โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนห์รา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานาน และนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม
โนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้ เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำ เรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปี พุทธศักราชที่ 1820 ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น
ปัจจุบันเชื่อกันว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกที่ หัวเมืองพัทลุง คือ ตำบล บางแก้ว จังหวัด พัทลุง แล้ว แพร่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆ ของภาคใต้ จน ไปถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรี และ จังหวะ ตะลุง
ประวัติและตำนานโนราห์ จากคำบอกเล่าของมโนราห์พุ่มเทวา จากรายการพินิจนคร ช่อง ThaiPBS
อันนี้เป็นเพลง กำเนิดมโนราห์ ขับร้องโดยดาวใต้ ปลายพระยา
องค์ประกอบหลักของการแสดง
1.
การรำ โนราแต่ละตัวต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตน โดยการรำผสมท่าต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องกลมกลืน แต่ละท่ามีความถูกต้องตามแบบฉบับ มีความคล่องแคล่วชำนาญที่จะเปลี่ยนลีลาให้เข้ากับจังหวะดนตรี และต้องรำให้สวยงามอ่อนช้อยหรือกระฉับกระเฉงเหมาะแก่กรณี บางคนอาจอวดความสามารถในเชิงรำเฉพาะด้าน เช่น การเล่นแขน การทำให้ตัวอ่อน การรำท่าพลิกแพลง เป็นต้น
2.
การร้อง โนราแต่ละตัวจะต้องอวดลีลาการร้องขับบทกลอนในลักษณะต่างๆ เช่น เสียงไพเราะดังชัดเจน จังหวะการร้องขับถูกต้องเร้าใจ มีปฏิภาณในการคิดกลอนรวดเร็ว ได้เนื้อหาดี สัมผัสดี มีความสามารถในการร้องโต้ตอบ แก้คำอย่างฉับพลันและคมคาย เป็นต้น
3.
การทำบท เป็นการอวดความสามารถในการตีความหมายของบทร้องเป็นท่ารำ ให้คำร้องและท่ารำสัมพันธ์กันต้องตีท่าให้พิสดารหลากหลายและครบถ้วน ตามคำร้องทุกถ้อยคำต้องขับบทร้องและตีท่ารำให้ประสมกลมกลืนกับจังหวะและลีลา ของดนตรีอย่างเหมาะเหม็ง การทำบทจึงเป็นศิลปะสุดยอดของโนรา
4.
การรำเฉพาะอย่าง นอกจากโนราแต่ละคนจะต้องมีความสามารถในการรำ การร้อง และการทำบทดังกล่าวแล้วยังต้องฝึกการำเฉพาะอย่างให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษ ด้วยซึ่งการรำเฉพาะอย่างนี้ อาจใช้แสดงเฉพาะโอกาส เช่น รำในพิธีไหว้ครู หรือพิธีแต่งพอกผู้กผ้าใหญ่ บางอย่างใช้รำเฉพาะเมื่อมีการประชันโรง บางอย่างใช้ในโอกาสรำลงครูหรือโรงครู หรือรำแก้บน เป็นต้น การรำเฉพาะอย่าง มีดังนี้
1. รำบทครูสอน
2. รำบทปฐม
3. รำเพลงทับเพลงโทน
4. รำเพลงปี่
5. รำเพลงโค
6. รำขอเทริด
7. รำเฆี่ยนพรายและเหยียบลูกนาว (เหยียบมะนาว)
8. รำแทงเข้
9. รำคล้องหงส์
10.รำบทสิบสองหรือรำสิบสองบท
5.
