ปาก นอกจากจะมีหน้าที่เคี้ยวอาหารก่อนที่จะถูกลำเลียงลงสู่กระเพาะแล้ว มันยังมีหน้าที่อีกอย่างที่สำคัญไม่หย่อนกว่ากัน นั่นคือเอาไว้พูดสื่อสารระหว่างกัน และเพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการพูด ก็ต้องมีการหยอกล้อเย้าแหย่กันบ้าง บางคนอาจประสงค์ดีในการหยอกล้อ อยากให้คนรอบข้างมีความสุข แต่พอเย้าเข้าหน่อยกลับกลายเป็นการเอาความทุกข์ไปทับถมเขาเสียนี่ บางทีแทนที่คนรอบข้างจะมารุมล้อม อาจกลายเป็นมาล้อมรุมแทน ฉะนั้นสมควรอย่างยิ่งยวดที่เราจักต้องศึกษา และทำความเข้าใจถึงกรอบและมารยาทที่อิสลามได้วางไว้ในการหยอกล้อ เพราะ...
คำพูดหนึ่งคำอาจเป็นเหตุให้ผู้พูดเข้าสู่สวนสวรรค์ แต่ในทางกลับกันมันอาจเป็นชนวนให้ผู้พูดตกขุมนรกก็อาจเป็นไปได้
มารยาทในการหยอกล้อ
1. ไม่หยอกล้อในเชิงดูถูกดูแคลน
หรือเย้ยหยันในคำสอนของศาสนา ไม่ว่าคำสอนนั้นจะเป็นวาญิบหรือสุนัตก็ตาม เพราะการกระทำเช่นนั้นก็เสมือนกับการดูถูกดูแคลนผู้ที่ประทานคำสอนเหล่านั้นมา นั่นคือเอกองค์อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา- ซึ่งเป็นผลให้ผู้ที่กระทำเช่นนั้นหลุดพ้นจากสภาพความเป็นมุสลิม (มุรตัด)
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า:
ความว่า: และถ้าหากเจ้าได้ถามพวกเขา แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า แท้จริงพวกเราเป็นแต่พูดสนุกและพูดเล่นเท่านั้น จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าต่ออัลลอฮฺและโองการของพระองค์และเราะสูลของพระองค์กระนั้นหรือที่พวกท่านเย้ยหยันกัน พวกท่านอย่าแก้ตัวเลย แท้จริงพวกท่านได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว หลังจากมีการศรัทธาของพวกท่าน... [อัตเตาบะฮฺ:65-66]
การดูถูกดูแคลนหรือเย้ยหยันคำสอนของศาสนานั้น บางอุละมาอฺได้แบ่งออกเป็นสองประเภท นั่นคือ
- การเย้ยหยันโดยทางตรง เช่นการพูดดูถูกดูแคลนการละหมาด เป็นต้น
- การเย้ยหยันโดยทางอ้อม ซึ่งจะเป็นในรูปแบบของการแสดงท่าทางที่สื่อถึงการเย้ยหยัน เช่นการแลบลิ้นต่อคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นต้น
นอกจากการเย้ยหยันคำสอนแล้ว การเย้ยหยันผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอน เนื่องจากเขาได้ปฏิบัติตามคำสอนนั้น ๆ ก็ถือว่าเหมือนกับการเย้ยหยันคำสอนนั้น ๆ เช่นการพูดดูถูกดูแคลนคนที่ไว้เคราเนื่องจากเขาได้ไว้เครา เป็นต้น
2. ไม่หยอกล้อนอกจากเรื่องสัจจริง
การพูดปดมดเท็จถือเป็นบาปใหญ่ในศาสนาอิสลาม อีกทั้งมันยังเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพวกมุนาฟิก ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ได้กล่าวว่า:
ความว่า: สัญลักษณ์ของพวกมุนาฟิกมีอยู่สามประการ เมื่อเขาพูดเขาก็โกหก เมื่อเขาทำสัญญาเขาก็เบี้ยว และเมื่อเขาถูกมอบความไว้วางใจเขาก็ไม่ซื่อสัตย์ [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์: 33 และมุสลิม: 208]
ถึงแม้ว่าการหยอกล้อจะเป็นที่อนุญาต แต่ถ้าสื่อของการหยอกล้อเป็นสิ่งที่หะรอม โดยการแต่งเนื้อปั้นเรื่องโดยไม่มีมูลความจริง มันก็ทำให้การหยอกล้อนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม
ท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ได้กล่าวว่า:
ความว่า: ความหายนะจงประสบแก่ผู้ที่พูดแล้วเขาก็โกหก เพื่อให้หมู่ชนหัวเราะ ความหายนะจงประสบแก่เขา [บันทึกโดยอบูดาวูด: 4982]
มารยาทในการหยอกล้อกับมุมมองคำสอนศาสนาอิสลาม
คำพูดหนึ่งคำอาจเป็นเหตุให้ผู้พูดเข้าสู่สวนสวรรค์ แต่ในทางกลับกันมันอาจเป็นชนวนให้ผู้พูดตกขุมนรกก็อาจเป็นไปได้
มารยาทในการหยอกล้อ
1. ไม่หยอกล้อในเชิงดูถูกดูแคลน
หรือเย้ยหยันในคำสอนของศาสนา ไม่ว่าคำสอนนั้นจะเป็นวาญิบหรือสุนัตก็ตาม เพราะการกระทำเช่นนั้นก็เสมือนกับการดูถูกดูแคลนผู้ที่ประทานคำสอนเหล่านั้นมา นั่นคือเอกองค์อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา- ซึ่งเป็นผลให้ผู้ที่กระทำเช่นนั้นหลุดพ้นจากสภาพความเป็นมุสลิม (มุรตัด)
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า:
ความว่า: และถ้าหากเจ้าได้ถามพวกเขา แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า แท้จริงพวกเราเป็นแต่พูดสนุกและพูดเล่นเท่านั้น จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าต่ออัลลอฮฺและโองการของพระองค์และเราะสูลของพระองค์กระนั้นหรือที่พวกท่านเย้ยหยันกัน พวกท่านอย่าแก้ตัวเลย แท้จริงพวกท่านได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว หลังจากมีการศรัทธาของพวกท่าน... [อัตเตาบะฮฺ:65-66]
การดูถูกดูแคลนหรือเย้ยหยันคำสอนของศาสนานั้น บางอุละมาอฺได้แบ่งออกเป็นสองประเภท นั่นคือ
- การเย้ยหยันโดยทางตรง เช่นการพูดดูถูกดูแคลนการละหมาด เป็นต้น
- การเย้ยหยันโดยทางอ้อม ซึ่งจะเป็นในรูปแบบของการแสดงท่าทางที่สื่อถึงการเย้ยหยัน เช่นการแลบลิ้นต่อคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นต้น
นอกจากการเย้ยหยันคำสอนแล้ว การเย้ยหยันผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอน เนื่องจากเขาได้ปฏิบัติตามคำสอนนั้น ๆ ก็ถือว่าเหมือนกับการเย้ยหยันคำสอนนั้น ๆ เช่นการพูดดูถูกดูแคลนคนที่ไว้เคราเนื่องจากเขาได้ไว้เครา เป็นต้น
2. ไม่หยอกล้อนอกจากเรื่องสัจจริง
การพูดปดมดเท็จถือเป็นบาปใหญ่ในศาสนาอิสลาม อีกทั้งมันยังเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพวกมุนาฟิก ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ได้กล่าวว่า:
ความว่า: สัญลักษณ์ของพวกมุนาฟิกมีอยู่สามประการ เมื่อเขาพูดเขาก็โกหก เมื่อเขาทำสัญญาเขาก็เบี้ยว และเมื่อเขาถูกมอบความไว้วางใจเขาก็ไม่ซื่อสัตย์ [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์: 33 และมุสลิม: 208]
ถึงแม้ว่าการหยอกล้อจะเป็นที่อนุญาต แต่ถ้าสื่อของการหยอกล้อเป็นสิ่งที่หะรอม โดยการแต่งเนื้อปั้นเรื่องโดยไม่มีมูลความจริง มันก็ทำให้การหยอกล้อนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม
ท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ได้กล่าวว่า:
ความว่า: ความหายนะจงประสบแก่ผู้ที่พูดแล้วเขาก็โกหก เพื่อให้หมู่ชนหัวเราะ ความหายนะจงประสบแก่เขา [บันทึกโดยอบูดาวูด: 4982]