๆ สำหรับ ABC จะเป็นช่วง มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม ครับ เพราะเป็นช่วงที่จะหมดหน้าหนาวของเนปาล อากาศจะไม่หนาวมาก และจะได้เจอหิมะที่ยังหลงเหลืออยู่ตลอดทางขึ้นระหว่าง MBC ไป ABC ครับ แต่ข้อเสียคืออากาศจะแปรปรวน จะเจอหมอกและฝนแน่นอน ส่วนอีกช่วงที่คนนิยมก็คือช่วง ตุลาคม-พฤศจิกายน ครับ เป็นช่วงเข้าหน้าหนาว ท้องฟ้าจะค่อนข้างเปิดครับ แต่หนาวมาก และจะยังไม่เจอหิมะครับ
การเตรียมพร้อมร่างกาย?
Trekking ABC เป็นทริปที่คนไทยให้ความนิยมกันค่อนข้างมาก ไปกันมาเยอะ แต่มันไม่ได้ง่าย และในรีวิวต่างๆ ส่วนใหญ่จะใส่รูปสวยๆงามๆไว้ แต่เป็นแค่ส่วนน้อยในทริปเท่านั้นจริงๆครับ ตอนที่ลำบาก เหนื่อยหอบแฮ่ก ก็ไม่ได้มีใครเก็บภาพไว้ครับ (เอาชีวิตรอดกันอยู่ ฮ่าๆ) ยกตัวอย่าง ผมพยายามจะถ่ายรูปบันได ที่มันชัน และสูงเหลือเกิน ความรู้สึกจริงๆ กับความรู้สึกตอนดูรูปในกล้องตัวเอง มันไม่เหมือนกันเลยครับ ในกล้องมันดูชิลๆ ก็ดูไม่มีอะไรนิ เฮ้ออ ต้องมีการเตรียมตัวครับ ไม่ได้ขู่นะ ไม่ได้อยากจะพูดให้ไม่อยากไปเลยนะครับ เพราะถ้าหากเราไม่พร้อม เราก็จะไม่สนุกครับ ไม่คุ้มค่ากับเงิน กับแรงที่เสียไป
เหมาะกับใคร?
คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง / ปั่นจักรยาน ทุกๆอาทิตย์ อาทิตย์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เราสามารถฝึกได้ก่อนครับ ถ้าหากเราแพลนว่าจะไป 3 เดือนก่อนไป ก็ออกกำลังเลยครับ ครั้งละ 60 นาที เพราะไปทริปนี้ เราจะต้องเดินติดต่อกัน 9 วัน วันละ 5-6 ชั่วโมง ขึ้นเขาและลงเขาครับ
ส่วนตัว ผมเข้าฟิตเนสเป็นประจำ 4 ครั้งต่ออาทิตย์ แต่พอแพลนว่าจะไป ล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน ผมจึงเน้นการฝึกเพื่อการ Trekking มากขึ้น โดยแบ่งการฝึกออกเป็นสองประเภทคือ Strength (ความแข็งแรง) และ Endurance (ความอึด) เพราะเราจะต้องใช้สองอย่างนี้ควบคู่กันไปครับ
ด้าน Strength ผมฝึกในส่วนของขา ที่จะต้องใช้ในการเดิน ก็ฝึกพวกท่า Squat / Leg Lunge / Leg Press หรือเรียกได้ว่าเล่นขา นั้นเอง เล่นทุกส่วนครับ ลองเสิชหาข้อมูลได้ในอินเตอร์เน็ต หรือ Youtube ก็มี Tutorial เยอะครับ
นอกจากนี้ผมก็เน้นมากๆ ในเรื่องของกล้ามเนื้อหลัง เพราะผมจะต้องแบกกระเป๋ากล้องครับ และต้องแบกเป็นเวลานาน ดังนั้นก็ต้องเตรียมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันอาการบาดเจ็บ
แต่เราจะมีความแข็งแรงอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องอึดด้วย ในส่วนของ Endurance ผมฝึกขาโดยใช้การเดินชันครับ หรือเล่นเครื่อง Stair Climber จำลองการขึ้นบันไดครับ มีประโยชน์มากๆเลย
ไม่เหมาะกับใคร?
คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ไม่ได้เตรียมตัวมา (เว้นว่าจะแข็งแรงอยู่แล้ว หรือเว้นแต่จะเกิดอาการ AMS ซึ่งความมากน้อยของอาการจะแล้วแต่คนครับ มีความสุดวิสัยระดับนึง) ถามว่ามาได้ไหม? มาได้ครับ แต่มีความเสี่ยงในการหมดสนุก ถ้าหากเราเดินแล้วเกิดอาการบาดเจ็บใดๆ ผมว่ามันน่าเสียดายนะ แบบเห้ยเสียเงิน เสียเวลา เสียแรงมาแล้ว แต่มาถึงแล้วแบบร่างกายไม่พร้อม จุดนั้นมันจะเจ็บใจมากจริงๆครับ ดังนั้น เตรียมร่างกายให้พร้อมซะก่อนดีกว่า
สภาพอากาศเป็นยังไง?
ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม ของเนปาลนั้น เป็นช่วงกำลังจะหมดหน้าหนาวครับ อากาศนั้น เฉลี่ยๆ เรียกได้ว่าไม่หนาวมาก และถือเป็นช่วง High Season ของ ABC Trekking เพราะอากาศไม่หนาวมาก อีกทั้งยังมีหิมะหลงเหลือจากหน้าหนาวให้เห็นอยู่ครับ แต่ขอบอกไว้ตรงนี้จริงๆ ว่าตลอดทริปนั้น 75% ร้อน ที่เหลือ 25 % คือหนาวครับ เวลาที่หนาว คือแค่ช่วงเช้าและเย็น หนาวไม่มาก ใส่เสื้อกันหนาว ใส่หมวก ก็เอาอยู่ และจะไปหนาวอีกที ก็วันที่จะเดินขึ้น ABC และวันลงครับ นอกนั้น ร้อนระดับเหงื่อแตก เนื่องจากแดด เสื้อยืดที่ผมใส่ตลอดทริปจะเป็นเสื้อกีฬาแขนสั้นและแขนยาว(เพื่อกันแดด) และเสื้อแบบ AIRSM เพื่อจะได้ระบายเหงื่อได้ดี และซักได้ แห้งเร็วครับ อย่างไรก็ตามเราจะได้เจอ สภาพอากาศทุกรูปแบบครับ ทริปที่ผมไปเจอหมด ร้อน หนาว ฝน ลูกเห็บ หิมะ ซึ่งการเตรียมชุดเตรียมอุปกรณ์ผมจะเขียนต่อในหัวข้อต่อๆไปครับ
ที่พักเป็นยังไง ต้องนอนเต็นท์หรือเปล่า ห้องน้ำโอเคไหม?
สำหรับผม เรียกได้ว่าเป็นการเดินเขาที่ค่อนข้างสบาย ทุกคืนเราจะได้นอนในที่พักที่เป็นห้องพัก มีเตียงนุ่ม มีหมอน แค่เอาถุงนอนปูก็นอนอุ่นๆได้สบายๆ ไม่ต้องนอนเต็นท์ ห้องน้ำนั้นก็สะดวกครับ ไม่ได้ลำบากอะไร อาจจะต้องเสียเงินค่าน้ำอุ่น 100 รูปีต่อการอาบ 1 ครั้ง ตกแล้วก็ 30 บาทไทย มีชักโครก นั่งสบายๆ แต่อาจจะเย็นไปหน่อย ฮ่าๆ ยกเว้นบน Base Camp ที่จะเป็นแบบนั่งยองๆ ครับ ถ้าเป็นคนธรรมดาๆ ที่ไม่ได้ติดหรูมากมาย เที่ยวลุยๆได้ ก็สบายครับ
เอาอะไรไปบ้าง?