การเล่นเป็นเรื่อง โดยปกติโนราไม่เน้นการเล่นเป็นเรื่อง แต่ถ้ามีเวลาแสดงมากพอหลังจากการอวดการรำการร้องและการทำลทแล้ว อาจแถมการเล่นเป็นเรื่องให้ดู เพื่อความสนุกสนาน โดยเลือกเรื่องที่รู้ดีกันแล้วบางตอนมาแสดงเลือกเอาแต่ตอนที่ต้องใช้ตัวแสดง น้อย ๆ (2-3 คน) ไม่เน้นที่การแต่งตัวตามเรื่อง มักแต่งตามที่แต่งรำอยู่แล้ว แล้วสมมติเอาว่าใครเป็นใคร แต่จะเน้นการตลกและการขับบทกลอนแบบโนราให้ได้เนื้อหาตามท้องเรื่อง
ท่ารำมโนราห์
ท่ารำของโนราไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าทุกคน หรือทุกคณะจะต้องรำเหมือนกัน เพราะการรำโนรา คนรำจะบังคับเครื่องดนตรี หมายถึงคนรำจะรำไปอย่างไรก็ได้แล้วแต่ลีลา หรือความถนัดของแต่ละคน เครื่องดนตรีจะบรรเลงตามท่ารำ เมื่ผู้รำจะเปลี่ยนท่ารำจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง เครื่องดนตรีจะต้องสามารถเปลี่ยนเพลงได้ตามคนรำ ความจริงแล้วท่ารำที่มีมาแต่กำเนิดนั้นมีแบบแผนแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ารำในบทครูสอนสอนรำ และบทประถม ท่ารำเมื่อได้รับการถ่ายทอดมาเป็นช่วง ๆ ทำให้ท่ารำที่เป็นแบบแผนดั้งเดิทเปลี่ยนแปลงไป เพราะหากจะประมวลท่ารำต่าง ๆของโนราแล้ว จะเห็นว่าเป็นการรำตีท่าตามบทที่ร้องแต่ละบท การตีท่ารำจามบทร้องนี้เองที่เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้ท่ารำเปลี่ยนแปลงและ แตกต่างกันออกไป เพราะท่ารำที่ตีออกมานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รำว่าบทอย่างนี้จะตี ท่าอย่างไร
ท่ารำที่ค่อนข้างจะแน่นอนว่าเป็นแบบแผนมาแต่เดิมอันเป็นที่ยอมรับของผู้รำโนราจะต้องมีพื้นฐานเบื้องต้น ดังนี้
การทรงตัวของผู้รำ ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามและมีส่วนถูกต้องอยู่มากนั้น จะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว ดังนี้
- ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวแบบนี้เสมอ
- ช่วงวงหน้า วงหน้าหมายถึงส่วนลำคอจนถึงศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
- การย่อตัว การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรำโนรานั้นลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจากย่อลำตัวแล้ว เข่าก็จะต้องย่อลงด้วย
- ส่วนก้น จะต้องงอนเล็กน้อย ช่วงสะเอวจะต้องหัก จึงจะทำให้แลดูแล้วสวยงาม
เครดิต
https://www.youtube.com/channel/UCzd-wmstRMnR5MAqYCRsLOg
http://norabandasak.blogspot.com/
https://sites.google.com/site/aungang16/
มารู้จักการรำมโนราห์ กันก่อนที่จะดูละครสุดดราม่าอย่าง "โนห์รา"
โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนห์รา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานาน และนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม
โนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้ เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำ เรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปี พุทธศักราชที่ 1820 ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น
ปัจจุบันเชื่อกันว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกที่ หัวเมืองพัทลุง คือ ตำบล บางแก้ว จังหวัด พัทลุง แล้ว แพร่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆ ของภาคใต้ จน ไปถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรี และ จังหวะ ตะลุง
องค์ประกอบหลักของการแสดง
1. การรำ โนราแต่ละตัวต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตน โดยการรำผสมท่าต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องกลมกลืน แต่ละท่ามีความถูกต้องตามแบบฉบับ มีความคล่องแคล่วชำนาญที่จะเปลี่ยนลีลาให้เข้ากับจังหวะดนตรี และต้องรำให้สวยงามอ่อนช้อยหรือกระฉับกระเฉงเหมาะแก่กรณี บางคนอาจอวดความสามารถในเชิงรำเฉพาะด้าน เช่น การเล่นแขน การทำให้ตัวอ่อน การรำท่าพลิกแพลง เป็นต้น
