ไม่รู้ละครชาติพยัคฆ์ ถึงไหนแล้ววันนั้นดูก็ยังเป็นเรื่องความรักอยู่. วันนี้เลยขอเอาเรื่องเงินถุงแดงมาให้อ่านกันอีกรอบ
เงิน ถุงแดง คือเงินที่รัชกาลที่ 3 ทรงสะสมไว้ และเงินรวบรวมจากขุนนางเชื้อพระวงศ์ต่างๆ
เอามาจ่ายค่าปรับให้ฝรั่งเศล
_______________________________
http://ppantip.com/topic/31234861
เงินถุงแดง เงินใช้ในยามฉุกเฉิน เงินของพระมหากษัตริย์ ที่ช่วยให้ไทยไม่เสียเอกราชแก่ ฝรั่งเศล..
เงินที่เรียกกันมาว่า “เงินถุงแดง” นั้นเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้จากการค้าสำเภาส่วนพระองค์ แล้วทรงเก็บสะสมเอาไว้ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์โปรดฯ ให้ใส่ถุงแดงเก็บไว้ข้างพระแท่นบรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่” คำว่า “พระคลังข้างที่” ในเวลาต่อมาก็เนื่องมาจากเงินข้างพระแท่นบรรทมนี้
ในสมัยก่อนโน้นการค้าขายไปมาระหว่างประเทศ อาศัยเรือสำเภา และตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงรัชกาลที่ ๒ มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ การค้าขายส่วนใหญ่ของไทยเป็นการติดต่อค้าขายกับจีนเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ก็มีแขกเช่น อินเดีย มะละกา ชวา (เมืองยักกะตรา) แขกมัวร์ ฯลฯ
สำเภาที่ส่งออกไปค้าขายเมืองจีน เมืองแขกนั้น ส่วนใหญ่เป็นสำเภาของหลวงหรือทางราชการ แต่ไม่ได้ห้ามหวงเอกชน ดังนั้น นอกจากพ่อค้าจีนแล้ว ผู้ใดมีทุนรอนก็แต่งสำเภาออกไปค้าขายได้ ซึ่งส่วนมากเป็นของเจ้านายสูงศักดิ์ หรือของเสนาบดี ขุนทางสูงศักดิ์
ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แต่เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงกำกับกรมท่า (พาณิชย์และต่างประเทศในปัจจุบัน) ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นหัวแรงสำคัญในการจัดการค้าสำเภาหลวง และยังทรงแต่งสำเภาเป็นส่วนของพระองค์ออกไปด้วย ในส่วนของพระองค์เองนั้น ก็ทรงถวายให้สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงใช้สอยมิให้ขาดแคลนเหมือนเมื่อต้นๆ รัชกาล ซึ่ง
“เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พระราชทรัพย์ขัดสน เงินท้องพระคลังจะแจกข้าราชการไม่พอ ต้องลดกึ่งและแบ่ง ๓ แต่ให้ ๒ แทบทุกปี เงินไม่มีต้องเอาผ้าตีให้ก็มีบ้าง มีบัญชีแต่ว่าไปขอยืมเงินในพระบวรราชวังมาแจกเบี้ยหวัด แล้วจึงเก็บเงินค้างใช้คืน เพราะครั้งนั้นพระบวรราชวังค้าสำเภามีกำไรมาก” (จากชุมนุมพระบรมราชาธิบายในรัชกาลที่ ๔)
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงทำให้กิจการค้าขายได้ผลดี ทั้งสำเภาหลวงและในส่วนของพระองค์เอง ปรากฎว่า สมเด็จบรมชนกนาถโปรดปรานอย่างยิ่ง ตรัสเรียกสัพยอกอยู่เสมอว่า “เจ๊สัว” (เจ้าสัว)