เอกสารสำคัญ
1. Passport ทั้งตัวจริง / Hard Copy และเก็บไว้ในมือถือ เผื่อฉุกเฉิน
2. 15 Days Nepal VISA
3. Travel Insurance
เครื่องแต่งกาย
1.เสื้อยืดแห้งไว (แนะนำ AIRSM) / เสื้อกีฬา (ควรเป็นแขนยาวเพื่อกันแดด) 5 ตัว
** ข้อดีของเสื้อพวกนี้คือระบายเหงื่อได้ดี และสามารถซักตากได้ ตอนเช้าก็แห้งครับ **
2.เสื้อ Jacket Tri-Climate (เพราะเราต้องเจอทุกสภาพอากาศครับ เสื้อประเภทนี้เวิคที่สุดแล้ว)
3.เสื้อกันฝนแบบเด็กน้อย
4.เสื้อแขนยาวผ้าคอตตอน 2 ตัว เพื่อใส่นอน และใส่ตอนหนาวๆ หรือตอนขึ้น ABC ครับ
5.เสื้อและกางเกงลองจอน 1 ชุด (สำคัญมากครับ หนาวแค่ไหนก็ไม่สะเทือน)
6.กางเกงเทรคกิ้ง 2 ตัว แนะนำตัวนึงเป็นแบบพริ้วๆ ระบายอากาศได้ดี ใส่ตอนเดินร้อนๆ และอีกตัวเป็นแบบกันน้ำกันฝนกันหิมะครับ เราสามารถใส่คู่กับเสื้อ Tri-Climate โดยที่ไม่ต้องใส่เสื้อกันฝนเลย
7.กางเกงใน จำนวนก็แล้วแต่สะดวกครับ ถ้าใส่ซ้ำได้ก็ไม่ต้องขนไปเยอะ
8.ถุงมือ แนะนำไม่ต้องหนามาก อุ่นพอประมาณ เพราะหนามากจะหยิบจับอะไรลำบาก สุดท้ายก็ถอดอยู่ดี
9.ถุงเท้า แบบบาง จำนวนเยอะหน่อย และหนา จำนวนน้อยหน่อย สำหรับตอนหนาว จำนวนผมจำไม่ได้ครับ ผมมีเท่าไหนก็ขนไปหมด ฮ่าๆ
10.ปลอกแขนกันแดด สำหรับคนใส่เสื้อแขนสั้น ถ้าไม่ใส่ ต่อให้ทาครีมกันแดดก็ดำครับ ใส่ดีกว่า นอกจากนั้นยังช่วยซับเหงื่อระบายเหงื่อด้วย ทำให้เรารู้สึกเย็นตลอดเวลา
11.หมวกไหมพรม
12.หมวกกันแดด (เอาแบบบางๆ ระบายอากาศได้ดี หรือพวกสำหรับเล่นกีฬาก็ได้)
13.รองเท้าเทร็คกิ้ง ควรเป็นรองเท้าเทร็คกิ้งจริงๆครับ จะใส่ Sneaker ก็ได้ แต่ผมว่ามันไม่เหมาะและไม่ค่อยสมบุกสมบัน แนะนำให้เป็นแบบ Gore-Tex แบบหุ้มข้อ ช่วยล็อคข้อเท้า ป้องกันขาพลิกได้ครับ
14.เป้ Daypack ที่เราจะสะพายเอง ใส่แค่ของส่วนตัวๆสำคัญ กล้อง มือถือ เงิน เสื้อแจ็คเก็ต กระติกน้ำ อย่าให้ใหญ่เกินไปและเล็กเกินไปครับ ขนาดกะให้ใส่ของที่ว่าและแจ็คเก็ตเราให้พอก็โอเค และอย่ากะให้เราแบกหนักมาก เพราะเดี๋ยวจะเดินไม่ไหวครับ
อุปกรณ์เดินเขาอื่นๆ
1.ไม้เท้าเดินเขา (สำคัญพอๆกับชีวิต เอาไปเถอะ TT ช่วยผ่อนแรงเยอะมาก และช่วยชีวิตไว้หลายครั้งมาก มีช่วงเดินลงแล้วเหยียบหินผิดขาพลิก โชคดีเอาไม้เท้า 2 อันค้ำไว้เลยไม่เป็นไรมาก )
2.ถุงนอน (ควรจะเป็นแบบ comfort ที่ 5 องศาเป็นอย่างน้อยครับ)
3.กระติกน้ำ ขนาด 1 ลิตร
4.ไฟฉายคาดหัว (ถ้าจะไป ไปซื้อเลยครับ มีประโยชน์)
ยา
1.ไทลินอล (ผมเป็น AMS กิน Diamox ไม่หาย แต่กิน ไทลินอลแล้วหายเลยครับ วิ่งได้เลย)
2.ยาคลายกล้ามเนื้อ
3.Diamox
4.โวลทาเรน
ครีมต่างๆ
1.ครีมกันแดด (ทั้งหน้าและตัว)
2.Moisturizer
3.Vaseline
4.Handcreme
อื่นๆ
1.ทิชชู่เปียก (เอาไปเยอะๆ เผื่อไม่อาบน้ำและซักแห้ง หรือเผื่อไว้เช็ดก้นครับ)
2.ทิชชู่แห้ง
3.ถุงซิปล็อค
4.แป้งเด็กแคร์ หรือ แป้งโยคี (ใช้แล้วดีมาก แห้งเว่อร์) เอาไว้ทาเท้าครับ
5.ผ้าเช็ดตัวแห้งเร็ว
6.สบู่-ยาสระผม-สบู่ล้างหน้า-แปรงสีฟัน-ยาสีฟัน
7.ผ้ารัดเข่า รัดข้อเท้า ใส่เพื่อเซฟขา หรือ ใส่ตอนที่เราบาดเจ็บก็ได้ครับ
เดินขึ้นที่สูง หายใจลำบาก ออกซิเจนน้อย AMS?
