“จอน อึ๊งภากรณ์” ชี้ ร่าง รธน.ปี 59 บริการสุขภาพถอยหลังเข้าคลอง กำหนดสิทธิรักษาฟรีเฉพาะผู้ยากไร้เหมือน รธน.ปี 50 หลังประเทศไทยดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถึง 14 ปี สวนกระแสทั่วโลกชื่นชม หวั่นทำระบบ 30 บาทกลายเป็นบริการรักษาชั้น 3 เหตุผู้บริหารประเทศไม่เข้าใจ ระบุต้องให้ประชาชนเข้าใจผลกระทบต่อบริการทางสังคม หากผ่านประชามติ รธน.ฉบับนี้
21 เม.ย. 2559 จอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวถึงสิทธิด้านการรักษาพยาบาลและบริการสุขภาพ ในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 ที่เตรียมจะลงประชามติ ว่า ในรัฐธรรมนูญปี 2550 เคยงงว่า ในเมื่อประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วตั้งแต่ปี 2545 ทำไมจึงมีการระบุให้สิทธิการรักษาพยาบาลในสถานบริการภาครัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะในส่วนของผู้ยากไร้เท่านั้น และในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 ก็ยังระบุเช่นเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นเนื้อหาที่ไม่ทันสมัยกับสถานการณ์ เนื่องจากประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มของประเทศ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงไม่ควรกำหนดสิทธิเฉพาะผู้ยากไร้ แต่ควรระบุว่าประชาชนทุกภาคส่วนมีสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพภาครัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแทน หรือรัฐต้องจัดให้ประชาชนทุกส่วนเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน
“การที่ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 เขียนให้เฉพาะคนยากไร้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับการรักษาพยาบาล สิ่งที่จะตามมาคือจะก่อให้เกิดการแบ่งชนชั้นในสังคม และแทนที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นของประชาชนทุกคน ในที่สุดจะกลายเป็นการจัดระบบรักษาพยาบาลสำหรับคนยากจนเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นคนยากจนจะได้รับบริการชั้น 3 โดยเป็นบริการรักษาพยาบาลที่ด้อยกว่าประชาชนกลุ่มอื่นๆ” ที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวและว่า ตอนรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ควรตัดคำว่าผู้ยากไร้ออกเพราะเรามีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว แต่ในปี 2559 กลับยังเขียนแบบเดิมอีก สะท้อนให้เห็นถึงการไม่ยอมรับคุณค่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ทั่วโลกต่างชื่นชม
จอน กล่าวว่า ขณะเดียวกันนอกจากการตัดคำว่าคนยากไร้ออกจากร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ควรเพิ่มเติมคำว่าเสมอภาคด้วย คือทุกคนต้องมีสิทธิรับการรักษาพยาบาลเสมอกัน โดยรัฐบาลต้องจัดบริการสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และต้องเป็นบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ถือเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐต้องทำเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม
ต่อข้อซักถามว่า เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าผู้ร่างไม่มีความเข้าใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จอน กล่าวว่า อาจมีความเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ได้ หรือมีความตั้งใจที่จะระบุเนื้อหาเช่นนี้ ซึ่งเท่าที่ดูร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลายประเด็นที่น่าเป็นห่วง ดูแล้วเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ไม่แต่เฉพาะด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีด้านการศึกษาที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะมีการลดสิทธิและจำกัดสิทธิประชาชน อาทิ การจำกัดเรื่องระดับการศึกษา ซึ่งหากเราดูประเทศที่พัฒนาแล้วที่ไต่มาจากประเทศโลกที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้และจีน ประเทศเหล่านี้ต่างต้องพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาและสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงถ้วนหน้า ซึ่งเป็นหลักการสำคัญ
“ผมอาจบอกได้ว่า ผู้บริหารประเทศในปัจจุบันไม่เข้าใจระบบสวัสดิการสังคมที่เป็นพื้นฐานของประเทศ ซึ่งผู้บริหารประเทศเป็นทหารไม่เข้าใจเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องควบคู่กันไป การพัฒนาเศรษฐกิจจะเดินไปไม่ได้ หากไม่พัฒนาบริการสังคมให้ประชาชนเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถ้วนหน้า ประชาชนต้องมีโอกาสทางการศึกษาเท่ากันไม่ว่ารวยหรือจน รวมถึงการเข้าถึงระบบสุขภาพที่เท่าเทียมกัน ซึ่งหากผู้บริหารประเทศไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศเสียหาย การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการถอยหลังในแง่ของประชาชนที่ต้องเข้าถึงสวัสดิการที่จำเป็นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีถ้วนหน้า”
