๑. ผู้มีศีลย่อมมีมิตรมาก
๒. ผู้มีศีลย่อมได้รับการสรรเสริญ
๓. ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง และเป็นบ่อเกิดของความดีทั้งปวง
๔. ศีลเป็นประธานแห่งสิ่งทั้งปวง
๕. การระวังศีล เป็นเครื่องกั้นความชั่ว ทำจิตให้ร่าเริงเป็นทางไปสู่พระนิพพาน
๖. ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้
๗. ศีลเป็นอาวุธอันประเสริฐ
๘. ศีลเป็นเครื่องประดับอันประเสริฐ
๙. ศีลเป็นเกราะป้องกันตัวอย่างน่าอัศจรรย์
๑๐. ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอำนาจ
๑๑. ศีลมีกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยม
๑๒. ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ
๑๓. ศีลเป็นกำลังอย่างเลิศ
๑๔. ศีลเป็นเสบียงชั้นเยี่ยม
๑๕. ศีลเป็นพาหนะอันยอดเยี่ยม
สีลวเถรคาถา ๒๖/๓๕๒
อานิสงค์แห่งศีลสมบัติ
“ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ! อานิสงค์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมได้รับกองโภคะใหญ่ อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่หนึ่งแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล
อีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมขจรไป อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่สองแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พรหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณะบริษัทย่อมองอาจไม่เก้อเขิน อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่สามแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่สี่แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พรหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณะบริษัทย่อมองอาจไม่เก้อเขิน อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่ห้าแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ”
มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๙๑
ศีลเกิดด้วยลักษณะ ๕
การละ ชื่อว่า ศีล
การเว้น ชื่อว่า ศีล
การเจตนา ชื่อว่า ศีล
การสำรวม ชื่อว่า ศีล
การไม่ก้าวล่วง ชื่อว่า ศีล
ญาณกถา ๓๑/๔๓
จากหนังสือ "ศีล" ค่ะ
นำอานิสงส์แห่งศีลมาฝากค่ะ
๒. ผู้มีศีลย่อมได้รับการสรรเสริญ
๓. ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง และเป็นบ่อเกิดของความดีทั้งปวง
๔. ศีลเป็นประธานแห่งสิ่งทั้งปวง
๕. การระวังศีล เป็นเครื่องกั้นความชั่ว ทำจิตให้ร่าเริงเป็นทางไปสู่พระนิพพาน
๖. ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้
๗. ศีลเป็นอาวุธอันประเสริฐ
๘. ศีลเป็นเครื่องประดับอันประเสริฐ
๙. ศีลเป็นเกราะป้องกันตัวอย่างน่าอัศจรรย์
๑๐. ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอำนาจ
๑๑. ศีลมีกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยม
๑๒. ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ
๑๓. ศีลเป็นกำลังอย่างเลิศ
๑๔. ศีลเป็นเสบียงชั้นเยี่ยม
๑๕. ศีลเป็นพาหนะอันยอดเยี่ยม
สีลวเถรคาถา ๒๖/๓๕๒
อานิสงค์แห่งศีลสมบัติ
“ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ! อานิสงค์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมได้รับกองโภคะใหญ่ อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่หนึ่งแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล
อีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมขจรไป อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่สองแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พรหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณะบริษัทย่อมองอาจไม่เก้อเขิน อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่สามแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่สี่แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พรหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณะบริษัทย่อมองอาจไม่เก้อเขิน อันนี้เป็นอานิสงค์ข้อที่ห้าแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ”
มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๙๑
ศีลเกิดด้วยลักษณะ ๕
การละ ชื่อว่า ศีล
การเว้น ชื่อว่า ศีล
การเจตนา ชื่อว่า ศีล
การสำรวม ชื่อว่า ศีล
การไม่ก้าวล่วง ชื่อว่า ศีล
ญาณกถา ๓๑/๔๓
จากหนังสือ "ศีล" ค่ะ