ดีแทคเขย่าองค์กรอีกรอบปิดแจ๋ว-ปรับแบรนด์'แฮปปี้'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559
"ดีแทค" เขย่าองค์กรรับแข่งดุ ขยับโครงสร้างใหม่จากเดิม 5 พื้นที่เหลือ 4 เพิ่มความคล่องตัว โฟกัสบริการการเงินตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ เลิกบริการ "แจ๋ว" ผ่านตัวแทน 7 พันแห่งเหลือแค่ "อีวอลเลต" จ่อรีแบรนด์ปรับลุกลดบทบาทแบรนด์ "แฮปปี้"
แหล่งข่าวจาก บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากกลางปีที่ผ่านมา บริษัทปรับรูปแบบการบริหารงานภายใน โดยกระจายอำนาจในการบริหารจัดการทั้งการตลาด และการขายลงไปในแต่ละพื้นที่ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้อำนวยการภาค (Regional Business Head หรือ RBH) ซึ่งเปรียบได้กับ มินิซีอีโอ ดูแลในแต่ละพื้นที่รายงานตรงกับ ซีอีโอ ล่าสุดได้ปรับใหม่โดยนำภาคกลาง และตะวันออกมารวมกับกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อให้การทำงานมีโฟกัสยิ่งขึ้น เพราะการรุกตลาดในแต่ละพื้นที่จะโฟกัสไปที่บริการเติมเงินหรือพรีเพดเป็นหลัก เนื่องจากได้ดึงบริการโพสต์เพดหรือแบบรายเดือนมารวมไว้ส่วนกลาง
ขณะเดียวกันยังยุบส่วนงานที่ดูแลบริการด้านการเงินภายใต้ชื่อบริการ "แจ๋ว" ผ่านตัวแทน (บริการโอนเงิน, รับเงิน, เติมเงินมือถือ และชำระค่าสินค้าและบริการ) หลังตัดสินใจยุติบริการในส่วนที่เป็นการให้บริการผ่าน "ตัวแทน" เหลือเพียงบริการผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีวอลเลต เท่านั้น ทำให้ต้องโยกทีมงานที่มีกว่า 50 คน ไปอยู่กับฝ่ายอื่น ๆ
"บริการแจ๋วมีสองส่วน คือส่วนที่เป็น อีวอลเลตกับส่วนร้านค้า ตรงร้านค้าเลิกไป เพราะจำนวนทรานแซกชั่นโดยเฉพาะบริการโอนเงินที่น่าจะเป็นไฮไลต์ทำได้ต่ำกว่าเป้า ประกอบกับเทรนด์ผู้บริโภคหันมาใช้บริการผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือมากขึ้น"
แหล่งข่าวระบุว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการบริหารหรือบริการต่าง ๆ ถ้าไม่คุ้มหรือไม่ดีก็ต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุง อย่างบริการพรีเพดแบรนด์ "แฮปปี้" หรือแม้แต่แบรนด์ดีแทคเองก็อยู่ระหว่างการทบทวนว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้ทันสมัย และเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น
"แฮปปี้เกิดมาในยุคของวอยซ์ แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องดาต้า วันนี้ถ้าไปถามเด็กรุ่นใหม่ว่าใช้ค่ายไหน ไม่ค่อยมีใครบอกว่าใช้แฮปปี้ ใช้วัน-ทู-คอล แต่จะบอกว่าใช้ดีแทค เอไอเอส หรือทรูมูฟ เราเริ่มคิดถึงเรื่องการรีแบรนด์ดีแทคในภาพรวมให้มีความทันสมัย และเป็นที่ชื่นชอบของคนในยุคดิจิทัล ซึ่งการมีแบรนด์เดียวทำให้การบริหารงานคล่องตัว และประหยัดค่าใช้จ่าย จะถึงขั้นเลิกแบรนด์แฮปปี้เลยมั้ยคงไม่ถึงขนาดนั้น แต่คงลดบทบาทและมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมขึ้น คาดว่าภายในครึ่งปีหลังจะเริ่มเห็นภาพชัดเจน"