ส่วนที่มองว่าการระบุในร่างรัฐธรรมนูญโดยจำกัดระบบหลักประกันสุขภาพที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายให้เฉพาะคนยากไร้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเดินหน้าแนวทางการร่วมจ่าย จอน กล่าวว่า หากเป็นการร่วมจ่ายต้องเป็นรูปแบบภาษี และขณะนี้มองว่าทุกคนมีสิทธิเข้าถึงได้ แต่ที่กังวลคือขณะนี้มีความพยายามผลักดันให้ทบทวน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อาจนำความคิดแบบเก่า มองว่าคนมีเงินควรจ่ายส่วนหนึ่งของค่ารักษา โดยไม่ใช่การจ่ายเบี้ยประกันล่วงหน้าตามฐานะและความสามารถจากการจ่ายภาษีอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ระบบถอยหลังเข้าคลอง ขณะที่เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 เท่าที่ดูยังล้าสมัย เพราะไม่ได้ให้หลักประกันสุขภาพกับประชาชนทุกส่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมามีการเดินหน้าปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงการปฏิรูประบบสุขภาพ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะขัดแย้งกับการปฏิรูปที่ดำเนินอยู่หรือไม่ จอน กล่าวว่า ที่ผ่านมายังมองไม่เห็นการปฏิรูปที่ลดความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น อาจมีการพูดถึงการเก็บภาษีที่ดินหรือภาษีมรดกบ้าง แต่ก็ยังไม่เป็นจริง และหลายอย่างยังเป็นการถอยหลัง อย่างสิทธิชุมชนซึ่งมีการไล่ประชาชนออกจากที่ดินทำกิน จากที่เคยร่วมใช้ทรัพยากรดิน น้ำและป่าร่วมกัน รวมถึงความพยายามรื้อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยอ้างภาระงบประมาณรัฐจ่ายไม่ไหว ดังนั้นการปฏิรูปที่ผ่านมาจึงมองเห็นแต่การถอยหลัง ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเราไม่มีพรรคการเมืองที่จะให้เลือกว่าจะรับนโยบายส่วนไหน ปัจจุบันยังเป็นนโยบายจากฝ่ายทหารที่ไม่เข้าใจการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่พัฒนาสังคมว่าทำไม่ได้
ต่อข้อซักถามเพิ่มเติมว่า ในมาตรา 258 ที่ระบุว่า ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการ และการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน จะขัดแย้งกับเนื้อหารัฐธรรมนูญข้างต้นหรือไม่ ทั้งในกรณีที่ระบุถึงผู้ยากไร้ และไม่มีเสมอภาคนั้น จอน กล่าวว่า เท่าที่ดูจากเนื้อหารัฐธรรมนูญ คิดว่าคนเขียนยังคงไม่เข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ แต่ไม่ได้สนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพแน่นอน รวมถึงสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงระบบสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันของประชนทุกส่วน
จอน กล่าวเพิ่มเติ่มว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกันให้ประชาชนเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะลงประชามตินี้มีสาระอย่างไร และจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างหากผ่านการลงประชามติและบังคับใช้ ซึ่งอาจทำให้บริการสังคมของประเทศที่มีอยู่ถอยหลังได้ รวมถึงสิทธิเสรีภาพและสิทธิทางสังคมในปัจจุบัน ซึ่งต้องช่วยกัน
JJNY : 'จอน' ชี้ ร่าง รธน.มีชัย ให้สิทธิรักษาฟรีเฉพาะผู้ยากไร้ ทำระบบ 30 บาท อนาถา
21 เม.ย. 2559 จอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวถึงสิทธิด้านการรักษาพยาบาลและบริการสุขภาพ ในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 ที่เตรียมจะลงประชามติ ว่า ในรัฐธรรมนูญปี 2550 เคยงงว่า ในเมื่อประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วตั้งแต่ปี 2545 ทำไมจึงมีการระบุให้สิทธิการรักษาพยาบาลในสถานบริการภาครัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะในส่วนของผู้ยากไร้เท่านั้น และในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 ก็ยังระบุเช่นเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นเนื้อหาที่ไม่ทันสมัยกับสถานการณ์ เนื่องจากประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มของประเทศ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงไม่ควรกำหนดสิทธิเฉพาะผู้ยากไร้ แต่ควรระบุว่าประชาชนทุกภาคส่วนมีสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพภาครัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแทน หรือรัฐต้องจัดให้ประชาชนทุกส่วนเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน
“การที่ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 เขียนให้เฉพาะคนยากไร้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับการรักษาพยาบาล สิ่งที่จะตามมาคือจะก่อให้เกิดการแบ่งชนชั้นในสังคม และแทนที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นของประชาชนทุกคน ในที่สุดจะกลายเป็นการจัดระบบรักษาพยาบาลสำหรับคนยากจนเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นคนยากจนจะได้รับบริการชั้น 3 โดยเป็นบริการรักษาพยาบาลที่ด้อยกว่าประชาชนกลุ่มอื่นๆ” ที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวและว่า ตอนรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ควรตัดคำว่าผู้ยากไร้ออกเพราะเรามีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว แต่ในปี 2559 กลับยังเขียนแบบเดิมอีก สะท้อนให้เห็นถึงการไม่ยอมรับคุณค่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ทั่วโลกต่างชื่นชม