ถือว่าเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของผมเหมือนกันครับ สำหรับการเดินในที่ออกซิเจนเบาบาง เราจะสังเกตได้ชัดคือเราจะเหนื่อยง่ายขึ้น เร็วขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เราเคยวิ่งได้ครึ่งชั่วโมงโดยเหนื่อยไม่มาก แต่พอออกซิเจนน้อย เราจะเหนื่อยกว่าเดิมมากครับ แต่เรื่องเหนื่อยไม่ใช่เรื่องใหญ่มาก เรานั่งพักซักพัก เราก็หายเหนื่อยครับ แต่ที่น่ากลัวคืออาการ AMS ซึ่งส่งผลมาจากการที่เหนื่อยมากๆ (Pulse สูงมากๆ) ผสมกับออกซิเจนในอากาศน้อย ทำให้ออกซิเจนนั้นไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้เกิดอาการ เวียนหัว ปวดหัว อาจถึงขั้นหมดสติครับ และถึงจุดนั้นบางทีนั่งพักก็ไม่หายครับ เพราะอาการมันล่วงเลยมามากแล้ว
วิธีการป้องกัน?
เราต้องเตรียมตัว โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อควบคุม pulse ไม่ให้สูงเกินไป และในระหว่างเดิน ช่วงไต่ระดับ (Deurali - MBC - ABC) ไม่ควรเดินให้ pulse สูงเกินไป จะเดิน pace แบบวันแรกๆ ไม่ได้ ถ้ารู้สึกว่าเหนื่อยให้พัก ค่อยๆ เดินดีกว่า ถึงช้าแต่ชัวร์ ดีกว่าต้องลงครับ ในส่วนของยา สามารถกิน Diamox คุมได้ถ้ามีอาการ และถ้าเอาไม่อยู่ ลองไทลินอลดูครับ เชื่อผม และที่สำคัญ ดื่มน้ำมากๆ ตลอดทริปครับ
ข้อมูลสำหรับการเตรียมตัวก็คงหมดแต่เพียงเท่านี้ ใครที่มีข้อสงสัยสามารถคอมเมนท์หรือหลังไมค์มาถามกันได้ครับ ผมหวังว่าข้อมูลพวกนี้จะเป็นประโยชน์ในทางใดก็ทางหนึ่งแก่คนที่มีความสนใจจะไป ABC ครับ
เตรียมตัวพร้อมแล้ว
ก็ออกเดินกันเลยครับ!
ท่องอวกาศด้วยสองเท้าที่ Annapurna Base Camp (ABC) 2016 | POSTRAC
กลับมาพบกันอีกครั้งครับ หลังจากที่ผมได้เคยเขียนรีวิว "ทริปเที่ยว Nepal หลังแผ่นดินไหว เมือง Kathmandu และ Pokhara" สามารถไปชมได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลย
http://ppantip.com/topic/34916017
โดยการไปเยือนเนปาลในครั้งนั้น ทำให้เราเห็นช่องทางต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดไอเดียที่ว่า เราอยากจะมา Trekking ในเส้นทางไปยัง Annapurna Base Camp ซักครั้ง เพราะได้เคยอ่านหลายๆกระทู้ใน Pantip ที่ได้บอกเล่าประสบการณ์ในการ Trekking ไป ABC รวมถึงได้ชมรูปถ่ายที่สวยงามเว่อร์วังเบอร์ล้าน แต่ในตอนนั้นเรารู้สึกว่ายังไกลตัวเราไปหน่อย แต่พอได้ไปเนปาลในครั้งนั้น ได้พูดคุยกับไกด์ กับบริษัททัวร์ ก็พบว่ามันไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด
เนื่องจากบริษัททัวร์ที่ผมเคยใช้บริการรอบที่แล้วก็มีจัด Trekking ไป Annapurna Base Camp เหมือนกัน ผมจึงตกลงไปกับบริษัทนี้ครับ (รายละเอียดสอบถามได้หลังไมค์) แต่ปัญหาคือ จะไปกับใคร? มองเพื่อนๆรอบตัว ก็แทบจะไม่มีคนที่จะอยากไปจริงๆ หรือไปได้เลย ทางไกด์ก็เลยแนะนำว่าให้ไปจอยกลุ่มเอา เพราะว่ามีกลุ่มคนไทยกลุ่มหนึ่งแพลนว่าจะมา ในเดือนเมษายน 2559 พอดี ผมก็ตกลงทันทีครับ ไปลุยกันเดี่ยวๆนี้แหละ และยังเป็นการเดินเขาครั้งแรกของผมอีกด้วย (ภูกระดึงยังไม่เคยไป แฮะๆ)
ทริปนี้ใช้เวลา 13 วันครับ สำหรับค่าที่พักทั้งหมด ค่าอาหาร 3 มื้อ ค่ารถรับส่งในประเทศเนปาล ค่ารถจากเมืองกาฐมาณฑุไปโพคารา ค่าเครื่องบินในประเทศ ในการบินกลับจากโพคารามากาฐมาณฑุ ค่าไกด์ ค่าลูกหาบ ค่า Permit ในการ Trekking นี่จะรวมอยู่ในแพคเกจทัวร์ครับ รวมกับ ตั๋วการบินไทย ไปกลับ กรุงเทพกาฐมาณฑุ ตัวเลขจะอยู่ที่ประมาณ 40K-50K ขึ้นอยู่กับการจองตั๋วการบินไทยด้วย ถ้าล่วงหน้าได้นาน ก็จะได้ราคาถูก แต่ถ้าช่วงไฮซีซั่นก็อาจจะราคาสูง นอกเหนือจากนี้ ก็จะเป็นค่าน้ำดื่ม ค่าขนมจุกจิก ค่าชอปปิ้ง ค่าชาร์จแบต ค่าน้ำร้อน ค่าอาบน้ำ ต่างๆ ที่เราจะต้องออกเองครับ
นอกจากนี้ก็เป็นอุปกรณ์สำหรับเดินเขาครับ ที่จะต้องจัดหาจัดซื้อกัน ราคาก็ตามสะดวกเลยครับ สามารถไปหาซื้อได้ที่ย่านทาเมลได้เหมือนกัน อุปกรณ์ต่างๆก็ควรจะดีระดับนึงครับ แบบว่าลุยได้ เพราะทางค่อนข้างโหดเพราะสมควร จะให้ใส่ Yeezy ไปเดิน กลับมาคงต้องโยนทิ้ง 55555
ช่วงพีคจริงๆ สำหรับ ABC จะเป็นช่วง มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม ครับ เพราะเป็นช่วงที่จะหมดหน้าหนาวของเนปาล อากาศจะไม่หนาวมาก และจะได้เจอหิมะที่ยังหลงเหลืออยู่ตลอดทางขึ้นระหว่าง MBC ไป ABC ครับ แต่ข้อเสียคืออากาศจะแปรปรวน จะเจอหมอกและฝนแน่นอน ส่วนอีกช่วงที่คนนิยมก็คือช่วง ตุลาคม-พฤศจิกายน ครับ เป็นช่วงเข้าหน้าหนาว ท้องฟ้าจะค่อนข้างเปิดครับ แต่หนาวมาก และจะยังไม่เจอหิมะครับ
Trekking ABC เป็นทริปที่คนไทยให้ความนิยมกันค่อนข้างมาก ไปกันมาเยอะ แต่มันไม่ได้ง่าย และในรีวิวต่างๆ ส่วนใหญ่จะใส่รูปสวยๆงามๆไว้ แต่เป็นแค่ส่วนน้อยในทริปเท่านั้นจริงๆครับ ตอนที่ลำบาก เหนื่อยหอบแฮ่ก ก็ไม่ได้มีใครเก็บภาพไว้ครับ (เอาชีวิตรอดกันอยู่ ฮ่าๆ) ยกตัวอย่าง ผมพยายามจะถ่ายรูปบันได ที่มันชัน และสูงเหลือเกิน ความรู้สึกจริงๆ กับความรู้สึกตอนดูรูปในกล้องตัวเอง มันไม่เหมือนกันเลยครับ ในกล้องมันดูชิลๆ ก็ดูไม่มีอะไรนิ เฮ้ออ ต้องมีการเตรียมตัวครับ ไม่ได้ขู่นะ ไม่ได้อยากจะพูดให้ไม่อยากไปเลยนะครับ เพราะถ้าหากเราไม่พร้อม เราก็จะไม่สนุกครับ ไม่คุ้มค่ากับเงิน กับแรงที่เสียไป
คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง / ปั่นจักรยาน ทุกๆอาทิตย์ อาทิตย์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เราสามารถฝึกได้ก่อนครับ ถ้าหากเราแพลนว่าจะไป 3 เดือนก่อนไป ก็ออกกำลังเลยครับ ครั้งละ 60 นาที เพราะไปทริปนี้ เราจะต้องเดินติดต่อกัน 9 วัน วันละ 5-6 ชั่วโมง ขึ้นเขาและลงเขาครับ
ส่วนตัว ผมเข้าฟิตเนสเป็นประจำ 4 ครั้งต่ออาทิตย์ แต่พอแพลนว่าจะไป ล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน ผมจึงเน้นการฝึกเพื่อการ Trekking มากขึ้น โดยแบ่งการฝึกออกเป็นสองประเภทคือ Strength (ความแข็งแรง) และ Endurance (ความอึด) เพราะเราจะต้องใช้สองอย่างนี้ควบคู่กันไปครับ
ด้าน Strength ผมฝึกในส่วนของขา ที่จะต้องใช้ในการเดิน ก็ฝึกพวกท่า Squat / Leg Lunge / Leg Press หรือเรียกได้ว่าเล่นขา นั้นเอง เล่นทุกส่วนครับ ลองเสิชหาข้อมูลได้ในอินเตอร์เน็ต หรือ Youtube ก็มี Tutorial เยอะครับ
นอกจากนี้ผมก็เน้นมากๆ ในเรื่องของกล้ามเนื้อหลัง เพราะผมจะต้องแบกกระเป๋ากล้องครับ และต้องแบกเป็นเวลานาน ดังนั้นก็ต้องเตรียมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันอาการบาดเจ็บ
แต่เราจะมีความแข็งแรงอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องอึดด้วย ในส่วนของ Endurance ผมฝึกขาโดยใช้การเดินชันครับ หรือเล่นเครื่อง Stair Climber จำลองการขึ้นบันไดครับ มีประโยชน์มากๆเลย
คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ไม่ได้เตรียมตัวมา (เว้นว่าจะแข็งแรงอยู่แล้ว หรือเว้นแต่จะเกิดอาการ AMS ซึ่งความมากน้อยของอาการจะแล้วแต่คนครับ มีความสุดวิสัยระดับนึง) ถามว่ามาได้ไหม? มาได้ครับ แต่มีความเสี่ยงในการหมดสนุก ถ้าหากเราเดินแล้วเกิดอาการบาดเจ็บใดๆ ผมว่ามันน่าเสียดายนะ แบบเห้ยเสียเงิน เสียเวลา เสียแรงมาแล้ว แต่มาถึงแล้วแบบร่างกายไม่พร้อม จุดนั้นมันจะเจ็บใจมากจริงๆครับ ดังนั้น เตรียมร่างกายให้พร้อมซะก่อนดีกว่า
ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม ของเนปาลนั้น เป็นช่วงกำลังจะหมดหน้าหนาวครับ อากาศนั้น เฉลี่ยๆ เรียกได้ว่าไม่หนาวมาก และถือเป็นช่วง High Season ของ ABC Trekking เพราะอากาศไม่หนาวมาก อีกทั้งยังมีหิมะหลงเหลือจากหน้าหนาวให้เห็นอยู่ครับ แต่ขอบอกไว้ตรงนี้จริงๆ ว่าตลอดทริปนั้น 75% ร้อน ที่เหลือ 25 % คือหนาวครับ เวลาที่หนาว คือแค่ช่วงเช้าและเย็น หนาวไม่มาก ใส่เสื้อกันหนาว ใส่หมวก ก็เอาอยู่ และจะไปหนาวอีกที ก็วันที่จะเดินขึ้น ABC และวันลงครับ นอกนั้น ร้อนระดับเหงื่อแตก เนื่องจากแดด เสื้อยืดที่ผมใส่ตลอดทริปจะเป็นเสื้อกีฬาแขนสั้นและแขนยาว(เพื่อกันแดด) และเสื้อแบบ AIRSM เพื่อจะได้ระบายเหงื่อได้ดี และซักได้ แห้งเร็วครับ อย่างไรก็ตามเราจะได้เจอ สภาพอากาศทุกรูปแบบครับ ทริปที่ผมไปเจอหมด ร้อน หนาว ฝน ลูกเห็บ หิมะ ซึ่งการเตรียมชุดเตรียมอุปกรณ์ผมจะเขียนต่อในหัวข้อต่อๆไปครับ