นายปานเทพย์ นิลสินธพ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานผลิตภัณฑ์บริการทาง การเงิน บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ยกเลิกตัวแทนบริการแจ๋วตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2559 ที่ผ่านมา จากที่มีอยู่ในร้านดีแทคฮอลล์ 27 สาขา, ดีแทคเซ็นเตอร์ 250 สาขา และร้านโชห่วยกว่า 7,500 จุด เพราะต้องการทำตลาดดิจิทัลเซอร์วิสมากกว่า ทั้งบริการนี้ยังทับซ้อนกับบริการอื่นที่ให้บริการอยู่ โดยเฉพาะ "แจ๋วอีวอลเลต" แอปพลิเคชั่นโอนเงิน และจ่ายบิล ต่าง ๆ
"เหตุที่ปิดตัวแทนแจ๋ว เพราะอยากเดินหน้า Digital Service ที่ประกอบด้วย เพย์สบาย, แจ๋วอีวอลเลต และบัตรเงินสดมากกว่า การโอนเงินให้กันแบบดั้งเดิมที่ตัวแทนแจ๋วให้บริการไม่ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้งานในปัจจุบันแล้ว เพราะมีการใช้สมาร์ทโฟนเกินครึ่งหนึ่งของประชากร ทำให้การทำตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น และเข้าไปใช้บริการโอนเงินและจ่ายบิลตอบโจทย์กว่า"
นายปานเทพย์ยืนยันว่า ตัวแทนบริการ "แจ๋ว" ที่มีอยู่กว่า 7,500 ราย ไม่ได้รับผล กระทบจากการปิดบริการ เพราะบริษัทเสนอให้เป็นตัวแทนบริการ Happy Online (การเติมเงินพรีเพด) ที่มีฐานลูกค้ากว่า 20 ล้านเลขหมาย จึงมีรายได้จากค่าธรรมเนียม และเตรียมพัฒนา Happy Online ให้เติมเงินเข้าแจ๋วอีวอลเลตได้ เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเวอร์ชวลเครดิตที่มีอยู่ในแจ๋วอีวอลเลต หรือโอนเงินให้แจ๋วอีวอลเลต ของผู้ใช้รายอื่นได้ คาดว่าจะมีตัวแทน Happy Online กว่า 1 แสนราย
ปัจจุบันบริการด้านการเงินของ "ดีแทค" เหลือเพียง 3 บริการ คือ บริการเพย์เมนต์ เกตเวย์ "เพย์สบาย", "แจ๋ว" อีวอลเลต และบัตรเงินสด โดยตนเป็นผู้ดูแลทั้งหมด รายงานตรงกับนายแอนดริว ทอร์ โอดวาร์ กวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกลยุทธ์ ส่วนทีมงานที่ดูแลตัวแทนบริการ "แจ๋ว" หลังยุบส่วนงานนี้ได้ย้ายไปยังฝ่ายอื่น ๆ เช่น ฝ่ายขายโทรศัพท์มือถือ, แพ็กเกจบริการ และการทำตลาดออนไลน์ เป็นต้น
สำหรับบริการเพย์เมนต์เกตเวย์ "เพย์สบาย" จะเน้นหาพาร์ตเนอร์ใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมโยงบริการดิจิทัลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น เมื่อต้นปีเชื่อมต่อกับ "อาลีเปย์" เพื่อให้นักท่องเที่ยวจีนใช้อาลีเปย์ซื้อสินค้าของคิง เพาเวอร์ได้
"ไฟแนนเชียลเซอร์วิสของดีแทคจะเน้นการหาพาร์ตเนอร์ใหม่ ๆ แม้เพย์สบายจะมีฐานผู้ใช้เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ ค่อนข้างแข็งแกร่งอยู่แล้ว เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก ขณะที่การแข่งขันของ ผู้ให้บริการเพย์เมนต์มากขึ้นทุกวัน ดังนั้นการสร้างบริการให้ครอบคลุม และแตกต่าง น่าจะช่วยได้ เช่นกันกับแจ๋วอีวอลเลตกำลังทำอินเตอร์เฟซการใช้งานแบบใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้น หลังจากมีการเชื่อมต่อกับอีวอลเลตเจ้าอื่น ๆ อย่างเอ็มเปย์ และทรูมันนี่ เพื่อให้โอนระหว่างกันได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เพื่อสร้าง Cashless Society ในไทย"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 4)
ข่าวอื่นเพิ่มเติม
เอไอเอสทุ่ม 8พันล. แจกเครื่อง-ซิม ขู่ฟ้องค่ายคู่แข่ง-โจมตีซิมดับ
http://ppantip.com/topic/35034504
"TOT" ฮุบ "บรอดแบนด์" 3 หมื่นหมู่บ้าน
http://ppantip.com/topic/35035038