จอน กล่าวว่า ขณะเดียวกันนอกจากการตัดคำว่าคนยากไร้ออกจากร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ควรเพิ่มเติมคำว่าเสมอภาคด้วย คือทุกคนต้องมีสิทธิรับการรักษาพยาบาลเสมอกัน โดยรัฐบาลต้องจัดบริการสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และต้องเป็นบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ถือเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐต้องทำเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม
ต่อข้อซักถามว่า เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าผู้ร่างไม่มีความเข้าใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จอน กล่าวว่า อาจมีความเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ได้ หรือมีความตั้งใจที่จะระบุเนื้อหาเช่นนี้ ซึ่งเท่าที่ดูร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลายประเด็นที่น่าเป็นห่วง ดูแล้วเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ไม่แต่เฉพาะด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีด้านการศึกษาที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะมีการลดสิทธิและจำกัดสิทธิประชาชน อาทิ การจำกัดเรื่องระดับการศึกษา ซึ่งหากเราดูประเทศที่พัฒนาแล้วที่ไต่มาจากประเทศโลกที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้และจีน ประเทศเหล่านี้ต่างต้องพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาและสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงถ้วนหน้า ซึ่งเป็นหลักการสำคัญ
“ผมอาจบอกได้ว่า ผู้บริหารประเทศในปัจจุบันไม่เข้าใจระบบสวัสดิการสังคมที่เป็นพื้นฐานของประเทศ ซึ่งผู้บริหารประเทศเป็นทหารไม่เข้าใจเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องควบคู่กันไป การพัฒนาเศรษฐกิจจะเดินไปไม่ได้ หากไม่พัฒนาบริการสังคมให้ประชาชนเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถ้วนหน้า ประชาชนต้องมีโอกาสทางการศึกษาเท่ากันไม่ว่ารวยหรือจน รวมถึงการเข้าถึงระบบสุขภาพที่เท่าเทียมกัน ซึ่งหากผู้บริหารประเทศไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศเสียหาย การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการถอยหลังในแง่ของประชาชนที่ต้องเข้าถึงสวัสดิการที่จำเป็นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีถ้วนหน้า”
ส่วนที่มองว่าการระบุในร่างรัฐธรรมนูญโดยจำกัดระบบหลักประกันสุขภาพที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายให้เฉพาะคนยากไร้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเดินหน้าแนวทางการร่วมจ่าย จอน กล่าวว่า หากเป็นการร่วมจ่ายต้องเป็นรูปแบบภาษี และขณะนี้มองว่าทุกคนมีสิทธิเข้าถึงได้ แต่ที่กังวลคือขณะนี้มีความพยายามผลักดันให้ทบทวน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อาจนำความคิดแบบเก่า มองว่าคนมีเงินควรจ่ายส่วนหนึ่งของค่ารักษา โดยไม่ใช่การจ่ายเบี้ยประกันล่วงหน้าตามฐานะและความสามารถจากการจ่ายภาษีอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ระบบถอยหลังเข้าคลอง ขณะที่เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 เท่าที่ดูยังล้าสมัย เพราะไม่ได้ให้หลักประกันสุขภาพกับประชาชนทุกส่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมามีการเดินหน้าปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงการปฏิรูประบบสุขภาพ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะขัดแย้งกับการปฏิรูปที่ดำเนินอยู่หรือไม่ จอน กล่าวว่า ที่ผ่านมายังมองไม่เห็นการปฏิรูปที่ลดความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น อาจมีการพูดถึงการเก็บภาษีที่ดินหรือภาษีมรดกบ้าง แต่ก็ยังไม่เป็นจริง และหลายอย่างยังเป็นการถอยหลัง อย่างสิทธิชุมชนซึ่งมีการไล่ประชาชนออกจากที่ดินทำกิน จากที่เคยร่วมใช้ทรัพยากรดิน น้ำและป่าร่วมกัน รวมถึงความพยายามรื้อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยอ้างภาระงบประมาณรัฐจ่ายไม่ไหว ดังนั้นการปฏิรูปที่ผ่านมาจึงมองเห็นแต่การถอยหลัง ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเราไม่มีพรรคการเมืองที่จะให้เลือกว่าจะรับนโยบายส่วนไหน ปัจจุบันยังเป็นนโยบายจากฝ่ายทหารที่ไม่เข้าใจการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่พัฒนาสังคมว่าทำไม่ได้
ต่อข้อซักถามเพิ่มเติมว่า ในมาตรา 258 ที่ระบุว่า ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการ และการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน จะขัดแย้งกับเนื้อหารัฐธรรมนูญข้างต้นหรือไม่ ทั้งในกรณีที่ระบุถึงผู้ยากไร้ และไม่มีเสมอภาคนั้น จอน กล่าวว่า เท่าที่ดูจากเนื้อหารัฐธรรมนูญ คิดว่าคนเขียนยังคงไม่เข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ แต่ไม่ได้สนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพแน่นอน รวมถึงสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงระบบสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันของประชนทุกส่วน
จอน กล่าวเพิ่มเติ่มว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกันให้ประชาชนเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะลงประชามตินี้มีสาระอย่างไร และจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างหากผ่านการลงประชามติและบังคับใช้ ซึ่งอาจทำให้บริการสังคมของประเทศที่มีอยู่ถอยหลังได้ รวมถึงสิทธิเสรีภาพและสิทธิทางสังคมในปัจจุบัน ซึ่งต้องช่วยกัน