http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000037667
อาลีบาบา (Alibaba) เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซจีน ประกาศซื้อกิจการ “ลาซาดา” (Lazada) ในเครือบริษัทร็อคเก็ตอินเทอร์เน็ต (Rocket Internet) สัญชาติเยอรมนี เบื้องต้น ซีอีโอลาซาดายิ้ม ความเชี่ยวชาญของอาลีบาบาจะช่วยให้ลาซาดาเจาะตลาดอาเซียนได้อย่างสนุกสนานแน่นอน
การลงทุนเพื่อกุมบังเหียนลาซาดาครั้งนี้ของอาลีบาบา ได้รับความสนใจจากทั่วโลก เนื่องจากอาลีบาบานั้นเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของจีน โดยแม้จีนจะได้ชื่อว่าเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมหาศาล ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าตลาดสหรัฐฯ ยุโรป หรือแม้แต่ประเทศตะวันตก แต่เพราะข้อจำกัดเรื่องการขยายส่วนแบ่งตลาด ทำให้บริษัทที่อยู่ภายใต้การบริหารของมหาเศรษฐีแจ็ก หม่า (Jack Ma) ตัดสินใจเดินทางมาขุดทองในโลกอาเซียน หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งลาซาดากรุยทางไว้แล้ว
ปัจจุบัน ลาซาดาให้บริการในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สื่อต่างประเทศยกให้ลาซาดาเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่เติบโตรวดเร็วที่สุด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการจำหน่ายสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าแฟชั่น จนถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ในแถลงการณ์ อาลีบาบา ประกาศว่า ได้ตกลงซื้อหุ้นในลาซาดาด้วยมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยจะประกอบด้วย การซื้อหุ้นจัดสรรใหม่โดยลาซาดา มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม จุดนี้มีรายงานว่า หนึ่งในผู้ถือหุ้นเดิมนี้มีเทสโก้ (Tesco) ผู้ให้บริการซูเปอร์มาร์เกตรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษรวมอยู่ด้วย โดยเทสโก้ออกแถลงการณ์แล้วว่า จะจำหน่ายหุ้น 8.6% ในลาซาดาให้แก่อาลีบาบาเป็นเงิน 129 ล้านเหรียญสหรัฐ
หลังการขาย รายงานจากรอยเตอร์ ระบุว่า เทสโก้จะยังคงถือหุ้นในลาซาดาอีก 8.3% โดยการขายหุ้นครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายหันไปให้ความสำคัญต่อธุรกิจหลักในอังกฤษอย่างจริงจัง ซึ่งการขายทิ้งธุรกิจในเกาหลีใต้เมื่อปีที่แล้ว ก็เป็นผลจากนโยบายนี้ที่เทสโก้เริ่มดำเนินการมานานกว่า 2 ปี
ทั้งหมดนี้ แม็กซ์ บิตเนอร์ (Max Bittner) ซีอีโอลาซาดา กรุ๊ป ให้ความเห็นว่า ตลาดอาเซียนนั้นเป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะผู้บริโภคซึ่งใช้งานอุปกรณ์พกพานั้นมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ทั้งหมดนี้แสดงถึงแนวโน้มในตลาดค้าปลีกยุคใหม่ที่ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก การร่วมทุนกับอาลีบาบาจึงจะช่วยให้ลาซาดาสามารถปรับปรุงบริการได้ดียิ่งขึ้น เพราะอาลีบาบามีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการเติบโตของลาซาดาในอนาคต
ซีอีโอลาซาดาไม่เปิดเผยข้อมูลลูกค้าล่าสุดของบริษัท โดยระบุเพียงว่า การร่วมทุนกับอาลีบาบาจะช่วยให้ลาซาดาเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค หรือคอนซูเมอร์ที่มีจำนวนมากกว่า 560 ล้านรายในอาเซียนได้ดีขึ้น
สำหรับอาลีบาบานั้นมีดีกรีเป็นต้นสังกัดของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทั้งเบอร์หนึ่ง และเบอร์สองของจีน โดย เถาเป่า (Taobao) เป็นร้านออนไลน์เบอร์หนึ่ง ขณะที่ ทีมอล (Tmall) เป็นร้านออนไลน์ที่ชาวจีนให้ความนิยมอันดับสอง เรียกว่า อาลีบาบากินรวบส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในตลาดจีนมาแล้ว ก่อนที่จะหันมาลงทุนในลาซาดาเพื่อบุกตลาดอาเซียนจริงจัง
ขณะที่ต้นสังกัดลาซาดา อย่างร็อคเก็ต อินเทอร์เน็ต เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซจากเยอรมนี แถลงการณ์ว่า หลังการปรับโครงสร้างบริษัท ร็อคเก็ตจะยังถือหุ้นในลาซาดา 8.8% พร้อมยืนยันว่า ที่ผ่านมา บริษัทได้รับส่วนแบ่งมากกว่า 15 เท่าตัวจากการลงทุนมูลค่า 20.5 ล้านเหรียญสหรัฐในลาซาดา
สำหรับกลุ่มทุนที่มีชื่อเคยให้ทุนลาซาดาในรอบหลายปีที่ผ่านมานั้น มีทั้ง คินเนวิก อินเวสต์เมนต์ (Kinnevik Investment) เทมาเสก (Temasek) เทนเกลแมนน์ (Tengelmann Ventures) เวอร์ลินเวสต์ (Verlinvest) และซัมมิต พาร์ตเนอร์ส (Summit Partners)