2. การร้อง โนราแต่ละตัวจะต้องอวดลีลาการร้องขับบทกลอนในลักษณะต่างๆ เช่น เสียงไพเราะดังชัดเจน จังหวะการร้องขับถูกต้องเร้าใจ มีปฏิภาณในการคิดกลอนรวดเร็ว ได้เนื้อหาดี สัมผัสดี มีความสามารถในการร้องโต้ตอบ แก้คำอย่างฉับพลันและคมคาย เป็นต้น
3. การทำบท เป็นการอวดความสามารถในการตีความหมายของบทร้องเป็นท่ารำ ให้คำร้องและท่ารำสัมพันธ์กันต้องตีท่าให้พิสดารหลากหลายและครบถ้วน ตามคำร้องทุกถ้อยคำต้องขับบทร้องและตีท่ารำให้ประสมกลมกลืนกับจังหวะและลีลา ของดนตรีอย่างเหมาะเหม็ง การทำบทจึงเป็นศิลปะสุดยอดของโนรา
4. การรำเฉพาะอย่าง นอกจากโนราแต่ละคนจะต้องมีความสามารถในการรำ การร้อง และการทำบทดังกล่าวแล้วยังต้องฝึกการำเฉพาะอย่างให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษ ด้วยซึ่งการรำเฉพาะอย่างนี้ อาจใช้แสดงเฉพาะโอกาส เช่น รำในพิธีไหว้ครู หรือพิธีแต่งพอกผู้กผ้าใหญ่ บางอย่างใช้รำเฉพาะเมื่อมีการประชันโรง บางอย่างใช้ในโอกาสรำลงครูหรือโรงครู หรือรำแก้บน เป็นต้น การรำเฉพาะอย่าง มีดังนี้
1. รำบทครูสอน
2. รำบทปฐม
3. รำเพลงทับเพลงโทน
4. รำเพลงปี่
5. รำเพลงโค
6. รำขอเทริด
7. รำเฆี่ยนพรายและเหยียบลูกนาว (เหยียบมะนาว)
8. รำแทงเข้
9. รำคล้องหงส์
10.รำบทสิบสองหรือรำสิบสองบท
5. การเล่นเป็นเรื่อง โดยปกติโนราไม่เน้นการเล่นเป็นเรื่อง แต่ถ้ามีเวลาแสดงมากพอหลังจากการอวดการรำการร้องและการทำลทแล้ว อาจแถมการเล่นเป็นเรื่องให้ดู เพื่อความสนุกสนาน โดยเลือกเรื่องที่รู้ดีกันแล้วบางตอนมาแสดงเลือกเอาแต่ตอนที่ต้องใช้ตัวแสดง น้อย ๆ (2-3 คน) ไม่เน้นที่การแต่งตัวตามเรื่อง มักแต่งตามที่แต่งรำอยู่แล้ว แล้วสมมติเอาว่าใครเป็นใคร แต่จะเน้นการตลกและการขับบทกลอนแบบโนราให้ได้เนื้อหาตามท้องเรื่อง
ท่ารำของโนราไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าทุกคน หรือทุกคณะจะต้องรำเหมือนกัน เพราะการรำโนรา คนรำจะบังคับเครื่องดนตรี หมายถึงคนรำจะรำไปอย่างไรก็ได้แล้วแต่ลีลา หรือความถนัดของแต่ละคน เครื่องดนตรีจะบรรเลงตามท่ารำ เมื่ผู้รำจะเปลี่ยนท่ารำจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง เครื่องดนตรีจะต้องสามารถเปลี่ยนเพลงได้ตามคนรำ ความจริงแล้วท่ารำที่มีมาแต่กำเนิดนั้นมีแบบแผนแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ารำในบทครูสอนสอนรำ และบทประถม ท่ารำเมื่อได้รับการถ่ายทอดมาเป็นช่วง ๆ ทำให้ท่ารำที่เป็นแบบแผนดั้งเดิทเปลี่ยนแปลงไป เพราะหากจะประมวลท่ารำต่าง ๆของโนราแล้ว จะเห็นว่าเป็นการรำตีท่าตามบทที่ร้องแต่ละบท การตีท่ารำจามบทร้องนี้เองที่เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้ท่ารำเปลี่ยนแปลงและ แตกต่างกันออกไป เพราะท่ารำที่ตีออกมานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รำว่าบทอย่างนี้จะตี ท่าอย่างไร
ท่ารำที่ค่อนข้างจะแน่นอนว่าเป็นแบบแผนมาแต่เดิมอันเป็นที่ยอมรับของผู้รำโนราจะต้องมีพื้นฐานเบื้องต้น ดังนี้
การทรงตัวของผู้รำ ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามและมีส่วนถูกต้องอยู่มากนั้น จะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว ดังนี้
- ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวแบบนี้เสมอ
- ช่วงวงหน้า วงหน้าหมายถึงส่วนลำคอจนถึงศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
- การย่อตัว การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรำโนรานั้นลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจากย่อลำตัวแล้ว เข่าก็จะต้องย่อลงด้วย
- ส่วนก้น จะต้องงอนเล็กน้อย ช่วงสะเอวจะต้องหัก จึงจะทำให้แลดูแล้วสวยงาม
เครดิต
https://www.youtube.com/channel/UCzd-wmstRMnR5MAqYCRsLOg
http://norabandasak.blogspot.com/
https://sites.google.com/site/aungang16/