เกิดการแชร์บทความจากต่างประเทศ ผ่านเพจดังหลายเพจ ซึ่งเขียนไว้ในเว็บไซต์ undertheropes.com เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา ด้วยชื่อ Rape Culture in Thailand (วัฒนธรรมการข่มขืนในประเทศไทย) ซึ่งเกิดจากกรณีที่มีคนไทย ซึ่งเป็นคนใกล้ตัวของผู้เขียน นำเรื่องการข่มขืน มาพูดเล่น หยอกล้อ กันเป็นเรื่องสนุก แต่การกระทำเช่นนี้ เป็นการกระทำที่’ไม่ตลก’ สำหรับฝรั่งเอาเสียเลย
เนื้อหาระบุว่า คนไทยนิยมใช้ศัพท์เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ คือคำว่า ปล้ำ และ ข่มขืน ซึ่งเป็นการระบุถึงกริยา การถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นว่า มันดูไร้สาระที่มีการแยกประเภทการกระทำชำเราเป็นสองแบบ
การก่ออาชญากรรมทางเพศ ถือเป็นความผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่กลับมาการใช้ศัพท์คำว่าปล้ำ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเชิงซับซ้อน เพราะมันสื่อให้เห็นถึงความรุนแรง (อาทิ ฉากพระเอกข่มขืนนางเอกเพราะอาจจะมีจุดเริ่มต้นมาจากความเกลียดชัง หรือต้องการแก้แค้น) แต่เหยื่อกลับลงเอยด้วยการมีความสัมพันธ์กับผู้ก่อเหตุข่มขืน ตามที่ปรากฏอยู่ในละครไทยมาหลายยุคหลายสมัย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบทบาทของตัวละครในเรื่อง หรืออาจเป็นเพราะชายผู้ก่อเหตุข่มขืนเกิดความรู้สึกผิดและอยากดูแลฝ่ายหญิงซึ่งเป็นเหยื่อหลังจากลงมือก่อเหตุ
บรรทัดฐานทางเพศในวัฒนธรรมไทย ที่สะท้อนออกมาจากละคร ภาพยนตร์ ที่ระบุว่า เหยื่อข่มขืน สามารถยอมรับการ กระทำของผู้ก่อเหตุ ทั้งยังเป็นจุดเริ่มความสัมพันธ์เชิงชู้สาว หรือฉากบางฉาก เนื้อเรื่องบางตอน ของละครไทย ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ชายเป็นผู้กำหนดบทลงโทษ หากฝ่ายหญิงทำดี ผู้ชายจะแสดงความรักที่มีต่อเธอ แต่หากผู้หญิงร้ายขึ้นมา ผู้ชายก็สามารถจะลงโทษผู้หญิงได้ ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่า เหยื่อข่มขืน กำลังตกเป็นจำเลยสังคม เพราะสื่อมีเนื้อหาที่ตำหนิเหยื่อ มากกว่าผู้ลงมือกระทำผิด
พร้อมกันนี้ ได้มีการยกตัวอย่างละครไทยเรื่องหนึ่ง ที่ในตอนแรกมีพระเอกพยายามล่วงละเมิดทางเพศตัวละครหญิงอย่างไม่เต็มใจ แต่จากนั้น ฝ่ายนางเอกกลับลำยินยอมพระเอกแต่โดยดี จากนั้นภาพได้ตัดไปที่ฉากโรแมนติก ซึ่งภาพด้านหลังแสดงให้เห็นทะเลสาบที่สวยงาม พร้อมทั้งยกตัวอย่างละครดังหลายเรื่องที่สื่อให้เห็นว่า มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นในเรื่อง แต่กลับจบลงด้วยดี คือทั้งคู่กลับรักกันในตอนท้าย
ซึ่งฉากเหล่านี้ ที่เป็นดีเอ็นเอฝังอยู่ในละครไทย หาชมได้ง่ายดายผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า เยาวชนชายหญิง สามารถเสพสื่อเหล่านี้ได้ไม่ยาก อาจเกิดการซึมซับให้ผู้หญิงยอมจำนนต่อความรุนแรงทางเพศ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษา ในปี2557 พบว่า ละครไทยมากกว่า 80% ที่ออกอากาศตลอดทั้งปี มีฉากข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศอยู่ด้วย จนทำให้การข่มขืนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ที่ปกติ