'ดีแทค' เขย่าองค์กรอีกรอบปิดแจ๋ว-ปรับแบรนด์ 'แฮปปี้'
ดีแทคเขย่าองค์กรอีกรอบปิดแจ๋ว-ปรับแบรนด์'แฮปปี้'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559
"ดีแทค" เขย่าองค์กรรับแข่งดุ ขยับโครงสร้างใหม่จากเดิม 5 พื้นที่เหลือ 4 เพิ่มความคล่องตัว โฟกัสบริการการเงินตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ เลิกบริการ "แจ๋ว" ผ่านตัวแทน 7 พันแห่งเหลือแค่ "อีวอลเลต" จ่อรีแบรนด์ปรับลุกลดบทบาทแบรนด์ "แฮปปี้"
แหล่งข่าวจาก บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากกลางปีที่ผ่านมา บริษัทปรับรูปแบบการบริหารงานภายใน โดยกระจายอำนาจในการบริหารจัดการทั้งการตลาด และการขายลงไปในแต่ละพื้นที่ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้อำนวยการภาค (Regional Business Head หรือ RBH) ซึ่งเปรียบได้กับ มินิซีอีโอ ดูแลในแต่ละพื้นที่รายงานตรงกับ ซีอีโอ ล่าสุดได้ปรับใหม่โดยนำภาคกลาง และตะวันออกมารวมกับกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อให้การทำงานมีโฟกัสยิ่งขึ้น เพราะการรุกตลาดในแต่ละพื้นที่จะโฟกัสไปที่บริการเติมเงินหรือพรีเพดเป็นหลัก เนื่องจากได้ดึงบริการโพสต์เพดหรือแบบรายเดือนมารวมไว้ส่วนกลาง
ขณะเดียวกันยังยุบส่วนงานที่ดูแลบริการด้านการเงินภายใต้ชื่อบริการ "แจ๋ว" ผ่านตัวแทน (บริการโอนเงิน, รับเงิน, เติมเงินมือถือ และชำระค่าสินค้าและบริการ) หลังตัดสินใจยุติบริการในส่วนที่เป็นการให้บริการผ่าน "ตัวแทน" เหลือเพียงบริการผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีวอลเลต เท่านั้น ทำให้ต้องโยกทีมงานที่มีกว่า 50 คน ไปอยู่กับฝ่ายอื่น ๆ
"บริการแจ๋วมีสองส่วน คือส่วนที่เป็น อีวอลเลตกับส่วนร้านค้า ตรงร้านค้าเลิกไป เพราะจำนวนทรานแซกชั่นโดยเฉพาะบริการโอนเงินที่น่าจะเป็นไฮไลต์ทำได้ต่ำกว่าเป้า ประกอบกับเทรนด์ผู้บริโภคหันมาใช้บริการผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือมากขึ้น"
แหล่งข่าวระบุว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการบริหารหรือบริการต่าง ๆ ถ้าไม่คุ้มหรือไม่ดีก็ต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุง อย่างบริการพรีเพดแบรนด์ "แฮปปี้" หรือแม้แต่แบรนด์ดีแทคเองก็อยู่ระหว่างการทบทวนว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้ทันสมัย และเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น
"แฮปปี้เกิดมาในยุคของวอยซ์ แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องดาต้า วันนี้ถ้าไปถามเด็กรุ่นใหม่ว่าใช้ค่ายไหน ไม่ค่อยมีใครบอกว่าใช้แฮปปี้ ใช้วัน-ทู-คอล แต่จะบอกว่าใช้ดีแทค เอไอเอส หรือทรูมูฟ เราเริ่มคิดถึงเรื่องการรีแบรนด์ดีแทคในภาพรวมให้มีความทันสมัย และเป็นที่ชื่นชอบของคนในยุคดิจิทัล ซึ่งการมีแบรนด์เดียวทำให้การบริหารงานคล่องตัว และประหยัดค่าใช้จ่าย จะถึงขั้นเลิกแบรนด์แฮปปี้เลยมั้ยคงไม่ถึงขนาดนั้น แต่คงลดบทบาทและมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมขึ้น คาดว่าภายในครึ่งปีหลังจะเริ่มเห็นภาพชัดเจน"