สำหรับผม เรียกได้ว่าเป็นการเดินเขาที่ค่อนข้างสบาย ทุกคืนเราจะได้นอนในที่พักที่เป็นห้องพัก มีเตียงนุ่ม มีหมอน แค่เอาถุงนอนปูก็นอนอุ่นๆได้สบายๆ ไม่ต้องนอนเต็นท์ ห้องน้ำนั้นก็สะดวกครับ ไม่ได้ลำบากอะไร อาจจะต้องเสียเงินค่าน้ำอุ่น 100 รูปีต่อการอาบ 1 ครั้ง ตกแล้วก็ 30 บาทไทย มีชักโครก นั่งสบายๆ แต่อาจจะเย็นไปหน่อย ฮ่าๆ ยกเว้นบน Base Camp ที่จะเป็นแบบนั่งยองๆ ครับ ถ้าเป็นคนธรรมดาๆ ที่ไม่ได้ติดหรูมากมาย เที่ยวลุยๆได้ ก็สบายครับ
เอกสารสำคัญ
1. Passport ทั้งตัวจริง / Hard Copy และเก็บไว้ในมือถือ เผื่อฉุกเฉิน
2. 15 Days Nepal VISA
3. Travel Insurance
เครื่องแต่งกาย
1.เสื้อยืดแห้งไว (แนะนำ AIRSM) / เสื้อกีฬา (ควรเป็นแขนยาวเพื่อกันแดด) 5 ตัว
** ข้อดีของเสื้อพวกนี้คือระบายเหงื่อได้ดี และสามารถซักตากได้ ตอนเช้าก็แห้งครับ **
2.เสื้อ Jacket Tri-Climate (เพราะเราต้องเจอทุกสภาพอากาศครับ เสื้อประเภทนี้เวิคที่สุดแล้ว)
3.เสื้อกันฝนแบบเด็กน้อย
4.เสื้อแขนยาวผ้าคอตตอน 2 ตัว เพื่อใส่นอน และใส่ตอนหนาวๆ หรือตอนขึ้น ABC ครับ
5.เสื้อและกางเกงลองจอน 1 ชุด (สำคัญมากครับ หนาวแค่ไหนก็ไม่สะเทือน)
6.กางเกงเทรคกิ้ง 2 ตัว แนะนำตัวนึงเป็นแบบพริ้วๆ ระบายอากาศได้ดี ใส่ตอนเดินร้อนๆ และอีกตัวเป็นแบบกันน้ำกันฝนกันหิมะครับ เราสามารถใส่คู่กับเสื้อ Tri-Climate โดยที่ไม่ต้องใส่เสื้อกันฝนเลย
7.กางเกงใน จำนวนก็แล้วแต่สะดวกครับ ถ้าใส่ซ้ำได้ก็ไม่ต้องขนไปเยอะ
8.ถุงมือ แนะนำไม่ต้องหนามาก อุ่นพอประมาณ เพราะหนามากจะหยิบจับอะไรลำบาก สุดท้ายก็ถอดอยู่ดี
9.ถุงเท้า แบบบาง จำนวนเยอะหน่อย และหนา จำนวนน้อยหน่อย สำหรับตอนหนาว จำนวนผมจำไม่ได้ครับ ผมมีเท่าไหนก็ขนไปหมด ฮ่าๆ
10.ปลอกแขนกันแดด สำหรับคนใส่เสื้อแขนสั้น ถ้าไม่ใส่ ต่อให้ทาครีมกันแดดก็ดำครับ ใส่ดีกว่า นอกจากนั้นยังช่วยซับเหงื่อระบายเหงื่อด้วย ทำให้เรารู้สึกเย็นตลอดเวลา
11.หมวกไหมพรม
12.หมวกกันแดด (เอาแบบบางๆ ระบายอากาศได้ดี หรือพวกสำหรับเล่นกีฬาก็ได้)
13.รองเท้าเทร็คกิ้ง ควรเป็นรองเท้าเทร็คกิ้งจริงๆครับ จะใส่ Sneaker ก็ได้ แต่ผมว่ามันไม่เหมาะและไม่ค่อยสมบุกสมบัน แนะนำให้เป็นแบบ Gore-Tex แบบหุ้มข้อ ช่วยล็อคข้อเท้า ป้องกันขาพลิกได้ครับ