โดยในประเทศไทย เคยมีคดีสะเทือนขวัญฆ่าข่มขืน ปรากฏบนหน้าสื่อต่าง ๆ หลายครั้ง ทั้งยังมีความรุนแรงทางเพศในประเทศ ซึ่งการขัดเกลาทางสังคม บ่มเพาะให้เกิดทัศนคติต่อการล่วงละเมิดทางเพศที่ย้อนแย้ง แม้จะมีกฎหมายมาคุ้มครองเหยื่อ แต่นั่นเป็นเพียงการแก้ไข หาใช่การป้องกันปัญหา
ที่มา undertheropes.com
สื่อนอกเหน็บไทย สร้างวัฒนธรรมการ ‘ขืนใจ’ ตามสไตล์ ‘ละครน้ำเน่า’
เนื้อหาระบุว่า คนไทยนิยมใช้ศัพท์เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ คือคำว่า ปล้ำ และ ข่มขืน ซึ่งเป็นการระบุถึงกริยา การถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นว่า มันดูไร้สาระที่มีการแยกประเภทการกระทำชำเราเป็นสองแบบ
การก่ออาชญากรรมทางเพศ ถือเป็นความผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่กลับมาการใช้ศัพท์คำว่าปล้ำ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเชิงซับซ้อน เพราะมันสื่อให้เห็นถึงความรุนแรง (อาทิ ฉากพระเอกข่มขืนนางเอกเพราะอาจจะมีจุดเริ่มต้นมาจากความเกลียดชัง หรือต้องการแก้แค้น) แต่เหยื่อกลับลงเอยด้วยการมีความสัมพันธ์กับผู้ก่อเหตุข่มขืน ตามที่ปรากฏอยู่ในละครไทยมาหลายยุคหลายสมัย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบทบาทของตัวละครในเรื่อง หรืออาจเป็นเพราะชายผู้ก่อเหตุข่มขืนเกิดความรู้สึกผิดและอยากดูแลฝ่ายหญิงซึ่งเป็นเหยื่อหลังจากลงมือก่อเหตุ
บรรทัดฐานทางเพศในวัฒนธรรมไทย ที่สะท้อนออกมาจากละคร ภาพยนตร์ ที่ระบุว่า เหยื่อข่มขืน สามารถยอมรับการ กระทำของผู้ก่อเหตุ ทั้งยังเป็นจุดเริ่มความสัมพันธ์เชิงชู้สาว หรือฉากบางฉาก เนื้อเรื่องบางตอน ของละครไทย ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ชายเป็นผู้กำหนดบทลงโทษ หากฝ่ายหญิงทำดี ผู้ชายจะแสดงความรักที่มีต่อเธอ แต่หากผู้หญิงร้ายขึ้นมา ผู้ชายก็สามารถจะลงโทษผู้หญิงได้ ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่า เหยื่อข่มขืน กำลังตกเป็นจำเลยสังคม เพราะสื่อมีเนื้อหาที่ตำหนิเหยื่อ มากกว่าผู้ลงมือกระทำผิด
พร้อมกันนี้ ได้มีการยกตัวอย่างละครไทยเรื่องหนึ่ง ที่ในตอนแรกมีพระเอกพยายามล่วงละเมิดทางเพศตัวละครหญิงอย่างไม่เต็มใจ แต่จากนั้น ฝ่ายนางเอกกลับลำยินยอมพระเอกแต่โดยดี จากนั้นภาพได้ตัดไปที่ฉากโรแมนติก ซึ่งภาพด้านหลังแสดงให้เห็นทะเลสาบที่สวยงาม พร้อมทั้งยกตัวอย่างละครดังหลายเรื่องที่สื่อให้เห็นว่า มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นในเรื่อง แต่กลับจบลงด้วยดี คือทั้งคู่กลับรักกันในตอนท้าย
ซึ่งฉากเหล่านี้ ที่เป็นดีเอ็นเอฝังอยู่ในละครไทย หาชมได้ง่ายดายผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า เยาวชนชายหญิง สามารถเสพสื่อเหล่านี้ได้ไม่ยาก อาจเกิดการซึมซับให้ผู้หญิงยอมจำนนต่อความรุนแรงทางเพศ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษา ในปี2557 พบว่า ละครไทยมากกว่า 80% ที่ออกอากาศตลอดทั้งปี มีฉากข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศอยู่ด้วย จนทำให้การข่มขืนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ที่ปกติ
โดยในประเทศไทย เคยมีคดีสะเทือนขวัญฆ่าข่มขืน ปรากฏบนหน้าสื่อต่าง ๆ หลายครั้ง ทั้งยังมีความรุนแรงทางเพศในประเทศ ซึ่งการขัดเกลาทางสังคม บ่มเพาะให้เกิดทัศนคติต่อการล่วงละเมิดทางเพศที่ย้อนแย้ง แม้จะมีกฎหมายมาคุ้มครองเหยื่อ แต่นั่นเป็นเพียงการแก้ไข หาใช่การป้องกันปัญหา
ที่มา undertheropes.com