นายปานเทพย์ นิลสินธพ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานผลิตภัณฑ์บริการทาง การเงิน บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ยกเลิกตัวแทนบริการแจ๋วตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2559 ที่ผ่านมา จากที่มีอยู่ในร้านดีแทคฮอลล์ 27 สาขา, ดีแทคเซ็นเตอร์ 250 สาขา และร้านโชห่วยกว่า 7,500 จุด เพราะต้องการทำตลาดดิจิทัลเซอร์วิสมากกว่า ทั้งบริการนี้ยังทับซ้อนกับบริการอื่นที่ให้บริการอยู่ โดยเฉพาะ "แจ๋วอีวอลเลต" แอปพลิเคชั่นโอนเงิน และจ่ายบิล ต่าง ๆ
"เหตุที่ปิดตัวแทนแจ๋ว เพราะอยากเดินหน้า Digital Service ที่ประกอบด้วย เพย์สบาย, แจ๋วอีวอลเลต และบัตรเงินสดมากกว่า การโอนเงินให้กันแบบดั้งเดิมที่ตัวแทนแจ๋วให้บริการไม่ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้งานในปัจจุบันแล้ว เพราะมีการใช้สมาร์ทโฟนเกินครึ่งหนึ่งของประชากร ทำให้การทำตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น และเข้าไปใช้บริการโอนเงินและจ่ายบิลตอบโจทย์กว่า"
นายปานเทพย์ยืนยันว่า ตัวแทนบริการ "แจ๋ว" ที่มีอยู่กว่า 7,500 ราย ไม่ได้รับผล กระทบจากการปิดบริการ เพราะบริษัทเสนอให้เป็นตัวแทนบริการ Happy Online (การเติมเงินพรีเพด) ที่มีฐานลูกค้ากว่า 20 ล้านเลขหมาย จึงมีรายได้จากค่าธรรมเนียม และเตรียมพัฒนา Happy Online ให้เติมเงินเข้าแจ๋วอีวอลเลตได้ เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเวอร์ชวลเครดิตที่มีอยู่ในแจ๋วอีวอลเลต หรือโอนเงินให้แจ๋วอีวอลเลต ของผู้ใช้รายอื่นได้ คาดว่าจะมีตัวแทน Happy Online กว่า 1 แสนราย
ปัจจุบันบริการด้านการเงินของ "ดีแทค" เหลือเพียง 3 บริการ คือ บริการเพย์เมนต์ เกตเวย์ "เพย์สบาย", "แจ๋ว" อีวอลเลต และบัตรเงินสด โดยตนเป็นผู้ดูแลทั้งหมด รายงานตรงกับนายแอนดริว ทอร์ โอดวาร์ กวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกลยุทธ์ ส่วนทีมงานที่ดูแลตัวแทนบริการ "แจ๋ว" หลังยุบส่วนงานนี้ได้ย้ายไปยังฝ่ายอื่น ๆ เช่น ฝ่ายขายโทรศัพท์มือถือ, แพ็กเกจบริการ และการทำตลาดออนไลน์ เป็นต้น
สำหรับบริการเพย์เมนต์เกตเวย์ "เพย์สบาย" จะเน้นหาพาร์ตเนอร์ใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมโยงบริการดิจิทัลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น เมื่อต้นปีเชื่อมต่อกับ "อาลีเปย์" เพื่อให้นักท่องเที่ยวจีนใช้อาลีเปย์ซื้อสินค้าของคิง เพาเวอร์ได้
"ไฟแนนเชียลเซอร์วิสของดีแทคจะเน้นการหาพาร์ตเนอร์ใหม่ ๆ แม้เพย์สบายจะมีฐานผู้ใช้เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ ค่อนข้างแข็งแกร่งอยู่แล้ว เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก ขณะที่การแข่งขันของ ผู้ให้บริการเพย์เมนต์มากขึ้นทุกวัน ดังนั้นการสร้างบริการให้ครอบคลุม และแตกต่าง น่าจะช่วยได้ เช่นกันกับแจ๋วอีวอลเลตกำลังทำอินเตอร์เฟซการใช้งานแบบใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้น หลังจากมีการเชื่อมต่อกับอีวอลเลตเจ้าอื่น ๆ อย่างเอ็มเปย์ และทรูมันนี่ เพื่อให้โอนระหว่างกันได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เพื่อสร้าง Cashless Society ในไทย"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 4)
ข่าวอื่นเพิ่มเติม
เอไอเอสทุ่ม 8พันล. แจกเครื่อง-ซิม ขู่ฟ้องค่ายคู่แข่ง-โจมตีซิมดับ
http://ppantip.com/topic/35034504
"TOT" ฮุบ "บรอดแบนด์" 3 หมื่นหมู่บ้าน
http://ppantip.com/topic/35035038