14.เป้ Daypack ที่เราจะสะพายเอง ใส่แค่ของส่วนตัวๆสำคัญ กล้อง มือถือ เงิน เสื้อแจ็คเก็ต กระติกน้ำ อย่าให้ใหญ่เกินไปและเล็กเกินไปครับ ขนาดกะให้ใส่ของที่ว่าและแจ็คเก็ตเราให้พอก็โอเค และอย่ากะให้เราแบกหนักมาก เพราะเดี๋ยวจะเดินไม่ไหวครับ
อุปกรณ์เดินเขาอื่นๆ
1.ไม้เท้าเดินเขา (สำคัญพอๆกับชีวิต เอาไปเถอะ TT ช่วยผ่อนแรงเยอะมาก และช่วยชีวิตไว้หลายครั้งมาก มีช่วงเดินลงแล้วเหยียบหินผิดขาพลิก โชคดีเอาไม้เท้า 2 อันค้ำไว้เลยไม่เป็นไรมาก )
2.ถุงนอน (ควรจะเป็นแบบ comfort ที่ 5 องศาเป็นอย่างน้อยครับ)
3.กระติกน้ำ ขนาด 1 ลิตร
4.ไฟฉายคาดหัว (ถ้าจะไป ไปซื้อเลยครับ มีประโยชน์)
ยา
1.ไทลินอล (ผมเป็น AMS กิน Diamox ไม่หาย แต่กิน ไทลินอลแล้วหายเลยครับ วิ่งได้เลย)
2.ยาคลายกล้ามเนื้อ
3.Diamox
4.โวลทาเรน
ครีมต่างๆ
1.ครีมกันแดด (ทั้งหน้าและตัว)
2.Moisturizer
3.Vaseline
4.Handcreme
อื่นๆ
1.ทิชชู่เปียก (เอาไปเยอะๆ เผื่อไม่อาบน้ำและซักแห้ง หรือเผื่อไว้เช็ดก้นครับ)
2.ทิชชู่แห้ง
3.ถุงซิปล็อค
4.แป้งเด็กแคร์ หรือ แป้งโยคี (ใช้แล้วดีมาก แห้งเว่อร์) เอาไว้ทาเท้าครับ
5.ผ้าเช็ดตัวแห้งเร็ว
6.สบู่-ยาสระผม-สบู่ล้างหน้า-แปรงสีฟัน-ยาสีฟัน
7.ผ้ารัดเข่า รัดข้อเท้า ใส่เพื่อเซฟขา หรือ ใส่ตอนที่เราบาดเจ็บก็ได้ครับ
ถือว่าเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของผมเหมือนกันครับ สำหรับการเดินในที่ออกซิเจนเบาบาง เราจะสังเกตได้ชัดคือเราจะเหนื่อยง่ายขึ้น เร็วขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เราเคยวิ่งได้ครึ่งชั่วโมงโดยเหนื่อยไม่มาก แต่พอออกซิเจนน้อย เราจะเหนื่อยกว่าเดิมมากครับ แต่เรื่องเหนื่อยไม่ใช่เรื่องใหญ่มาก เรานั่งพักซักพัก เราก็หายเหนื่อยครับ แต่ที่น่ากลัวคืออาการ AMS ซึ่งส่งผลมาจากการที่เหนื่อยมากๆ (Pulse สูงมากๆ) ผสมกับออกซิเจนในอากาศน้อย ทำให้ออกซิเจนนั้นไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้เกิดอาการ เวียนหัว ปวดหัว อาจถึงขั้นหมดสติครับ และถึงจุดนั้นบางทีนั่งพักก็ไม่หายครับ เพราะอาการมันล่วงเลยมามากแล้ว
เราต้องเตรียมตัว โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อควบคุม pulse ไม่ให้สูงเกินไป และในระหว่างเดิน ช่วงไต่ระดับ (Deurali - MBC - ABC) ไม่ควรเดินให้ pulse สูงเกินไป จะเดิน pace แบบวันแรกๆ ไม่ได้ ถ้ารู้สึกว่าเหนื่อยให้พัก ค่อยๆ เดินดีกว่า ถึงช้าแต่ชัวร์ ดีกว่าต้องลงครับ ในส่วนของยา สามารถกิน Diamox คุมได้ถ้ามีอาการ และถ้าเอาไม่อยู่ ลองไทลินอลดูครับ เชื่อผม และที่สำคัญ ดื่มน้ำมากๆ ตลอดทริปครับ
เตรียมตัวพร้อมแล้ว
ก็ออกเดินกันเลยครับ!