ครั้นเมื่อขึ้นแผ่นดินของพระองค์ เพราะทรงพระปรีชาสามารถในการค้าขายกับต่างประเทศอยู่แล้ว ในรัชกาลนี้จึงปรากฎว่า การค้าขายขยายวงกว้างออกไป และมีการปรับปรุงเก็บภาษีอากรเป็นแบบให้เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดรับผิดชอบ เพราะการเก็บแบบเดิมนั้นกระจัดกระจายไปตามบรรดาข้าราชการต่างๆ มักขาดหายไปไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย สำหรับการค้าขายนั้น โปรดฯ ให้ทำสัญญาซื้อขายกับอังกฤษและอเมริกาที่ขอเข้ามาอยู่ จนกระทั่ง ร้อยเอก เฮนี่ เบอร์นี่ (หรือกะปิตันหันตรี บารนี) กลับไปถูกผู้ว่าราชการเมืองสิงคโปร์ (หรือสมัยนั้นเรียกว่าเมืองใหม่) ตำหนิเอา
สำหรับเงินถุงแดงข้างพระที่นั้น ก็ยังทรงเก็บไว้ และคงจะเพิ่มมากขึ้นเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ นอกจากเงินในท้องพระคลังหลวง หรือพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นรายได้จากการเก็บภาษีอากรและ จากการค้าขายของหลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จะว่าเงินถุงแดงของพระองค์เป็นคล้ายเงินทุนสำรองก็คงว่าได้ ซึ่งเมื่อพระราชทานแก่แผ่นดินแล้ว ก็คงเก็บไว้อย่างเดิมโดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงนำออกใช้เลยตลอดรัชกาลของพระองค์ และยังคงอยู่ตลอดมาจนกระทั่งได้นำออก “ไถ่บ้านไถ่เมือง” จริงๆ ตามที่ทรงมีพระราชปรารภทรงมองเห็นการณ์ไกลเอาไว้นั้น
คือเมื่อรบกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ “เงินถุงแดง” มีดังนี้
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๑ ประเทศไทยมีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือเรื่องเมืองไล อันเป็นเมืองอยู่ในดินแดนสิบสองจุไท ตรงตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งขณะนั้น เป็นดินแดนของไทย ไทยถือว่า เมืองไล เป็นดินแดนของไทย จีนก็ถือว่าเป็นของจีน และฝรั่งเศสก็ถือว่าเป็นของฝรั่งเศส จึงมีการเจรจากันเพื่อรังวัด แต่เหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ เพราะฝรั่งเศสคอยพาลกลาวหาว่า ไทยรุกล้ำดินแดนญวนและเขมร ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองเป็นอาณานิคมไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้รวมเมืองต่างๆขึ้นเป็นภาค เช่น ภาคอุดร ภาคอีสาน ภาคลาวพวน ลาวกาว ลาวพุงขาว ต่อมาเกิดกรณีพิพาทในการรังวัดเขตแดน เช่น แย่งปักธงในทุ่งเชียงคำ เขตลาวพวน และถึง พ.ศ.๒๔๓๖ เกิดกรณีพระยอดเมืองขวาง ต่อสู้กับ นายทหารฝรั่งเศส ซึ่งจะขับไล่ไทยออกจากเมืองคำม่วน ฝ่ายฝรั่งเศสแพ้ นายทหารฝรั่งเศสตาย ๑ คน ทหารญวนตายประมาณ ๒๐ คน ไทยตาย ๕-๖ คน
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบโคเมต์ กับเรือลังกองสตอง เข้ามาในน่านน้ำไทย สมทบกับเรือลูตัง ซึ่งเข้ามาจอดอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕ ทั้งนี้ก็เพราะฝรั่งเศสมีเจตนาจะยึดครองดินแดนไทยให้ได้