Jack Ma เข้าถือหุ้นใน Lazada แล้ว ..อดใจรอ อีกไม่นาน จะมีมือถือ/tablet จีน พาเรดมาให้เลือกซื้อกันได้โดยตรงจาก Aliexpress
อาลีบาบา (Alibaba) เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซจีน ประกาศซื้อกิจการ “ลาซาดา” (Lazada) ในเครือบริษัทร็อคเก็ตอินเทอร์เน็ต (Rocket Internet) สัญชาติเยอรมนี เบื้องต้น ซีอีโอลาซาดายิ้ม ความเชี่ยวชาญของอาลีบาบาจะช่วยให้ลาซาดาเจาะตลาดอาเซียนได้อย่างสนุกสนานแน่นอน
การลงทุนเพื่อกุมบังเหียนลาซาดาครั้งนี้ของอาลีบาบา ได้รับความสนใจจากทั่วโลก เนื่องจากอาลีบาบานั้นเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของจีน โดยแม้จีนจะได้ชื่อว่าเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมหาศาล ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าตลาดสหรัฐฯ ยุโรป หรือแม้แต่ประเทศตะวันตก แต่เพราะข้อจำกัดเรื่องการขยายส่วนแบ่งตลาด ทำให้บริษัทที่อยู่ภายใต้การบริหารของมหาเศรษฐีแจ็ก หม่า (Jack Ma) ตัดสินใจเดินทางมาขุดทองในโลกอาเซียน หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งลาซาดากรุยทางไว้แล้ว
ปัจจุบัน ลาซาดาให้บริการในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สื่อต่างประเทศยกให้ลาซาดาเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่เติบโตรวดเร็วที่สุด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการจำหน่ายสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าแฟชั่น จนถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ในแถลงการณ์ อาลีบาบา ประกาศว่า ได้ตกลงซื้อหุ้นในลาซาดาด้วยมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยจะประกอบด้วย การซื้อหุ้นจัดสรรใหม่โดยลาซาดา มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม จุดนี้มีรายงานว่า หนึ่งในผู้ถือหุ้นเดิมนี้มีเทสโก้ (Tesco) ผู้ให้บริการซูเปอร์มาร์เกตรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษรวมอยู่ด้วย โดยเทสโก้ออกแถลงการณ์แล้วว่า จะจำหน่ายหุ้น 8.6% ในลาซาดาให้แก่อาลีบาบาเป็นเงิน 129 ล้านเหรียญสหรัฐ
หลังการขาย รายงานจากรอยเตอร์ ระบุว่า เทสโก้จะยังคงถือหุ้นในลาซาดาอีก 8.3% โดยการขายหุ้นครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายหันไปให้ความสำคัญต่อธุรกิจหลักในอังกฤษอย่างจริงจัง ซึ่งการขายทิ้งธุรกิจในเกาหลีใต้เมื่อปีที่แล้ว ก็เป็นผลจากนโยบายนี้ที่เทสโก้เริ่มดำเนินการมานานกว่า 2 ปี
ทั้งหมดนี้ แม็กซ์ บิตเนอร์ (Max Bittner) ซีอีโอลาซาดา กรุ๊ป ให้ความเห็นว่า ตลาดอาเซียนนั้นเป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะผู้บริโภคซึ่งใช้งานอุปกรณ์พกพานั้นมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ทั้งหมดนี้แสดงถึงแนวโน้มในตลาดค้าปลีกยุคใหม่ที่ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก การร่วมทุนกับอาลีบาบาจึงจะช่วยให้ลาซาดาสามารถปรับปรุงบริการได้ดียิ่งขึ้น เพราะอาลีบาบามีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการเติบโตของลาซาดาในอนาคต
ซีอีโอลาซาดาไม่เปิดเผยข้อมูลลูกค้าล่าสุดของบริษัท โดยระบุเพียงว่า การร่วมทุนกับอาลีบาบาจะช่วยให้ลาซาดาเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค หรือคอนซูเมอร์ที่มีจำนวนมากกว่า 560 ล้านรายในอาเซียนได้ดีขึ้น
สำหรับอาลีบาบานั้นมีดีกรีเป็นต้นสังกัดของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทั้งเบอร์หนึ่ง และเบอร์สองของจีน โดย เถาเป่า (Taobao) เป็นร้านออนไลน์เบอร์หนึ่ง ขณะที่ ทีมอล (Tmall) เป็นร้านออนไลน์ที่ชาวจีนให้ความนิยมอันดับสอง เรียกว่า อาลีบาบากินรวบส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในตลาดจีนมาแล้ว ก่อนที่จะหันมาลงทุนในลาซาดาเพื่อบุกตลาดอาเซียนจริงจัง
ขณะที่ต้นสังกัดลาซาดา อย่างร็อคเก็ต อินเทอร์เน็ต เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซจากเยอรมนี แถลงการณ์ว่า หลังการปรับโครงสร้างบริษัท ร็อคเก็ตจะยังถือหุ้นในลาซาดา 8.8% พร้อมยืนยันว่า ที่ผ่านมา บริษัทได้รับส่วนแบ่งมากกว่า 15 เท่าตัวจากการลงทุนมูลค่า 20.5 ล้านเหรียญสหรัฐในลาซาดา
สำหรับกลุ่มทุนที่มีชื่อเคยให้ทุนลาซาดาในรอบหลายปีที่ผ่านมานั้น มีทั้ง คินเนวิก อินเวสต์เมนต์ (Kinnevik Investment) เทมาเสก (Temasek) เทนเกลแมนน์ (Tengelmann Ventures) เวอร์ลินเวสต์ (Verlinvest) และซัมมิต พาร์ตเนอร์ส (Summit Partners)