เมื่อเรือทั้ง ๒ ลำของฝรั่งเศสเข้ามาถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า เรืออรรคเรศของไทยจึงยิงเรือรบฝรั่งเศสเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติไทย ขณะนั้นฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจและประสงค์จะยึดครองไทยเป็นอาณานิคม เหมือนดังที่ยึดครองดินแดนประเทศต่างๆในอินโดจีนไว้หมดแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงต้องทรงดำเนินนโยบาย เสียน้อยเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ มีการเจรจาตกลงกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งในที่สุดไทยต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส เป็นเงิน ๓ ล้านบาท และไทยต้องสละสิทธิในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน ซึ่งยึดไว้เป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี
สมภพ จันทรประภา อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร เขียนเล่าไว้ว่า
“พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงนำเงินที่ใส่ ‘ถุงแอง’ จำนวนสามหมื่นชั่ง (๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท) ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้สำหรับแผ่นดิน และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงนำไปใช้จ่าย มาทรงใช้ในการนี้ และส่วนที่ยังขาดอยู่ ๖ แสนบาทนั้น ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายในช่วยกันออก ส่วนใหญ่เป็นของ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ที่ทรงเก็บไว้ใต้ถุนตำหนัก”
จึงนับได้ว่า “เงินถุงแดง” นี้ ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ได้หาไม่แล้ว ความพยายามหลากหลายวิธีของฝรั่งเศสก็จะต้องสัมฤทธิผลและไทยจะต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับระเทศเพื่อนบ้านของไทย แต่เป็นบุญของชาติไทยที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงรักชาติบ้านเมือง ทรงรักและซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินและประชาชนดังเช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพสกนิกรไทยทั้งปวงสมควรน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ยิ่งใหญ่ไพศาลตลอดกาล
_____
ปี พ ศ. 2435 สยาม ปฎิรูปประเทศในหลายด้าน
มีการตั้งกระทรวง มีการจัดหน่วยทหารแบบตะวันตก
มีการสร้าง ป้อมปืนรุ่นใหม่ ที่ป้อมปากทางเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแหลมฟ้าผ่าในปัจจุบัน
แต่ด้วยกำลังการทหาร ที่ยังด้อยกว่าต่างชาติ
ทำให้เรือรบฝรั่งเศลบุกเข้ามาได้ถึง เจริญกรุง จอดหน้าสถานฑูตฝรั่งเศส
ไม่รู้ละครชาติพยัคฆ์ ถึงไหนแล้ววันนั้นดูก็ยังเป็นเรื่องความรักอยู่. วันนี้เลยขอเอาเรื่องเงินถุงแดงมาให้อ่านกันอีกรอบ
เงิน ถุงแดง คือเงินที่รัชกาลที่ 3 ทรงสะสมไว้ และเงินรวบรวมจากขุนนางเชื้อพระวงศ์ต่างๆ
เอามาจ่ายค่าปรับให้ฝรั่งเศล
_______________________________
http://ppantip.com/topic/31234861
เงินถุงแดง เงินใช้ในยามฉุกเฉิน เงินของพระมหากษัตริย์ ที่ช่วยให้ไทยไม่เสียเอกราชแก่ ฝรั่งเศล..
เงินที่เรียกกันมาว่า “เงินถุงแดง” นั้นเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้จากการค้าสำเภาส่วนพระองค์ แล้วทรงเก็บสะสมเอาไว้ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์โปรดฯ ให้ใส่ถุงแดงเก็บไว้ข้างพระแท่นบรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่” คำว่า “พระคลังข้างที่” ในเวลาต่อมาก็เนื่องมาจากเงินข้างพระแท่นบรรทมนี้
ในสมัยก่อนโน้นการค้าขายไปมาระหว่างประเทศ อาศัยเรือสำเภา และตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงรัชกาลที่ ๒ มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ การค้าขายส่วนใหญ่ของไทยเป็นการติดต่อค้าขายกับจีนเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ก็มีแขกเช่น อินเดีย มะละกา ชวา (เมืองยักกะตรา) แขกมัวร์ ฯลฯ
สำเภาที่ส่งออกไปค้าขายเมืองจีน เมืองแขกนั้น ส่วนใหญ่เป็นสำเภาของหลวงหรือทางราชการ แต่ไม่ได้ห้ามหวงเอกชน ดังนั้น นอกจากพ่อค้าจีนแล้ว ผู้ใดมีทุนรอนก็แต่งสำเภาออกไปค้าขายได้ ซึ่งส่วนมากเป็นของเจ้านายสูงศักดิ์ หรือของเสนาบดี ขุนทางสูงศักดิ์
ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แต่เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงกำกับกรมท่า (พาณิชย์และต่างประเทศในปัจจุบัน) ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นหัวแรงสำคัญในการจัดการค้าสำเภาหลวง และยังทรงแต่งสำเภาเป็นส่วนของพระองค์ออกไปด้วย ในส่วนของพระองค์เองนั้น ก็ทรงถวายให้สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงใช้สอยมิให้ขาดแคลนเหมือนเมื่อต้นๆ รัชกาล ซึ่ง
“เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พระราชทรัพย์ขัดสน เงินท้องพระคลังจะแจกข้าราชการไม่พอ ต้องลดกึ่งและแบ่ง ๓ แต่ให้ ๒ แทบทุกปี เงินไม่มีต้องเอาผ้าตีให้ก็มีบ้าง มีบัญชีแต่ว่าไปขอยืมเงินในพระบวรราชวังมาแจกเบี้ยหวัด แล้วจึงเก็บเงินค้างใช้คืน เพราะครั้งนั้นพระบวรราชวังค้าสำเภามีกำไรมาก” (จากชุมนุมพระบรมราชาธิบายในรัชกาลที่ ๔)
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงทำให้กิจการค้าขายได้ผลดี ทั้งสำเภาหลวงและในส่วนของพระองค์เอง ปรากฎว่า สมเด็จบรมชนกนาถโปรดปรานอย่างยิ่ง ตรัสเรียกสัพยอกอยู่เสมอว่า “เจ๊สัว” (เจ้าสัว)
ครั้นเมื่อขึ้นแผ่นดินของพระองค์ เพราะทรงพระปรีชาสามารถในการค้าขายกับต่างประเทศอยู่แล้ว ในรัชกาลนี้จึงปรากฎว่า การค้าขายขยายวงกว้างออกไป และมีการปรับปรุงเก็บภาษีอากรเป็นแบบให้เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดรับผิดชอบ เพราะการเก็บแบบเดิมนั้นกระจัดกระจายไปตามบรรดาข้าราชการต่างๆ มักขาดหายไปไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย สำหรับการค้าขายนั้น โปรดฯ ให้ทำสัญญาซื้อขายกับอังกฤษและอเมริกาที่ขอเข้ามาอยู่ จนกระทั่ง ร้อยเอก เฮนี่ เบอร์นี่ (หรือกะปิตันหันตรี บารนี) กลับไปถูกผู้ว่าราชการเมืองสิงคโปร์ (หรือสมัยนั้นเรียกว่าเมืองใหม่) ตำหนิเอา
สำหรับเงินถุงแดงข้างพระที่นั้น ก็ยังทรงเก็บไว้ และคงจะเพิ่มมากขึ้นเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ นอกจากเงินในท้องพระคลังหลวง หรือพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นรายได้จากการเก็บภาษีอากรและ จากการค้าขายของหลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จะว่าเงินถุงแดงของพระองค์เป็นคล้ายเงินทุนสำรองก็คงว่าได้ ซึ่งเมื่อพระราชทานแก่แผ่นดินแล้ว ก็คงเก็บไว้อย่างเดิมโดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงนำออกใช้เลยตลอดรัชกาลของพระองค์ และยังคงอยู่ตลอดมาจนกระทั่งได้นำออก “ไถ่บ้านไถ่เมือง” จริงๆ ตามที่ทรงมีพระราชปรารภทรงมองเห็นการณ์ไกลเอาไว้นั้น
คือเมื่อรบกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ “เงินถุงแดง” มีดังนี้
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๑ ประเทศไทยมีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือเรื่องเมืองไล อันเป็นเมืองอยู่ในดินแดนสิบสองจุไท ตรงตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งขณะนั้น เป็นดินแดนของไทย ไทยถือว่า เมืองไล เป็นดินแดนของไทย จีนก็ถือว่าเป็นของจีน และฝรั่งเศสก็ถือว่าเป็นของฝรั่งเศส จึงมีการเจรจากันเพื่อรังวัด แต่เหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ เพราะฝรั่งเศสคอยพาลกลาวหาว่า ไทยรุกล้ำดินแดนญวนและเขมร ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองเป็นอาณานิคมไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้รวมเมืองต่างๆขึ้นเป็นภาค เช่น ภาคอุดร ภาคอีสาน ภาคลาวพวน ลาวกาว ลาวพุงขาว ต่อมาเกิดกรณีพิพาทในการรังวัดเขตแดน เช่น แย่งปักธงในทุ่งเชียงคำ เขตลาวพวน และถึง พ.ศ.๒๔๓๖ เกิดกรณีพระยอดเมืองขวาง ต่อสู้กับ นายทหารฝรั่งเศส ซึ่งจะขับไล่ไทยออกจากเมืองคำม่วน ฝ่ายฝรั่งเศสแพ้ นายทหารฝรั่งเศสตาย ๑ คน ทหารญวนตายประมาณ ๒๐ คน ไทยตาย ๕-๖ คน
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบโคเมต์ กับเรือลังกองสตอง เข้ามาในน่านน้ำไทย สมทบกับเรือลูตัง ซึ่งเข้ามาจอดอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕ ทั้งนี้ก็เพราะฝรั่งเศสมีเจตนาจะยึดครองดินแดนไทยให้ได้
เมื่อเรือทั้ง ๒ ลำของฝรั่งเศสเข้ามาถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า เรืออรรคเรศของไทยจึงยิงเรือรบฝรั่งเศสเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติไทย ขณะนั้นฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจและประสงค์จะยึดครองไทยเป็นอาณานิคม เหมือนดังที่ยึดครองดินแดนประเทศต่างๆในอินโดจีนไว้หมดแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงต้องทรงดำเนินนโยบาย เสียน้อยเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ มีการเจรจาตกลงกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งในที่สุดไทยต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส เป็นเงิน ๓ ล้านบาท และไทยต้องสละสิทธิในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน ซึ่งยึดไว้เป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี
สมภพ จันทรประภา อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร เขียนเล่าไว้ว่า
“พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงนำเงินที่ใส่ ‘ถุงแอง’ จำนวนสามหมื่นชั่ง (๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท) ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้สำหรับแผ่นดิน และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงนำไปใช้จ่าย มาทรงใช้ในการนี้ และส่วนที่ยังขาดอยู่ ๖ แสนบาทนั้น ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายในช่วยกันออก ส่วนใหญ่เป็นของ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ที่ทรงเก็บไว้ใต้ถุนตำหนัก”
จึงนับได้ว่า “เงินถุงแดง” นี้ ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ได้หาไม่แล้ว ความพยายามหลากหลายวิธีของฝรั่งเศสก็จะต้องสัมฤทธิผลและไทยจะต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับระเทศเพื่อนบ้านของไทย แต่เป็นบุญของชาติไทยที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงรักชาติบ้านเมือง ทรงรักและซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินและประชาชนดังเช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพสกนิกรไทยทั้งปวงสมควรน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ยิ่งใหญ่ไพศาลตลอดกาล
_____
ปี พ ศ. 2435 สยาม ปฎิรูปประเทศในหลายด้าน
มีการตั้งกระทรวง มีการจัดหน่วยทหารแบบตะวันตก
มีการสร้าง ป้อมปืนรุ่นใหม่ ที่ป้อมปากทางเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแหลมฟ้าผ่าในปัจจุบัน
แต่ด้วยกำลังการทหาร ที่ยังด้อยกว่าต่างชาติ
ทำให้เรือรบฝรั่งเศลบุกเข้ามาได้ถึง เจริญกรุง จอดหน้าสถานฑูตฝรั่งเศส